ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกัน | เจ้าหนี้มีประกัน

 ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันของเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย

การขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่-593/2538   

เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22(2)บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นแม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ตามเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นเว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา110วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา112ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วนแต่อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา110วรรคท้าย ผู้คัดค้านที่1เป็นเจ้าหนี้จำนองทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ได้ฟ้องบังคับจำนองและทำการบังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดแล้วศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดในคดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่2ย่อมไม่มีอำนาจที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์พิพาทมาไว้ในคดีล้มละลายเพราะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้คัดค้านที่1ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยตรง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทซึ่งจำนองเป็นหลักประกันต่อไปในการบังคับคดีแพ่งแม้เป็นการปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่2เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิดังกล่าวของผู้คัดค้านที่1จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาค4ลักษณะ2การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งหาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่2แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483แต่ประการใดไม่โจทก์หรือเจ้าหนี้อื่นจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งให้ทราบซึ่งวันขายทอดตลาดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา306

คดีสืบเนื่องมาจากเจ้าพนักงานบังคับคดี ในคดีแพ่ง หมายเลขแดงที่ 11826/2523 ของศาลแพ่งได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท คือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 1532 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ของจำเลย ที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้(จำเลย ) ที่ 2 ในคดีนี้ ให้แก่ผู้คัดค้าน ที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีแพ่งดังกล่าว ในราคา 14,000,000 บาท เมื่อ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2531 โจทก์ยื่น คำร้องว่า โจทก์ได้ ร้องขอให้ ผู้คัดค้าน ที่ 2 เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท และให้โอนทรัพย์พิพาทเข้ามาในคดีนี้ แต่ผู้คัดค้านที่ 2 มีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ คำสั่งของผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะลูกหนี้ที่ 2 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2530 ก่อนการบังคับคดีแพ่งได้สำเร็จบริบูรณ์ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องโอนอำนาจการบังคับคดีมาให้ผู้คัดค้านที่ 2 จัดการต่อไป การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียังคงขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ที่ 2 ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2531 ในขณะที่ศาลยังมิได้พิพากษาให้ลูกหนี้ ที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลาย ย่อมไม่มีอำนาจจะทำได้ตามกฎหมาย และราคาทรัพย์ที่ตกลงขายให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ทั้งไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้รายอื่น นอกจากนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้แจ้งกำหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทให้โจทก์ทราบ ทำให้ ไม่มีโอกาสไปควบคุมการขายทอดตลาด และการที่ผู้คัดค้าน ที่ 1 ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ ที่ 2 เท่ากับสละสิทธิ ในฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันจึง ต้องโอนทรัพย์พิพาทเข้ามาไว้ในคดีล้มละลายขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่ 2 ที่ยกคำร้องของโจทก์ และขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท แล้ว โอนทรัพย์พิพาทเข้ามาไว้ในคดีล้มละลายต่อไป

ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านว่า คดีแพ่งหมายเลขแดง ที่11826/2523 ของศาลแพ่งถึงที่สุดแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มีสิทธิยึดทรัพย์พิพาทซึ่งจำนอง ไว้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ได้ ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ซื้อทรัพย์พิพาทจากการขายทอดตลาดโดยสุจริต ในราคา14,000,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาประเมิน เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหักค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียม และจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้มีประกันแล้ว หากมีเหลือก็ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลาย จัดแบ่งให้แก่เจ้าหนี้รายอื่น ได้ โดยไม่ต้องเพิกถอนการขายทอดตลาด และการบังคับคดีเสร็จบริบูรณ์แล้ว ขอให้ยกคำร้อง

ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้รับจำนอง ทรัพย์พิพาทได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน โดยขอให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีอำนาจให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทต่อไปได้ โดยไม่ต้องโอนทรัพย์พิพาทเข้ามาในคดีล้มละลายก่อนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ไม่ใช่การขายทอดตลาดในคดีล้มละลายซึ่งไม่ต้องรอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ที่ 2 เป็น บุคคลล้มละลายก่อน ทั้งไม่ต้องแจ้งวันขายทอดตลาดให้โจทก์ทราบ และโจทก์ไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่า ราคาที่ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทได้ นั้นต่ำกว่าปกติ ขอให้ยกคำร้อง

ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง โจทก์
    โจทก์ อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
    โจทก์ ฎีกา

   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าหนี้มีประกันของลูกหนี้ที่ 2 ตามคำพิพากษา คดีหมายเลขแดงที่ 11826/2523 ของศาลแพ่ง และ ได้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งจำนองเป็นหลักประกัน ตามคำพิพากษาดังกล่าวโดยขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทมาขายทอดตลาด แต่ก่อนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด เจ้าพนักงานบังคับคดีได้หารือกับผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทต่อไป และหากมีเงินสุทธิเหลือหลังจากหักชำระหนี้จำนองแก่ผู้คัดค้านที่ 1 แล้วก็ให้โอนเข้ามาในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาด 7 ครั้ง ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซื้อได้ในราคา 14,000,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาที่ประเมินไว้ ที่โจทก์ฎีกาว่า การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 96(3) โดยขอให้ผู้คัดค้านที่ 2 ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ขาดอยู่ ต่อมาผู้คัดค้านที่ 2 มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดไปนั้น การขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงถือว่า เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายตามคำสั่งของผู้คัดค้านที่ 2 และโดยผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเมื่อปรากฏว่าไม่ได้มีการแจ้งวันขายทอดตลาดให้แก่โจทก์และ เจ้าหนี้อื่นในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย ในคดีล้มละลาย เพื่อเปิดโอกาสให้โจทก์ และ เจ้าหนี้อื่นเข้ามาตรวจสอบ ดูแล ควบคุม การขายทอดตลาดเป็นเหตุให้ ขายทรัพย์พิพาทได้ในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ และเจ้าหนี้ทั้งปวง อีกทั้งเกิดความเสียเปรียบระหว่างเจ้าหนี้อื่น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เห็นว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(2) บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและ รับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้ แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น แม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอ ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้ว ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ตาม มาตรา 110 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 112 ทั้งนี้ ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วน อย่างไรก็ตามอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตาม มาตรา 110 วรรคท้าย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็น เจ้าหนี้จำนองทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ ที่ 2 ได้ฟ้องบังคับจำนอง และทำการบังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด ในคดีนี้ ผู้คัดค้าน ที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี โอนการยึดทรัพย์พิพาทมาไว้ในคดีล้มละลายเพราะเป็นการกระทบ ต่อสิทธิของผู้คัดค้าน ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยตรง เทียบตามนัย คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 5744/2531 ระหว่าง บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ มหาสมุทร จำกัด โจทก์ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด ผู้ร้อง นางสาว เล็ก ผาสุขวณิชย์ จำเลย ดังนั้นการที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ซึ่ง จำนองเป็นหลักประกันต่อไปในการบังคับคดีแพ่ง แม้เป็นการปฏิบัติตามคำขอของผู้คัดค้านที่ 2 เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิดังกล่าวของผู้คัดค้านที่ 1 เช่นนี้ จึงมีผลเท่ากับ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งหาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย อันเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้คัดค้าน ที่ 2 แต่ผู้เดียวตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย แต่ประการใดไม่ โจทก์หรือ เจ้าหนี้อื่นจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขาย ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งให้ทราบซึ่งวันขายทอดตลาด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 306

   พิพากษายืน

  พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

       มาตรา 22 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป
(2) เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น
(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้

มาตรา 110 คำสั่งของศาลที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว หรือหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้ เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์

 การบังคับคดีนั้น ให้ถือว่าได้สำเร็จบริบูรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

บทบัญญัติในมาตรานี้ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน หรือถึงการที่ผู้ใดได้ชำระเงินโดยสุจริตแก่ศาล หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งศาล หรือถึงความสมบูรณ์แห่งการซื้อโดยสุจริตในการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำสั่งศาล

 มาตรา 112 ถ้าในระหว่างที่การบังคับคดียังไม่สำเร็จบริบูรณ์ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำแจ้งความว่าลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งรายการทรัพย์สินของลูกหนี้ที่อยู่ในอำนาจหรือความยึดถือของตนแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และให้ปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น ค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานบังคับคดีและค่าธรรมเนียมโจทก์ในชั้นบังคับคดี ให้หักจากทรัพย์สินนั้นได้ก่อน ในกรณีเช่นว่านี้มิให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่-593/2538   

การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์ซึ่งจำนองเป็นหลักประกันแม้เป็นการปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์หรือเจ้าหนี้อื่นจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขาย

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  12758/2555

เจ้าหนี้มีประกัน  เพิกถอนการขายทอดตลาด

          เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น แม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เว้นแต่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 110 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 112 ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วน แต่อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 110 วรรคท้าย

คดีนี้หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 และมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 แล้ว ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับทรัพย์จำนอง หรือมอบหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้แทน หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือสอบถามไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่ยึดไว้อันถือได้ว่าเป็นการกระทำแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย แต่กลับปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ต่อไปในวันที่ 8 มิถุนายน 2548 และเพิ่งมามีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2551 ว่าให้สอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลยในคดีนี้ ซึ่งเป็นการสอบถามภายหลังจากที่ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปแล้ว จึงมีผลเท่ากับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือถือได้ว่าได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ประกอบกับทรัพย์จำนองเป็นหลักประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เดิม แม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์เดิมในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในการที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังที่ศาลล่างวินิจฉัย โจทก์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้ได้ โดยหาจำต้องไปยื่นคำร้องในคดีล้มละลายดังที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาไม่

พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483

มาตรา 14 ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริง ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง

มาตรา 22 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป
(2) เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น
(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้

มาตรา 61 เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า เจ้าหนี้ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือในคราวที่ได้เลื่อนไป ขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ดี หรือไม่ลงมติประการใดก็ดี หรือไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุมก็ดี หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบก็ดี ให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายเพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย

ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ ในคำโฆษณาให้ระบุชื่อ ตำบลที่อยู่ อาชีพของลูกหนี้และวันที่ศาลได้มีคำพิพากษา

มาตรา 62 การล้มละลายของลูกหนี้เริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์

 




เกี่ยวกับคดีล้มละลาย

การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย article
สิทธิได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
ผลของการปลดจากล้มล้มละลาย | หนี้สินก่อนล้มละลาย
ผลของการประนอมหนี้ในคดีล้มละลาย
ลูกหนี้โอนทรัพย์สิน | ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น
การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
สั่งจ่ายเช็คหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์มีผลอย่างไร?
การฟ้องคดีล้มละลาย จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
นำมูลหนี้เดิมมาฟ้องล้มละลายใหม่ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
จำเลยได้รับการปลดจากล้มละลายแล้วหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวง
ลูกหนี้ไม่หลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวง
หน้าที่เสียภาษีเงินได้จากการขายทอดตลาด
คำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้
คำฟ้องโจทก์ในคดีล้มละลายไม่ชอบ
เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
กองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย
มิได้มุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
สิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน
ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์ถูกฟ้องให้ส่งมอบรถยนต์
เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ลูกหนี้ก่อนเจ้าหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์