ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




หมวด 2 การพิจารณา คำพิพากษาและคำสั่งชั้นศาลอุทธรณ์ มาตรา 203 ถึง มาตรา 215

หมวด 2 การพิจารณา คำพิพากษาและคำสั่งชั้นศาลอุทธรณ์


 

มาตรา 203 ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาโดยเปิดเผยเฉพาะแต่ใน กรณีที่นัดหรืออนุญาตให้คู่ความมาพร้อมกัน หรือมีการสืบพยาน

 

มาตรา 204 เมื่อจะพิจารณาในศาลโดยเปิดเผย ให้ศาลอุทธรณ์ ออกหมายนัดกำหนดวันพิจารณาไปยังคู่ความให้ทราบล่วงหน้า อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าห้าวัน

การฟังคำแถลงการณ์นั้นห้ามมิให้กำหนดช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่ วันรับสำนวนถ้ามีเหตุพิเศษจะช้ากว่านั้นก็ได้แต่อย่าให้เกินสองเดือน เหตุที่ต้องช้าให้ศาลรายงานไว้

 

มาตรา 205 คำร้องขอแถลงการณ์ด้วยปากให้ติดมากับฟ้อง อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์

คำแถลงการณ์เป็นหนังสือให้ยื่นก่อนวันศาลอุทธรณ์พิพากษา

คำแถลงการณ์ด้วยปากหรือหนังสือก็ตาม มิให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของอุทธรณ์ ให้นับว่าเป็นแต่คำอธิบายข้ออุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ เท่านั้น

คำแถลงการณ์เป็นหนังสือจะยื่นต่อศาลชั้นต้นหรือต่อศาลอุทธรณ์ ก็ได้

 

มาตรา 206 ระเบียบแถลงการณ์ด้วยปากมีดั่งนี้

(1) ถ้าคู่ความฝ่ายใดขอแถลงการณ์ ให้ฝ่ายนั้นแถลงก่อน แล้วให้อีกฝ่ายหนึ่งแถลงแก้ เสร็จแล้วฝ่ายแถลงก่อนแถลงแก้ได้อีก
(2) ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายขอแถลงการณ์ ให้ผู้อุทธรณ์แถลง ก่อนแล้วให้อีกฝ่ายหนึ่งแถลงแก้ เสร็จแล้วให้ผู้อุทธรณ์แถลงแก้ได้อีก
(3) ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายขอแถลงการณ์และเป็นผู้อุทธรณ์ทั้งคู่ ให้โจทก์แถลงก่อน แล้วให้จำเลยแถลง เสร็จแล้วโจทก์แถลงแก้ได้อีก

 

มาตรา 207 เมื่อมีอุทธรณ์คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้ ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกหรือจับจำเลย ซึ่งศาลนั้นปล่อยตัวไปแล้ว มาขังหรือปล่อยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์ก็ได้ หรือถ้าจำเลยถูกขัง อยู่ระหว่างอุทธรณ์ จะสั่งให้ศาลชั้นต้นปล่อยจำเลยหรือปล่อยชั่วคราว ก็ได้

 

มาตรา 208 ในการพิจารณาคดีอุทธรณ์ตามหมวดนี้
(1) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าควรสืบพยานเพิ่มเติม ให้มีอำนาจเรียก พยานสืบเอง หรือสั่งศาลชั้นต้นสืบให้ เมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานแล้ว ให้ส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์เพื่อวินิจฉัยต่อไป
(2) ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการจำเป็น เนื่องจากศาลชั้นต้นมิได้ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ก็ให้พิพากษาสั่งให้ศาลชั้นต้น ทำการพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดี


 

มาตรา 208ทวิ ถ้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เห็นสมควรจะ ให้มีการวินิจฉัยปัญหาใด ในคดีเรื่องใดโดยที่ประชุมใหญ่ก็ได้

ที่ประชุมใหญ่ให้ประกอบด้วยผู้พิพากษาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ แต่ต้องไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนผู้พิพากษาแห่งศาลนั้น และให้อธิบดีผู้ พิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นประธาน

การวินิจฉัยในที่ประชุมใหญ่ให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าในปัญหาใดมี ความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่ายหรือเกินสองฝ่ายขึ้นไป จะหาเสียงข้าง มากมิได้ ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมาก ยอม เห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า

ในคดีซึ่งที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยปัญหาแล้ว คำพิพากษาหรือ คำสั่งต้องเป็นไปตามคำวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ และต้องระบุไว้ ด้วยว่าปัญหาข้อใดได้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ผู้พิพากษาที่เข้า ประชุมแม้มิใช้เป็นผู้นั่งพิจารณา ก็ให้มีอำนาจพิพากษาทำคำสั่งหรือ ทำความเห็นแย้งในคดีนั้นได้

 

มาตรา 209 ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยมิชักช้า และจะอ่าน คำพิพากษาที่ศาลอุทธรณ์ หรือส่งไปให้ศาลชั้นต้นอ่านก็ได้


 

มาตรา 210 เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าฟ้องอุทธรณ์มิได้ยื่นในกำหนด ให้พิพากษายกฟ้องอุทธรณ์นั้นเสีย


 

มาตรา 211 เมื่อมีอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาในประเด็นสำคัญ และคัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาด้วย ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาโดย คำพิพากษาอันเดียวกันก็ได้


 

มาตรา 212 คดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้ อุทธรณ์ในทำนองนั้น


 

มาตรา 213 ในคดีซึ่งจำเลยผู้หนึ่งอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา ซึ่งให้ลงโทษจำเลยหลายคนในความผิดฐานเดียวกันหรือต่อเนื่องกัน ถ้าศาลอุทธรณ์กลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่ลงโทษหรือ ลดโทษให้จำเลย แม้เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลอุทธรณ์มี อำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์ให้มิต้องถูกรับ โทษ หรือได้ลดโทษดุจำเลยผู้อุทธรณ์


 

มาตรา 214 นอกจากมีข้อความซึ่งต้องมีในคำพิพากษาศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องปรากฏข้อความดั่งต่อไปนี้ด้วย
(1) นามหรือตำแหน่งของผู้อุทธรณ์
(2) ข้อความว่า ยืน ยก แก้หรือกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น


 

มาตรา 215 นอกจากที่บัญญัติมาแล้ว ให้นำบทบัญญัติว่าด้วย การพิจารณาและว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้นต้น มาบังคับ ในชั้นศาลอุทธรณ์ด้วยโดยอนุโลม

 




ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ภาค 1 ข้อความเบื้องต้น ลักษณะ 1 หลักทั่วไป มาตรา 1 ถึง มาตรา 15
ลักษณะ 2 อำนาจพนักงานสอบสวนและศาล หลักทั่วไป มาตรา 16
หมวด 2 อำนาจสืบสวนและสอบสวน มาตรา 17 ถึง มาตรา 21
หมวด 3 อำนาจศาล มาตรา 22 ถึง มาตรา 27
ลักษณะ 3 การฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา หมวด 1 การฟ้องคดีอาญา มาตรา 28 ถึง มาตรา 39
หมวด 2 การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา มาตรา 40 ถึง มาตรา 51
ลักษณะ 4 หมายเรียกและหมายอาญา หมวด 1 หมายเรียก มาตรา 52 ถึง มาตรา 56
หมวด 2 หมายอาญา ส่วนที่ 1 หลักทั่วไป มาตรา 57 ถึง มาตรา 65
ส่วนที่ 2 หมายจับ มาตรา 66 ถึง มาตรา 68
ส่วนที่ 3 หมายค้น มาตรา 69 ถึง มาตรา 70
ส่วนที่ 4 หมายขัง หมายจำคุก หมายปล่อย มาตรา 71 ถึง มาตรา 76
ลักษณะ 5 จับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อยชั่วคราว หมวด 1 จับ ขัง จำคุก มาตรา 77 ถึง มาตรา 90
หมวด 2 ค้น มาตรา 91 ถึง มาตรา 105
หมวด 3 ปล่อยชั่วคราว มาตรา 106 ถึง มาตรา 119
ภาค 2 สอบสวน ลักษณะ 1 หลักทั่วไป มาตรา 120 ถึง มาตรา 129
ลักษณะ 2 การสอบสวน หมวด 1 การสอบสวนสามัญ มาตรา 130 ถึง มาตรา 147
หมวด 2 การชันสูตรพลิกศพ มาตรา 148 ถึง มาตรา 156
ภาค 3 วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น ลักษณะ 1 ฟ้องคดีอาญาและไต่สวนมูลฟ้อง มาตรา 157 ถึง มาตรา 171
ลักษณะ 2 การพิจารณา มาตรา 172 ถึง มาตรา 181
ลักษณะ 3 คำพิพากษาและคำสั่ง มาตรา 182 ถึง มาตรา 192
ภาค 4 อุทธรณ์และฎีกา ลักษณะ 1 อุทธรณ์ หมวด 1 หลักทั่วไป มาตรา 193 ถึง มาตรา 202
ลักษณะ 2 ฎีกา หมวด 1 หลักทั่วไป
หมวด 2 การพิจารณา คำพิพากษาและคำสั่งชั้นฎีกา มาตรา 225
ภาค 5 พยานหลักฐาน หมวด 1 หลักทั่วไป มาตรา 226 ถึง มาตรา 231
หมวด 2 พยานบุคคล มาตรา 232 ถึง มาตรา 237
หมวด 3 พยานเอกสาร มาตรา 238 ถึง มาตรา 240
หมวด 4 พยานวัตถุ มาตรา 241 ถึง มาตรา 242
หมวด 5 ผู้ชำนาญการพิเศษ มาตรา 243 ถึง มาตรา 244
หมวด 1 การบังคับตามคำพิพากษา มาตรา 245 ถึง มาตรา 251
หมวด 2 ค่าธรรมเนียม มาตรา 252 ถึง มาตรา 258
ภาค 7 อภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษ มาตรา 259 ถึง มาตรา 267