ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่      

ทนายความคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สินสมรส อำนาจปกครองบุตร ชู้สาว มรดก

   การขอพิจารณาคดีใหม่คดีแรงงานให้ยื่นคำร้องภายใน 7 วันส่วนคดีแพ่งภายใน 15 วันนับแต่ได้รับ "คำบังคับ" 

ในกรณีที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยขาดนัด หากจำเลยได้มาแถลงให้ศาลแรงงานทราบถึงความจำเป็นที่มาศาลแรงงานไม่ได้ โดยต้องมาแถลงให้ศาลแรงงานทราบภายในกำหนด 7 วันนับแต่ศาลแรงงานมีคำสั่งดังกล่าว ซึ่งศาลแรงงานก็จะทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยถึงเหตุจำเป็นของจำเลยที่ไม่สามารถมาศาลแรงงานได้ และหากเห็นสมควรแล้ว ศาลแรงงานจะมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิม และดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ แต่สำหรับจำเลยในคดีนี้ จำเลยได้รับหมายเรียกพร้อมสำเนาคำฟ้องนัดให้จำเลยมาศาลโดยชอบแล้ว แต่จำเลยไม่มาศาลแรงงานตามนัด จนกระทั่งจำเลยได้รับ "คำบังคับ" จำเลยจึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่เมื่อล่วงพ้นเวลา 7 วันแล้ว จึงไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากในคดีแรงงานนั้นมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ไม่เหมือนคดีแพ่งอื่น ๆ ทั่วไปที่จะขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ ภายในเวลา 15 วัน นับแต่จำเลยได้รับคำบังคับไม่ได้

 คำพิพากษาศาลฎีกา-97/2550 

    ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำฟ้องกำหนดวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เมื่อจำเลยไม่มาศาล และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสอง การที่จำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งขอศาลแรงงานกลางดังกล่าวและขอให้พิจารณาคดีใหม่ ย่อมไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา มาใช้บังคับได้ จำเลยจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 41 จำเลยยื่นคำร้องเพื่อขอพิจารณาคดีใหม่พ้นกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด จึงไม่ชอบ

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องว่า โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 เข้าทำงานเป็นลูกจ้างทำหน้าที่พนักงานขายและเก็บเงิน มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการทำงาน จำเลยที่ 1 เก็บเงินจากลูกค้าและรับสินค้าคืนจากลูกค้าแล้วไม่นำส่งโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 193,294 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองขาดนัด ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชำระเงิน 189,430 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2545 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่

    ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 1 ได้รับหมายโดยชอบแล้วตามใบตอบรับเอกสารในสำนวนอันดับที่ 6 และตามที่จำเลยที่ 1 รับในคำร้องนี้ว่า ทราบว่าถูกฟ้องแล้วและศาลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2545 ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาคดีว่า จำเลยที่ 1 ขาดนัดจึงเป็นการสั่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสอง การร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 จึงปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 โดยจะต้องร้องขอภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัด การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในวันที่ 10 มีนาคม 2547 ซึ่งเกินกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัด จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว คดีจึงไม่จำต้องไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจมาศาลได้ ยกคำร้อง

 จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา

 ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ว่า ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 วรรคสอง โดยไม่ไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 1 เป็นการชอบหรือไม่ โดยจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีนี้ใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ซึ่งจำเลยที่ 1 สามารถยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดสืบพยานโจทก์ คดีนี้ศาลแรงงานกลางได้ส่งคำบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยที่ 1 ได้รับสำเนาคำบังคับเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2547 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2547 ยังไม่พ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 รับคำบังคับ ยังอยู่ในกำหนดที่จำเลยที่ 1 จะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ เห็นว่า คดีนี้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา โดยกำหนดวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ และออกหมายเรียกให้จำเลยที่ 1 มาศาลในวันนัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 โดยชอบ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามมาตรา 40 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 จะขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลแรงงานกลางดังกล่าวและขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นย่อมไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา มาใช้บังคับได้ จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 41 ว่า “ในกรณีที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง หรือมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตามมาตรา 40 วรรคสอง หากโจทก์หรือจำเลยมาแถลงให้ศาลแรงงานทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่ง ศาลแรงงานมีอำนาจไต่สวนถึงเหตุแห่งความจำเป็นนั้นได้ และหากเห็นเป็นการสมควร ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตามมาตรา 40 และดำเนินกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำหลังจากที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 40 นั้นใหม่ เสมือนหนึ่งมิได้เคยมีกระบวนพิจารณาเช่นว่านั้น” คดีนี้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2545 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2547 พ้นกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัด จึงล่วงเลยเวลาที่จำเลยที่ 1 จะยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ได้ ที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 โดยไม่ทำการไต่สวนก่อนนั้นจึงชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น”

  พิพากษายืน

 
จำเลยไม่มาศาล จำเลยยื่นคำร้องเพื่อขอพิจารณาคดีใหม่พ้นกำหนด 7 วัน       

มาตรา 37 เมื่อศาลแรงงานสั่งรับคดีไว้พิจารณาแล้ว ให้ศาลแรงงาน กำหนดวันเวลาในการพิจารณาคดีโดยเร็ว และออกหมายเรียกจำเลยให้มา ศาลตามกำหนด ในหมายนั้นให้จดแจ้งรายการแห่งข้อหาและคำขอบังคับให้ จำเลยทราบและให้ศาลแรงงานสั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลาเดียวกันนั้นด้วย

 จำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือ ก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มา ศาลก็ได้

มาตรา 40 เมื่อโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้มาศาลตาม มาตรา 37 แล้ว ไม่ มาตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานทราบเหตุที่ไม่มา ให้ถือว่าโจทก์ไม่ ประสงค์จะดำเนินการคดีต่อไปให้ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดี ออกเสีย จากสารบบความ

 เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม มาตรา 37 แล้ว ไม่มาตาม กำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานทราบเหตุที่ไม่มา ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว

  ในกรณีที่โจทก์หรือจำเลยได้แจ้งให้ศาลแรงงานทราบเหตุแล้ว และศาล แรงงานเห็นเป็นการสมควร ก็ให้กำหนดวันเวลานัดใหม่เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมา ศาล

 มาตรา 41 ในกรณีที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดี ออกเสียจาก สารบบความตาม มาตรา 40 วรรคหนึ่ง หรือมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตาม มาตรา 40 วรรคสอง หากโจทก์หรือจำเลยมาแถลงให้ศาลแรงงานทราบถึง ความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่ง ศาลแรงงานมีอำนาจไต่สวนถึงเหตุแห่งความจำเป็นนั้นได้ และหากเห็นเป็น การสมควรให้ศาลแรงงานมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตาม มาตรา 40 และดำเนิน กระบวนพิจารณาที่ได้กระทำหลังจากที่ได้มีคำสั่งตาม มาตรา 40 นั้นใหม่ เสมือนหนึ่งมิได้เคยมีกระบวนพิจารณาเช่นว่านั้น

 




คำพิพากษาศาลฎีกา

สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี article
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง article
การรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
ดอกผลนิตินัย
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน-ปัญหาข้อกฎหมาย
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผิดสัญญาหมั้น | เรียกค่าทดแทน | สินสอด
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง