ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเพื่อคำนวณจ่ายค่าชดเชย

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเพื่อคำนวณจ่ายค่าชดเชย

ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเพื่อคำนวณจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง  ค่าจ้างจึงต้องเป็นค่าตอบแทนในการทำงานสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติได้รับค่าเที่ยวจำนวนเที่ยวละ 100 บาท ถึง 650 บาท โดยนายจ้างและลูกจ้างเป็นผู้ตกลงกำหนดตามระยะทางใกล้ไกลและความยากง่ายของงานสำหรับการทำงาน

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2550

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ประกอบธุรกิจรับจ้างนำรถลากไปลากตู้คอนเทนเนอร์เพื่อนำสินค้าของลูกค้าไปส่งยังท่าเรือเพื่อส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ นายสมศักดิ์ เป็นลูกจ้างของโจทก์ ตำแหน่งพนักงานขับรถเข้าทำงานเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2541 มีหน้าที่ขับรถหัวลากตามใบสั่งงานของโจทก์ แล้วนำรถหัวลากไปลากตู้คอนเทนเนอร์เปล่าจากตัวแทนของบริษัทเรือ และนำตู้คอนเทนเนอร์ไปยังที่เก็บสินค้าของลูกค้าเพื่อนำสินค้าบรรจุลงในตู้คอนเทนเนอร์ เสร็จแล้วจึงขับรถลากตู้คอนเทนเนอร์ไปส่งยังท่าเรือเพื่อส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ นายสมศักดิ์ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน เดือนละ 5,500 บาท และได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าเที่ยวเป็นจำนวนเที่ยวละ 100 บาท ถึง 650 บาท โดยพิจารณาจากระยะทางใกล้ไกลและความยากง่ายของงานในวันที่ 3 กรกฎาคม 2546 เวลาประมาณ 16 นาฬิกา โจทก์มอบหมายให้นายสมศักดิ์ไปขนสินค้าที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม แต่นายสมศักดิ์ปฏิเสธไม่ขับรถหัวลากให้โจทก์ เนื่องจากมีอาการบาดเจ็บที่แขนขวา และในวันดังกล่าวได้ปฏิบัติงานเป็นเวลาประมาณ 6 ชั่วโมงแล้ว วันที่ 15 กรกฎาคม 2546 โจทก์จึงเลิกจ้างนายสมศักดิ์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จ่ายค่าชดเชย นายสมศักดิ์ได้รับค่าเที่ยวสำหรับการทำงานในเวลาทำงาน 180 วัน ก่อนการเลิกจ้างคิดเป็นเงิน 45,750 บาท เป็นการทำงานในระหว่างเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 30 ของค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าเที่ยวทั้งหมดและทำงานนอกเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 70 ของค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าเที่ยวทั้งหมด ขณะเลิกจ้างนายสมศักดิ์ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้างติดต่อกันเกินกว่า 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี

โจทก์อุทธรณ์ประการแรกว่า นายสมศักดิ์ลูกจ้างปฏิเสธไม่ขับรถหัวลากเพราะได้รับค่าเที่ยวลดน้อยลง ทั้งนายสมศักดิ์ได้แสดงใบรับรองแพทย์ ภายหลังจากโจทก์เลิกจ้างนายสมศักดิ์แล้ว นายสมศักดิ์จึงมีเจตนาฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ 20 คำสั่งของโจทก์ที่เลิกจ้างนายสมศักดิ์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ชอบแล้ว เห็นว่า เมื่อศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่านายสมศักดิ์ปฏิเสธไม่ขับรถหัวลากเนื่องจากนายสมศักดิ์ประสบอุบัติเหตุตกจากรถและแขนขวาได้รับบาดเจ็บ นายสมศักดิ์ไม่ได้จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยเป็นประการสุดท้ายว่าเงินค่าเที่ยวหรือเบี้ยเลี้ยงที่นายสมศักดิ์ได้รับจากโจทก์เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณเป็นค่าชดเชยหรือไม่ โดยโจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มิได้มีเจตนาที่จะจ่ายให้เป็นค่าตอบแทนการทำงานปกติ จึงไม่ต้องนำค่าเที่ยวส่วนที่ทำในเวลางานปกติร้อยละ 30 มารวมคำนวณกับค่าจ้างปกติ และจำเลยอุทธรณ์ว่าต้องนำค่าเที่ยวส่วนที่ทำนอกเวลางานปกติร้อยละ 70 มาคำนวณรวมกับค่าเที่ยวส่วนที่ทำในเวลางานปกติร้อยละ 30 ด้วยนั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 นิยามคำว่า "ค่าจ้าง" หมายความว่า "เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้" ดังนั้น ค่าจ้างจึงต้องเป็นค่าตอบแทนในการทำงานสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ เมื่อศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์และจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงร่วมกันตามรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2547 ได้ความว่านายสมศักดิ์ได้รับค่าเที่ยวจำนวนเที่ยวละ 100 บาท ถึง 650 บาท โดยนายจ้างและลูกจ้างเป็นผู้ตกลงกำหนดตามระยะทางใกล้ไกลและความยากง่ายของงานสำหรับการทำงานในเวลาทำงาน 180 วัน ก่อนการเลิกจ้างคิดเป็นเงิน 45,750 บาท เป็นการทำงานในระหว่างเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 30 ของค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าเที่ยวทั้งหมด และทำงานนอกเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 70 ของค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าเที่ยวทั้งหมด ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าเที่ยวดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์และนายสมศักดิ์ตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง และส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 ตามที่คู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงร่วมกันจึงเป็นค่าจ้างแต่ส่วนที่ตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติร้อยละ 70 ไม่เป็นค่าจ้าง ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าเที่ยวที่เป็นค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยจำนวนร้อยละ 30 ของค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าเที่ยวทั้งหมดจำนวน 45,750 บาท คิดเป็นเงิน 13,725 บาท เมื่อคำนวณเป็นรายเดือนจึงเป็นเงินเดือนละ 2,287.50 บาท เมื่อรวมกับเงินเดือนที่นายสมศักดิ์ได้รับเดือนละ 5,500 บาท จึงเป็นเงินค่าจ้างเดือนละ 7,787.50 บาท นายสมศักดิ์ทำงานติดต่อกันครบสามปีแต่ไม่ครบหกปี โจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่นายสมศักดิ์ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (3) นายสมศักดิ์ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 46,725 บาท คำพิพากษาศาลแรงงานกลางชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยฟังไม่ขึ้น

    พิพากษายืน.

เงินค่านายหน้าเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำไปคำนวณค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6533 - 6534/2556

เดิมจำเลยมีข้อตกลงจ่ายค่านายหน้าจากการขายให้โจทก์ทั้งสองในอัตราร้อยละ 1 จากยอดเงินที่เรียกเก็บจากลูกค้า จึงเป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างและโจทก์ทั้งสองผู้เป็นลูกจ้างตกลงกันให้จ่ายค่านายหน้าเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างโดยคำนวณจากผลงานที่โจทก์ทั้งสองทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ต่อมาจำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่านายหน้าใหม่โดยกำหนดอัตราค่านายหน้าตามระยะเวลาที่ลูกค้าชำระค่าสินค้า และกำหนดให้โจทก์ที่ 2 ได้รับค่านายหน้าเมื่อมียอดขายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้ แม้จำเลยอ้างว่ากำหนดขึ้นเพื่อจูงใจให้พนักงานทำยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายหรือติดตามทวงถามหนี้ค่าสินค้าของลูกค้าก็ตาม แต่การทำยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายหรือการติดตามทวงถามหนี้ค่าสินค้าจากลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งของงานในความรับผิดชอบของพนักงานขาย ค่านายหน้าที่จำเลยต้องจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใหม่นี้จึงเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างโดยคำนวณจากผลงานที่โจทก์ทั้งสองทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานนั่นเอง ค่านายหน้าตามข้อตกลงเดิมและตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใหม่จึงเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5

คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลแรงงานกลางสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน โดยให้เรียกโจทก์เรียงตามลำดับสำนวนว่าโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2

โจทก์ที่ 1 ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 57,446 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ค่าชดเชย 144,470.74 บาท ค่านายหน้า 14,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 158,470.74 บาท และเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 15 ของต้นเงิน 158,470.74 บาท ทุกระยะเวลา 7 วัน ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 14,602.68 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้าง (วันที่ 27 มกราคม 2549) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ที่ 1

โจทก์ที่ 2 ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย 445,231.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 15 ทุกระยะเวลา 7 วัน ค่านายหน้า 53,651.05 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 27,827.10 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 55,654.06 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 30 มกราคม 2549 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ที่ 2

จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่านายหน้า 14,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549) ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 16,215 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้าง (เลิกจ้างวันที่ 27 มกราคม 2549) ค่าชดเชย 98,274.12 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้าง ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 80,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ที่ 1 เสร็จสิ้น และให้จำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 19,799 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้าง (เลิกจ้างวันที่ 30 มกราคม 2549) ค่าชดเชย 436,309.38 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้าง ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์ที่ 2 เสร็จสิ้น คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยอุทธรณ์ ประการแรกว่า เงินค่านายหน้าที่จำเลยจ่ายให้เฉพาะพนักงานในแผนกขายเป็นเพียงเงินจูงใจในการทำงาน มิใช่เป็นเงินตอบแทนการทำงานโดยตรง จ่ายให้พนักงานขายโดยคำนวณตามผลงานเพื่อจูงใจให้พนักงานขายสามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่จำเลยกำหนดให้เป็นรายปีและจูงใจให้พนักงานขายช่วยเหลือติดตามทวงถามหนี้สินค่าสินค้าจากลูกค้าด้วย จึงมิใช่ค่าจ้างนั้น เห็นว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าเดิมจำเลยมีข้อตกลงในการจ่ายค่านายหน้าจากการขายให้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 อัตราร้อยละ 1 จากยอดเงินที่เรียกเก็บจากลูกค้าได้ ต่อมาจำเลยได้กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่านายหน้าขึ้นใหม่โดยกำหนดให้โจทก์ที่ 1 ได้รับค่านายหน้าอัตราร้อยละ 1 เมื่อลูกค้าชำระเงินไม่เกิน 90 วัน ได้รับค่านายหน้าอัตราร้อยละ 0.8 เมื่อลูกค้าชำระเงินภายใน 90 ถึง 120 วัน หากลูกค้าชำระเงินเกินกว่า 120 วัน จะไม่ได้รับค่านายหน้า ส่วนโจทก์ที่ 2 จะได้รับค่านายหน้าอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดขายที่ทีมงานขายซึ่งอยู่ในความดูแลของโจทก์ที่ 2 ทำได้เมื่อลูกค้าชำระเงินไม่เกิน 90 วัน และจะได้รับค่านายหน้าอัตราร้อยละ 0.4 เมื่อลูกค้าชำระเงินภายใน 90 ถึง 120 วัน หากลูกค้าชำระเงินเกินกว่า 120 วัน จะไม่ได้รับค่านายหน้า นอกจากนี้โจทก์ที่ 2 จะได้รับค่านายหน้าเมื่อมียอดขายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามตารางค่านายหน้าและเงินรางวัลการขาย การคำนวณเพื่อจ่ายค่านายหน้าให้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีกำหนดงวดการจ่ายพร้อมกับเงินเดือนที่เป็นประจำแน่นอน ดังนั้นเงินค่านายหน้าดังกล่าวซึ่งกำหนดอัตราร้อยละ 1 แต่เดิมจึงเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างและโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง โดยคำนวณจากผลงานที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน แม้ต่อมาจำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่านายหน้าใหม่โดยกำหนดอัตราค่านายหน้าตามระยะเวลาที่ลูกค้าชำระค่าสินค้า และกำหนดให้โจทก์ที่ 2 ได้รับค่านายหน้าเมื่อมียอดขายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยจำเลยอ้างว่ากำหนดหลักเกณฑ์นี้ขึ้นเพื่อจูงใจให้พนักงานสามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมายหรือให้ติดตามทวงถามหนี้สินค่าสินค้าของลูกค้าก็ตาม แต่การทำยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายหรือการติดตามทวงถามหนี้ค่าสินค้าจากลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งของงานในความรับผิดชอบของพนักงานขาย ค่านายหน้าที่จำเลยต้องจ่ายให้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใหม่จึงเป็นค่าตอบแทนการทำงานดังกล่าวนั่นเอง ค่านายหน้าที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ทั้งตามข้อตกลงเดิมและตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใหม่ จึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าเงินค่านายหน้าเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการคำนวณค่าชดเชยด้วยจึงชอบแล้ว

ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ประการต่อมาว่าโจทก์ที่ 2 บริหารงานขายไม่เป็นไปตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา จัดทำใบเสนอราคาสินค้าขายให้ลูกค้าในราคาต่ำกว่าต้นทุน และไม่ดำเนินการให้ผ่านการตรวจสอบของผู้จัดการฝ่ายขายโครงการตามระเบียบข้อบังคับ ทำให้ใบเสนอราคาไม่ถูกต้องตามที่จำเลยกำหนด ละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งนายจ้างเป็นอาจิน โดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทำของตนไม่ถูกต้องแต่ยังจงใจทำเพียงเพราะหวังจะได้รับเงินจูงใจค่านายหน้าจากยอดขายที่ทีมขายทำได้ มิได้คำนึงว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้นายจ้างและลูกจ้างอื่นต้องเดือดร้อนเสียหายจากผลประกอบการที่ขาดทุน เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน คำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมในกรณีร้ายแรงนั้น เห็นว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าแม้ใบเสนอราคาที่พนักงานขายโครงการซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ที่ 2 จัดทำส่งไปยังลูกค้าของจำเลยภายหลังวันที่จำเลยมีคำสั่งดังกล่าวไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่จำเลยกำหนด แต่จำเลยมิได้นำพยานหลักฐานใดมาพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าสินค้าตามรายการที่ปรากฏในใบเสนอราคามีราคาขายเพียงใด มีข้อมูลที่กำหนดไว้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ และโจทก์ที่ 2 ได้ทราบถึงราคาขายที่จำเลยกำหนดไว้สำหรับสินค้าดังกล่าวแล้วแต่ยังคงมีเจตนาที่จะขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าราคานั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าความเสียหายที่จำเลยได้รับเป็นผลมาจากการทำงานของโจทก์ที่ 2 โดยตรง พฤติการณ์ในการทำงานของโจทก์ที่ 2 ดังกล่าวยังไม่พอฟังว่าจงใจทำใบเสนอราคาแก่ลูกค้าในราคาและเงื่อนไขที่ทำให้จำเลยเสียหาย จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงแล้วว่าโจทก์ที่ 2 มิได้มีมูลเหตุจูงใจใดให้ต้องจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ดังนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์โดยอ้างว่าโจทก์ที่ 2 จงใจทำเพียงเพราะหวังจะได้รับเงินจูงใจค่านายหน้าจากยอดขาย จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 2 จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน คำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

สำหรับปัญหาประการสุดท้ายที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เพราะโจทก์ทั้งสองละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งนายจ้าง ไม่นำสินค้าไปเสนอขายให้แก่ลูกค้าตามนโยบายและแผนงานของจำเลย กระทั่งมีการขายสินค้าให้กับลูกค้าในราคาที่ต่ำกว่าทุน จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้น เห็นว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ได้นำสินค้าค้างสต็อกไปขายตามนโยบายของจำเลยโดยมีเจตนาที่จะไม่ร่วมมือหรือปฏิบัติตามนโยบายของจำเลย จึงเป็นการจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง ส่วนโจทก์ที่ 2 ก็ไม่จัดทำใบเสนอราคาและไม่ตรวจสอบให้พนักงานจัดทำใบเสนอราคาให้เป็นไปตามที่จำเลยกำหนดอันเป็นการบริหารงานขายไม่เป็นไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและละเลยไม่ควบคุมพนักงานให้ปฏิบัติตามแผนงาน จึงเป็นการจงใจขัดคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างเช่นกัน ดังนั้นแม้การกระทำของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะยังไม่ถึงกับเป็นการกระทำผิดร้ายแรง แต่ก็มีเหตุอันสมควรเพียงพอที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจให้ปฏิบัติงานต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วยจึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์จำเลยฟังขึ้นบางส่วน

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

     มาตรา 5 "ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่าย เป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำ งานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะ เวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำ งานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างให้แก่ ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับ ตามพระราชบัญญัตินี้
     "ค่าจ้างในวันทำงาน" หมายความว่า ค่าจ้างที่จ่ายสำหรับการทำ ทำงานเต็มเวลาการทำงานปกติ

     มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันแต่ไม่ครบหนึ่งปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปีแต่ไม่ครบสามปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปีแต่ไม่ครบหกปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปีแต่ไม่ครบสิบปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(5) ลูกล้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไปให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
     การเลิกจ้างตามมาตรานี้หมายความว่าการกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใดและหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
     ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
     การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้ สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจ หรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานหรือในงานที่เป็นไปตาม ฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้นซึ่งงานนั้นจะต้อง แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง




เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน

ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาฝ่ายเดียวต้องดำเนินการภายใน 7 วัน
เล่นอินเตอร์เน็ตในเวลาทำงานเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว
ค่าจ้างค้างจ้ายกับดอกเบี้ยผิดนัดที่ลูกจ้างมีสิทธิคิดเอากับนายจ้าง
เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือ
นายจ้างมอบอำนาจบังคับบัญชาให้ผู้อื่น
คำนวณจ่ายค่าชดเชย-ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างหรือไม่
ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง
บำเหน็จดำรงชีพกับบำเหน็จตกทอด
อ้างเหตุเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจะกระทำได้แต่จ้างงานในโครงการเฉพาะ
การจงใจฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง คำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งใหม่
การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุไม่อาจถอนได้
เรียกค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ฝ่าฝืนระเบียบนายจ้างมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เลิกจ้างโดยไม่ได้ตักเตือนก่อนเป็นหนังสือต้องจ่ายค่าชดเชย
ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในกรณีร้ายแรง
สิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ | ย้ายสถานประกอบกิจการ
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด
ตำแหน่งพนักงานขับรถ-สัญญาจ้างแรงงาน หรือสัญญาจ้างทำของ?
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
แม่บ้านทำงานบ้านฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างให้ลูกจ้างขับรถขนส่งทำงานติดต่อกันถึงวันละ 24 ชั่วโมงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างเป็นอำนาจบริหารจัดการของนายจ้าง
นายจ้างประกอบกิจการขนส่งย้ายที่ลงเวลาทำงานไปตั้งอยู่ที่อื่น
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานฝ่ายลูกจ้างไม่คัดค้าน
ดอกเบี้ยผิดนัดหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชย 15% ต่อปีไม่ใช่ 7.5%
สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดทำให้สิทธิรับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเที่ยวระงับด้วย
สิทธิของลูกจ้างกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างประกาศหยุดกิจการชั่วคราว | ค่าจ้างระหว่างหยุดงาน
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
สัญญาจ้างทดลองงาน | สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
บทความเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน
นายจ้างฟ้องไล่เบี้ยลูกจ้างให้รับผิดฐานละเมิดต่อบุคคลภายนอก
นายจ้างขอให้ศาลเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง
ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาต่างประเทศ
ลูกจ้างส่งภาพโป๊ลามกอนาจารในเวลาทำงาน
ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง
หน้าที่นายจ้างวางเงินก่อนฟ้องคดี
ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานร้ายแรง
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม-สินจ้างแทนการบอกกล่าว
ลูกจ้างชั่วคราวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์