ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย

ทนายความคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สินสมรส อำนาจปกครองบุตร ชู้สาว มรดก

ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด

การที่จะพิจารณาพิพากษาให้บุคคลได้รับโทษทางอาญา กฎหมายที่ใช้ต้องเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คดีนี้จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินทเขตป่าสงวนแห่งชาติตั้งแต่ต้นปี 2558 และได้กระทำต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 การกระทำความผิดของจำเลยจึงมีขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินและยังคงเป็นความผิดอยู่ต่อเนื่องตลอดเวลาที่จำเลยยังยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ จำเลยกระทำความผิดขณะที่กฎหมายฉบับเดิมยังมีผลใช้บังคับ และขณะที่กฎหมายฉบับใหม่ใช้บังคับแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานจับกุมจำเลยภายหลังวันที่ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับแล้ว คดีนี้จึงชอบที่ต้องนำ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มาปรับใช้บังคับลงโทษแก่จำเลย กรณีมิใช่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 3 ที่บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด และหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้ภายหลังการกระทำความผิดขึ้นไม่อาจมีผลย้อนหลังไปเอาผิดหรือลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นดังที่จำเลยฎีกาไม่ พิพากษาจำคุกจำเลย 8 เดือน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 3 ปี และให้คุมความประพฤติของจำเลยมีกำหนด 2 ปี    

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2563

การที่จะนำกฎหมายฉบับใดมาใช้เพื่อพิจารณาพิพากษาให้บุคคลได้รับโทษทางอาญานั้น กฎหมายฉบับดังกล่าวต้องเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คดีนี้จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติตั้งแต่ต้นปี 2558 และได้กระทำต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 การกระทำความผิดของจำเลยจึงมีขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุ และยังคงเป็นความผิดอยู่ต่อเนื่องตลอดเวลาที่จำเลยยังยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยช่วงระหว่างต้นปี 2558 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 การยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง (เดิม) และเมื่อ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับในวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 จำเลยก็ยังคงยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุในเขตป่าสงวนแห่งชาติต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 อันเป็นวันที่เจ้าพนักงานจับกุมจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดขณะที่กฎหมายฉบับเดิมยังมีผลใช้บังคับ และขณะที่กฎหมายฉบับใหม่ใช้บังคับแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานจับกุมจำเลยภายหลังวันที่ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับแล้ว และตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 ด้วย คดีนี้จึงชอบที่ต้องนำ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มาปรับใช้บังคับลงโทษแก่จำเลย กรณีมิใช่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 3 ที่บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด และหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้ภายหลังการกระทำความผิดขึ้นไม่อาจมีผลย้อนหลังไปเอาผิดหรือลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นดังที่จำเลยฎีกาไม่ ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาแก้ไขเพิ่มเติมโทษที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษแก่จำเลยแต่อย่างใด จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ความผิดฐานเข้าไปดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อหาผลประโยชน์ในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ มาตรา 16 (13) ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 27 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิด ระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท มีอายุความหนึ่งปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดเมื่อต้นปี 2558 วันใดไม่ปรากฏชัด เวลากลางวัน ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันตลอดมา แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 จึงเกินกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ด้วยนั้น จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4, 54, 55, 72 ตรี พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 4, 5, 6, 9, 14, 26/4, 26/5, 31 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มาตรา 12, 13 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 4, 5, 6, 8, 16 (1) (2) (4) (13), 24, 27 ให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือนำสิ่งใด ๆ อันก่อให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 389,079 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

จำเลยให้การปฏิเสธ และให้การในคดีส่วนแพ่งว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องเนื่องจากมีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทับที่ดินทำกินของจำเลยซึ่งทำกิน และจำเลยอยู่อาศัยมาก่อนการประกาศเขตอนุรักษ์ จำเลยจึงย่อมมีความชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญในการทำประโยชน์ในพื้นที่เดิมและเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ที่ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบในพื้นที่สำรวจการครอบครองเพื่อกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน การคิดคำนวณค่าเสียหายของโจทก์ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและยังไม่เป็นที่ยอมรับ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง, 72 ตรี วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 16 (1) (2) (4) (13), 24, 27 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 8 เดือน ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 5 เดือน 10 วัน ให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของจำเลย รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือนำสิ่งใด ๆ อันก่อให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 150,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีสิ่งแวดล้อมพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง, 72 ตรี วรรคหนึ่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 16 (1) (2) (4) (13), 24, 27 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ส่วนโทษและนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ป่าที่เกิดเหตุ เมื่อต้นปี 2558ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่คำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 66/2557 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2557 และจำเลยเป็นผู้บุกรุกใหม่ จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์จากคำสั่งฉบับดังกล่าว ข้อฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่การพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225, 252 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และตามรายงานการประชุมแก้ไขปัญหากรณีอุทยานแห่งชาติไทรทองทับพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยในพื้นที่ตำบลห้วยแย้ ตำบลวังตะเฆ่ อำเภอหนองบัวระเหว และสวนป่าโคกยาว บ้านโนนศิลา ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ที่ประชุมคณะทำงานมีมติให้ดำเนินการ 2 ประเด็น ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ คือ ผู้ที่อยู่ก่อนปี 2545 สามารถทำกินต่อไปได้ กรณี 47 ราย ที่อยู่ระหว่างปี 2545 ถึงปี 2557 เสนอให้คณะทำงานจัดเตรียมข้อมูลเพิ่มเติมเสนอคณะกรรมการ 4 ฝ่าย พิจารณา แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ ในที่ดินที่เกิดเหตุตั้งแต่ต้นปี 2558 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังระยะเวลาที่ระบุไว้ในมติที่ประชุม กรณีของจำเลยจึงไม่เข้าเกณฑ์ตามมติที่ประชุมดังกล่าวที่จะผ่อนผันให้อยู่ต่อไปได้ และไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่ามติที่ประชุมนั้นจะมีผลเป็นการอนุญาตตามกฎหมายหรือไม่ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงฟังไม่ขึ้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้องและต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการสุดท้ายว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยใหม่ โดยให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า การที่จะนำกฎหมายฉบับใดมาใช้เพื่อพิจารณาพิพากษาให้บุคคลได้รับโทษทางอาญานั้น กฎหมายฉบับดังกล่าวต้องเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คดีนี้จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติตั้งแต่ต้นปี 2558 และได้กระทำต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 การกระทำความผิดของจำเลยจึงมีขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุ และยังคงเป็นความผิดอยู่ต่อเนื่องตลอดเวลาที่จำเลยยังยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยช่วงระหว่างต้นปี 2558 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 การยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง (เดิม) และเมื่อพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับในวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 จำเลยก็ยังคงยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุในเขตป่าสงวนแห่งชาติต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 อันเป็นวันที่เจ้าพนักงานจับกุมจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดขณะที่กฎหมายฉบับเดิมยังมีผลใช้บังคับและขณะที่กฎหมายฉบับใหม่ใช้บังคับแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานจับกุมจำเลยภายหลังวันที่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับแล้ว และตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 ด้วยคดีนี้จึงชอบที่ต้องนำพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มาปรับใช้บังคับลงโทษแก่จำเลย กรณีมิใช่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ที่บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด และหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้ภายหลังการกระทำความผิดซึ่งไม่อาจมีผลย้อนหลังไปเอาผิดหรือลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นดังที่จำเลยฎีกาไม่ ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาแก้ไขเพิ่มเติมโทษที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษแก่จำเลยแต่อย่างใด จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้นชอบแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

สำหรับความผิดฐานเข้าไปดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อหาผลประโยชน์ในเขตอุทยานแห่งชาติ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 16 (13) ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 27 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท มีอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (5) คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อต้นปี 2558 วันใดไม่ปรากฏชัดเวลากลางวัน ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันตลอดมา แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 จึงเกินกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ด้วยนั้น จึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 30,000 บาท อีกสถานหนึ่ง เมื่อลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 3 ปี และให้คุมความประพฤติของจำเลยมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังโดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติปีละ 2 ครั้ง ตามกำหนดเวลาที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรกำหนด กับให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ รักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรเป็นเวลา 30 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 16 (13), 27 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 จำเลยอ้างว่าได้รับประโยชน์จากคำสั่ง คสช.สำหรับประชาชนอยู่อาศัยในที่ดินที่เกิดเหตุก่อนคำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4907/2563

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 66/2557 เป็นคำสั่งที่สืบเนื่องมาจากคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 64/2557 เรื่อง การปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีคำสั่งตั้งหน่วยงานและพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดผลกระทบที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยรวม โดยคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 66/2557 ข้อ 1 เป็นการเพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ ส่วนข้อ 2 กำหนดให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องยึดถือนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน และในข้อ 2.1 ระบุว่า การดำเนินการใด ๆ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้น ๆ ก่อนคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ ยกเว้นผู้ที่บุกรุกใหม่ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ถึงเนื้อหาแล้วคำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงคำสั่งทางบริหารที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราว กำหนดวิธีการให้หน่วยงานและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามคำสั่งดังกล่าวถือปฏิบัติเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไม่มีที่ดินทำกินเท่านั้น ที่สำคัญผู้ที่จะได้รับการยกเว้นจะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ต้องอยู่ในที่ดินมาก่อนคำสั่งมีผลใช้บังคับ ส่วนผู้ที่บุกรุกใหม่ต้องดำเนินการสอบสวนและพิสูจน์ทราบตามขั้นตอนที่กำหนด โดยเฉพาะข้อ 2.4 ระบุว่า กรณีใด ๆ ซึ่งยังอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม ให้ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการที่กำหนด โดยไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุให้ประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกินซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้น ๆ ก่อนคำสั่งนี้มีผลใช้บังคับไม่มีความผิด หรือมีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ หรือให้งดเว้นการดำเนินคดีตามกฎหมาย คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่บทบัญญัติที่ปกป้องหรือให้ความคุ้มครองแก่บุคคลดังกล่าวข้างต้น และต้องถือว่าบุคคลดังกล่าวยังมีความผิดตามกฎหมายไม่ว่าบุคคลนั้นจะบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ก่อนหรือหลังคำสั่งดังกล่าวมีผลใช้บังคับเพียงแต่หากเป็นการบุกรุกก่อนคำสั่งมีผลใช้บังคับ คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีนโยบายให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติดำเนินการเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อบุคคลบางจำพวกดังกล่าวข้างต้นเป็นการชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้น เมื่อคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 66/2557 ไม่มีผลเป็นการยกเลิกความผิด หรือมีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ หรือให้งดเว้นการดำเนินคดีตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจอ้างคำสั่งดังกล่าวมาลบล้างความผิดของจำเลยได้การที่จะนำกฎหมายฉบับใดมาใช้เพื่อพิจารณาพิพากษาให้บุคคลได้รับโทษทางอาญานั้น กฎหมายฉบับดังกล่าวต้องเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คดีนี้จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2558 และได้กระทำต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 11 กันยายน 2559 การกระทำความผิดของจำเลยจึงมีขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุและยังคงเป็นความผิดอยู่ต่อเนื่องตลอดเวลาที่จำเลยยังยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยช่วงระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 การยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง (เดิม) และเมื่อพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับในวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 จำเลยก็ยังคงยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุในเขตป่าสงวนแห่งชาติต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 11 กันยายน 2559 อันเป็นวันที่เจ้าพนักงานจับกุมจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดขณะที่กฎหมายฉบับเดิมยังมีผลใช้บังคับและขณะที่กฎหมายฉบับใหม่ใช้บังคับแล้ว ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานจับกุมจำเลยภายหลังวันที่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับแล้ว และตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 ด้วย คดีนี้จึงชอบที่ต้องนำพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มาปรับใช้บังคับลงโทษแก่จำเลย กรณีมิใช่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 3 ที่บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด และหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้ภายหลังการกระทำความผิดซึ่งไม่อาจมีผลย้อนหลังไปเอาผิดหรือลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นดังที่จำเลยฎีกาไม่ ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาแก้ไขเพิ่มเติมโทษที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษแก่จำเลยแต่อย่างใด จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212

โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4, 54, 55, 72 ตรี พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 4, 5, 6, 8, 16 (1) (2) (4) (13), 24, 27 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 4, 5, 6, 9, 14, 26/4, 26/5, 31 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มาตรา 12, 13 ให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง หรือนำสิ่งใด ๆ อันก่อให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติออกจากป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายของทรัพยากรธรรมชาติ 439,027 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 กันยายน 2559 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

จำเลยให้การปฏิเสธ และให้การในคดีส่วนแพ่ง ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง, 72 ตรี วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 16 (1) (2) (4) (13), 24, 27 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง (เดิม) การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 8 เดือน ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 5 เดือน 10 วัน ให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือนำสิ่งใด ๆ อันก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 150,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 กันยายน 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีสิ่งแวดล้อมพิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) (ที่ถูก ไม่ต้องระบุพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559) กับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นเงิน 439,027 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 กันยายน 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาแผนกคดีสิ่งแวดล้อมวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่า เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 จำเลยตกลงคืนพื้นที่ป่าที่บุกรุกเข้าไปแผ้วถางยึดถือครอบครองทำประโยชน์จำนวน 18 ไร่ 1 งาน 59 ตารางวา ให้แก่ทางราชการ ตามบันทึกข้อตกลงขอคืนพื้นที่ของราษฎรในเขตอุทยานแห่งชาติไทรทอง โดยทางราชการผ่อนผันให้เก็บเกี่ยวผลอาสิน (มันสำปะหลัง) ให้เสร็จภายในวันที่ 31 มกราคม 2559 ต่อมาวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 นายสนอง เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่ากับพวกออกตรวจดูบริเวณที่เกิดเหตุพบว่าจำเลยได้เก็บเกี่ยวผลผลิตไปเกือบหมดแล้ว หลังจากนั้นวันที่ 11 กันยายน 2559 นายสนองกับพวกเดินทางไปตรวจดูบริเวณที่เกิดเหตุอีกครั้งพบมีการปลูกต้นมันสำปะหลังอายุประมาณ 2 เดือน เมื่อตรวจจับพิกัดและตรวจสอบพื้นที่เฉพาะบริเวณที่มีการปลูกมันสำปะหลังแล้วได้เนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน 73 ตารางวา จำเลยรับว่าเป็นผู้บุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์โดยอ้างว่าไม่มีที่ทำกิน

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า จำเลยมีความผิดและต้องชดใช้ค่าเสียหายตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 หรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 66/2557 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2557 ข้อ 2.1 เนื่องจากจำเลยเป็นประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกินซึ่งได้อยู่อาศัยในที่ดินที่เกิดเหตุก่อนคำสั่งดังกล่าวมีผลใช้บังคับ โดยจำเลยครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุตั้งแต่ปี 2515 เดิมมีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ ต่อมาย้ายไปอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จึงยกที่ดินดังกล่าวให้นายชาตรีและนางสุบันซึ่งเป็นบุตรชายและภริยาของบุตรชาย ต่อมาจำเลยได้กลับมาประกอบอาชีพทำไร่กับบุตรชายบนที่ดินเดิม จึงมิใช่เป็นการบุกรุกใหม่นั้น เห็นว่า คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 66/2557 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2557 เป็นคำสั่งที่สืบเนื่องมาจากคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 64/2557 เรื่อง การปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีคำสั่งตั้งหน่วยงานและพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดผลกระทบที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยรวม โดยคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 66/2557 ข้อ 1 เป็นการเพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ ส่วนข้อ 2 กำหนดให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องยึดถือนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน และในข้อ 2.1 ระบุว่า การดำเนินการใด ๆ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้น ๆ ก่อนคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ ยกเว้นผู้ที่บุกรุกใหม่ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ถึงเนื้อหาแล้วคำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงคำสั่งทางบริหารที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวกำหนดวิธีการให้หน่วยงานและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามคำสั่งดังกล่าวถือปฏิบัติเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไม่มีที่ดินทำกินเท่านั้น ที่สำคัญผู้ที่จะได้รับการยกเว้นจะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ต้องอยู่ในที่ดินมาก่อนคำสั่งมีผลใช้บังคับ ส่วนผู้ที่บุกรุกใหม่ต้องดำเนินการสอบสวนและพิสูจน์ทราบตามขั้นตอนที่กำหนด โดยเฉพาะข้อ 2.4 ระบุว่า กรณีใด ๆ ซึ่งยังอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม ให้ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการที่กำหนด โดยไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุให้ประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกินซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้น ๆ ก่อนคำสั่งนี้มีผลใช้บังคับไม่มีความผิด หรือมีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ หรือให้งดเว้นการดำเนินคดีตามกฎหมาย คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่บทบัญญัติที่ปกป้องหรือให้ความคุ้มครองแก่บุคคลดังกล่าวข้างต้น และต้องถือว่าบุคคลดังกล่าวยังมีความผิดตามกฎหมายไม่ว่าบุคคลนั้นจะบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ก่อนหรือหลังคำสั่งดังกล่าวมีผลใช้บังคับเพียงแต่หากเป็นการบุกรุกก่อนคำสั่งมีผลใช้บังคับ คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีนโยบายให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติดำเนินการเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อบุคคลบางจำพวกดังกล่าวข้างต้นเป็นการชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้น เมื่อคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 66/2557 ไม่มีผลเป็นการยกเลิกความผิด หรือมีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ หรือให้งดเว้นการดำเนินคดีตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจอ้างคำสั่งดังกล่าวมาลบล้างความผิดของจำเลยได้ การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุโดยทราบดีว่าที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติไม่ว่าจะก่อนหรือหลังคำสั่งดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จำเลยก็ต้องมีความผิดและต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น แต่อย่างไรก็ตามค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนดให้ต้องชำระเป็นเงิน 439,027 บาท เต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องมา นั้น เมื่อพิจารณาถึงสภาพที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งมิใช่เป็นป่าสมบูรณ์ แต่เจ้าพนักงานป่าไม้ผู้ประเมินความเสียหายนำข้อมูลไปเปรียบเทียบกับที่ดินแปลงตัวอย่างซึ่งเป็นป่าสมบูรณ์ ค่าเสียหายที่คำนวณออกมาได้ย่อมไม่ถูกต้องและสูงเกินไป ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเงิน 290,000 บาท

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการสุดท้ายว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยใหม่ โดยให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า การที่จะนำกฎหมายฉบับใดมาใช้เพื่อพิจารณาพิพากษาให้บุคคลได้รับโทษทางอาญานั้น กฎหมายฉบับดังกล่าวต้องเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คดีนี้จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2558 และได้กระทำต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 11 กันยายน 2559 การกระทำความผิดของจำเลยจึงมีขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุและยังคงเป็นความผิดอยู่ต่อเนื่องตลอดเวลาที่จำเลยยังยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยช่วงระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 การยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง (เดิม) และเมื่อพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับในวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 จำเลยก็ยังคงยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุในเขตป่าสงวนแห่งชาติต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 11 กันยายน 2559 อันเป็นวันที่เจ้าพนักงานจับกุมจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดขณะที่กฎหมายฉบับเดิมยังมีผลใช้บังคับและขณะที่กฎหมายฉบับใหม่ใช้บังคับแล้ว ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานจับกุมจำเลยภายหลังวันที่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับแล้ว และตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 ด้วย คดีนี้จึงชอบที่ต้องนำพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มาปรับใช้บังคับลงโทษแก่จำเลย กรณีมิใช่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ที่บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด และหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้ภายหลังการกระทำความผิดซึ่งไม่อาจมีผลย้อนหลังไปเอาผิดหรือลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นดังที่จำเลยฎีกาไม่ ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาแก้ไขเพิ่มเติมโทษที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษแก่จำเลยแต่อย่างใด จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้นชอบแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามพื้นที่ป่าที่เกิดเหตุที่จำเลยบุกรุกเข้าไปครอบครองทำประโยชน์นั้นมีเนื้อที่ไม่มากนัก ประกอบกับการที่จำเลยกลับเข้าไปบุกรุกยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุอีกก็เนื่องจากไม่มีที่ดินทำกิน จึงเห็นสมควรให้โอกาสจำเลยสักครั้งหนึ่งเพื่อกลับตัวเป็นพลเมืองดีด้วยการรอการลงโทษจำคุกไว้ ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษให้แก่จำเลยจึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำและไม่หวนกลับมากระทำความผิดทำนองเดียวกันซ้ำอีก จึงให้ลงโทษปรับอีกสถานหนึ่งและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยไว้ด้วย

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 45,000 บาท อีกสถานหนึ่ง เมื่อลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงปรับ 30,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 3 ปี และให้คุมความประพฤติของจำเลยมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟัง โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติปีละ 2 ครั้ง ตามกำหนดเวลาที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรกำหนด กับให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ รักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรเป็นเวลา 30 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 290,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 กันยายน 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย 

ในเรื่องกฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำลยนั้น ถ้ากฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่าการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง

บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ที่ขัดหรือแย้งกับเรื่องดังกล่าวเท่านั้นที่จะมีผลเป็นอันถูกยกเลิกไป ส่วนบทบัญญัติอื่นนอกจากนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่รวมทั้งบทบัญญัติที่ว่าการกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ จึงไม่ใช่กรณีที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่าการกระทำของจำเลยตามฟ้องไม่เป็นความผิดต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2550

ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 32 ข้อ 3 บัญญัติว่า บรรดาบทบัญญัติใดตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นฯ ที่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ให้ใช้บทบัญญัติในประกาศฉบับนี้แทน ตามประกาศฉบับดังกล่าวให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ได้รับการเลือกตั้งภายหลังประกาศผลการเลือกตั้งแล้วได้ ดังนั้น บทบัญญัติตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ที่ขัดหรือแย้งกับเรื่องดังกล่าวเท่านั้นที่จะมีผลเป็นอันถูกยกเลิกไป ส่วนบทบัญญัติอื่นนอกจากนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่รวมทั้งบทบัญญัติที่ว่าการกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ จึงไม่ใช่กรณีที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่าการกระทำของจำเลยตามฟ้องไม่เป็นความผิดต่อไป หรือกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 มาตรา 8, 9, 57, 96, 118 ให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยตามกฎหมายด้วย

จำเลยให้การรับสารภาพ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 มาตรา 8, 9, 57, 96, 118 ให้จำคุก 2 ปี และปรับ 40,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี และ ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ฃำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยเป็นเวลา 10 ปี

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน

    จำเลยฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระหหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 32 ข้อ 3 ที่ว่า บรรดาบทบัญญัติใดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ที่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ให้ใช้บทบัญญัติในประกาศฉบับนี้แทน เท่ากับเป็นการยกเลิกความตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 หรือไม่ เห็นว่า ตามประกาศฉบับดังกล่าวให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ได้รับการเลือกตั้งภายหลังประกาศผลการเลือกตั้งแล้วได้ ดังนั้น บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ที่ขัดหรือแย้งกับเรื่องดังกล่าาวเท่านั้นที่จะมีผลเป็นอันถูกยกเลิกไป ส่วนบทบัญญัติอื่นนอกจากนั้นยังมีผลใช้บังคัยบอยู่รวมทั้งบทบัญญัติที่ว่าการกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ จึงไม่ใช่ากรณีที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่าการกระทำของจำเลยตามฟ้องไม่เป็นความผิดต่อไป หรือกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดตามที่จำเลยเข้าใจ ฎีกาจำเลยฟังไม่ชึ้น"

  พิพากษายืน

 ประกาศคณะปฎิรูปการปกครองการปกครองในระบอบประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 32

 เรื่องอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

  เพื่อให้การดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นแล้วเสร็จโดยเร็ว แต่ยังคงสามารถตรวจสอบการกระทำที่ไม่สุจริตของผู้ได้รับการเลือกตั้งได้ คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
  ข้อ 1 ในการเลือกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง
 ข้อ 2 เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศผลการเลือกตั้งตามข้อ 1 แล้ว หากมีภายหลังมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ผู้ได้รับการเลือกตั้งตามข้อ 1 ผู้ใดกระทำการใด ๆ โดยไม่สุจริตหรือกระทำความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งเพื่อให้ตนเองได้รับการเลือกตั้ง หรือการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมหรือมีการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง นั้นมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของผู้ได้รับการเลือกตั้งผู้นั้นมีกำหนดเวลา 1 ปี และดำเนินการให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ เว้นแต่กระทำนั้นมิได้เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับการเลือกตั้ง
 ข้อ3 บทบัญญัติใดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริการท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ที่ขัดหรือแย้ง
กับประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บทบัญญัติในประกาศฉบับนี้แทน 

 ประมวลกฎหมายอาญา

  มาตรา 2 บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่ บัญญัติไว้ในกฎหมาย

 ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำ เช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการ เป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับ โทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง

 มาตรา 3 ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับ กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วน ที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุด แล้วแต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วดังต่อไปนี้
     (1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่และ โทษที่ กำหนด ตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมาย ที่บัญญัติในภายหลังเมื่อสำนวนความปรากฏแก่ศาล เมื่อผู้กระทำความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น หรือ พนักงานอัยการร้องขอให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่ บัญญัติในภายหลัง ในการที่ศาลจะกำหนดโทษใหม่นี้ ถ้าปรากฏว่า ผู้กระทำความผิดได้รับโทษมาบ้างแล้ว เมื่อได้คำนึงถึงโทษตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง หากเห็นเป็นการสมควรศาลจะ กำหนดโทษน้อยกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมาย ที่บัญญัติในภายหลัง กำหนดไว้ ถ้าหากมีก็ได้ หรือถ้าเห็นว่าโทษที่ผู้กระทำความผิด ได้รับมาแล้วเป็นการเพียงพอ ศาลจะปล่อยผู้กระทำความผิดไปก็ได้
     (2) ถ้าศาลพิพากษาให้ประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และตาม กฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ถึงประหารชีวิต ให้งดการประหารชีวิตผู้กระทำความผิด และ ให้ถือว่าโทษประหารชีวิตตามคำพิพากษาได้เปลี่ยนเป็นโทษสูงสุด ที่จะพึงลงได้ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง  

พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 

มาตรา 8 เมื่อมีกรณีที่ต้องมีการเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม มาตรา 19 ประกาศให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเรื่อง ดังต่อไปนี้
(1) วันเลือกตั้ง
(2) วันรับสมัครเลือกตั้ง ซึ่งต้องให้มีการเริ่มรับสมัครไม่เกินสิบวันนับแต่วันประกาศให้มีการเลือกตั้ง และต้องกำหนดวันรับสมัครไม่น้อยกว่าห้าวัน
(3) สถานที่รับสมัครเลือกตั้ง
(4) จำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นที่จะมีการเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้ง
(5) จำนวนเขตเลือกตั้ง ซึ่งต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับอำเภอหรือตำบล หรือเขตท้องที่ที่อยู่ภายในเขตเลือกตั้ง
(6) หลักฐานการสมัครรับเลือกตั้ง
 การกำหนดตาม (1) (2) (4) และ (5) ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดก่อน

 ประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้ปิดไว้ ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น และสถานที่อื่นตามที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นสมควร

 มาตรา 9 ให้ผู้อำนวยการทะเบียนกลางตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรมีหน้าที่ จัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง จากทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ถูกต้องตามความจริง

 มาตรา 57 เมื่อมีการประกาศให้มีการเลือกตั้งในกรณีอื่น นอกจากถึงคราวออกตามวาระการดำรงตำแหน่ง ของสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเลือกตั้ง ให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น หรือให้งดเว้นการลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครใดด้วยวิธีการดังนี้
(1) จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด
(2) ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถาบันการศึกษา สถานสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นใดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
(3) ทำการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ
(4) เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด
(5) หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้าย หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในเรื่องใดอันเกี่ยวกับผู้สมัครใด

 กรณีตามวรรคหนึ่ง หากเป็นการเลือกตั้งอันเนื่องมาจากการครบวาระการดำรงตำแหน่ง ของสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ห้ามมิให้กระทำภายในหกสิบวันก่อนวันครบวาระ การดำรงตำแหน่งจนถึงวันเลือกตั้ง

 การประกาศนโยบายหรือการดำเนินการตามแนวทางในการแก้ไขปัญหา ตามอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่นด้วยวิธีการใช้จ่ายจากเงิน งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มิให้ถือว่าเป็นกรณีตาม (1) หรือ (2)

 เพื่อให้การหาเสียงเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศเพื่อแนะนำวิธีการหรือลักษณะต้องห้าม ในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 96 ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสืบสวนสอบสวนแล้ว เห็นว่ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ผู้สมัครผู้ใดกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ หรือมีพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่าผู้สมัครผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำ สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นกระทำการดังกล่าว หรือรู้ว่ามีการกระทำดังกล่าวแล้วไม่ดำเนินการเพื่อระงับการกระทำนั้น ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเห็นว่าการกระทำนั้นน่าจะมีผลให้การเลือกตั้ง มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดรายงานผลการสืบสวนสอบสวน ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อพิจารณาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครที่กระทำการเช่นนั้นทุกรายเป็นเวลาหนึ่งปี โดยให้มีผลนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่ง

ในการสืบสวนสอบสวนตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด อาจตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อช่วยดำเนินการเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด และให้คณะอนุกรรมการได้รับค่าตอบแทนตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

 ในกรณีที่ปรากฎต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดว่ามีการกระทำอัน เป็นการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่ง ไม่ว่าเป็นการกระทำของผู้ใด ถ้าเห็นว่าผู้สมัครผู้ใดจะได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมีอำนาจสั่งให้ผู้สมัครผู้นั้นระงับหรือดำเนินการใด เพื่อแก้ไขความไม่สุจริตและเที่ยงธรรมนั้นภายในเวลาที่กำหนด ในกรณีที่ผู้สมัครผู้นั้นไม่ดำเนินการตามคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด โดยไม่มีเหตุอันสมควรให้สันนิษฐานว่าผู้สมัครผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำนั้น

  มติของคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามมาตรานี้ ต้องมีคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์
  เมื่อมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครคนใดแล้ว ให้พิจารณาดำเนินการให้มีการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้สมัครผู้นั้นด้วย

  ในกรณีที่มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามมาตรานี้ภายหลังวันลงคะแนน และผู้สมัครที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ที่ได้คะแนนเลือกตั้ง ในลำดับที่ได้รับการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ และให้นำความใน มาตรา 95 วรรค 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 มาตรา 118 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 57,มาตรา 60,มาตรา 75,มาตรา 89 หรือ มาตรา 91 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี

 กฎหมายยกเลิกความผิด, การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำลย, ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันทมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 32 (ข้อ 3)

 ไม่เป็นเบิกความเท็จเพราะกฎหมายยกเลิก

ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาในคดีก่อนกฎหมายเดิมได้ยกเลิกเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องโจทก์ ดังนั้นคำเบิกความเท็จในคดีเดิมไม่เป็นข้อสำคัญในคดีนั้นอันเป็นข้ออ้างให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยฐานเบิกความเท็จอีกต่อไป คำเบิกความของจำเลยคดีก่อนจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง

กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณกับจำเลย

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราจากผู้กู้แต่ละรายต่างวันเวลากัน รวม 51 รายการ ในขณะกระทำความผิด การกระทำของจำเลยเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 แม้ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ปรากฏว่ามี พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ซึ่งมีผลใช้บังคับ ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 แต่ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560  ยังคงบัญญัติให้การกระทำที่มีลักษณะเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ จึงถือไม่ได้ว่า พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ยกเลิกความผิดฐานนี้ และเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1476/2563

คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราจากผู้กู้แต่ละรายต่างวันเวลากัน ระหว่างวันที่ 2 ธันวาคม 2555 ถึงวันที่ 13 มกราคม 2560 รวม 51 รายการ และมีคำขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนี้ ในขณะกระทำความผิด การกระทำของจำเลยเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 แม้ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 ปรากฏว่ามี พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2560 บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 แต่ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 (1) ยังคงบัญญัติให้การกระทำที่มีลักษณะเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดยมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงถือไม่ได้ว่า พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ยกเลิกความผิดฐานนี้ และเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณ การที่โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลย ตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 จึงเป็นฟ้องชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) แล้ว

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และนับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2277/2560 ของศาลชั้นต้น

จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 (1) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกกระทงละ 3 เดือน รวม 51 กระทง เป็นจำคุก 153 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 76 เดือน 15 วัน ยกคำขอของโจทก์ที่ให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2277/2560 ของศาลชั้นต้น เนื่องจากศาลรอการลงโทษในคดีดังกล่าว

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน

จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยว่า ฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6) หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราจากผู้กู้แต่ละรายต่างวันเวลากัน ระหว่างวันที่ 2 ธันวาคม 2555 ถึงวันที่ 13 มกราคม 2560 รวม 51 รายการ และมีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนี้ ในขณะกระทำความผิด การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 แม้ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 ปรากฏว่ามีพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2560 บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 แต่พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4 (1) ยังคงบัญญัติให้การกระทำที่มีลักษณะเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดยมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงถือไม่ได้ว่าพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ยกเลิกความผิดฐานนี้ และเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ดังนั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 จึงเป็นฟ้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6) แล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดจึงชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปว่า มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้จำเลยหรือไม่ เห็นว่า ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการฉ้อฉลให้ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดให้แก่จำเลย หรือมีพฤติการณ์ข่มขู่คุกคามผู้กู้ให้ยินยอมชำระหนี้คืนแก่จำเลย น่าเชื่อว่าการกระทำความผิดตามฟ้องเกิดจากความยินยอมพร้อมใจของผู้กู้และผู้ให้กู้ที่สมยอมให้มีการคิดดอกเบี้ยเงินกู้เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ พฤติการณ์แห่งคดีการกระทำความผิดจึงไม่ใช่เรื่องร้ายแรงนัก เมื่อได้ความว่าจำเลยเป็นหญิงสูงอายุ และมีปัญหาด้านสุขภาพ อีกทั้งยังต้องมีภาระดูแลมารดาซึ่งเป็นผู้ป่วยติดเตียง ประกอบกับจำเลยถูกคุมขังระหว่างฎีกาในคดีนี้มาระยะหนึ่งแล้ว เชื่อว่าน่าจะทำให้จำเลยหลาบจำและไม่หวนกลับมากระทำผิดอีก เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงเห็นสมควรให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีโดยรอการลงโทษให้จำเลยสักครั้งหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่รอการลงโทษให้จำเลยมานั้น ยังไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำเห็นควรลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งและให้คุมประพฤติของจำเลยไว้ด้วย

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจำเลยกระทงละ 1,000 บาท รวม 51 กระทง เป็นปรับรวม 51,000 บาท อีกสถานหนึ่ง เมื่อลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว คงปรับรวม 25,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี โดยให้คุมความประพฤติจำเลยมีกำหนด 2 ปี และให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 3 เดือนต่อครั้ง และให้กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรมีกำหนดเวลารวม 24 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30

 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง

ศาลมีอำนาจตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่จะกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ตาม ป.ยาเสพติด  ตามพฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยได้ กรณีไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตามที่จำเลยอ้างในฎีกาแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2979/2566

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนคดีถึงที่สุดแล้ว ระหว่างจำเลยกำลังรับโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดได้มี พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 และให้ยกเลิก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 1 ได้นิยามคำว่า “จำหน่าย” ให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำอย่างเดียวกันคือการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดซึ่งแยกเป็นคนละฐานความผิด จึงต้องลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 เพียงบทเดียว ส่วนการที่จำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต่อเจ้าพนักงานตำรวจนั้น ป.ยาเสพติด มาตรา 153 ยังคงบัญญัติให้อำนาจศาลลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งดังกล่าวน้อยกว่าอัตราโทษ ที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ ทำนองเดียวกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 แต่กฎหมายใหม่กำหนดหลักเกณฑ์ให้โจทก์ต้องระบุในคำฟ้องหรือยื่นคำร้องต่อศาล หรือมิฉะนั้นผู้กระทำความผิดต้องยื่นคำร้องต่อศาล ศาลจึงจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษน้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ ดังนั้น กฎหมายใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องบังคับตามกฎหมายเดิมซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก ส่วนการกระทำความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ป.ยาเสพติด มาตรา 126 ยังคงบัญญัติให้ระวางโทษผู้พยายามกระทำความผิดนั้นเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดสำเร็จทำนองเดียวกับ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 7 แต่เมื่อลงโทษจำเลยตามกฎหมายใหม่ มาตรา 90, 145 ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยแล้ว จึงต้องบังคับตามกฎหมายใหม่ มาตรา 126 ด้วย ตาม ป.อ. มาตรา 3ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวน 4,018 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 70.823 กรัม และจำเลยพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว 1,996 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 35.180 กรัม ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ โดยเจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนทราบการกระทำความผิดของจำเลยมาจากผู้ต้องหาคดียาเสพติดให้โทษที่เคยซื้อเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลย จึงวางแผนล่อซื้อและจับกุมจำเลยได้พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนของกลาง พฤติการณ์แห่งคดีจึงบ่งชี้ถึงการกระทำของจำเลยว่า จำเลยมีพฤติการณ์ลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และหากมีการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางออกไปย่อมทำให้เกิดการแพร่กระจายไปยังผู้เสพหลายคนโดยสภาพเข้าลักษณะเป็นการก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (2) มิใช่เป็นเพียงความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ตามที่จำเลยยกขึ้นฎีกา ทั้งยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นการทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป อันเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เช่นนี้ เมื่อ ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (2) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสองล้านบาท และการมีเมทแอมเฟตามีนในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตามกฎหมายใหม่ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพียงบทเดียวดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การที่จำเลยพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 1,996 เม็ด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน 4,018 เม็ด ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวลงโทษได้เพียงกระทงเดียว โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังทั้งในเรื่องการกำหนดโทษและจำนวนกระทงลงโทษ ศาลย่อมมีอำนาจตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่จะกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (2) ประกอบมาตรา 126 ป.อ. มาตรา 80 และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 ตามพฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยได้ กรณีไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ตามที่จำเลยอ้างในฎีกาแต่อย่างใด

 กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดที่มีเพียงโทษปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2563

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 18 ฐานเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 25 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ต่อมาระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้มี พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แต่ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 20 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดย พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 47 ให้ระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท โทษตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุก จึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดที่มีโทษจำคุกด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนของโทษปรับที่ศาลจะนำมาลงโทษจำเลยนั้น พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 25 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าจะในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225




คำพิพากษาศาลฎีกา

การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง article
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี article
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
การรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
ดอกผลนิตินัย
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน-ปัญหาข้อกฎหมาย
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่      
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผิดสัญญาหมั้น | เรียกค่าทดแทน | สินสอด