ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE

   ห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

     ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 (หญิงคู่หมั้น) คืนของหมั้นราคา 32,500 บาท ดังนั้นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงมีเพียง 32,500 บาท ไม่เกิน 50,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
และพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันคืนของหมั้นราคา 32,500 บาท และเงินสินสอดจำนวน130,000 บาท จำเลยที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 รวมเป็นเงิน 162,500บาท อุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ต้องคืนของหมั้นและสินสอด ดังนั้นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา คือ 162,500 บาท ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2549

      ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3ร่วมกันคืนของหมั้นสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท ราคา 32,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันคืนเงินสินสอดจำนวน 130,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงมีเพียง 32,500 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสกัน เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในปัญหาดังกล่าวให้ เป็นการไม่ชอบตามมาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาปัญหาเพียงข้อเดียวว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

     ในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีราคารวมเป็นเงิน 162,500บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของขำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลจึงเป็นฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

    คดีนี้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกับคดีหมายเลขแดงที่ 73/2546 ของศาลชั้นต้น โดยให้เรียกโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในสำนวนนี้ตามเดิมและเรียกโจทก์ในสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 73/2546 ว่าโจทก์ที่ 1 และเรียกนายธนูชัย แฝงฤทธิ์ จำเลยในสำนวนคดีดังกล่าวว่าจำเลยที่ 4 และคดีในส่วนของจำเลยที่ 4 ยุติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว

     โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นใจความว่า เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2544 โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาของโจทก์ที่ 1 ไปสู่ขอจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 1 โดยมีเจตนาสมรสเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2544 ได้ทำพิธีแต่งงานตามประเพณีกันโดยฝ่ายโจทก์มอบของหมั้นเป็นสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท ราคา 32,500 บาท และสินสอดเป็นเงินสด จำนวน 130,000 บาท ให้แก่ฝ่ายจำเลยครบถ้วนแล้ว ต่อมาโจทก์ที่ 1 ชวนจำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนสมรส แต่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ยอมให้จดทะเบียนสมรสและยอมให้จำเลยที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 4 ถือว่าฝ่ายจำเลยผิดสัญญาหมั้น โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาหมั้น ขอให้จำเลยที่ 1 คืนของหมั้นสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท ราคา 32,000 บาท หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแก่โจทก์ทั้งสองและให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 คืนเงินสดจำนวน 130,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง กับให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันใช้คืนเงินจำนวน 162,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แก้โจทก์ทั้งสองนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้น 100,000 บาท จนกว่าจำเลยที่ 4 จะชำระเสร็จ

     จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ให้การว่า จำเลยทั้งสามมิได้ผิดสัญญาหมั้น เพราะโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 แต่งงานตามประเพณีและอยู่กินฉันสามีภริยาประมาณ 1 ปีเศษ โจทก์ที่ 1 ก็ไม่เคยนำพาจำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนสมรส เมื่อจำเลยที่ 1 เรียนจบได้หางานทำกับโจทก์ที่ 1 ที่กรุงเทพมหานคร แต่มีเรื่องทะเลาะกัน โจทก์ที่ 1 จึงบอกเลิกกับจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกของหมั้นและสินสอดคืน ขอให้ยกฟ้อง

     จำเลยที่ 4 ให้การว่า ไม่ได้ร่วมประเวณีกับจำเลยที่ 1 และนับแต่วันที่โจทก์ที่ 1 แต่งงานตามประเพณีกับจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 4 ก็ไม่เคยเกี่ยวข้องกับครอบครัวของโจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจำนวน 100,000 บาท จากจำเลยที่ 4 ขอให้ยกฟ้อง

     ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนของหมั้นสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท ราคา 32,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสอง หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนแก่โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนเงินสินสอดจำนวน 130,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง กับให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันชำระดอกเบี้ยฝนอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 32,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้น 130,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสอง นับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองสำนวน โดยกำหนดค่าทนายความสำนวนละ 3,000 บาท ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 4 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 4 ให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

      จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์

      ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3
     จำเลยที่ ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ฎีกา

     ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนของหมั้น สร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท ราคา 32,500 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนเงินสินสอดจำนวน 130,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับที่เลยที่ 1 จึงมีเพียง 32,500 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ปัญหาในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสกันนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในปัญหาดังกล่าวให้เป็นการไม่ชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ฎีกาปัญหาเพียงข้อเดียวว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น ฎีกาในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง และสำหรับในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีราคารวมเป็นเงิน 162,500 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองจึงเป็นฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ 3 ดังกล่าวมาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

          พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว เฉพาะส่วนที่วินิจฉัยในข้อเท็จจริงให้จำเลยที่ 1 ร่วมกันหรือแทนกันคืนของหมั้นสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท ราคา 32,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยให้บังคับเรื่องของหมั้นสำหรับจำเลยที่ 1 ไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ยกฎีกาจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมอื่นชั้นฎีกานอกจากที่คืนให้เป็นพับ

           ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

     มาตรา 224 ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท กันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดใน พระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทำความเห็นแย้งไว้ หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือถ้าไม่มีความเห็นแย้ง หรือคำรับรองเช่นว่านี้ ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือ จากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจ แล้วแต่กรณี
     บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพ บุคคลหรือสิทธิในครอบครัวและคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่ อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ ในขณะยื่น คำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดใน พระราชกฤษฎีกา
     การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น รับรองว่ามี เหตุอันควรอุทธรณ์ได้ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อม กับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ให้ศาลส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้พิพากษาดังกล่าว เพื่อพิจารณารับรอง

     มาตรา 248 ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท กันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษา ที่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลอุทธรณ์ได้มีความเห็นแย้ง หรือผู้พิพากษา ที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นก็ดี ศาลอุทธรณ์ก็ดี ได้รับรองไว้หรือรับรองในเวลาตรวจฎีกาว่ามีเหตุสมควร ที่จะฎีกาได้ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับ อนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
     บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพ บุคคลหรือสิทธิในครอบครัว และคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่ อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออก จากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ ในขณะยื่นคำฟ้อง ไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
     คดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของผู้ถูกฟ้องขับไล่ ซึ่งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งคู่ความในคดีฟ้องขับไล่นั้นต้องห้าม ฎีกาข้อเท็จจริงตามวรรคสอง ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น หรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย ไม่ว่า ศาลจะฟังว่าบุคคลดังกล่าวสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้ หรือไม่ ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเว้นแต่จะได้มีความเห็นแย้งหรือ คำรับรอง หรือหนังสืออนุญาตให้ฎีกาตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง
     การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น หรือศาล อุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรมี่จะฎีกาได้ ให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องถึง ผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลได้รับ คำร้องเช่นว่านั้น ให้ส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้ พิพากษาดังกล่าวเพื่อพิจารณารับรอง

     มาตรา 249 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่น ฎีกานั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา และต้องเป็นข้อที่ ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้ง จะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วยการวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่เป็นสาระแก่คดีข้อใดไม่ควรได้รับการ วินิจฉัยจากศาลฎีกา ให้กระทำโดยความเห็นชอบของรองประธาน ศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมาย แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงอำนาจ ของประธานศาลฎีกาตาม มาตรา 140 วรรคสอง
     ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวน พิจารณาชั้นฎีกา คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้าง ซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้
 

ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีกา

      คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6512/2543

     สำนวนแรกโจทก์ที่ 1 ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันใช้เงินจำนวน 173,143 บาท และโจทก์ที่ 2 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันใช้เงินจำนวน 148,132 บาทส่วนสำนวนหลังจำเลยที่ 3 ฟ้องขอให้บังคับโจทก์กับจำเลยที่ 4 ร่วมกันใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องแก่จำเลยที่ 3 เป็นเงิน 37,006 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีแรก และคดีหลังพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ร่วมกันชำระเงิน 37,006 บาท แก่จำเลยที่ 3 สำนวนแรกทุนทรัพย์ตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท คู่ความจึงถูกห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ส่วนสำนวนหลังทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท คู่ความจึงถูกห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง

      โจทก์อุทธรณ์และฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้ปล่อยปละละเลยหรือไม่สนใจในการดำเนินคดีตามที่ศาลได้วินิจฉัย แต่ติดขัดเพราะการดำเนินการขอคัดถ่ายเอกสารอันเป็นการจัดระเบียบบริหารงานธุรการของศาล เป็นการนอกเหนืออำนาจโจทก์ที่จะดำเนินการก้าวล่วงได้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอให้อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นภายในเวลาที่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาตามลำดับกำหนดเป็นอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริง

      แม้อุทธรณ์และฎีกาของโจทก์เป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้น ก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกามาพิจารณาว่าจะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และฎีกาหรือไม่

      คดีทั้งสองสำนวนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกันโดยเรียกบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด ว่า โจทก์ที่ 1 เรียกนายชูศักดิ์ กิจถาวรกุล ว่า โจทก์ที่ 2 เรียกนายชัยธวัช ภู่โต ว่าจำเลยที่ 1 เรียกบริษัทสยามออซีดีน จำกัด ว่า จำเลยที่ 2 เรียกบริษัททิพยประกันภัย จำกัด ว่า จำเลยที่ 3 และเรียกนางศิริรัตน์ กิจถาวรกุลว่า จำเลยที่ 4

      คดีสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม2540 ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง ให้โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ร่วมกันชำระค่าเสียหายตามมูลหนี้ละเมิดและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องแก่จำเลยที่ 3เป็นเงิน 37,006 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน 36,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

      โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เป็นครั้งที่สามโดยอ้างว่า โจทก์ทั้งสองได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2541 เนื่องจากยังไม่ได้รับคำพิพากษาของศาลและคำพยานที่ได้ขอถ่ายจากศาล ศาลอนุญาตให้ขยายได้ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2541 แต่เนื่องจากเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2541 โจทก์ทั้งสองได้ติดตามคำพิพากษาและคำพยานที่ได้ขอถ่ายไว้ ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่แผนกพิมพ์แจ้งว่าเพิ่งจัดพิมพ์เสร็จและได้นำเสนอผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนตรวจสำนวนไม่สามารถดำเนินการถ่ายให้ได้ทันตามเวลาที่ได้ขอขยาย จึงขอขยายเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 20 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 3 มีนาคม2541 ว่า คำพิพากษาพิมพ์เสร็จและเสนอลงชื่อนานแล้วผู้ร้องไม่ขวนขวายติดต่อขอถ่ายเองจึงไม่อนุญาต

      โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์

      ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

      โจทก์ทั้งสองฎีกา

      ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำนวนแรกโจทก์ที่ 1 ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันใช้เงินจำนวน 173,143 บาท และโจทก์ที่ 2 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันใช้เงินจำนวน 148,132 บาท ส่วนสำนวนหลังจำเลยที่ 3 ฟ้องขอให้บังคับโจทก์กับจำเลยที่ 4 ร่วมกันใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องแก่จำเลยที่ 3 เป็นเงิน 37,006 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีแรก และคดีหลังพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ร่วมกันชำระเงิน 37,006 บาท แก่จำเลยที่ 3 เห็นว่า สำนวนแรกทุนทรัพย์ตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท คู่ความจึงถูกห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ส่วนสำนวนหลังทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท คู่ความจึงถูกห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาทั้งสองสำนวนในทำนองเดียวกันว่า โจทก์ทั้งสองไม่ได้ปล่อยปละละเลยหรือไม่สนใจในการดำเนินคดีตามที่ศาลได้วินิจฉัย แต่ติดขัดเพราะการดำเนินการขอคัดถ่ายเอกสารอันเป็นการจัดระเบียบบริหารงานธุรการของศาลเป็นการนอกเหนืออำนาจโจทก์ที่จะดำเนินการก้าวล่วงได้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมขอให้อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นภายในเวลาที่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาตามลำดับกำหนดด้วย อันเป็นอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริง แม้อุทธรณ์และฎีกาของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวเป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกามาพิจารณาว่าจะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และฎีกาหรือไม่ เมื่อสำนวนแรกมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของโจทก์ทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนสำนวนหลังมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองในข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่ชอบ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

      พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในสำนวนหลัง และยกอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองในสำนวนหลังด้วย และยกฎีกาของโจทก์ทั้งสองสำนวนคืนค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ในสำนวนหลังและคืนค่าธรรมเนียมศาลในชั้นฎีกาทั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งสอง




อุทธรณ์ฎีกา

สาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
เป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษา | ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การอุทธรณ์หรือฎีกาต้องเป็นไปตามลำดับชั้นของศาล
ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาได้เพราะข้อเท็จจริงเกี่ยวพันเป็นอันเดียวกัน
ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แก้ไขเล็กน้อยห้ามโจทก์ฎีกา
ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์
มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนไม่ชอบ
ห้ามโจทก์อุทธรณ์ความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
การดำเนินการะบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์และฎีกา
ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลา
การขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมซึ่งต้องกระทำโดยศาลสูง
ฟ้องรวมกันใช้สิทธิเฉพาะตัวต้องแยกทุนทรัพย์