ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)

การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร บุตรและผู้เป็นมารดาของบุตรถึงแก่ความตายแล้ว

คำถาม - การที่บิดานอกกฎหมายจะขอจดทะเบียนรับรองบุตรต้องมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง?

ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก
เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียน นายทะเบียนก็ไม่สามารถดำเนินการให้ได้ เพราะไม่มีผู้ใดมาให้ความยินยอม ผู้ร้องก็ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลได้ โดยขอให้ถือเอาคำสั่งศาลแทนการแสดงเจตนาของภริยาและบุตรผู้ร้อง

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2545

 เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว กรณีจึงเป็นเรื่องที่บุคคลทั้งสองไม่อาจให้ความยินยอมในการที่ผู้ร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1548 วรรคสาม ผู้ร้องไม่อาจกระทำได้โดยวิธีอื่นนอกจากดำเนินการทางศาล ในเมื่อบุคคลที่จะต้องให้ความยินยอมในการขอจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีผู้ใดยังมีชีวิตอยู่เช่นนี้ ผู้ร้องก็ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลได้

 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องกับนางดวง  อยู่กินฉันสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสมีบุตรด้วยกัน ๗ คน มีจ่าสิบตำรวจไชยณรงค์  เป็นบุตรคนที่หกของผู้ร้อง ต่อมานางดวงและจ่าสิบตำรวจไชยณรงค์ถึงแก่ความตาย ทางราชการจะจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่ทายาทของจ่าสิบตำรวจไชยณรงค์ ผู้ร้องเป็นทายาทเพียงคนเดียวที่จ่าสิบตำรวจไชยณรงค์ได้ทำหนังสือระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดไว้ ผู้ร้องจึงขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จดทะเบีบนรับรองจ่าสิบตำรวจไชยณรงค์ เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้อง โดยขอให้ถือเอาคำสั่งศาลแทนการแสดงเจตนาของภริยาและบุตรผู้ร้อง ซึ่งไม่อาจให้ความยินยอมตามกฎหมายได้

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องในฐานะบิดาจะจดทะเบียนรับผู้ตายเป็นบุตร ซึ่งไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิทางศาลได้ ให้ยกคำร้องค่าคำร้องเป็นพับ

ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๓ ทวิ

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวตรวจวินิจฉัยว่า นางดวงมารดาของจ่าสิบตำรวจไชยณรงค์และจ่าสิบตำรวจไชยณรงค์ผู้เป็นบุตรถึงแก่ความตายแล้ว กรณีจึงเป็นเรื่องที่บุคคลทั้งสองไม่อาจให้ความยินยอมในการที่ผู้ร้องขอจดทะเบียนรับจ่าสิบตำรวจไชยณรงค์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1588 วรรคสาม ผู้ร้องไม่อาจกระทำได้โดยวิธีอื่นนอกจากดำเนินการทางศาล ในเมื่อบุคคลที่จะต้องให้ความยินยอมในการขอจดทะเบียนดังกล่าวไม่มีผู้ใดยังมีชีวิตอยู่เช่นนี้ ผู้ร้องก็ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้พิพากษาว่าจ่าสิบตำรวจไชยณรงค์เป็นบุตร อุทธรณ์ของผู้ร้องฟังขึ้น

พิพากษาให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแล้วดำเนินการต่อไปตามรูปคดี.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อ เมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก

ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้า เด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การ แจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความ ยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่ง ร้อยแปดสิบวัน

ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร ต้องมีคำพิพากษาของศาล

เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำ พิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจด ทะเบียนให้

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 188 ในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ให้ใช้ข้อบังคับต่อไปนี้
(1) ให้เริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาล
(2) ศาลอาจเรียกพยานมาสืบได้เองตามที่เห็นจำเป็นและวินิจฉัยชี้ ขาดตามที่เห็นสมควรและยุติธรรม
(3) ทางแก้แห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้ใช้ได้แต่โดย วิธียื่นอุทธรณ์หรือฎีกาเท่านั้น และให้อุทธรณ์ฎีกาได้แต่เฉพาะใน สองกรณีต่อไปนี้
(ก) ถ้าศาลได้ยกคำร้องขอ ของคู่ความฝ่ายที่เริ่มคดีเสีย ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือ
(ข) ในเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย นี้ว่าด้วยการพิจารณาหรือพิพากษาหรือคำสั่ง
(4) ถ้าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มี ข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่า บุคคลเช่นว่ามานี้เป็นคู่ความและให้ดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาทแต่ในคดีที่ยื่น คำร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คำอนุญาต ที่ผู้แทนโดยชอบธรรมได้ปฏิเสธเสีย หรือให้ศาลมีคำพิพากษาหรือ คำสั่งถอนคืนคำอนุญาตอันได้ให้ไว้แก่ไร้ความสามารถนั้นให้ถือว่า เป็นคดีไม่ข้อพิพาท แม้ถึงว่าผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้ไร้ความ สามารถนั้นจะได้มาศาล และแสดงข้อคัดค้านในการให้คำอนุญาต หรือถอนคืนคำอนุญาตเช่นว่านั้น

คดีฟ้องขอให้รับรองว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย

1. กรณีเด็กมีอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมสามารถฟ้องคดีแทนเด็กได้  รวมถึงผู้รับบุตรบุญธรรม ด้วย ในกรณีที่มารดาของเด็กไม่อาจทำหน้าที่ได้ ญาติสนิทของเด็กหรือพนักงานอัยการจะเป็นผู้ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนได้เช่นกัน
2. กรณีเด็กมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว เด็กต้องฟ้องคดีเอง โดยเด็กไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก็ได้
3. กรณีเด็กบรรลุนิติภาวะแล้ว เด็กจะต้องฟ้องคดีเอง และต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่บรรลุนิติภาวะ
4. กรณีเด็กถึงแก่ความตายไปแล้ว  และในเวลาที่เด็กถึงแก่ความตายนั้น เด็กมีสิทธิฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้  ถ้าแบบนี้ผู้สืบสันดานของเด็ก เช่น ลูก หลาน เหลน สามารถฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรก็ได้ แต่ก็มีเงื่อนไขว่าจะต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้เหตุที่จะฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้ก่อนวันที่เด็กถึงแก่ความตาย หรือฟ้องภายใน 10 ปี ถ้ารู้ภายหลังเด็กถึงแก่ความตาย 

ปัจจุบันมีการแก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 1557 เป็นว่า  เมื่อมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดว่าเด็กเป็นบุตรของชายแล้ว  เด็กจะมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายย้อนหลังไปถึงวันที่เด็กเกิด เพียงแต่จะนำมาอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตในระหว่างเวลาที่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเด็กเป็นบุตรไม่ได้ ผลดังกล่าวทำให้เกิดสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันตามกฎหมายคือ คดีฟ้องศาลขอให้บุตรนอกกฎหมายเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดานั้น ไม่ต้องแยกเป็นคดีฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรคดีหนึ่ง  เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วจึงมาฟ้องเป็นคดีเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในภายหลังเป็นอีกคดีหนึ่งก็ได้ โดยโจทก์สามารถฟ้องขอให้จำเลยรับรองบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรรวมมาในคดีเดียวกันโดยถือว่าเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกัน สามารถฟ้องรวมมาเป็นคดีเดียวกันได้ ซึ่งสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูซึ่งมีอายุความ 5 ปี  การกำหนดให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงย้อนหลังไปถึงวันที่บุตรเกิดนั้น จะย้อนหลังจากวันฟ้องคดีเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้เพียง 5 ปี เท่านั้น

 

 




บิดามารดา กับ บุตร

ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
นำหนี้ร่วมมาหักออกจากสินสมรสในคดีฟ้องหย่า
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร