ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง

ทนายความคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สินสมรส อำนาจปกครองบุตร ชู้สาว มรดก

  คำสั่งไม่รับอุทธรณ์     ค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน  อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง

เดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ชอบเนื่องจากจำเลยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ต่อมาศาลชั้นต้นจึงเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ต่อมามีคำสั่งให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลภายใน 15 วัน คำสั่งของศาลชั้นต้นทั้งสองครั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากในการสั่งรับอุทธรณ์ครั้งแรกไม่ชอบเพราะว่าจำเลยมิได้นำค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลเอง ควรจะสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางไว้ใน 15 วัน เป็นการไม่ชอบเช่นกันเมื่อพิจารณาต่อไปจะเห็นได้ว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นในครั้งหลังเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ค่าธรรมเนียมใช้แทนนอกจากค่าทนายความแล้วยังรวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมที่คู่ความอีกฝ่ายต้องเสียไปจากการดำเนินคดีในศาลด้วย การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยนำเพียงค่าทนายความใช้แทนมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2550

การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่นั้น หากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ก็ย่อมพิพากษาให้พิจารณาใหม่ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ต้องถูกเพิกถอนไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสาม อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง และเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโดยมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 หลังจากที่มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 แต่มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งนั้นเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้แก่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไปยังศาลอุทธรณ์อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232

     คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดชำระหนี้ หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้จนครบ กับให้จำเลยทั้งสอร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 8,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก จำเลยทั้งสองยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์และมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง

     จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่ง

     ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

     จำเลยที่ 1 ฎีกา
     ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า ศาลชั้นต้นมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลหรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่นั้น หากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ก็ย่อมพิพากษาให้พิจารณาใหม่ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ต้องถูกเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 เบญจ วรรคสาม อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฎิบัติตามกฎหมายดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้ทันที โดยไม่ต้องกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวเสียก่อนเพราะกรณีมิใช่เรื่องของการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่ถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 โดยมิได้สั่งให้จำเลยที่ 1 วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวและต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์และโจทก์ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลแล้วก็ตาม ก็ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายไปได้ การสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ถือได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง และเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้ส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโดยมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 หลังจากที่มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 แต่มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1
นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งนั้นเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้แก่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไปยังศาลอุทธรณ์อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นศาลฎีกาเป็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น”

      พิพากษายืน

หมายเหตุ

เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว การดำเนินกระบวนพิจารณาขั้นต่อไปย่อมอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ เพียงแต่กฎหมายให้อำนาจศาลชั้นต้นในการตรวจรับอุทธรณ์ว่า เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เสียค่าขึ้นศาล ค่าฤชาธรรมเนียม ครบถ้วนหรือไม่ คงมีข้อพิจารณาว่า เมื่อศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลยพินิจในการรับอุทธรณ์แล้ว จะใช้ดุลยพินิจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้อีกหรือไม่ เช่น เพิกถอนคำสั่งเป็นไม่รับอุทธรณ์ กรณีนี้ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ได้ เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2540 คำพิพากษาที่หมายเหตุนี้วินิจฉัยเดินตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว

ในทางตรงกันข้ามหากศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ ภายหลังจะมีคำสั่งแก้ไขเป็นรับอุทธรณ์ได้หรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะแก้ไขได้ เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3589/2525

ทั้งสองประการนี้ศาลฎีกาให้ความเห็นว่า ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 แต่ด้วยความเคารพผู้หมายเหตุเห็นว่า เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์หรือไม่รับอุทธรณ์ไปแล้ว ถือว่าสิ้นสุดอำนาจของศาลชั้นต้นแล้ว หากกรณีรับอุทธรณ์ หากศาลชั้นต้นเห็นว่าคำสั่งเดิมไม่ชอบ ก็ควรเป็นหน้าที่ของศาลอุทธรณ์ที่จะมีคำสั่งแก้ไข หากศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งได้ ศาลอุทธรณ์อาจเห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ได้ การที่ศาลชั้นต้นไปสั่งแก้ไขอาจกลับกลายเป็นว่าสั่งเกินความประสงค์ของศาลอุทธรณ์

สำหรับคดีที่หมายเหตุนี้เดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 โดยไม่ชอบเนื่องจากจำเลยที่ 1 มิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ต่อมาศาลชั้นต้นจึงเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง จะเห็นได้ว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นทั้งสองครั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ ในการสั่งรับอุทธรณ์ครั้งแรกไม่ชอบเพราะว่าจำเลยที่ 1 มิได้นำค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวควรจะสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 แต่ศาลชั้นต้นกลับนำบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 18 สั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางไว้ใน 15 วัน เป็นการไม่ชอบเช่นกันเมื่อพิจารณาต่อไปจะเห็นได้ว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นในครั้งหลังเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2545 ซึ่งวินิจฉัยว่า ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติไว้เพื่อเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ซึ่งค่าธรรมเนียมใช้แทนนอกจากค่าทนายความแล้วยังรวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมที่คู่ความอีกฝ่ายต้องเสียไปจากการดำเนินคดีในศาลชั้นต้นด้วย การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยนำเพียงค่าทนายความใช้แทนมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยมิได้จงใจหรือว่าฝ่าฝืนที่จะไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมายและมีคำสั่งกำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้จึงมิใช่คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตามมาตรา 234 ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยว่า ให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนมาวางศาลภายในเวลาที่กำหนดก่อนจึงจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์นั้น จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยมานั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยฎีกาของจำเลยได้

แต่คดีนี้เมื่อจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็พิจารณาพิพากษาคดีให้ จำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาก็วินิจฉัยให้เช่นกัน จึงแตกต่างจากคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวและน่าจะแปลกไปจากหลักกฎหมาย

ศิริชัย วัฒนโยธิน

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 27 ในกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม หรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในเรื่องการเขียน และการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ หรือในการพิจารณา คดี การพิจารณาพยานหลักฐาน หรือการบังคับคดี เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอน การพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไข หรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควร

ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้น คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าว ได้ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวัน นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็น มูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใด ขึ้นใหม่ หลังจากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือต้องมิได้ให้ สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ๆ

ถ้าศาลสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบใดๆ อันมิใช่ เรื่องที่คู่ความละเลยไม่ดำเนินการพิจารณาเรื่องนั้นภายในระยะเวลา ซึ่งกฎหมายหรือศาลกำหนดไว้เพียงเท่านี้ไม่เป็นการตัดสิทธิคู่ความ ฝ่ายนั้น ในอันที่จะดำเนินกระบวนพิจารณานั้น ๆ ใหม่ให้ถูกต้อง ตามที่กฎหมายบังคับ

มาตรา 199 เบญจ เมื่อศาลได้รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่แล้ว หากเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนก็ได ในกรณี เช่นนี้ให้ศาลแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ

ในการพิจารณาคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าการ ขาดนัดยื่นคำให้การนั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควร และ ศาลเห็นว่าเหตุผลที่อ้างมาในคำขอนั้นผู้ขออาจมีทางชนะคดีได้ทั้ง ในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้านั้น ผู้ขอได้ยื่นภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในกรณีเช่นนี้ถ้ามีการอุทธรณ์หรือฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดยื่นคำให้การแพ้คดี ให้ศาลแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี ทราบด้วย

เมื่อศาลได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม วรรคสอง คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำ ให้การและคำพิพากษาหรือคำสั่งอื่น ๆ ของศาลอุทธรณ์หรือ ศาลฎีกาในคดีเดียวกันนั้น และวิธีการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันเพิกถอนไปในตัว และให้ศาลแจ้งให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะ เดิมดังเช่นก่อนบังคับคดีได้ หรือเมื่อศาลเห็นว่าไม่จำเป็นที่จะบังคับ เช่นนั้น เพื่อประโยชน์แก่คู่ความหรือบุคคลภายนอก ให้ศาลมี อำนาจสั่งอย่างใด ๆ ตามที่เห็นสมควร แล้วให้ศาลพิจารณาคดีนั้น ใหม่ตั้งแต่เวลาที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โดยให้จำเลยยื่นคำให้ การภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร

คำสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ให้เป็นที่สุด แต่ในกรณี ที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ คำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด

ถ้าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจ หรือไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมมากกว่า ที่ควรจะต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นนั้นให้ถือว่าเป็นค่าฤชา ธรรมเนียมอันไม่จำเป็นตามความหมายแห่ง มาตรา 166

มาตรา 229 การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้น ซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ได้ อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียม ซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวาง ศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นสำเนาอุทธรณ์ต่อศาล เพื่อส่งให้แก่จำเลยอุทธรณ์ (คือฝ่ายโจทก์หรือจำเลยความเดิมซึ่ง เป็นฝ่ายที่มิได้อุทธรณ์ความนั้น) ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 235 และ มาตรา 236

มาตรา 232 เมื่อได้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ และมีคำสั่งให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์นั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าศาลปฏิเสธไม่ส่งให้ศาลแสดง เหตุที่ไม่ส่งนั้นไว้ในคำสั่งทุกเรื่องไป ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ยื่น อุทธรณ์ ศาลจะวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้นในคำสั่งฉบับเดียวกัน ก็ได้

อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ

เป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ

ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดหรือไม่ ที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และยกคำร้อง จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6360/2556

ป.วิ.พ. มาตรา 243(1), 247

พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 180(2), 183

          หลักเกณฑ์การฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 180 (2) ประกอบมาตรา 183 ต้องแยกพิจารณาว่าเป็นการฎีกาเฉพาะส่วนเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กหรือฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานว่าไม่ได้กระทำผิด หากฎีกาเฉพาะส่วนเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกาเว้นแต่กำหนดเวลาฝึกอบรมเกินกว่าสามปี หรือกำหนดเวลาฝึกอบรมเป็นขั้นต่ำขั้นสูงและขั้นสูงเกินกว่าสามปี หากฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิด ต้องพิจารณาตาม ป.วิ.อ. ซึ่งในกรณีศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงกำหนดให้ส่งจำเลยไปฝึกอบรมซึ่งต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิเคราะห์ว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาได้ตามมาตรา 221 ซึ่งผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดหรือไม่เท่านั้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและยกคำร้อง จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ 247 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และพ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

          โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 276, 277, 283 ทวิ, 295, 317, 318, 358

          จำเลยให้การรับสารภาพข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจและข้อหาทำให้เสียทรัพย์ ส่วนข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้การปฏิเสธ

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295, 277 วรรคหนึ่ง, 317 วรรคสาม, 319 วรรคหนึ่ง, 358 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุ 17 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาหรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร 2 กระทง จำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 4 ปี 12 เดือน ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม 2 กระทง จำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 4 ปี ฐานพรากผู้เยาว์อายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดาหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย 10 กระทง จำคุกกระทงละ 1 ปี รวมจำคุก 10 ปี ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจและฐานทำให้เสียทรัพย์ 2 กระทง จำคุกกระทงละ 2 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพสองฐานความผิดนี้เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 1 เดือน รวมจำคุก 2 เดือน รวมจำคุกทั้งสิ้น 18 ปี 14 เดือน อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยเป็นส่งจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 7 (จังหวัดเชียงใหม่) มีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 3 ปี 6 เดือน นับแต่วันพิพากษา ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก

          จำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว พิพากษายืน

          จำเลยฎีกา

            ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น ฐานทำให้เสียทรัพย์ ฐานพาบุคคลอายุเกิน 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี กับพาเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจาร และฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น ไม่มีคู่ความอุทธรณ์ฎีกาจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนความผิดฐานที่จำเลยฎีกานั้นศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295, 277 วรรคหนึ่ง, 317 วรรคสาม, 319 วรรคหนึ่ง, 358 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ฐานพรากผู้เยาว์อายุไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร 2 กระทง จำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน รวม 4 ปี 12 เดือน ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี 2 กระทง จำคุกกระทงละ 2 ปี รวม 4 ปี ฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีไปเพื่อการอนาจารโดยเต็มใจ 10 กระทง จำคุกกระทงละ 1 ปี รวม 10 ปี ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น และฐานทำให้เสียทรัพย์ 2 กระทง จำคุกกระทงละ 2 เดือน ลดโทษให้สองฐานนี้กระทงละกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 1 เดือน รวม 2 เดือน รวมจำคุกทั้งสิ้น 18 ปี 14 เดือน อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยไปฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 7 จังหวัดเชียงใหม่ มีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 3 ปี 6 เดือน นับแต่วันพิพากษา และศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ดังนี้จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนโดยเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยไปฝึกและอบรมซึ่งมิใช่การลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 ต้องถือว่าศาลล่างทั้งสองมิได้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 และมาตรา 183 ที่จำเลยฎีกาเฉพาะว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุไม่เกินสิบห้าปีไปอนาจาร 2 กระทง ฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีไปเพื่อการอนาจาร 10 กระทง และฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี 2 กระทง ขอให้ยกฟ้องและหากฟังว่ากระทำความผิดขอให้ลงโทษสถานเบานั้น เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบัญญัติดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ฎีกาจากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏว่าเมื่อจำเลยยื่นฎีกา จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 7 กันยายน 2555 ต่อศาลชั้นต้นพร้อมคำฟ้องฎีกาเพื่อขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแต่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องว่า “ศาลตรวจสำนวนแล้วเห็นว่าคดีของจำเลยไม่ต้องห้ามฎีกาตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 183 ประกอบมาตรา 180 (2) จึงให้ยกคำร้อง” และสั่งรับฎีกา ดังนี้เห็นว่า หลักเกณฑ์การฎีกาตามมาตรา 180 (2) ประกอบมาตรา 183 นั้นหมายถึง กรณีต้องแยกพิจารณาว่าเป็นการฎีกาเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็ก หรือฎีกาโต้แย้งดุลยพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานว่าไม่ได้กระทำผิด หากมีการฎีกาเกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน และมีการเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นฝึกอบรมที่กำหนดเวลาขั้นสูงเกินสามปีจะไม่ต้องห้ามฎีกา แต่หากฎีกาในข้อเท็จจริงว่าไม่ได้กระทำความผิด จำต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตามที่ได้วินิจฉัยข้างต้น ดังนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีหรือลงชื่อในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิเคราะห์ว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาได้ ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดหรือไม่เท่านั้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและยกคำร้อง จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลง และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง และยกคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) และมาตรา 247 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

  พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นในคำร้องและคำฟ้องฎีกาลงวันที่ 10 กันยายน 2555 และให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งใหม่ตามรูปคดี

 การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ผู้อุทธรณ์ ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 หรือไม่?

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4090 / 2559

จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาลอุทธรณ์ ซึ่งหากศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ตามอุทธรณ์ของจำเลย ก็จะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านและที่ดินกับให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นอันต้อง ถูกเพิกถอนไปทันที ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 199 เบญจ วรรคสาม อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเท่ากับเป็นการอุทธรณ์ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัวด้วย ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์ จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทย์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายทางไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศาลที่จะเรียกให้จำเลยนำเงิน ค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา มาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย




คำพิพากษาศาลฎีกา

การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง article
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี article
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
การรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
ดอกผลนิตินัย
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน-ปัญหาข้อกฎหมาย
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่      
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผิดสัญญาหมั้น | เรียกค่าทดแทน | สินสอด