ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในกรณีร้ายแรง

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

                

ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในกรณีร้ายแรง

ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน

โจทก์จ้างนายอภิเชษฐ ทำงานเป็นลูกจ้าง ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายซ่อมบำรุง กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน โจทก์เลิกจ้างนายอภิเชษฐ นายนายอภิเชษฐร้องทุกข์ต่อจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยได้มีคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยจำนวน 26,460 บาท แก่นายอภิเชษฐ โจทก์อุทธรณ์ว่า นายอภิเชษฐได้เรียกเก็บเงินจากนายอำไพ ผู้จำหน่ายสินค้าให้แก่โจทก์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นความผิดวินัยกรณีร้ายแรง เห็นว่า ศาลแรงงาน รับฟังข้อเท็จจริงว่า นายอภิเชษฐนัดหมายนายอำไพรับประทานอาหารและเรียกเงินเป็นค่าตอบแทนในการอำนวยความสะดวกติดต่อซื้อขายอะไหล่เครื่องยนต์จริง ซึ่งข้อเท็จจริงตามคำสั่งเป็นที่ยุติในชั้นศาลแรงงานว่า นายอภิเชษฐมีหน้าที่รับผิดชอบซ่อมแซมเครื่องจักรและบางครั้งสามารถสืบเสาะราคาอุปกรณ์เครื่องจักรที่จะซื้อเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาจัดซื้อ โดยพิจารณาสินค้าจากตัวแทนขายต่าง ๆ รวมทั้งนายอำไพตัวแทนขายของห้างหุ้นส่วนจำกัดสิริฉัตรเทรดดิ้ง ดังนั้น การที่นายอภิเชษฐ นัดหมายนายอำไพตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดสิริฉัตรเทรดดิ้ง รับประทานอาหารและเรียกเงินเป็นค่าตอบแทนนั้น แม้ว่าการสืบเสาะราคาอุปกรณ์เครื่องจักรที่จะซื้อจะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของนายอภิเชษฐก็ตาม แต่นายอภิเชษฐก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวด้วยและได้เรียกรับเงินจากตัวแทนขายอันเป็นบุคคลภายนอกในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยอาศัยโอกาสในการทำงานกับโจทก์เป็นการประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อสัตย์ ทำให้บุคคลภายนอกขาดความเชื่อถือและส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงทางทำมาหาได้ของโจทก์โดยตรง จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และการกระทำดังกล่าวยังเป็นความผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ ที่ห้ามมิให้พนักงานหาผลประโยชน์ให้ตนเอง และเป็นความผิดร้ายแรงเรื่องการเสนอหรือยอมรับอามิสสินจ้างในการทำงาน ซึ่งกำหนดให้ลงโทษเพียงการไล่ออกขั้นตอนเดียว เมื่อนายอภิเชษฐกระทำความผิดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างนายอภิเชษฐลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ที่ศาลแรงาน พิพากษาว่า การกระทำดังกล่าวมิใช่เป็นกรณีร้ายแรงซึ่งนายจ้างจะต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อนนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2549

อ. เรียกเงินจาก ผ. เป็นค่าตอบแทนในการอำนวยความสะดวกติดต่อซื้อขายอะไหล่เครื่องยนต์ โดย อ. มีหน้าที่รับผิดชอบซ่อมแซมเครื่องจักร และบางครั้งสามารถสืบเสาะราคาอุปกรณ์เครื่องจักรที่จะซื้อเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาจัดซื้อ แม้ว่าการสืบเสาะราคาอุปกรณ์เครื่องจักรที่จะซื้อจะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของ อ. ก็ตาม แต่ อ. ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวด้วย จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยอาศัยโอกาสในการทำงานกับโจทก์เป็นการประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อสัตย์ ทำให้บุคคลภายนอกขาดความเชื่อถือและส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงทางทำมาหาได้ของโจทก์โดยตรง จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) และการกระทำดังกล่าวยังเป็นความผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ และเป็นความผิดร้ายแรง ซึ่งกำหนดให้ลงโทษเพียงการไล่ออกขั้นตอนเดียว เมื่อ อ. กระทำความผิดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรงตามมาตรา 119 (4) โจทก์มีสิทธิเลิกจ้าง อ. ลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2546 โจทก์จ้างนายอภิเชษฐ วิจิตรเวชการ ทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายซ่อมบำรุง ค่าจ้างเดือนละ 8,820 บาท ค่าตำแหน่งเดือนละ 500 บาท จ่ายค่าจ้างเดือนละครั้ง ทุกวันสิ้นเดือน ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 โจทก์เลิกจ้างนายอภิเชษฐโดยไม่จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า สาเหตุที่เลิกจ้างเพราะนายอภิเชษฐกระทำการฝ่าฝืนระเบียบและทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นกรณีความผิดร้ายแรง จำเลยเป็นพนักงานตรวจแรงงานได้รับเรื่องราวร้องทุกข์จากนายอภิเชษฐและมีคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสงขลา ที่ 11/2548 ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยแก่นายอภิเชษฐเป็นเงิน 26,460 บาท โจทก์เห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ถูกต้อง ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว

จำเลยให้การว่า คำสั่งของจำเลยชอบด้วยกฎหมายและข้อเท็จจริงเพราะโจทก์เลิกจ้างนายอภิเชษฐโดยไม่เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 โจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย ขอให้ยกฟ้อง

               ศาลแรงงานภาค 9 พิพากษายกฟ้อง
               โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

               ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า "ศาลแรงงานภาค 9 รับฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2546 โจทก์จ้างนายอภิเชษฐ วิจิตรเวชการ ทำงานเป็นลูกจ้าง ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายซ่อมบำรุง ได้รับค่าจ้างเดือนละ 8,820 บาท และค่าตำแหน่งเดือนละ 500 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 โจทก์เลิกจ้างนายอภิเชษฐตามใบปลดออกจากงานเอกสารหมาย จ.6 ต่อมาวันที่ 21 มกราคม 2548 นายนายอภิเชษฐร้องทุกข์ต่อจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยได้มีคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสงขลา ที่ 11/2548 ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยจำนวน 26,460 บาท แก่นายอภิเชษฐ โจทก์อุทธรณ์ว่า นายอภิเชษฐได้เรียกเก็บเงินจากนายอำไพ สุวรรณโรจน์ ผู้จำหน่ายสินค้าให้แก่โจทก์ แม้จะยังไม่ได้รับเงินจากที่เรียกร้องก็เป็นการทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นความผิดวินัยกรณีร้ายแรงแล้ว นั้น เห็นว่า ศาลแรงงานภาค 9 รับฟังข้อเท็จจริงว่า นายอภิเชษฐนัดหมายนายอำไพรับประทานอาหารและเรียกเงินเป็นค่าตอบแทนในการอำนวยความสะดวกติดต่อซื้อขายอะไหล่เครื่องยนต์จริงและปรากฏตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสงขลา ที่ 11/2548 เอกสารหมาย ล.4 ซึ่งข้อเท็จจริงตามคำสั่งเป็นที่ยุติในชั้นศาลแรงงานภาค 9 ว่า นายอภิเชษฐมีหน้าที่รับผิดชอบซ่อมแซมเครื่องจักรและบางครั้งสามารถสืบเสาะราคาอุปกรณ์เครื่องจักรที่จะซื้อเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาจัดซื้อ โดยพิจารณาสินค้าจากตัวแทนขายต่าง ๆ รวมทั้งนายอำไพตัวแทนขายของห้างหุ้นส่วนจำกัดสิริฉัตรเทรดดิ้ง ดังนั้น การที่นายอภิเชษฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่ซ่อมแซมสืบเสาะราคาอุปกรณ์ในเครื่องจักร นัดหมายนายอำไพตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดสิริฉัตรเทรดดิ้ง รับประทานอาหารและเรียกเงินเป็นค่าตอบแทนนั้น แม้ว่าการสืบเสาะราคาอุปกรณ์เครื่องจักรที่จะซื้อจะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของนายอภิเชษฐก็ตาม แต่นายอภิเชษฐก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวด้วยและได้เรียกรับเงินจากตัวแทนขายอันเป็นบุคคลภายนอกในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยอาศัยโอกาสในการทำงานกับโจทก์เป็นการประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อสัตย์ ทำให้บุคคลภายนอกขาดความเชื่อถือและส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงทางทำมาหาได้ของโจทก์โดยตรง จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) และการกระทำดังกล่าวยังเป็นความผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ บทที่ 7 ระเบียบวินัยและการดำเนินการทางวินัย ข้อ 33 ความซื่อสัตย์ ข้อย่อย 5 ที่ห้ามมิให้พนักงานหาผลประโยชน์ให้ตนเอง และเป็นความผิดร้ายแรงตาม ข้อ 36 เรื่องการเสนอหรือยอมรับอามิสสินจ้างในการทำงาน ซึ่งกำหนดให้ลงโทษเพียงการไล่ออกขั้นตอนเดียว เมื่อนายอภิเชษฐกระทำความผิดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรงตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างนายอภิเชษฐลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ที่ศาลแรงานภาค 9 พิพากษาว่า การกระทำดังกล่าวมิใช่เป็นกรณีร้ายแรงซึ่งนายจ้างจะต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อนนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์โจทก์ฟังขึ้น"

           พิพากษากลับ ให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสงขลา ที่ 11/2548 ลงวันที่ 20 เมษายน 2548.

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้ กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ





เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน

ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาฝ่ายเดียวต้องดำเนินการภายใน 7 วัน
เล่นอินเตอร์เน็ตในเวลาทำงานเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว
ค่าจ้างค้างจ้ายกับดอกเบี้ยผิดนัดที่ลูกจ้างมีสิทธิคิดเอากับนายจ้าง
เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือ
นายจ้างมอบอำนาจบังคับบัญชาให้ผู้อื่น
คำนวณจ่ายค่าชดเชย-ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างหรือไม่
ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง
บำเหน็จดำรงชีพกับบำเหน็จตกทอด
อ้างเหตุเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจะกระทำได้แต่จ้างงานในโครงการเฉพาะ
การจงใจฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง คำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งใหม่
การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุไม่อาจถอนได้
เรียกค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ฝ่าฝืนระเบียบนายจ้างมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เลิกจ้างโดยไม่ได้ตักเตือนก่อนเป็นหนังสือต้องจ่ายค่าชดเชย
สิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ | ย้ายสถานประกอบกิจการ
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด
ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเพื่อคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ตำแหน่งพนักงานขับรถ-สัญญาจ้างแรงงาน หรือสัญญาจ้างทำของ?
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
แม่บ้านทำงานบ้านฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างให้ลูกจ้างขับรถขนส่งทำงานติดต่อกันถึงวันละ 24 ชั่วโมงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างเป็นอำนาจบริหารจัดการของนายจ้าง
นายจ้างประกอบกิจการขนส่งย้ายที่ลงเวลาทำงานไปตั้งอยู่ที่อื่น
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานฝ่ายลูกจ้างไม่คัดค้าน
ดอกเบี้ยผิดนัดหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชย 15% ต่อปีไม่ใช่ 7.5%
สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดทำให้สิทธิรับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเที่ยวระงับด้วย
สิทธิของลูกจ้างกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างประกาศหยุดกิจการชั่วคราว | ค่าจ้างระหว่างหยุดงาน
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
สัญญาจ้างทดลองงาน | สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
บทความเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน
นายจ้างฟ้องไล่เบี้ยลูกจ้างให้รับผิดฐานละเมิดต่อบุคคลภายนอก
นายจ้างขอให้ศาลเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง
ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาต่างประเทศ
ลูกจ้างส่งภาพโป๊ลามกอนาจารในเวลาทำงาน
ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง
หน้าที่นายจ้างวางเงินก่อนฟ้องคดี
ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานร้ายแรง
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม-สินจ้างแทนการบอกกล่าว
ลูกจ้างชั่วคราวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์