ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในหนี้ที่ห้างได้ก่อให้เกิดขึ้น

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE 

ความรับผิดในหนี้ของผู้เป็นหุ้นส่วนตามมาตรา 1068 ไม่ใช่อายุความ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิขย์ มาตรา 1068

"ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน อันเกี่ยวแก่หนี้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วน นั้นย่อมมีจำกัดเพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน"

ไม่ใช่เรื่องอายุความ แต่เป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ออกจากหุ้นส่วน ให้รับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วนเพียงสองปี นับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน บทบัญญัติดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่กรณีจึงอาจตกลงเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อจำเลยทำสัญญายอมรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนที่มีอยู่ก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วนทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวก็มีผลใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2523

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ไม่ใช่เรื่องอายุความ แต่เป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ออกจากหุ้นส่วนให้รับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วนเพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วนบทบัญญัติดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนคู่กรณีจึงอาจตกลงเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อจำเลยทำสัญญายอมรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนที่มีอยู่ก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วนทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวก็มีผลใช้บังคับได้

โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นลูกหนี้กรมสรรพากรการชำระหนี้ ต้องชำระในนามของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้นำเงินส่วนตัวชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 แล้วจำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวนนั้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามสัญญา

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด เดิมมีจำเลยและนายวสันต์ร่วมกันเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต่อมาจำเลยโอนขายหุ้นส่วนของตนให้โจทก์ที่ 2 ส่วนนายวสันต์ยังเป็นหุ้นส่วนต่อไป ในการโอนหุ้นให้โจทก์ที่ 2 จำเลยกับนายวสันต์ได้ทำสัญญาให้โจทก์ที่ 2 ไว้ว่า หากมีหนี้สินหรือข้อผูกพันกับโจทก์ที่ 1 อยู่ก่อนวันทำสัญญาโอนหุ้น จำเลยกับนายวสันต์จะเป็นผู้รับผิดชอบในหนี้สินหรือข้อผูกพันอื่นนั้นทั้งสิ้น ต่อมาปรากฏว่ากรมสรรพากรตรวจพบว่าโจทก์ที่ 1 ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ค้างมา4 ปี และเงินเพิ่มรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 102,376.64 บาท โจทก์ที่ 1 ได้ชำระเงินภาษีดังกล่าวให้กรมสรรพากรไปแล้ว และนายวสันต์ได้ชำระเงินที่ต้องรับผิดตามสัญญาให้โจทก์แล้วครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งเป็นจำนวนเงิน 51,188.32 บาท จำเลยจะต้องเป็นผู้ชำระตามสัญญา จำเลยไม่ยอมชำระจึงขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์

จำเลยให้การต่อสู้หลายประการพร้อมทั้งต่อสู้ว่า หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยนี้เกินระยะเวลาตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 กำหนดให้ต้องรับผิดคือเป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดขึ้นเกินกว่า2 ปี ก่อนที่จำเลยออกจากการเป็นหุ้นส่วน เป็นการขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อย โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้เงินตามฟ้องให้โจทก์ที่ 2

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่จำเลยฎีกาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ศาลฎีกาเห็นว่า บทบัญญัติในมาตราดังกล่าวหาใช่เรื่องอายุความไม่ แต่เป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ออกจากหุ้นส่วนให้รับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วนเพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน บทบัญญัติดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่กรณีจึงอาจตกลงเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อจำเลยทำสัญญายอมรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนที่มีอยู่ก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วนทั้งหมดข้อตกลงดังกล่าวก็ย่อมมีผลใช้บังคับได้

ปัญหาเรื่องจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 หรือไม่นั้นเห็นว่าโจทก์ที่ 1 เป็นลูกหนี้กรมสรรพากร การชำระหนี้จึงต้องชำระในนามของโจทก์ที่ 1 แต่โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ออกเงินส่วนตัวชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 1 จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามสัญญา

พิพากษายืน

 




อายุความฟ้องร้องคดี

ฟ้องผิดตัวอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง-อำนาจฟ้อง
อายุความรับผิดในฐานะตัวแทนไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ
อายุความตามสัญญาให้บริการทางการแพทย์อันเป็นเอกเทศสัญญา
อายุความคดีความผิดฐานฉ้อโกง ร้องทุกข์เกิน 3 เดือน
วันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
อายุความสะดุดหยุดลงย่อมเป็นคุณเฉพาะแก่ฝ่ายโจทก์
รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้เรื่องขาดอายุความ
ฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญ
ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ
การชำระหนี้ซึ่งขาดอายุความแล้วจะเรียกคืนไม่ได้
สิทธิฟ้องเรียกเงินคืนผิดสัญญาจะซื้อขาย
กำหนดหนึ่งเดือนในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ไม่ใช่อายุความ
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง