ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เครื่องหมายการค้า สินค้าต่างจำพวก

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE 

ขอบเขตการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า

เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นประเภทปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าประเภทรองเท้า กลุ่มลูกค้าของโจทก์และจำเลยเป็นคนละกล่มเป้าหมายสาธารณชนผู้ใช้สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่อาจหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3246/2550

จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าพื้นรองเท้า หูรองเท้า ถุง กล้อง กระเป๋า และสินค้าทั้งมวลที่อยู่ในจำพวกนี้ ซึ่งเป็นสินค้าต่างชนิดกัน ทั้งได้ความว่า โจทก์ผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง มิได้ผลิตสินค้าประเภทรองเท้าออกจำหน่าย กลุ่มลูกค้าของโจทก์เป็นประชาชนที่ต้องการซื้อวัสดุก่อสร้างซึ่งเป็นคนละกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าของจำเลยที่ 1 ฉะนั้น สาธารณชนผู้ใช้สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์

เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นประเภทปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าประเภทรองเท้า กลุ่มลูกค้าของโจทก์และจำเลยเป็นคนละกล่มเป้าหมายสาธารณชนผู้ใช้สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่อาจหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้ารูปช้างอยู่ภายในวงกลมประดิษฐ์เป็นรูปเพชร และคำว่าตราช้างเพชร ของจำเลยที่ 1 กับเครื่องหมายการค้ารูปช้างในวงกลมซ้อนกันสองชั้น มีคำในวงกลมรอบนอกว่า บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด และ THE SIAM CEMENT CO., LTD. กับคำอื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบปลีกย่อยเครื่องหมายการค้ารูปช้างในวงกลม และรูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ มีคำว่า เครือซีเมนต์ไทย และเครื่องหมายการค้ารูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ของโจทก์ซึ่งจดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว จะเห็นได้ชัดว่ามีรูปลักษณะและคำไม่เหมือนกันโดยเฉพาะเครื่องหมายการค้ารูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้ารูปช้างในวงกลมของโจทก์ ซึ่งเป็นวงกลมซ้อนกันสองชั้น มีคำในระหว่างวงกลมรอบนอกและรอบใน แต่เครื่องหมายการค้ารูปช้างของจำเลยที่ 1 อยู่ในวงกลมชั้นเดียว ไม่มีคำในวงกลม และมีรูปประดิษฐ์เพชรในวงกลม ซึ่งแตกต่างกัน และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปช้างในวงกลมของโจทก์ แม้จะมีรูปช้างเป็นส่วนประกอบสาระสำคัญหรือจุดเด่นเช่นเดียวกัน แต่ช้างเป็นสัตว์ตามธรรมชาติ หากอยู่ในท่ายืน แล้วมองอย่างผิวเผินย่อมคล้ายกัน อย่างไรก็ตาม ก็ต้องพิจารณาส่วนประกอบที่เป็นสาระสำคัญหรือจุดเด่นอื่นของเครื่องหมายการค้าที่มีอยู่ด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีรูปประดิษฐ์รูปเพชรแปดเหลี่ยมในวงกลม แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มี ส่วนเครื่องหมายการค้ารูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ของโจทก์ แม้มีรูปเหลี่ยมเช่นกัน แต่ก็มีหกเหลี่ยมและไม่อยู่ในวงกลมเช่นของจำเลยที่ 1 แม้โดยผิวเผินจะคล้ายในส่วนที่ว่าเป็นเครื่องหมายรูปช้างในกรอบเหลี่ยม แต่ก็แตกต่างกันในส่วนสาระสำคัญอื่นดังกล่าวข้างต้น สำหรับเสียงเรียกขาน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะเรียกว่า ตราช้าง และสินค้าของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้าเหล่านั้นจะเรียกว่า สินค้าตราช้าง แต่ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติของไทย โอกาสที่สินค้าของผู้อื่นที่เรียกว่าสินค้าตราช้างก็อาจมีได้เพื่อให้เรียกชื่อกะทัดรัด และละข้อความต่อไปไว้ในฐานเป็นที่เข้าใจ โจทก์จะกล่าวอ้างว่าเสียงเรียกขานเหมือนกัน แล้วหวงกันผู้อื่นที่ใช้รูปช้างประกอบเป็นส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าไม่ให้ใช้หาได้ไม่ ในเมื่อส่วนประกอบสาระสำคัญอื่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ยังอาจทำให้เรียกขานว่าเป็นตราช้างเพชร ตามคำที่ใช้และขอจดทะเบียนได้ นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาที่ตัวสินค้า แม้โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ในจำพวก 50 (เก่า) ใช้กับสินค้าทั้งจำพวก (ยกเว้นกระดุม ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ชอล์กขีดผ้า ชอล์กฝนหัวคิวบิลเลียด) ส่วนจำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าพื้นรองเท้า หูรองเท้า ถุง กล้อง กระเป๋า และสินค้าทั้งมวลที่อยู่ในจำพวกนี้ ซึ่งเป็นสินค้าต่างชนิดกัน ทั้งได้ความว่า โจทก์ผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง มิได้ผลิตสินค้าประเภทรองเท้าออกจำหน่าย กลุ่มลูกค้าของโจทก์เป็นประชาชนที่ต้องการซื้อวัสดุก่อสร้างซึ่งเป็นคนละกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าของจำเลยที่ 1 ฉะนั้น สาธารณชนผู้ใช้สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะใช้แพร่หลาย จึงเห็นว่าเครื่องหมายการ่คารูปช้างอยู่ในวงกลมประดิษฐ์เป็นรูปเพชร และคำว่า ตราช้างเพชร ตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ยื่นขอจดทะเบียนไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปช้างในวงกลม และรูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมของโจทก์ที่จดทะเบียนแล้วจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3)ฯ มาตรา 4 ประกอบ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 119 (2)

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจำเลยที่ 4 ถึงที่ 11 และคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจำเลยที่ 3 โดยให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ไม่ปฏิบัติตาม ขอให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 และให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

จำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ให้การอให้ยกฟ้อง

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า “...เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้ารูปช้างอยู่ภายในวงกลมประดิษฐ์เป็นรูปเพชร และคำว่าตราช้างเพชร ของจำเลยที่ 1 กับเครื่องหมายการค้ารูปช้างในวงกลมซ้อนกันสองชั้น มีคำในวงกลมรอบนอกว่า บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด และ THE SIAM CEMENT CO., LTD. กับคำอื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบปลีกย่อยเครื่องหมายการค้ารูปช้างในวงกลม และรูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ มีคำว่าเครือซีเมนต์ไทย และเครื่องหมายการค้ารูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ของโจทก์ซึ่งจดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว จะเห็ไนด้ชัดเจนว่ามีรูปลักษณะและคำไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะกับเครื่องหมายการค้ารูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้ารูปช้างในวงกลมของโจทก์ ซึ่งเป็นวงกลมซ้อนกันสองชั้นมีคำในระหว่างวงกลมรอบนอกและรอบใน แต่เครื่องหมายการค้ารูปช้างของจำเลยที่ 1 อยู่ในวงกลมชั้นเดียว ไม่มีคำในวงกลม และมีรูปประดิษฐ์เพชรในวงกลม ซึ่งแตกต่างกัน สำหรับปัญหาว่าคล้ายกันหรือไม่นั้น เห็นได้ว่า เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปช้างในวงกลมของโจทก์ แม้จะมีรูปช้างเป็นส่วนประกอบสาระสำคัญหรือจุดเด่นเช่นเดียวกัน แต่ช้างเป็นสัตว์ตามธรรมชาติ หากอยู่ในท่ายืน แล้วมองอย่างผิวเผินย่อมคล้ายกัน อย่างไรก็ตามก็ต้องพิจารณาส่วนประกอบที่เป็นสาระสำคัญหรือจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าที่มีอยู่ด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีรูปประดิษฐ์รูปเพชรแปดเหลี่ยมในวงกลม แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มี ส่วนเครื่องหมายรูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ของโจทก์ แม้มีรูปเหลี่ยมเช่นกัน แต่ก็มีเพียงหกเหลี่ยมและไม่อยู่ในวงกลมเช่นของจำเลยที่ 1 แม้โดยผิวเผินจะคล้ายในส่วนที่ว่าเป็นเครื่องหมายรูปช้างในกรอบสี่เหลี่ยม แต่ก็แตกต่างกันในส่วนสาระสำคัญอื่นดังกล่าวข้างต้น สำหรับเสียงเรียกขาน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะเรียกว่า ตราช้างและสินค้าของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้าเหล่านั้นจะเรียกว่า สินค้าตราช้าง แต่ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติของไทย โอกาสที่สินของผู้อื่นที่จะเรียกว่าสินค้าตราช้างก็อาจมีได้เพื่อให้เรียกชื่อกะทัดรัด และละข้อความต่อไปไว้ในฐานเป็นที่เข้าใจ โจทก์จะกล่าวอ้างว่าเสียงเรียกขานเหมือนกัน แล้วหวงกันผู้อื่นที่ใช้รูปช้างประกอบเป็นส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าไม่ให้ใช้หาได้ไม่ ในเมื่อส่วนประกอบสาระสำคัญอื่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ยังอาจทำให้เรียกขานว่าเป็นตราช้างเพชรตามคำที่ใช้และขอจดทะเบียนได้ นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาที่ตัวสินค้า แม้โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ไว้ในจำพวก 50 (เก่า) ใช้กับสินค้าทั้งจำพวก (ยกเว้นกระดุม ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ชอล์กขีดผ้า ชอล์กฝนหัวคิวบิลเลียด) ส่วนจำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าพื้นรองเท้า หูรองเท้า ถุง กล้อง กระเป๋า และสินค้าทั้งมวลที่อยู่ในจำพวกนี้ ซึ่งเป็นสินค้าต่างชนิดกัน ทั้งได้ความว่า โจทก์ผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง มิได้ผลิตสินค้าประเภทรองเท้าออกจำหน่าย กลุ่มลูกค้าของโจทก์เป็นประชาชนที่ต้องการซื้อวัสดุก่อสร้าง ซึ่งเป็นคนละกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าของจำเลยที่ 1 ฉะนั้น สาธารณชนผู้ใช้สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะใช้แพร่หลาย ด้วยเหตุนี้จึงเห็นว่าเครื่องหมายการค้ารูปช้างอยู่ในวงกลมประดิษฐ์เป็นรูปเพชร และคำว่า ตราช้างเพชรตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ยื่นขอจดทะเบียนไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปช้างในวงกลม และรูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมของโจทก์ที่จดทะเบียนแล้วตามฟ้องจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2504 มาตรา 4 ประกอบ พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 119 (2) ที่ศาลทรัพย์ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องนั้น ชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น”

พิพากษายืน

หมายเหตุ

เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งมีความสำคัญและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เป็นเจ้าของเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งแสดงถึงความมีชื่อเสียง ความมีคุณภาพของสินค้าหรือบริการภายใต้เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ลักษณะของขอบเขตการคุ้มครองทางกฎหมายสำหรับเครื่องหมายการค้านั้น ผู้หมายเหตุมีความเห็นเป็นส่วนตัวว่า มีลักษณะที่แตกต่างไปจากกรณีของสิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ กล่าวคือ ในกรณีของสิทธิบัตรเป็นเรื่องของการไปละเมิดสิทธิบัตร หากเป็นการไปต่อยอด มีความแตกต่างไปก็อาจขอสิทธิบัตรได้ กรณีของลิขสิทธิ์ก็คุ้มครองอยูในส่วนของการทำซ้ำ ดัดแปลง แต่กรณีของเครื่องหมายการค้านั้น มีลักษณะของการเปิดโอกาสให้เข้ามาเกี่ยวข้องใกล้เคียงได้มากกว่าทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น เรียกได้ว่า มีโอกาสอ้างอิง แอบอิง แสวงสิทธิในความเด่นดัง ความมีชื่อเสียงของเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นได้ค่อนข้างมาก ตราบใดที่ไม่รุกล้ำก้ำเกินขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การลวงขาย การลวงสาธารณชน การทำให้เกิดความสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของ กล่าวง่าย ๆ ได้แบบภาษาพูดว่า ใกล้เคียงได้ แอบอิงได้ แต่ไม่ใช่ถึงขนาดอาศัยโดยสารฟรีไปด้วย หากถึงเพียงนั้นก็เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายกาค้าของผู้อื่น

ในทางหลักการทั่วไป ก็ยอมรับกันว่า หลายสิ่งหลายอย่างที่นำมาประกอบเป็นเครื่องหมายการค้านั้น แม้จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ไม่ได้หมายความว่ามีการยอมให้ผูกขาดสิ่งนั้น ๆ หรือหวงกันไม่ให้คนอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องใช้สอย เช่น รูปสัตว์ ตัวหนังสือ ตัวเลข ข้อความทั่วไป แต่เมื่อมีชื่อเสียงมากขึ้นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นก็จะเกิดความไม่พอใจ หากจะมีเครื่องหมายการค้าอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องหรือรุกล้ำพรมแดนเข้ามา ทำให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องเกิดขึ้น ในการวินิจฉัยจึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงต่าง ๆ หลายส่วนประกอบกันบนพื้นฐานแห่งพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบ กล่าวคือ
1. รูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกัน มีความแตกต่างกันหรือไม่ เห็นได้ชัดเจนมากน้อยเพียงใด ส่วนประกอบใดเป็นสาระสำคัญ เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกันหรือแต่กต่างกัน หากแตกต่างเป็นการแตกต่างในส่วนสาระสำคัญหรือไม่
2. เปรียบเทียบเสียงเรียกขาน เรียกขานเหมือนกันหรือไม่
3. ประเภทของสินค้าที่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกันหรือไม่ มีโอกาสเกิดความเข้าใจผิดในกลุ่มผู้ใช้สินค้าหรือไม่
4. กลุ่มของผู้ใช้สินค้าเป็นคนละกลุ่มกันหรือไม่ มีโอกาสสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือไม่
5. ข้อพิจารณาอื่น ๆ เช่น จุดจำหน่ายสินค้า การจัดวางสินค้า มีความใกล้เคียงกันหรือไม่ ลักษณะของตำแหน่งที่ติดเครื่องหมายการค้า สีของฉลากหรือเอกสารโฆษณาสินค้า เป็นต้น
สุพิศ ปราณีตพลกรัง

พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา

มาตรา 119 บรรดาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำขอจดทะเบียน คำขอจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงข้อความที่ได้จดทะเบียนแล้ว คำขอจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า และคำขอต่ออายุเครื่องหมายการค้าที่ได้ยื่นไว้แล้วตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 ถ้าก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

(1) นายทะเบียนยังมิได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำขอดังกล่าวให้ถือว่าเป็นคำขอที่ได้ยื่นตามพระราชบัญญัตินี้และให้ดำเนินการเกี่ยวกับคำขอดังกล่าวตามพระราชบัญญัตินี้

(2) นายทะเบียนได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำขอดังกล่าวแล้วการดำเนินการเกี่ยวกับคำขอดังกล่าวให้อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช ๒๔๗๔ ต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด





ทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า

ทรัพย์สินทางปัญญาคือ ทรัพย์สินที่ไม่ใช่วัตถุทางกายภาพ
เจตนาพิเศษการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
ลักษณะบ่งเฉพาะ | เครื่องหมายการค้า
จำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ลูกล้อทางเลื่อนไม่ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ได้
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนสิทธิบัตร
สัญญาโอนขายสิทธิบัตร-ต่างตอบแทน
เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้
อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์
ร่วมกันปลอมเครื่องหมายรับรองและนำออกจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย