ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไปประกันภัยจ่ายค่าสินไหมให้ไฟแนนซ์แล้ว

กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไป ผู้ให้เช่าซื้อเป็นผู้รับประโยชน์จากบริษัทประกันภัย

รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป จำเลยติดต่อบริษัทรัตนโกสินทร์ประกันภัย จำกัด ผู้รับประกันภัยขอรับค่าสินไหมทดแทนจำนวน 250,000 บาท ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัย บริษัทประกันภัยดังกล่าวอนุมัติให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแล้ว บริษัทประกันภัยดังกล่าวถูกกรมการประกันภัยเข้าควบคุมกิจการในเวลาต่อมา จำเลยจึงไม่ได้ค่าสินไหมทดแทน สัญญาเช่าซื้อกำหนดว่า ว่า “ผู้เช่าสัญญาว่า (ก) กรณีที่รถยนต์สูญหาย ผู้เช่ายอมชดใช้ค่ารถยนต์เป็นเงินเท่ากับค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือที่ผู้เช่าจะต้องชำระทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อทันที โดยผู้เช่าจะไม่ยกเหตุที่เจ้าของมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยรายที่ผู้เช่าเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยตามเงื่อนไขของสัญญาเช่าซื้อ เห็นว่า หากเป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวแล้ว กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไป จำเลยผู้ให้เช่าซื้อได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 2 ทาง อันเป็นการเกินกว่าความเสียหายที่จำเลยได้รับ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อ 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4819/2549 

ตามสัญญาเช่าซื้อตกลงกันไว้ว่า กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไป จำเลยผู้ให้เช่าซื้อจะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 2 ทาง โดยได้จากโจทก์ผู้เช่าและจากบริษัทประกันภัย อันเป็นการเกินกว่าความเสียหายที่จำเลยได้รับ เมื่อโจทก์เป็นผู้เสียเบี้ยประกันภัยและจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์ก็เพื่อโจทก์จะไม่ต้องเป็นภาระใช้ค่ารถให้แก่จำเลยจึงยอมเสียเบี้ยประกันภัย และจำเลยได้แสดงเจตนาขอค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยแล้ว จนบริษัทประกันภัยอนุมัติให้จ่ายเงินให้จำเลย การที่จำเลยรับเงินค่าเช่าซื้อที่เหลือจากโจทก์หลังจากรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไปเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวให้โจทก์

