ReadyPlanet.com


การตกลงกันว่าจะสมรสหรือจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีการหมั้น ผิดสัญญา


การตกลงกันว่าจะสมรสหรือจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีการหมั้น เมื่อได้จัดการแต่งงานกันตามประเพณี ย้ายไปอยู่บ้านสามี ภายหลังสามีไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรส จะเรียกค่าเสียหายค่าจัดงานแต่ง  ค่าเสียความบริสุทธิ์  ค่าเสียหน้า ได้มากน้อยเพียงใด


ผู้ตั้งกระทู้ ภรรยานอกกฎหมาย :: วันที่ลงประกาศ 2008-01-03 14:51:04


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1615178)

การที่จะเรียกค่าทดแทนความเสียหายได้นั้นต้องเกิดจากการผิดสัญญาหมั้นตามที่กฎหมายบัญญัติรับรองไว้

การที่ตกลงกันว่าจะสมรสในภายหน้า ต่อมาฝ่ายใดผิดสัญญาก็จะเรียกร้องค่าเสียหายไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายรองรับไว้

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-01-04 09:35:51


ความคิดเห็นที่ 2 (1615179)

คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2532



ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติว่า ในกรณีที่ไม่มีการหมั้น หากฝ่ายใดผิดสัญญาจะสมรส ให้ฝ่ายนั้นรับผิดใช้ค่าทดแทนอย่างเช่นกรณีที่มีการหมั้น ฉะนั้นเมื่อโจทก์และจำเลยตกลงกันว่าจะสมรสหรือจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีการ หมั้น จึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรอง แม้จำเลยไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้.(ที่มา-ส่งเสริม)



โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยตกลงจะทำการสมรสกัน กำหนดพิธีมงคลสมรสในวันที่ 16 พฤษภาคม 2525 และจะจดทะเบียนสมรสกันวันที่17 พฤษภาคม 2525 จำเลยตกลงให้โจทก์เป็นฝ่ายเตรียมจัดพิธีมงคลสมรสแต่ฝ่ายเดียว และจำเลยมอบเงินช่วยเหลือในการเตรียมจัดงานสมรสเป็นเงิน 11,000 บาท โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเลี้ยง หนังสือเชิญแขก ค่าของชำร่วย ค่าเครื่องแต่งกาย เครื่องตกแต่ง และเบ็ดเตล็ดรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 90,000 บาท ครั้นถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2525หลังจากเสร็จพิธีมงคลสมรสแล้ว จำเลยได้รับโจทก์ไปอยู่กินฉันสามีภริยาที่บ้านจำเลยวันรุ่งขึ้น โจทก์ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนสมรส แต่จำเลยขอผัดผ่อน โจทก์หลงเชื่อและอยู่กินกับจำเลยเรื่อยมาจนกระทั่งเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2525 จำเลยปฏิเสธไม่ยอมอยู่กินกับโจทก์ฉันสามีภริยาและไม่ยอมจดทะเบียนสมรส อีกทั้งได้ไล่โจทก์ออกจากบ้านโดยไม่มีสาเหตุ การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายสูญเสียพรหมจรรย์ ได้รับความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูล ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง โจทก์ขอเรียกค่าเสียหายจากจำเลย คือ ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส 90,000บาท และค่าเสียหายเกี่ยวกับร่างกายและชื่อเสียงเป็นเงิน 400,000 บาทโจทก์เรียกร้องแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายรวม 490,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย



จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะการตกลงสมรสระหว่างโจทก์ กับจำเลยไม่มีการหมั้น โจทก์สมัครใจอยู่กินฉันสามีภริยาและสูญเสียความเป็นสาวให้จำเลยด้วยความเต็ม ใจ มิใช่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลย ขอให้ยกฟ้อง



ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ



โจทก์อุทธรณ์โดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคน อนาถา



ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ



โจทก์ฎีกาโดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคน อนาถา



ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจาก จำเลยหรือไม่ พิเคราะห์แล้ว คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ยินยอมสมรสกับจำเลย จำเลยให้โจทก์เป็นฝ่ายเตรียมจัดพิธีมงคลสมรสแต่ฝ่ายเดียวและจำเลยได้มอบเงิน ช่วยเหลือในการเตรียมจัดงานสมรสเป็นเงิน 11,000 บาท โจทก์และครอบครัวจึงได้เตรียมจัดพิธีมงคลสมรสขึ้น ในการเตรียมการสมรสฝ่ายโจทก์ได้เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเลี้ยง เชิญแขกผู้มีเกียรติ ค่าอาหารสำหรับเลี้ยงแขกในวันสมรส ค่าของชำร่วย ค่าใช้จ่ายของโจทก์เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย เครื่องตกแต่ง และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 90,000 บาท ที่โจทก์ฎีกาว่า เงินจำนวน 11,000 บาทที่จำเลยมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นของหมั้น ศาลฎีกาเห็นว่า คำฟ้องเดิมกับฎีกาของโจทก์ขัดแย้งกัน ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นและไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปรากฏตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยว่าโจทก์กับจำเลย ร่วมกันจัดพิธีมงคลสมรสขึ้น เสร็จพิธีแล้วจำเลยพาโจทก์ไปอยู่บ้านของจำเลยฉันสามีภริยาและจำเลยไม่ยอมจด ทะเบียนสมรสกับโจทก์ คดีจึงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงจะสมรสกันโดยไม่มีการหมั้น เห็นว่าการเรียกค่าทดแทนเนื่องจากผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษตามมาตรา 1439 ว่า "เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่มีของหมั้น ถ้าฝ่ายชายผิดสัญญาหมั้นให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง ถ้าฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย" และไม่มีบทมาตราใดบัญญัติว่าในกรณีที่ไม่มีการหมั้น หากฝ่ายใดผิดสัญญาจะสมรสให้ฝ่ายนั้นรับผิดใช้ค่าทดแทนอย่างเช่นกรณีที่มีการ หมั้น ดังนั้น การตกลงกันว่าจะสมรสหรือจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีการหมั้น จึงนอกขอบเขตที่กฎหมายรับรองเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกค่าทดแทนจากจำเลย ตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 1971/2517 ระหว่างนางลาน ตระกูลศิริ โจทก์ นายบุญสาย ยอดเซียน จำเลย ส่วนคำพิพากษาฎีกาที่ 1198/2492 และคำพิพากษาฎีกาที่ 700/2498 ที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอิง ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้การที่โจทก์ต้องใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส โจทก์ต้องเสียพรหมจารีให้แก่จำเลยและอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยากับจำเลย โดยจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์เกิดจากความสมัครใจของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่จะถือว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์"



พิพากษายืน จำเลยไม่แก้ฎีกาจึงไม่กำหนดค่าทนายความให้




ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-01-04 09:39:12



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล