ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าคืออะไร?

 กรณีการจ้างงานที่ไม่มีระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน ตามกฎหมาย การเลิกจ้างจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อถึง หรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้มีผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป 

ในกรณี หากนายจ้างบอกเลิกสัญญาให้มีผลล่วงหน้าแล้ว แต่ไม่ประสงค์จะให้ลูกจ้างปฏิบัติงานจนถึงวันที่จะให้เลิกสัญญาแล้ว นายจ้างจะจ่ายสินจ้างให้ครบตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวนั้นแทนก็ได้ ซึ่งเรามักจะเรียกกันว่า สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

ระยะเวลาในการบอกกล่าวล่วงหน้า เพื่อให้มีผลเลิกสัญญากันในงวดการจ่ายสินจ้างคราวต่อไปนั้น วันที่บอกกล่าวจะต้องเป็นวัน ก่อน หรือ ภายใน วันจ่ายค่าจ้าง เพื่อให้การบอกเลิกสัญญานั้น เต็ม ระยะเวลาของงวดการจ่ายเงินล่วงหน้าดังกล่าว การบอกเลิกสัญญาช้าไปเพียง 1 วัน อาจมีผลทำให้การบอกเลิกสัญญานั้นไม่ครบกำหนดเวลาในวันจ่ายสินจ้างคราวต่อไป ซึ่งจะมีผลทำให้นายจ้างต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามากกว่าค่าจ้าง 1 งวดได้

 ข้อสอบความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ ๗๐ ปีการศึกษา ๒๕๖๐

     ข้อ ๘. นายบุญเลิศเป็นลูกจ้างของบริษัทบุญสร้าง จำกัด ทำงานมา ๓ ปีเศษ ได้รับค่าจ้างเดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน ต่อมานายบุญเลิศยื่นใบลาออกต่อบริษัทบุญสร้าง จำกัด เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ เพื่อให้มีผลเป็นการลาดออกในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐  แต่บริษัทบุญสร้าง จำกัด อนุมัติให้นายบุญเลิศลาออกโดยมีผลในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐  แล้วไม่ให้นายบุญเลิศมาทำงานอีกต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้างให้

              ให้วินัจฉัยว่า บริษัทบุญสร้าง จำกัด เลิกจ้างนายบุญเลิศ หรือไม่ และต้องจ่ายค่ราชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือค่าเสียหายแก่นายบุญเลิศหรือไม่ เพียงใด
 
ธงคำตอบ
 
     นายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานได้เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมตกลงหรืออนุมัติ  การเลิกสัญญาแรงงานจึงมีผลในวันที่ลูกจ้างแจ้งไว้คือวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐  หลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกต่อนายจ้างแล้ว ก็ไม่อาจถอนเจตนานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘๖  วรรคสอง  ศัญญาจ้างแรงงานย่อมจะมีผลสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว (วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐) แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างออกจากงบานก่อนวันดังกล่าวตามที่นายจ้างประสงค์โดยลูกจ้างไม่มีความผิด ก็มีผลทำให้ลูกจ้างเสียหายเพียงเท่าที่ไม่ได้รับค่าจ้างจนถึงวันที่ลูกจ้างลาออกเท่านั้น มิใช่เป็นการเลิกจ้างอันมีผลที่จะทำให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘  และต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างที่นายจ้างบอกเลิกจ้างแล้วให้ออกจากงานทันที โดยไม่บอกกล่าวให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า  ตามพระราชบัญญัตจิคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑  มาตรา ๑๗ วรรคสอง และวรรคสาม  เมื่อบริษัทบุญสร้าง จำกัด  ไม่ได้เลิกจ้างนายบุญเลิศ จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่นายบุญเลิศ  แต่การที่บริษัทบุญสร้าง จำกัด ให้นายบุญเลิศออกจากงานก่อนกำหนดที่นายบุญเลิศประสงค์ คือวันที่ ๓๑ กรกฎาคม  ๒๕๖๐ นั้นมีผลทำให้นายบุญเลิศได้รับความเสียหายเท่าที่ไม่ได้รับค่าจ้างจนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐  บริษัทบุญสร้าง จำกัด  จึงต้องจ่ายค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างที่นายบุญเลิศมีสิทธิได้รับนับแต่วันให้ออกจากงานจนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๑๖๑/๒๕๕๑)
 
 มาตรา 386  ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง
                   แสดงเจตนาดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่
 
มาตรา 118  ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง  ดังต่อไปนี้
 
(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณ เป็นหน่วย
 
(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
 
(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
 
(4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
 
(5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
 
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
 
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10161/2551
 
โจทก์แสดงความประสงค์ลาออกจากงานต่อจำเลยเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 โดยให้มีผลวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 เป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งการเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้นนายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาได้แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมตกลงหรืออนุมัติ จึงมีผลในวันที่โจทก์แจ้งไว้ และไม่อาจถอนเจตนานั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ดังนั้น สัญญาจ้างแรงงานย่อมจะมีผลสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 แม้จำเลยจะให้โจทก์ออกจากงานก่อนถึงวันดังกล่าวตามที่โจทก์ประสงค์โดยโจทก์ไม่มีความผิด ก็มีผลทำให้โจทก์เสียหายเพียงเท่าที่ไม่ได้รับค่าจ้างจนถึงวันที่โจทก์ประสงค์จะออกเท่านั้น จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างอันมีผลที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
 
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2543 จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างเริ่มทำงานตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายสาขา จนกระทั่งสุดท้ายทำงานตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติงานระหว่างประเทศ ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 75,000 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 25 ของเดือน ต่อมาวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ทำงานกับจำเลยติดต่อกันครบหนึ่งปีแต่ไม่ครบสามปี จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน เป็นเงิน 225,000 บาทสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน 77,500 บาท แต่จำเลยไม่ยอมจ่ายและโจทก์มีความประสงค์จะกลับเข้าทำงานกับจำเลยต่อไป หากไม่อาจกลับเข้าทำงานได้ขอคิดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน 4,500,000 บาท และจำเลยค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ของวันที่ 1 ถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 เป็นเงิน 57,500 บาท กับจำเลยไม่ออกใบสำคัญแสดงการทำงานเป็นภาษาอังกฤษให้โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมโดยนับระยะเวลาการทำงานต่อ และจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย 57,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 15 ของค่าจ้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วัน นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ หากไม่อาจกลับเข้าทำงานได้ให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย 225,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 77,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์ 4,500,000 บาท และให้จำเลยออกใบสำคัญแสดงการทำงานเป็นภาษาอังกฤษให้โจทก์ 1 ฉบับ
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ แต่โจทก์ขอลาออกจากงานเองโดยเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2545 โจทก์ส่งอีเมลขอลาออกต่อนายลารส์ และนายแดน ผู้บังคับบัญชาโจทก์ว่าประสงค์จะลาออกจากงาน นายมาร์คัส หัวหน้างานโจทก์เสนอให้โจทก์ทำงานต่ออีก 1 เดือน โจทก์ยินยอม จำเลยตกลงให้โจทก์ทำงานต่อโดยให้มีผลเป็นการลาออกตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2545 ต่อมาวันที่ 22 กรกฎาคม 2545 โจทก์มีปากเสียงกับนายมาร์คัส เป็นผลให้มีการตกลงระหว่างกันว่าโจทก์จะลาออกในวันดังกล่าวก่อนกำหนดเดิม แต่ยังได้รับค่าจ้างทั้งเดือนกรกฎาคม 2545 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหาย สำหรับค่าจ้างเดือนกรกฎาคม 2545 จำเลยไม่ได้จงใจผิดนัด โดยจำเลยจ่ายเป็นเช็คจำนวนเงิน 66,050 บาท (หักภาษีแล้ว) ฝากเข้าบัญชีของโจทก์แต่บัญชีของโจทก์ปิดแล้ว จำเลยจึงออกเช็คฉบับใหม่ให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมรับเองจึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม ส่วนใบสำคัญแสดงการทำงานของโจทก์ จำเลยพร้อมจะออกให้ทันทีเมื่อโจทก์แสดงความจำนง ขอให้ยกฟ้อง
ระหว่างพิจารณา โจทก์รับเงินค่าจ้างที่จำเลยนำมาวางศาลจำนวน 66,050 บาท (หักภาษีแล้ว) และจำเลยรับว่าจะออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้โจทก์ โจทก์ขอสละสิทธิเรียกร้องเรื่องค่าจ้างค้างจ่ายและใบสำคัญแสดงการทำงาน
 
            ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง
            โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
    ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า "ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า โจทก์แสดงความประสงค์ลาออกจากงานเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 โดยให้มีผลวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 การลาออกของโจทก์จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานซึ่งหลังจากโจทก์แสดงเจตนาลาออกต่อจำเลยแล้ว โจทก์ไม่อาจถอนเจตนานั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 วรรคสอง และไม่มีกฎหมายกำหนดว่าจะมีผลต่อเมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องอนุมัติเสียก่อน ดังนั้น การลาออกของโจทก์จึงมีผลตามวันเวลาที่โจทก์กำหนดไว้ทันทีนับแต่วันแสดงเจตนา ส่วนการที่จำเลยจะให้โจทก์ออกจากงานก่อนถึงวันที่โจทก์ประสงค์จะลาออกจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างหรือไม่ ก็มิใช่การเลิกจ้าง เพียงแต่เป็นการให้โจทก์ออกจากงานก่อนครบกำหนดตามที่โจทก์แสดงเจตนาเท่านั้น และจะเสียหายเช่นใดก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ในข้อ 2.1 ตอนท้าย และข้อ 2.2 ตามที่ศาลฎีกามีคำสั่งให้รับไว้พิจารณาว่า การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานก่อนถึงวันที่โจทก์ประสงค์จะลาออกเป็นการเลิกจ้างอันมีผลทำให้จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์หรือไม่ โดยโจทก์อุทธรณ์ว่า การที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือโจทก์ลาออกจากงานเองต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในขณะที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานนั้นเองว่าเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ มิใช่เอาการแสดงเจตนาของโจทก์แต่เดิมมาเป็นเกณฑ์วินิจฉัยตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลาง เห็นว่า การที่โจทก์แสดงความประสงค์ลาออกจากงานต่อจำเลยเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 โดยให้มีผลวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 ย่อมเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งการเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้นนายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานได้แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่จำต้องให้อกีฝ่ายหนึ่งยินยอมตกลงหรืออนุมัติการเลิกสัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวจึงมีผลในวันที่โจทก์แจ้งไว้ และหลังจากโจทก์แสดงเจตนาลาออกต่อจำเลยแล้ว ก็ไม่อาจถอนเจตนานั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 วรรคสองดังนั้น สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมจะมีผลสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 อันเป็นผลมาจากการแสดงเจตนาลาออกของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว แม้จำเลยจะให้โจทก์ออกจากงานก่อนถึงวันดังกล่าวตามที่โจทก์ประสงค์โดยโจทก์ไม่มีความผิดก็ตาม ก็มีผลทำให้โจทก์เสียหายเพียงเท่าที่ไม่ได้รับค่าจ้างจนถึงวันที่โจทก์ประสงค์จะออกเท่านั้น ซึ่งในระหว่างพิจารณาจำเลยก็นำค่าจ้างของวันที่ 1 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 โดยหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วมาวางศาลและโจทก์รับค่าจ้างดังกล่าวไปแล้วโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่าไม่ถูกต้องการที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานก่อนถึงวันที่โจทก์ประสงค์จะลาออกจึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างอันมีผลที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์แต่อย่างใด ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ชอบแล้ว"
 
          พิพากษายืน



เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน

ลูกจ้างชั่วคราวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ article
ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาฝ่ายเดียวต้องดำเนินการภายใน 7 วัน
เล่นอินเตอร์เน็ตในเวลาทำงานเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว
ค่าจ้างค้างจ้ายกับดอกเบี้ยผิดนัดที่ลูกจ้างมีสิทธิคิดเอากับนายจ้าง
เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือ
นายจ้างมอบอำนาจบังคับบัญชาให้ผู้อื่น
คำนวณจ่ายค่าชดเชย-ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างหรือไม่
ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง
บำเหน็จดำรงชีพกับบำเหน็จตกทอด
อ้างเหตุเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจะกระทำได้แต่จ้างงานในโครงการเฉพาะ
การจงใจฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง คำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งใหม่
การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุไม่อาจถอนได้
เรียกค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ฝ่าฝืนระเบียบนายจ้างมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เลิกจ้างโดยไม่ได้ตักเตือนก่อนเป็นหนังสือต้องจ่ายค่าชดเชย
ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในกรณีร้ายแรง
สิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ | ย้ายสถานประกอบกิจการ
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด
ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเพื่อคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ตำแหน่งพนักงานขับรถ-สัญญาจ้างแรงงาน หรือสัญญาจ้างทำของ?
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
แม่บ้านทำงานบ้านฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างให้ลูกจ้างขับรถขนส่งทำงานติดต่อกันถึงวันละ 24 ชั่วโมงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างเป็นอำนาจบริหารจัดการของนายจ้าง
นายจ้างประกอบกิจการขนส่งย้ายที่ลงเวลาทำงานไปตั้งอยู่ที่อื่น
ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานฝ่ายลูกจ้างไม่คัดค้าน
ดอกเบี้ยผิดนัดหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชย 15% ต่อปีไม่ใช่ 7.5%
สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดทำให้สิทธิรับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเที่ยวระงับด้วย
สิทธิของลูกจ้างกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างประกาศหยุดกิจการชั่วคราว | ค่าจ้างระหว่างหยุดงาน
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
สัญญาจ้างทดลองงาน | สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
บทความเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน
นายจ้างฟ้องไล่เบี้ยลูกจ้างให้รับผิดฐานละเมิดต่อบุคคลภายนอก
นายจ้างขอให้ศาลเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง
ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาต่างประเทศ
ลูกจ้างส่งภาพโป๊ลามกอนาจารในเวลาทำงาน
ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง
หน้าที่นายจ้างวางเงินก่อนฟ้องคดี
ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานร้ายแรง
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม-สินจ้างแทนการบอกกล่าว