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2540 โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อนิสสัน หมายเลขทะเบียน รษ 8231 กรุงเทพมหานคร ไปจากจำเลยในราคาเงินสด 298,130.84 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 9.5 ต่อปี ตกลงชำระค่าเช่าซื้อรวม 12 งวด งวดละ 21,217.76 บาท ต่อเดือน รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 เป็นเงิน 22,703 บาท มีข้อตกลงว่าหากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือทันที โดยจะไม่ยกเหตุที่เจ้าของมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทผู้รับประกันภัยมาปฏิเสธความรับผิด ระหว่างสัญญาเช่าซื้อโจทก์ต้องเอาประกันภัยกำหนดให้จำเลยเป็นผู้รับประโยชน์ โจทก์นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปประกันภัยไว้กับบริษัทรัตนโกสินทร์ประกันภัย จำกัด โดยระบุให้จำเลยเป็นผู้รับประโยชน์ ต่อมาเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2540 รถยนต์ที่เช่าซื้อได้สูญหาย จำเลยได้แนะนำโจทก์ให้ชำระค่าเช่าซื้อต่อไป โดยจำเลยจะดำเนินการเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยและจะปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยครบถ้วนแล้วเป็นเงิน 342,636 บาท แต่จำเลยไม่ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ยี่ห้อนิสสัน ในสภาพดีรุ่นเดียวกับรถยนต์ที่เช่าซื้อแต่อย่างใด กลับแจ้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนรับโอนรถยนต์ที่เช่าซื้อที่สูญหาย และจำเลยไม่ดำเนินการเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยให้แล้วเสร็จภายในเวลาอันสมควร จนบริษัทรัตนโกสินทร์ประกันภัย จำกัด ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ความเสียหายจึงเกิดขึ้นจากฝ่ายจำเลย โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์รุ่นเดียวกับรถยนต์ที่เช่าซื้อที่สูญหายให้แก่โจทก์ หากไม่ดำเนินการให้ถือว่าเป็นการบอกเลิกสัญญา แต่จำเลยเพิกเฉย สัญญาจึงเลิกกัน จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ จำนวน 342,636 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยรับเงินไปจนกว่าจะชำระเสร็จรวมเป็นเงินถึงวันฟ้องทั้งสิ้น 402,718 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 402,718 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 342,636 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยให้การว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปจากจำเลยจำนวน 254,613.12 บาท โจทก์ไม่ได้ทำสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัทรัตนโกสินทร์ประกันภัย จำกัด รถยนต์ที่เช่าซื้อไม่สูญหายอาจเกิดจากโจทก์หรือผู้ครอบครองอนุญาตให้นำรถยนต์ไปใช้หรือสูญหายโดยประการอื่นอันบริษัทประกันภัยไม่ต้องใช้ค่าสินไหมดทดแทน จำเลยไม่ได้รับเงินจำนวน 342,636 บาท จากโจทก์ กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อที่ต้องหารถยนต์คันใหม่มาแทนรถยนต์ที่สูญหายและต้องชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือต่อไปไม่สามารถยกเหตุที่เจ้าของมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยมาปฏิเสธความรับผิดได้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์หรือเงินจำนวน 342,636 บาท แก่โจทก์ รถยนต์ที่สูญหายเกิดจากความผิดของฝ่ายโจทก์ เมื่อจำเลยรับเงินจากโจทก์ครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว จึงไม่มีส่วนได้เสียที่จะไปขอรับชำระหนี้จากบริษัทประกันภัยได้ โจทก์ขอรับชำระหนี้ในคดีที่บริษัทรัตนโกสินทร์ประกันภัย จำกัด ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงจะมาเรียกร้องเงินจากจำเลยไม่ได้ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 227,030 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วน กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 70,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

  โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้

         ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งกันฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2540 โจทก์เช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยราคา 298,130.84 บาท ชำระเงินค่าเช่าซื้อในวันทำสัญญา 65,607.48 บาท ส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น 12 งวด งวดละ 22,703 บาท ภายในวันที่ 2 ของทุกเดือน เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 2 มิถุนายน 2540 ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.2 แล้วโจทก์ได้นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปเอาประกันภัยไว้กับบริษัทรัตนโกสินทร์ประกันภัย จำกัด มีจำเลยเป็นผู้รับผลประโยชน์เป็นเงิน 250,000 บาท ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.3 หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อแล้ว โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลย 2 งวด ต่อมาวันที่ 26 กรกฎาคม 2540 รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป จำเลยติดต่อบริษัทรัตนโกสินทร์ประกันภัย จำกัด ผู้รับประกันภัยขอรับค่าสินไหมทดแทนจำนวน 250,000 บาท ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัย บริษัทประกันภัยดังกล่าวอนุมัติให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนวันที่ 23 ธันวาคม 2540 โดยแจ้งให้จำเลยทราบในเดือนมกราคม 2541 และให้จำเลยไปติต่อบริษัทประกันภัยดังกล่าวในวันที่ 17 เมษายน 2541 จำเลยก็ไปติดต่อขอรับเงินค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว แต่พนักงานของบริษัทประกันภัยดังกล่าวที่ทำเรื่องจ่ายเงินไม่อยู่ ทางบริษัทประกันภัยดังกล่าวให้จำเลยมาติดต่ออีกครั้งในเดือนพฤษภาคม 2541 จำเลยไปติดต่อในเดือนดังกล่าวจึงทราบว่าบริษัทประกันภัยดังกล่าวถูกกรมการประกันภัยเข้าควบคุมกิจการแล้ว จำเลยจึงไม่ได้ค่าสินไหมทดแทน

คดีมีปัญหาตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อ 10 งวด เป็นเงิน 227,030 บาท แก่โจทก์หรือไม่ ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.2 ข้อ 3 กำหนดว่า “ผู้เช่าสัญญาว่า (ก) กรณีที่รถยนต์สูญหาย ผู้เช่ายอมชดใช้ค่ารถยนต์เป็นเงินเท่ากับค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือที่ผู้เช่าจะต้องชำระทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อทันที โดยผู้เช่าจะไม่ยกเหตุที่เจ้าของมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยรายที่ผู้เช่าเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยตามเงื่อนไขของสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 3 (ซ) มาปฏิเสธความรับผิดที่จะต้องชำระราคาดังกล่าวข้างต้น ?(ซ) จะประกันภัยรถยนต์โดยทันที (เว้นแต่เจ้าของจะได้ตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นอย่างอื่น) และระหว่างอายุสัญญาฉบับนี้จะประกันภัยรถยนต์ไว้ตลอดเวลาโดยใช้กรมธรรม์ชนิดให้ความคุ้มครองเต็มจำนวนราคาค่าเช่าซื้อโดยปราศจากข้อกำหนดความรับผิดอย่างต่ำที่ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบเองหรือข้อจำกัดสิทธิใด ๆ กับบริษัทประกันภัยที่เจ้าของเชื่อถือ และให้สลักหลังระบุให้เจ้าของเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์เต็มจำนวนและมอบกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไว้กับเจ้าของ ผู้เช่าในฐานะผู้เอาประกันต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์อย่างเคร่งครัด ถ้าผู้เช่าส่งคืนรถยนต์ให้แก่เจ้าของหรือถ้าเจ้าของกลับเข้าครอบครองรถยนต์นั้น ส่วนได้เสียของผู้เช่าในการประกันภัยใด ๆ ที่ทำไว้ตามสัญญาฉบับนี้ให้ตกเป็นของเจ้าของอย่างสิ้นเชิง โดยให้เจ้าของมีสิทธิได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการประกันภัยดังกล่าว รวมทั้งสิทธิเรียกร้องใด ๆ ตามกรมธรรม์ที่ยังค้างอยู่ ณ เวลาที่ส่งรถยนต์คืนหรือ ณ เวลากลับเข้าครอบครองรถยนต์และ/หรือส่วนลดเบี้ยประกันภัยใด ๆ สิทธิที่จะได้รับเงินจำนวนใด ๆ และเงินทั้งหมดที่บริษัทผู้รับประกันภัยจะต้องจ่ายและที่ได้จ่ายในกรณีรถยนต์ถูกลักหรือเสียหายอย่างสิ้นเชิงตามสัญญาประกันภัยใด ๆ ดังกล่าวแล้ว ให้บริษัทรับประกันภัยจ่ายให้แก่เจ้าของโดยตรงและโดยสัญญานี้ผู้เช่ามอบหมายอำนาจอันจะเพิกถอนมิได้ให้เจ้าของเป็นผู้ออกใบรับเงินให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยสำหรับเงินใด ๆ ที่บริษัทผู้รับประกันภัยจะต้องจ่ายตามสัญญาประกันภัยดังกล่าว” เห็นว่า หากเป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวแล้ว กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไป จำเลยผู้ให้เช่าซื้อได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 2 ทาง โดยได้จากโจทก์ผู้เช่าและจากบริษัทประกันภัย อันเป็นการเกินกว่าความเสียหายที่จำเลยได้รับ เมื่อโจทก์เป็นผู้เสียเบี้ยประกันภัยและจำเลยเป็นผู้รับประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันภัยก็เพื่อโจทก์จะไม่ต้องเป็นภาระใช้ค่ารถให้แก่จำเลยจึงยอมเสียเบี้ยประกันภัย และจำเลยได้แสดงเจตนาขอค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยแล้ว จนบริษัทประกันภัยอนุมัติให้จ่ายเงินให้จำเลย การที่จำเลยรับเงินค่าเช่าซื้อที่เหลือจากโจทก์ หลังจากรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไปเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวให้โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย แต่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ”

      พิพากษาแก้เป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์.

 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
       มาตรา 5 ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคน ต้องกระทำโดยสุจริต

       มาตรา 572 อันว่าเช่าซื้อนั้น คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สิน ออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สิน นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวน เท่านั้นเท่านี้คราว
       สัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ

รถยนต์คันที่ซื้อขายกันถูกขโมยไปผู้ซื้อไม่ชำระเงินค่ารถยนต์ให้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2529

ข้อสัญญาว่ากรณีผิดนัดหรือทรัพย์ตามสัญญาสูญหายก็ยังให้สิทธิผู้ขายได้รับค่ารถยนต์ส่วนที่ยังค้างชำระเต็มราคา แสดงให้เห็นว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตามคู่สัญญามีเจตนาให้ผู้ขายได้รับชำระราคารถยนต์ที่ซื้อขายจนครบถ้วนเท่านั้นหาได้มีข้อตกลงที่พอจะแสดงให้เห็นว่าถ้าผู้ซื้อผิดนัดให้ผู้ขายริบบรรดาเงินที่ผู้ซื้อได้ใช้มาแล้วและผู้ขายเข้าครองรถยนต์เป็นของตนแต่อย่างใดไม่ข้อสัญญาดังนี้จึงเป็นสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์หาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่ ป.พ.พ.มาตรา 372 วรรคแรก ไม่ใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนคู่สัญญาย่อมตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ โจทก์บอกเลิกสัญญาจำเลยได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้วเป็นผลให้สัญญาสิ้นสุดลง จำเลยจึงไม่ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปี ตามข้อสัญญาแต่จะต้อง นำป.พ.พ.มาตรา 224 มาใช้แทน โดยคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันเลิกสัญญา.

ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า "...จำเลยที่ 1 ได้ซื้อรถยนต์ยี่ห้อไดฮัตสุหมายเลขเครื่อง 226088 ในราคา 92,670 บาท ชำระเงินในวันทำสัญญา 12,000 บาท ที่เหลือแบ่งชำระเป็นงวดรายเดือนเดือนละ 2,689 บาท รวม 30 เดือน โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันในฐานะลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์เพียง 4 งวด เป็นเงิน 10,756 บาทแล้วรถยนต์คันที่ซื้อขายกันก็ถูกขโมยไปจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินค่ารถให้โจทก์อีกเลย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญา จำเลยทั้งสองได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว..." โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ราคาที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันผิดนัด จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดี จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า "...สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาเช่าซื้อ แต่ขณะทำสัญญาไม่มีลายมือชื่อผู้ขายและพยาน เพิ่งมาลงชื่อกันภายหลัง คงมีลายมือชื่อผู้ซื้อฝ่ายเดียวจึงไม่เป็นสัญญาและไม่ถือว่าได้ทำสัญญาเช่าซื้อเป็นหนังสือ จึงเป็นโมฆะ จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ..."

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า "...หนังสือสัญญาตามฟ้องเป็นสัญญาซื้อขาย มิใช่เช่าซื้อจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์ที่ยังค้างชำระอยู่พร้อมทั้งดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขข้อ 4, 5 พิพากษากลับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันและแทนกันชำระราคารถยนต์ที่ค้างอยู่ 69,914 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2521 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความทั้งสองศาลให้ 2,000 บาท..."

จำเลยที่ 1 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "...ข้อความในหนังสือสัญญาก็มีใจความเรียงตามลำดับดังนี้ คือข้อ 1. ผู้ซื้อชำระเงินดาวน์ครั้งแรกเป็นเงิน12,000 บาท ข้อ 2. ในกรณีที่ภาษีขาเข้าเปลี่ยนแปลงก่อนส่งมอบ ผลแห่งการเปลี่ยนแปลงตกอยู่แก่ผู้ซื้อ ข้อ 3. กรรมสิทธิ์ในยานยนต์จะตกเป็นของผู้ซื้อต่อเมื่อผู้ซื้อชำระเงินครบถ้วนแล้ว ข้อ 4. แม้มีการโอนสัญญาหรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญเสีย ผู้ซื้อยังต้องรับผิดตามสัญญานี้ ส่วนผู้ขายโอนสิทธิในสัญญาให้แก่ผู้อื่นผู้รับโอนเข้าสวมสิทธิของผู้ขายตามสัญญานี้ ข้อ 5. ในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดชำระเงินงวดใดหรือถูกฟ้องคดีล้มละลายหรือต้องถูกพิทักษ์ทรัพย์ก็ดี ผู้ขายมีสิทธิเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาที่ยังค้างอยู่ทั้งหมดได้โดยพลัน และผู้ซื้อยอมเสียดอกเบี้ยให้ผู้ขายในอัตราร้อยละ 15ต่อปี ข้อ 6. ผู้ซื้อจะต้องรักษายานยนต์ให้ปลอดภัยและจะไม่ใช้ยานยนต์ในทางผิดกฎหมายหรือทางที่ไม่สมควร ข้อ 7. ให้ผู้ขายเอาประกันภัยยานยนต์ได้โดยผู้ซื้อเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ข้อ 8. ผู้ซื้อยอมผูกพันตามสัญญาที่ผู้ขายได้ซื้อยานยนต์ดังกล่าวต่อบริษัทพระนครยนตรการ จำกัด และห้ามผู้ซื้อขายช่วงต่อไป ข้อ 9. ถ้าผู้ซื้อผิดนัดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขใด ๆ ในสัญญานี้ ผู้ขายอาจเข้าครอบครองยานยนต์ที่ขายได้ ข้อ 10. เมื่อเข้าครอบครองยานยนต์ดังกล่าวแล้ว ผู้ขายนำออกขายได้ ข้อ 11. เมื่อขายได้แล้ว ให้หักค่าใช้จ่ายเหลือเท่าใดให้นำไปชำระราคายานยนต์ที่ยังค้างชำระอยู่ ถ้ามีเหลือจะส่งคืนให้ผู้ซื้อ ถ้าไม่พอผู้ซื้อต้องชดใช้จำนวนที่ขาดอยู่ ข้อ 12. การที่ผู้ขายเข้าครอบครองยานยนต์และนำยานยนต์ออกขายไม่มีผลให้ผู้ซื้อหลุดพ้นหน้าที่ที่ต้องรับผิดจนกว่าจะได้ชำระราคาครบถ้วน

จากข้อความตามหนังสือสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายรถยนต์โดยผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชำระราคามีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อผู้ซื้อผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้วไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าผู้ขายเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราวดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ทั้งในกรณีผิดนัดผิดสัญญาหรือทรัพย์ตามสัญญาสูญหายก็ยังให้สิทธิผู้ขายได้รับชำระค่ารถส่วนที่ยังค้างชำระเต็มราคาค่ารถที่ซื้อขายตามสัญญาข้อ 4, 5, 9, 10, 11และ 12 แสดงให้เห็นว่า กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม คู่สัญญามีเจตนาให้ผู้ขายได้รับชำระราคารถยนต์ที่ซื้อขายจนครบถ้วนเท่านั้น หาได้มีข้อตกลงที่พอจะแสดงให้เห็นว่าถ้าผู้ซื้อผิดนัดผิดสัญญา ให้ผู้ขายริบบรรดาเงินที่ผู้ซื้อได้ใช้มาแล้ว และผู้ขายเข้าครองรถยนต์เป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 แต่อย่างใดไม่ สัญญาเอกสารหมาย จ.2 และ ล.1 จึงเป็นสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา459 หาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่ การที่ผู้ขายกำหนดเงื่อนไขการรักษาการใช้และการเอาประกันภัยรถยนต์ในระหว่างผ่อนใช้ราคาไม่ครบถ้วนตามสัญญาข้อ 6 และ 7 ก็ดีให้ผู้ซื้อต้องมีผู้ค้ำประกันในการปฏิบัติตามสัญญาก็ดี ก็เป็นเพียงการสงวนทรัพย์สินและแสวงหาหลักประกันของผู้ขายเพื่อให้ได้รับชำระราคาครบถ้วนแน่นอนยิ่งขึ้นเท่านั้น หาเป็นเหตุให้กลับกลายเป็นสัญญาเช่าซื้อไปได้ไม่ ฎีกาจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น

หนังสือสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขข้อ 4 ระบะว่า "แม้ว่าสัญญาฉบับนี้จะผ่านการโอนการต่ออายุหรือการเปลี่ยนมืออย่างใด ๆ หรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสียหายหรือย่อยยับประการใด ผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้แต่อย่างใดไม่ ฯลฯ" ศาลฎีกาเห็นว่า คำว่ายานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสียตามสัญญาข้อนี้ มีความหมายรวมตลอดถึงยานยนต์สูญหายไปเพราะเหตุถูกคนร้ายลักไปด้วย ฉะนั้นเมื่อระหว่างที่จำเลยชำระเงินค่าซื้อรถยนต์ตามสัญญายังไม่ครบถ้วน รถยนต์ดังกล่าวได้หายไปหรือเสียหายด้วยประการใด ๆ ก็ตามจำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์ให้แก่โจทก์จนครบถ้วน ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการยกเว้นบทบัญญัติมาตรา 372 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า "นอกจากกรณีที่กล่าวไว้ในสองมาตราก่อน ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ไม่ได้ไซร็ ท่านว่าลูกหนี้หามีสิทธิจะรับชำระหนี้ตอบแทนไม่" บทบัญญัติดังกล่าวนี้มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาย่อมตกกันเป็นอย่างอื่นได้ สัญญาข้อ 4จึงไม่ตกเป็นโมฆะ

ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยทั้งสองตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2521 จำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวแล้ว จึงเป็นผลให้สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขสิ้นสุดลงคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยที่ 1 ต้องคืนรถยนต์ให้โจทก์ และโจทก์ต้องคืนเงินค่ารถที่ได้รับไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยที่ 1 แต่ปรากฏว่ารถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายเพราะถูกลักไปยังไม่ได้คืนจำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งรถยนต์คืนให้โจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระราคารถให้แทน โดยชำระเฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบพร้อมด้วยดอกเบี้ย แต่ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตั้งแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์นั้นยังไม่ชอบ เพราะหลังจากเลิกสัญญากันแล้ว เงื่อนไขข้อตกลงต่าง ๆในสัญญาย่อมระงับสิ้นไป จะนำมาใช้บังคับแก่กันต่อไปไม่ได้ จำเลยทั้งสองจึงไม่จำต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามสัญญาข้อ 5วรรคสอง อีกต่อไป จะต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224มาใช้บังคับแทน โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกสัญญาไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จ

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2521 ถึงวันที่ 24 ตุลาคม2521 หลังจากนั้นให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โจทก์ไม่ยื่นคำแก้ฎีกา จึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นฎีกาให้นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์.

หมายเหตุ

ปกติเสรีภาพในการทำสัญญาหมายถึงคู่สัญญาประสงค์จะผูกพันกันอย่างไรก็ได้ แต่หารวมถึงการทำสัญญาอย่างหนึ่งโดยให้ถือเป็นสัญญาอีกอย่างหนึ่งไม่ สัญญาเช่าซื้อมีคำมั่นของผู้ให้เช่าซื้อฝ่ายเดียวว่าจะขาย ส่วนผู้เช่าซื้อมิได้ผูกพันว่าจะต้องซื้อ แต่สัญญาซื้อขายผู้ซื้อมีความผูกพันที่จะต้องซื้อด้วย อย่างไรก็ดี สัญญาซื้อขายที่มีข้อสัญญาให้ผู้ซื้อผ่อนชำระราคาเป็นงวด ๆ และให้กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ขายตกเป็นของผู้ซื้อเมื่อชำระราคาครบถ้วน มีความเห็นว่าบางกรณีอาจปรับเข้าได้ทั้งสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขและสัญญาเช่าซื้อ กรณีเช่นนี้คู่สัญญาเรียกสัญญาของเขาว่าอย่างไรก็แสดงว่าเขามีเจตนาแท้จริงให้เป็นสัญญานั้น (ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาของเนติบัณฑิตยสภาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4024/2526 และที่ 1696/2527) กรณีคดีนี้มีข้อสัญญาว่าแม้ผู้ซื้อผิดนัดผิดสัญญาหรือทรัพย์สินตามสัญญาสูญหายก็ยังให้สิทธิผู้ขายได้รับชำระราคาเต็มจำนวน เป็นการผูกพันผู้ซื้อให้ต้องซื้อจึงเป็นสัญญาซื้อขาย มิใช่เช่าซื้อ

ในสัญญาเช่าซื้อ ถ้าผู้เช่าซื้อตกลงว่าหากทรัพย์สินที่เช่าซื้อสูญหายผู้เช่าซื้อยอมชดใช้ราคาให้ผู้ให้เช่าซื้อ ข้อสัญญาเช่นนั้นก็ใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะเช่นเดียวกัน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่1576/2525) แต่ผลน่าจะแตกต่างกันบ้าง โดยสัญญาเช่าซื้อนั้นเมื่อทรัพย์สินที่เช่าซื้อสูญหายสัญญาย่อมระงับไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ประกอบด้วยมาตรา 567 ซึ่งอนุโลมความระงับแห่งสัญญาเช่าทรัพย์มาใช้ ราคาที่ผู้เช่าซื้อตกลงชำระต่อไปจึงเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าถือว่าเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลย่อมลดลงได้ตามมาตรา 383 แต่ในสัญญาซื้อขายกฎหมายมิได้บัญญัติให้ระงับไปเมื่อทรัพย์สินที่ซื้อขายสูญหาย ราคาที่ผู้ซื้อตกลงจะชำระต่อไปจึงเป็นราคาตามสัญญาซื้อขาย มิใช่ค่าเสียหายที่ศาลจะพึงลดลงได้

การคืนทรัพย์เพื่อกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมในกรณีเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 มีลักษณะทำนองเดียวกับกรณีโมฆียะกรรมถูกบอกล้างตามมาตรา 138 คือถ้าพ้นวิสัยที่จะคืนก็ต้องชดใช้ราคาแทน โดยไม่ต้องคำนึงว่าการที่ทรัพย์สินสูญหายหรือบุบสลายไปเป็นความผิดของผู้จะต้องคืนหรือไม่ ผิดกับการคืนในกรณีลาภมิควรได้ การชำระหนี้ในการกลับคืนสู่ฐานะเดิมนี้ เมื่อต่างฝ่ายต่างมีหนี้ต้องชำระคืนให้แก่กันและมีวัตถุอย่างเดียวกัน ศาลก็อาจให้หักกลบลบกันได้ ดังคดีนี้โจทก์ต้องคืนเงินที่จำเลยชำระไปแล้วเป็นเงิน 22,756 บาทให้จำเลย และจำเลยต้องใช้ราคารถยนต์ 92,670บาท แก่โจกท์หักกลบลบกันแล้วจึงพิพากษาให้จำเลยชำระราคารถยนต์แก่โจทก์เพียง 69,914.

สมบูรณ์ บุญภินนท์.

 




ขายฝาก/เช่า/เช่าซื้อ/ซื้อขาย

ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน สัญญาซื้อขาย article
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน
ใครมีสิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขาย
ความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่อง
สัญญาซื้อขาย หรือสัญญาจ้างทำของ
ประเมินการเสียภาษีผิดประเภทการค้า
นิติกรรมมีข้อความไม่ชัดแจ้งตีความได้หลายนัย
สิ้นกำหนดเช่าช่วงชำระค่าเช่าตลอดมาถือว่าได้ต่อสัญญาเช่า
ข้อตกลงในการประกวดราคาเพื่อซื้อขาย
การซื้อขายสิทธิการเช่าโทรศัพท์
สัญญาซื้อขายแบบเหมา
การซื้อขายทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวม
สัญญาซื้อขายที่มีหลักประกันเพื่อปฏิบัติตามสัญญา
คำว่า"ขาย" ตามประมวลรัษฎากร
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาหลายฝ่าย
ผู้เยาว์ทำสัญญาจะซื้อจะขาย
สัญญาซื้อขายมีวัตถุประสงค์ฝ่าฝืนกฎหมายตกเป็นโมฆะ
สัญญาซื้อขายอาจบังคับได้ตามบทกฎหมายว่าด้วยตัวแทน
สัญญาซื้อขายเป็นพ้นวิสัยจากภัยพิบัติ
สัญญาซื้อขายที่ไม่มีการโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง
สัญญาประนีประนอมระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
ค่าซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าผู้เช่าต้องบำรุงรักษา-ซ่อมแซมเล็กน้อย
คำมั่นเกี่ยวกับสัญญาเช่าทรัพย์
แบบนิติกรรมสัญญาประเภทต่าง ๆ แบบฟอร์มสัญญา แบบพิมพ์สัญญา
สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขาย
นำรถไฟแนนซ์ไปจอดกู้เงินผู้รับจำนำเอาไปขายต่อแจ้งความได้ไหม
บอกเลิกสัญญาเช่าต้องบอกกล่าวให้รู้ตัวก่อน
สัญญาเช่า คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการเช่า
แบบฟอร์มสัญญาซื้อขาย
อายุความเรียกราคาส่วนต่างและค่าขาดประโยชน์กรณีผู้เช่าซื้อผิดสัญญาหรือตาย
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข
สัญญาขายฝากไม่มีเหตุผลต้องผ่อนชำระดอกเบี้ยแก่กัน
กฎหมายมิได้กำหนดให้การขายฝากสามารถเรียกดอกเบี้ยต่อกันได้
บันทึกข้อตกลงให้ผู้เช่ามีสิทธิซื้อทรัพย์สินที่เช่าทั้งหมดได้
ยายทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนไม่ผูกพันผู้เยาว์
สัญญาจะซื้อจะขายและวางมัดจำถูกกลฉ้อฉลนำชี้ทำเลที่ตั้งที่ดินผิด
ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินกลับคืนสู่กองมรดก
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นไม่ต้องรับผิด
เงินค่าสิทธิการเช่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า
ยกทรัพย์มรดกตีใช้หนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ข้อตกลงซื้อขายที่ดินมือเปล่า (น.ส. 3ก)เจ้าของที่ดินจึงมีเพียงสิทธิครอบครอง
สัญญาขายฝากที่ดินไม่ได้กำหนดค่าสินไถ่ไว้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินโดยมีเงื่อนไข สัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินเสร็จเด็ดขาด
เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้
สัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
คำว่า "ได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว" ใช้บังคับแก่คู่สัญญาทั้งฝ่ายผู้ขายและผู้ซื้อ
การซื้อขายมิได้มีการชำระราคากันจริงถือเป็นการให้โดยเสน่หา
บอกล้างสัญญาค้ำประกัน ขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกัน การจัดการสินสมรส
สิทธิยึดหน่วงที่ดินไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์, ชำระเงินครบถ้วนแล้ว
การตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจทำสัญญาจะซื้อจะขาย
ได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
ขายดาวน์รถยนต์ที่เช่าซื้อมีผลอย่างไร?
ผู้เช่ารายใหม่ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้อยู่ในตึกพิพาทก่อนตน
ข้อยกเว้นเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นจะเป็นผู้ให้เช่าซื้อได้
จำนำได้ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์
ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ยึดถือเอาข้อสัญญาเป็นสาระสำคัญ-ค้างชำระค่าเช่าซื้อ
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) สิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ
สัญญาเช่าซื้อต้องลงชื่อคู่สัญญาสองฝ่ายไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ
สัญญาเช่าซื้อกับสัญญาเช่าแบบลิสซิ่ง
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) สิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหาย
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) ตกลงค่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) สัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้
ค่าเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์อายุความ 2 ปี
การบอกเลิกสัญญา | สัญญาจ้างรักษาความปลอดภัยไม่มีกำหนดเวลา
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดเท่าจำนวนเงินดาวน์
เช่าที่ดินปากเปล่าไม่มีสัญญาเช่า
การบอกเลิกสัญญาเช่าโดยมิชอบ
ลักษณะของสัญญาซื้อขาย การโอนกรรมสิทธิ์
สัญญาซื้อขาย | สัญญาตัวแทน | ตัวแทนเชิด