ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม article

ทนายความคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สินสมรส อำนาจปกครองบุตร ชู้สาว มรดก

บุกรุกเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี,  ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ - ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติถูกเพิกถอนให้เป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยไม่ต้องดำเนินการเพิกถอนตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ และให้ ส.ป.ก.มีอำนาจนำที่ดินนั้นมา ใช้ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อครม. มีมติให้ปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้ว เมื่อ ส.ป.ก.จะนำที่ดินแปลงใดไปดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ

คำพิพากษาฎีกาที่ 747/2550 

การออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ใดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ยังไม่มีผลทางกฎหมายเป็นการเพิกถอนที่ดินที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติในท้องที่นั้นทันที ที่ดินป่าสงวนแห่งชาติในท้องที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินจะถูกเพิกถอนสภาพจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติก็ต่อเมื่อได้มีการดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง (4) คือเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก. จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นเพียงการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการเพิกถอนตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีมติคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาสมิง และ ส.ป.ก. จะนำที่ดินไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติในท้องที่ดังกล่าวถูกเพิกถอนให้เป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

       ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุก 3 เดือน จึงเป็นการลงโทษจำคุกต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดโทษให้สูงขึ้นอีกได้

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 4, 5, 6, 8, 9, 14, 31, 35 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4, 54, 72 ตรี, 74 ทวิ บวกโทษจำคุกที่รอไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 762/2542 ของศาลชั้นต้นเข้ากับโทษคดีนี้ ริบมีดของกลาง ให้จำเลยและบริวารออกไปจากป่าที่เกิดเหตุ

           จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่ศาลขอให้บวกโทษ
           ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54, 72 ตรี วรรคหนึ่ง เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 3 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 เดือน บวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลยแดงที่ 762/2542 อีก 3 เดือน รวมจำคุกจำเลยที่กำหนด 5 เดือน ริบมีดของกลาง และให้จำเลย บริวารของจำเลยออกไปจากป่าที่เกิดเหตุ

        จำเลยอุทธรณ์
     ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน

  จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
     ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า …การที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ใดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินนั้น ยังไม่มีผลทางกฎหมายเป็นการเพิกถอนที่ดินที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติในท้องที่นั้นทันที ที่ดินป่าสงวนแห่งชาติในท้องที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินจะถูกเพิกถอนสภาพจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติก็ต่อเมื่อได้มีการดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง (4) คือ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก. จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการเพิกถอนตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ ข้อเท็จจริงในคดีนี้ไม่ปรากฏว่ามีมติคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาสมิง (ป่าคลองใหญ่และป่าเขาไฟไหม้) และ ส.ป.ก. จะนำที่ดินไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแต่อย่างใด ส่วนที่ดินที่มีการออก ส.ป.ก. 4-01 ให้ประชาชน รวมทั้งที่ดินของนางสุขนั้นเป็นคนละแปลงกับที่ดินบริเวณที่เกิดเหตุ ตามคำเบิกความของนายประยูรก็ยืนยันว่า ที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ นอกจากนี้ตามที่จำเลยนำสืบมาก็ไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าจำเลยเคยได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งมีการปิดประกาศว่าเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้ว จึงถือว่าประชาชนทั่วไปรวมทั้งจำเลยทราบแล้วว่าที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

     อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 3 เดือน นั้น เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะความผิดตามบทบัญญัติในมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การลงโทษจำคุกดังกล่าวจึงต่ำกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดโทษจำเลยให้สูงขึ้นอีกได้ อย่างไรก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยได้ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นเนื้อที่ดินเพียงประมาณ 40 ตารางวา พฤติการณ์แห่งคดีไม่ร้ายแรง และขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 63 ปีแล้ว ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน เห็นสมควรให้โอกาสจำเลยประพฤติตนเป็นพลเมืองดีด้วยการรอการลงโทษจำคุกให้ แต่เพื่อให้หลาบจำให้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่ง และคุมความประพฤติจำเลยไว้ด้วย เมื่อศาลรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยจึงบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ไม่ได้

     พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจำเลย 12,000 บาทอีกสถานหนึ่งด้วย จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสาม คงปรับ 8,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ให้คุมความประพฤติจำเลยไว้ 2 ปี โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักคุมประพฤติทุก 3 เดือนต่อครั้ง ภายในกำหนดเวลา 1 ปี ให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณะประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควรเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ยกคำขอที่ให้บวกโทษจำคุกจำเลย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2.

พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง (4)

มาตรา 26 เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูปที่ดินใช้บังคับใน ท้องที่ใดแล้ว
(1) ถ้าในเขตปฎิรูปที่ดินนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับ พลเมืองใช้ร่วมกันแต่พลเมืองเลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น หรือได้เปลี่ยนแปลง สภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันก็ดี หรือพลเมืองยังใช้ ประโยชน์ในที่ดินนั้นอยู่หรือยังไม่เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมือง ใช้ร่วมกันเมื่อได้จัดที่ดินแปลงอื่นให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทน โดยคณะกรรมการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ดี ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูป ที่ดินนั้นมีผล เป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดิน ดังกล่าวโดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน และให้ ส.ป.ก.มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้
(2) ถ้าในเขตปฎิรูปที่ดินนั้นมีที่ดิน อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือที่ดินที่ได้สงวนหรือหวง ห้ามไว้ตามความต้องการของทางราชการ เมื่อกระทรวงการคลังได้ให้ความ ยินยอมแล้วให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูปที่ดินนั้นมีผลเป็นการถอนสภาพ การเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับที่ดินดังกล่าวโดยมิต้องดำเนินการ ถอนสภาพตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุและให้ ส.ป.ก.มีอำนาจนำที่ดินนั้นมา ใช้ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้
(3) ถ้าในเขตปฎิรูปที่ดินนั้นมีที่ดิน อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่ง เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้ง หรือกลับมาเป็น ของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดินและที่ดินนั้นอยู่นอกเขตป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรีให้ ส.ป.ก.มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมได้
(4) ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ ดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก.จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวน แห่งชาติ
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตาม(4) ให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ และมีอำนาจในการให้เช่าที่ดินอันเป็นป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวได้ และให้ค่าเช่าที่ได้มาตกเป็นของกองทุนการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507
มาตรา 31 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 14 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท
ในกรณีความผิดตาม มาตรา นี้ ถ้าได้กระทำเป็นเนื้อที่เกินยี่สิบห้าไร่ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่
(1) ไม้สัก ไม้ยาง ไม้สนเขา หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. ตาม กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ หรือ
(2) ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง รวมกันเกินยี่สิบต้น หรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร หรือ
(3) ต้นน้ำลำธาร ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และ ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
ในกรณีที่มีคำพิพากษาชี้ขาดว่าบุคคลใดกระทำความผิดตาม มาตรา นี้ ถ้าปรากฏว่าบุคคลนั้นได้ยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ศาลมี อำนาจสั่งให้ผู้กระทำผิด คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของผู้กระทำผิด ออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติได้ด้วย

 

เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2563

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 18 ฐานเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 25 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ต่อมาระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้มี พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แต่ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 20 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดย พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 47 ให้ระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท โทษตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุก จึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดที่มีโทษจำคุกด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนของโทษปรับที่ศาลจะนำมาลงโทษจำเลยนั้น พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 25 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าจะในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225




คำพิพากษาศาลฎีกา

การรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่ article
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง article
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง article
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่ article
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย article
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ article
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์ article
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง article
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด article
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว article
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน article
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน article
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย article
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน article
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ article
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน article
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย article
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ article
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง article
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ article
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก article
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์ article
ดอกผลนิตินัย article
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี article
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร? article
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์ article
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด article
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้ article
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย article
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง article
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม article
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน article
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี article
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา article
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย article
กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย article
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ article
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก article
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ article
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย article
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา article
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น article
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม article
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน-ปัญหาข้อกฎหมาย article
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย article
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี article
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน article
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก article
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์ article
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี article
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม article
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง article
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้ article
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน article
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้ article
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ article
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ article
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด article
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ article
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ article
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด article
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม article
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย article
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย article
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย article
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ article
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา article
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก article
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง article
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย article
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง article
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด article
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง article
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ article
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน article
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ article
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง article
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า article
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่       article
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง article
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่? article
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง article
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง article
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา article
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค article
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย article
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผิดสัญญาหมั้น | เรียกค่าทดแทน | สินสอด
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง