ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง,เมทแอมเฟตามีน

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยนำเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 950 เม็ด น้ำหนัก 93.35 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 3.06 กรัม เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ให้ประหารชีวิต ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายได้ เพราะเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2550

โจทก์บรรยายในฟ้องข้อ 1 ก. ว่า จำเลยนำเมทแอมเฟตามีนจำนวน 950 เม็ด น้ำหนัก 93.35 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 3.06 กรัม เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และบรรยายในฟ้องข้อ 1 ข. ว่า จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายแอมเฟตามีนดังกล่าวเท่านั้น แม้เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 3.06 กรัม ซึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสาม (2) ให้ถือว่าเป็นการนำเข้าเพื่อจำหน่ายก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายจึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายได้เพราะเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง คงลงโทษจำเลยได้เพียงฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เท่านั้น

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยนำเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 950 เม็ด น้ำหนัก 93.35 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 3.06 กรัม เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ภายหลังจากนั้นจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไปในราคา 40,000 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เหตุเกิดที่ตำบลคลองหาด อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว เจ้าพนักงานจับจำเลยกับพวกได้พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนกับธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อดังกล่าว และโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 เครื่อง ที่จำเลยใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีนเป็นของกลาง ธนบัตรของกลางได้คืนให้เจ้าของแล้ว ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 65, 66, 100/1, 102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ริบเมทแอมเฟตามีนและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง

จำเลยให้การรับสารภาพในข้อหามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่ให้การปฏิเสธในข้อหานำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม (2), 65 วรรคสอง, 66 วรรคสอง, 102 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ให้ประหารชีวิต ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งแต่ละบทมีระวางโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 8 ปี และปรับ 400,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) ฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย คงจำคุกตลอดชีวิต ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 4 ปี และปรับ 200,000 บาท รวมโทษจำเลยทุกกระทงแล้วคงจำคุกตลอดชีวิต และปรับ 200,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 กักขังแทนค่าปรับ ไม่เกิน 2 ปี ริบเมทแอมเฟตามีนและโทษศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม (2), 65 วรรคสอง, 66 วรรคสอง, 102 ความผิดฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ลงโทษประหารชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) คงจำคุกตลอดชีวิต นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเสียก่อนว่า ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสอง เป็นการชอบหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์บรรยายในฟ้องข้อ 1 ก. ว่า จำเลยนำเมทแอมเฟตามีนจำนวน 650 เม็ด น้ำหนัก 93.35 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 3.06 กรัม เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และบรรยายในฟ้องข้อ 1 ข. ว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวเท่านั้นแม้เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 3.06 กรัม ซึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) ให้ถือว่าเป็นการนำเข้าเพื่อจำหน่ายก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายได้ เพราะเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง คงลงโทษจำเลยได้เพียงฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสอง จึงเป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยปรับบทลงโทษที่ถูกต้องและกำหนดโทษที่ลงแก่จำเลยเสียใหม่ให้สอดคล้องกับบทลงโทษที่แก้ไขใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่งนั้น เห็นว่า ความผิดฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน แต่กลับให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา เช่นนี้ แม้คำให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยจะเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ก็สมควรลดโทษให้หนึ่งในสามเท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามจึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น”

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม (2), 65 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกจำเลยตลอดชีวิต และปรับ 1,200,000 บาท ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 แล้ว คงจำคุก 33 ปี 4 เดือน และปรับ 800,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังแทนค่าปรับได้ไม่เกิน 1 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2

หมายเหตุ

โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำเมทแอมเฟตามีน 950 เม็ด น้ำหนัก 93.35 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 3.06 กรัม เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตเช่นนี้ จะถือว่าฟ้องโจทก์ดังกล่าวจะให้ลงโทษจำเลยฐานนำเข้าเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ได้หรือไม่ มีความเห็นออกเป็น 2 ฝ่าย

1. ไม่สามารถลงโทษจำเลยฐานนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อเข้ามาจำหน่ายได้ ทั้งนี้เพราะโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย หากลงโทษฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ก็จะเป็นการเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ความเห็นนี้คือคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับที่หมายเหตุนี้วินิจฉัยไว้

2. ลงโทษจำเลยฐานนำเข้าเมทแอมเฟตามีนในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายได้เนื่องจาก โจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า จำเลยนำเมทแอมเฟตามีน 950 เม็ด น้ำหนัก 93.35 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 3.06 กรัม เข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม บัญญัติว่า การผลิตนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามปริมาณดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็น การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ...ฯลฯ...

(2) แอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวน 15 หน่วยการใช้ขึ้นไป หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่ 1.5 กรัม ขึ้นไป

จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจำเลยนำเข้าเมทแอมเฟตามีน 950 เม็ด จึงถือว่าจำเลยมีไว้ในครอบครอง เมทแอมเฟตามีนจำนวน 15 หน่วยการใช้ขึ้นไปกล่าวคือ มีถึง 950 เม็ด แม้โจทก์จะไม่บรรยายว่า 950 หน่วยการใช้ แต่ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 ให้คำจำกัดความ หน่วยการใช้หมายความว่า เม็ด ซอง ขวด หรือหน่วยอย่างอื่นที่ทำขึ้น โดยปกติสำหรับการใช้เสพหนึ่งครั้ง ดังนั้น เมื่อระบุว่าจำนวน 950 เม็ด ก็ย่อมหมายความว่า 950 หน่วยการใช้จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติดังกล่าวว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อพิจารณาน้ำหนัก โจทก์บรรยายว่า น้ำหนักเมทแอมเฟตามีนทั้งหมด 93.35 กรัม ซึ่งก็มีน้ำหนักตั้งแต่ 1.5 กรัมขึ้นไป ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อพิจารณาสารบริสุทธิ์ โจทก์บรรยายฟ้องว่า คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 3.06 กรัม ซึ่งถือได้ว่ามีปริมาณตั้งแต่ 375 มิลลิกรัมขึ้นไป จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเช่นกันเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าทั้งจำนวน น้ำหนัก และสารบริสุทธิ์ ตามฟ้องโจทก์เข้าข้อสันนิษฐานของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม ว่า มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายและเป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาด จำเลยหรือผู้ที่ครอบครองยาเสพติดให้โทษไม่สามารถนำสืบหักล้างเป็นอย่างอื่นได้ ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2548 เป็นต้น นอกจากนี้โจทก์ยังขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 ซึ่งมาตรา 65 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อจำหน่ายต้องระวางโทษประหารชีวิต ซึ่งการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง คือ นำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ด้วยเหตุนี้ ศาลจึงสามารถลงโทษจำเลยฐานนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายได้

ผู้หมายเหตุเห็นด้วยกับความเห็นของฝ่ายหลัง เพราะชอบด้วยหลักกฎหมายมากกว่า

     ศิริชัย วัฒนโยธิน 

 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอหรือที่มิได้กล่าว ในฟ้อง

    ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่าง กับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อ แตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะ ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

    ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับ เวลาหรือสถานที่กระทำความผิดหรือต่างกันระหว่างการกระทำผิด ฐานลักทรัพย์ กรรโชกรีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับ ของโจร และทำให้เสียทรัพย์หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิด โดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่ โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่าการที่ ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจำเลย เกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้

  ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดั่งกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏ ในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ ศาลลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐาน ความผิดหรือบท มาตรา ผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐาน ความผิดที่ถูกต้องได้

  ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่าง อาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำผิด อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522

  มาตรา 15 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เว้นแต่รัฐมนตรึได้อนุญาตเฉพาะในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ

   การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

   การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามปริมาณดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
(1) เด็กซ์โตรไลเซอร์ไยด์ หรือ แอล เอส ดี มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ศูนย์จุดเจ็ดห้ามิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไปหรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่สามร้อยมิลลิกรัมขึ้นไป
(2) แอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไป หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่หนึ่งจุดห้ากรัมขึ้นไป
(3) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 นอกจาก (1) และ (2) มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามกรัมขึ้นไป

  มาตรา 65 ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 15 ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท

  ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต

    ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการผลิตโดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ และมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสาม เป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8589/2561

โจทก์บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งว่า จำเลยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กับมีคำขอท้ายคำฟ้อง ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 และขอให้ระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แสดงว่าโจทก์ระบุสถานะจำเลยว่าเป็นบุคคลตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 และขอให้ระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวด้วย หาใช่ระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ซึ่งการที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 ต้องได้ความว่าเป็นกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ หรือข้าราชการ หรือพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ หรือสนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แต่จำเลยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมีสถานะถือเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเช่นกัน แต่เป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่งแยกต่างจากกัน เมื่อโจทก์ไม่ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ไว้ จึงไม่อาจระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 3

ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ถือเป็นข้อยกเว้นของวรรคหนึ่ง จึงต้องตีความวรรคห้าโดยเคร่งครัด เมื่อวรรคห้าระบุว่าเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด จะตีความขยายไปถึงกรณีที่อ้างกฎหมายผิดทั้งฉบับหาได้ไม่ เพราะถ้ากฎหมายต้องการเช่นนั้นก็คงระบุไว้ว่า โจทก์อ้างบทกฎหมายผิด ซึ่งย่อมครอบคลุมตลอดถึงการอ้างความผิดหรือบทมาตราผิดอยู่ในตัวด้วย ที่โจทก์อ้างว่าคดีนี้อ้างบทมาตราผิดและศาลสามารถลงโทษจำเลยตามบทมาตราของกฎหมายที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า จึงไม่ถูกต้อง ดังนั้น ศาลจะลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ไม่ได้ เพราะขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 26, 76/1, 100, 100/1 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และขอให้ระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดตามกฎหมาย

จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 26 วรรคสอง, 76/1 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ลงโทษจำคุก 15 ปี และปรับ 1,500,000 บาท หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังได้เกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี คำขออื่นให้ยก

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษายืน

โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 โดยไม่ยกพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ขึ้นปรับบทวินิจฉัยนั้น ชอบหรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า ข้อเท็จจริงที่ว่าขณะกระทำความผิด จำเลยดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายรักษาความสงบ หมู่ที่ 4 ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ตามที่บรรยายในฟ้องนั้นโจทก์สืบสม รวมทั้งได้มีคำขอท้ายคำฟ้อง ขอให้ระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นแล้ว หาใช่โจทก์มิได้กล่าวอ้างสถานะของจำเลยและบทมาตรามาในฟ้อง หรือเป็นกรณีต้องห้ามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก ไม่ เพียงแต่โจทก์อ้างบทมาตราผิด และศาลสามารถพิพากษาลงโทษจำเลยตามบทมาตราของกฎหมายที่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า ได้ หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เห็นว่า ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องไว้โดยชัดแจ้งว่า ขณะเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายรักษาความสงบ ซึ่งเป็นข้าราชการหรือพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ กับมีคำขอท้ายคำฟ้อง ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 และขอศาลสั่งให้ระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ดังนี้แสดงว่า โจทก์ระบุสถานะของจำเลยว่าเป็นบุคคลตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 กับขอให้ระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวด้วย หาใช่ขอให้ระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าตามบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ซึ่งเมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 บัญญัติว่า "กรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือข้าราชการ หรือพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ หรือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าว อันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" การที่จำเลยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จึงหาใช่บุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตราดังกล่าวไม่ แต่การที่จำเลยเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมีสถานะถือเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ซึ่งต้องวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเช่นกัน อันเป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากกัน หากโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ดังกล่าวก็ต้องระบุสถานะของจำเลย และมีคำขอให้ลงโทษตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นเอาไว้ในคำฟ้องโดยชัดแจ้ง แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายสถานะของจำเลยว่าเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น ทั้งไม่ได้มีคำขอท้ายฟ้อง ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ไว้แต่อย่างใด ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง จึงไม่อาจระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวได้ ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์อ้างบทมาตราผิด และศาลสามารถลงโทษจำเลยตามบทมาตราของกฎหมายที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า นั้น ความในวรรคห้าดังกล่าวถือเป็นข้อยกเว้นของวรรคแรก ฉะนั้น จึงต้องตีความวรรคห้าโดยเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นแล้วจะเป็นเหตุทำให้จำเลยต้องได้รับโทษหนักขึ้น โดยในวรรคห้าระบุว่า เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด เมื่อกฎหมายระบุถึงฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ก็ต้องเป็นกรณีที่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดอย่างแท้จริง จะตีความขยายไปถึงกรณีที่อ้างกฎหมายผิดทั้งฉบับหาได้ไม่ เพราะถ้ากฎหมายต้องการเช่นนั้น ก็คงระบุไว้เสียเลยว่า โจทก์อ้างบทกฎหมายผิด ซึ่งย่อมครอบคลุมตลอดถึงการอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดอยู่ในตัวด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นว่าคดีนี้ไม่ใช่เป็นเพียงอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า ศาลจะลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 มิได้ เพราะขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน

 




คำพิพากษาศาลฎีกา

การรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
ดอกผลนิตินัย
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน-ปัญหาข้อกฎหมาย
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่      
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผิดสัญญาหมั้น | เรียกค่าทดแทน | สินสอด
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง