ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

 เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้ 

เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แล้วกฎหมายกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ดังนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงเป็นคู่กรณีกับผู้ให้เช่าซึ่งเป็นคู่สัญญากับลูกหนี้ แม้เจ้าหนี้จะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกรณีเป็นผู้รับสิทธิตามสัญญาเช่าซึ่งรับไว้เป็นประกันหนี้ก็ตามแต่ไม่ใช่คู่กรณีโดยตรง

หลักความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนา
หากข้อตกลงนั้นไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว ข้อตกลงนั้นย่อมมีผลบังคับได้ตามหลักความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนา

 คำพิพากษาฎีกาที่ 1141/2550

ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ กระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ประนีประนอมยอมความ ฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ สิทธิตามสัญญาเช่าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจึงเป็นคู่กรณีกับผู้ร้องผู้ให้เช่าโดยตรง โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้คนหนึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้คัดค้านในการดำเนินการต่อสู้คดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 155 แม้โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียเนื่องจากเป็นผู้รับสิทธิตามสัญญาเช่าจากจำเลยที่ 1 ไว้เป็นประกันหนี้ก็ไม่ใช่คู่กรณีโดยตรงเนื่องจากมีผู้คัดค้านปฏิบัติหน้าที่แทนตามกฎหมาย แต่โจทก์มีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้คัดค้านหากเห็นว่าบกพร่องก็ร้องขอต่อศาลให้สั่งแก้ไขตามมาตรา 146 เมื่อผู้คัดค้านแถลงหมดพยาน ทนายโจทก์แถลงขอสืบพยานโดยไม่ได้ให้เหตุผลว่าพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านนำมาสืบแล้วนั้นยังบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ส่วนใดจึงขอสืบพยานเพิ่มเติมให้ครบถ้วนบริบูรณ์ คดีนี้พิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องสิทธิตามสัญญาและผลของกฎหมายเมื่อสัญญาสิ้นสุดโดยการบอกเลิก เป็นเรื่องเกี่ยวกับเอกสารแทบทั้งสิ้น ผู้ร้องและผู้คัดค้านนำเสนอเอกสารเป็นพยานครบถ้วนแล้ว ศาลชั้นต้นมีอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานหลักฐาน เมื่อพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านนำสืบมาเพียงพอแล้ว พยานหลักฐานที่โจทก์ขอสืบย่อมเป็นพยานที่ฟุ่มเฟือยเกินสมควร จึงไม่อนุญาตให้โจทก์นำเข้าสืบได้ตามมาตรา 86 วรรคสอง

ผลของการเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 ที่กำหนดให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมนั้น เป็นหลักทั่วไปของนิติกรรมสัญญา กฎหมายไม่ได้ห้ามคู่สัญญาที่จะทำนิติกรรมตกลงกันให้ผลของการเลิกสัญญาเป็นประการอื่น หากข้อตกลงนั้นไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว ข้อตกลงนั้นย่อมมีผลบังคับได้ตามหลักความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนา หนังสือสัญญาเช่าที่ดินข้อ 4 ที่ว่า "...เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าตามสัญญาข้อ 3 หรือเมื่อสัญญานี้สิ้นสุดลงด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินตามสัญญานี้ทั้งหมดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น รวมทั้งส่วนควบและอุปกรณ์ทั้งหมด..." ข้อ 11 ที่ว่า "ถ้าผู้เช่า...ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ทันที" และข้อ 12 ที่ว่า "เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาแห่งการเช่าตามสัญญาข้อ 3 หรือสัญญาเช่านี้สิ้นสุดตามสัญญาข้อ 11... ผู้เช่าจะต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดของผู้เช่าตามสัญญานี้ให้แก่ผู้ให้เช่าในสภาพที่เรียบร้อยภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่สัญญาสิ้นสุดลง" นั้น เป็นข้อตกลงที่ไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด จึงมีผลใช้บังคับกันได้

คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 ผู้คัดค้านเข้าจัดการเก็บรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองและได้มีหนังสือลงวันที่ 18 มีนาคม 2540 แจ้งให้ผู้ร้องทราบว่า เมื่อผู้ร้องบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินระหว่างนายพิสิฏฐ์ กับจำเลยที่ 1 ผู้ร้องต้องชำระราคาสิ่งปลูกสร้างอาคารอาณารักษ์เลขที่ 15, 15/1 ถึง 15/17 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่เช่าจำนวนเงิน 45,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2539 เป็นต้นไป ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ

          ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกลับหรือแก้คำสั่งของผู้คัดค้านที่ให้ผู้ร้องชำระราคาสิ่งปลูกสร้างอาคารพิพาทดังกล่าวข้างต้น และมีคำสั่งให้สัญญาเช่าที่ดินมีผลใช้บังคับต่อไปและให้ผู้คัดค้านชำระค่าเช่าที่ดินในนามของจำเลยที่ 1 แก่ผู้ร้องตามสัญญา เมื่อครบกำหนดอายุการเช่าตามสัญญาให้ส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนแก่ผู้ร้องในสภาพเรียบร้อยหรือส่งมอบที่ดินและอาคารดังกล่าวคืนแก่ผู้ร้องในสภาพเรียบร้อยโดยผู้ร้องไม่ต้องชดใช้ราคาค่าก่อสร้าง

    ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง
             โจทก์ยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง

    จำเลยทั้งสองยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่และขอให้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาว่าสัญญาเช่าระหว่างเจ้าของที่ดินกับจำเลยที่ 1 มีผลผูกพันบังคับได้ต่อไป การบอกเลิกสัญญาเช่าระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นโมฆะ

            ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านส่งมอบที่ดินโฉนดเลขที่ 2573 ตำบลสาธร อำเภอบางรัก กรุงเทพมหานคร พร้อมอาคารพิพาท ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินแปลงดังกล่าวในสภาพเรียบร้อยแก่ผู้ร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

      โจทก์และผู้คัดค้านอุทธรณ์

        ศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายพิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งให้ผู้ร้องชำระราคาสิ่งปลูกสร้างอาคารจำนวน 45,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย และให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้ผู้คัดค้านส่งมอบที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 2573 ดังกล่าว พร้อมอาคารพิพาท ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินแปลงดังกล่าวแก่ผู้ร้อง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

   โจทก์ ผู้ร้อง และผู้คัดค้าน ฎีกา

  ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2533 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 2573 ดังกล่าว จากนายพิสิฏฐ์ อัตราค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท เพิ่มค่าเช่า 25% ทุก 3 ปี มีกำหนดเวลาเช่า 22 ปี นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป โดยจดทะเบียนการเช่า ตามสัญญาเช่าและสัญญาต่อท้าย ตามสัญญาต่อท้ายข้อ 2 และข้อ 4 มีข้อตกลงว่า ผู้เช่าจะปลูกสร้างอาคารคอนกรีต 5 ชั้น เพื่อหาผลประโยชน์ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการค่าเช่าหรือเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า และสัญญาข้อ 11 ข้อ 12 มีข้อตกลงว่า หากผู้เช่าถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที ผู้เช่าจะต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดแก่ผู้ให้เช่าภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่สัญญาสิ้นสุดลง เมื่อทำสัญญาแล้วจำเลยที่ 1 นำสิทธิตามสัญญาเช่าไปเป็นประกันหนี้โจทก์ แล้วจำเลยที่ 1 สร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 5 ชั้น ขึ้น 18 ห้องอันได้แก่อาคารพิพาท แล้วนำออกให้บุคคลอื่นเช่าหาผลประโยชน์ วันที่ 10 กันยายน 2537 นายพิสิฏฐ์ถึงแก่ความตาย ต่อมาวันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 จำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด วันที่ 11 พฤศจิกายน 2539 ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของนายพิสิฏฐ์ผู้ให้เช่ายื่นคำร้องขอบอกเลิกสัญญาเช่าต่อผู้คัดค้าน วันที่ 5 มีนาคม 2540 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญา ต่อมาผู้คัดค้านมีหนังสือลงวันที่ 18 มีนาคม 2540 แจ้งผู้ร้องว่า การแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญามีผลผูกพันกองมรดกของนายพิสิฏฐ์ไม่อาจเพิกถอนได้ ผลของการเลิกสัญญาทำให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม ให้ผู้ร้องชำระค่าก่อสร้าง 45,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันบอกเลิกสัญญาเป็นต้นไป และรับมอบทรัพย์ที่เช่าคืน โจทก์เข้ามาในคดีโดยคัดค้านคำร้องของผู้ร้องและแถลงขอสืบพยานหลังจากที่ผู้คัดค้านนำพยานเข้าสืบและแถลงหมดพยานแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต

          คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกตามฎีกาของโจทก์ว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์สืบพยานหลักฐานนั้นชอบหรือไม่ ซึ่งโจทก์ฎีกาอ้างว่า ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 155 โจทก์มีหน้าที่ระวังประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหลายช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวมจำหน่าย ทรัพย์สินของลูกหนี้ เป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบนั้น เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 นั้น เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ กระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ประนีประนอมยอมความ ฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ สิทธิตามสัญญาเช่า สัญญาต่อท้าย เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของลูกหนี้ ผู้คัดค้านจึงเป็นคู่กรณีกับผู้ร้องโดยตรง โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้คนหนึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้คัดค้านในการดำเนินการต่อสู้คดีตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 155 แม้โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียเนื่องจากเป็นผู้รับสิทธิตามสัญญาเช่าจากจำเลยที่ 1 ไว้เป็นประกันหนี้ แต่ก็ไม่ใช่คู่กรณีโดยตรงเนื่องจากมีผู้คัดค้านปฏิบัติหน้าที่แทนตามกฎหมาย แต่มีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้คัดค้านหากเห็นว่าบกพร่องก็ร้องขอต่อศาลให้สั่งแก้ไขได้ตามมาตรา 146 ของบทกฎหมายดังกล่าว ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นลงวันที่ 14 มิถุนายน 2545 เมื่อผู้คัดค้านแถลงหมดพยาน ทนายโจทก์แถลงขอสืบพยานโดยไม่ได้ให้เหตุผลให้ปรากฏว่าพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านนำมาสืบแล้วนั้นยังบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ส่วนใดจึงขอสืบพยานเพิ่มเติมให้ครบถ้วนบริบูรณ์ คดีนี้เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องสิทธิสัญญาและผลของกฎหมาย เมื่อสัญญาสิ้นสุดโดยการบอกเลิก เป็นเรื่องเกี่ยวกับเอกสารแทบทั้งสิ้น ผู้ร้องและผู้คัดค้านนำเสนอเอกสารเป็นพยานครบถ้วนแล้ว ประกอบกับศาลชั้นต้นมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีจารณาความแพ่ง มาตรา 86 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานหลักฐาน เมื่อพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านนำสืบมาเพียงพอแล้ว พยานหลักฐานที่โจทก์ขอสืบย่อมเป็นพยานหลักฐานที่ฟุ่มเฟือยเกินสมควร จึงไม่อนุญาตให้โจทก์นำเข้าสืบได้ตามมาตรา 86 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์สืบพยานหลักฐานนั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ปัญหาวินิจฉัยประการที่สองมีว่าผู้ร้องต้องชำระเงินค่าก่อสร้างจำนวน 45,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 หรือไม่ เห็นว่า ผลของการเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 ที่กำหนดให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมนั้น เป็นหลักทั่วไปของนิติกรรมสัญญา กฎหมายไม่ได้ห้ามคู่สัญาที่จะทำนิติกรรมตกลงกันให้ผลของการเลิกสัญญาเป็นประการอื่น หากข้อตกลงนั้นไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว ข้อตกลงข้อนั้นย่อมมีผลบังคับได้ตามหลักความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนา หนังสือสัญญาเช่าที่ดิน ข้อ 4 ที่ว่า “...เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าตามสัญญาข้อ 3 หรือเมื่อสัญญานี้สิ้นสุดลงด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินตามสัญญานี้ทั้งหมดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น รวมทั้งส่วนควบและอุปกรณ์ทั้งหมด...” ข้อ 11 ที่ว่า “ถ้าผู้เช่า... ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ทันที” และข้อ 12 ที่ว่า “เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาแห่งการเช่าตามสัญญาข้อ 3 หรือสัญญาเช่านี้สิ้นสุดตามสัญญาข้อ 11... ผู้เช่าจะต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดของผู้เช่าตามสัญญานี้ให้แก่ผู้ให้เช่าในสภาพที่เรียบร้อยภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่สัญญาสิ้นสุดลง” นั้น เป็นข้อตกลงที่ไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด จึงมีผลใช้บังคับกันได้ การที่ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของนายพิสิฏฐ์ผู้ให้เช่าทำหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าไปยังผู้คัดค้าน โดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 1 ถูกศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อตกลงที่จำเลยที่ 1  ทำไว้กับผู้ให้เช่า ผู้ร้องมิได้ปฏิบัติผิดสัญญาเช่าแต่อย่างใด คำสั่งของผู้คัดค้านที่ให้ผู้ร้องชำระค่าสิ่งปลูกสร้างเป็นเงิน 45,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย จึงไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ต่อมาวันที่ 5 มีนาคม 2550 ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอให้ผู้คัดค้านนำอาคารพิพาทออกหาผลประโยชน์หรือดำเนินการใด ๆ ตามอำนาจเพื่อจัดทำให้ได้รับประโยชน์สูงกว่าเดิมต่อไป ถือได้ว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะให้ผู้คัดค้านส่งมอบอาคารพิพาทและสิ่งปลูกสร้างคืนแก่ผู้ร้อง แต่ต้องการให้ผู้คัดค้านดำเนินการหาผลประโยชน์จากอาคารพิพาทตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ให้เช่ามีสิทธิกระทำได้ การกระทำดังกล่าวไม่ได้ทำให้กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 หรือผู้ให้เช่าได้รับความเสียหาย ทั้งผู้ร้องก็ระบุในเอกสารว่าผู้ร้องไม่เกิดความเสียหายใด ๆ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งให้ผู้ร้องชำระราคาสิ่งปลูกสร้างอาคารจำนวน 45,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย และให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้ผู้คัดค้านส่งมอบที่ดินโฉนดเลขที่ 2573 ดังกล่าว พร้อมอาคารพิพาท ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องในสภาพเรียบร้อยเสียนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของผู้ร้องฟังขึ้น ส่วนฎีกาของโจทก์และผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

    มาตรา 86 เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดเป็นพยานหลักฐาน ที่รับฟังไม่ได้ก็ดี หรือเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ แต่ได้ยื่นฝ่าฝืน ต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่รับพยาน หลักฐานนั้นไว้

   เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดฟุ่มเฟือยเกินสมควร หรือประวิง ให้ชักช้า หรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น ให้ศาลมีอำนาจงดการสืบพยาน หลักฐานเช่นว่านั้น หรือพยานหลักฐานอื่นต่อไป

   เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็น ที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม ให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียก พยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วยโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ

    พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

   มาตรา 22 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดั่งต่อไปนี้
(1) จัดการจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้ กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป
(2) เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่ง ลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น
(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับ ทรัพย์สินของลูกหนี้

        มาตรา 146 ถ้าบุคคลล้มละลาย เจ้าหนี้หรือบุคคลใดได้รับความเสียหาย โดยการกระทำ หรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์บุคคลนั้นอาจยื่น คำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาสิบสี่วัน นับแต่วันที่ได้ทราบ การกระทำหรือคำวินิจฉัยนั้น ศาลมีอำนาจสั่งยืน ตาม กลับหรือแก้ไขหรือสั่ง ประการใดที่เห็นสมควร

       มาตรา 155 เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มีหน้าที่ระวังประโยชน์ของเจ้าหนี้ ทั้งหลายช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินของ ลูกหนี้และรับผิดในบรรดาค่าธรรมเนียม ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายในคดี ล้มละลายนั้น เพื่อประกันการรับผิดนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเรียก ประกันจากเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ตามจำนวนที่เห็นว่าจำเป็น

   ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

   มาตรา 150 การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดย กฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ

   มาตรา 391 เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่ สัญญาแต่ละฝ่าย จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็น อยู่เดิมแต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่

   ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดั่งกล่าวมาในวรรคต้นนั้น ท่าน ให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้

   ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้ และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์ นั้นการที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการ นั้น ๆ หรือถ้าในสัญญามีกำหนดว่าให้ใช้เงินตอบแทน ก็ให้ใช้ตามนั้น       

การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้น หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายไม่




คำพิพากษาศาลฎีกา

การรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
ดอกผลนิตินัย
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน-ปัญหาข้อกฎหมาย
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่      
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผิดสัญญาหมั้น | เรียกค่าทดแทน | สินสอด
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง