ReadyPlanet.com


พ่อเสียชีวิตแล้ว มีพี่น้อง 6 คน ต้องการซื้อส่วนของพี่ชาย จะทำอย่าไรได้บ้าง


พ่อเสียชีวิตไปแล้ว พ่อมีที่ดิน 1 แปลงเนื้อที่ 2 ไร่ ยังไม่ได้แบ่งกัน

พี่ชายอยากขายส่วนของพี่ชาย ดิฉันจะโอนชื่อในส่วนของพี่ชายและของดิฉันเป็นชื่อของฉันทีเดียวกันได้หรือไม่ หรือต้องทำอย่างไร



ผู้ตั้งกระทู้ วันดี :: วันที่ลงประกาศ 2007-12-22 02:15:23


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1615151)

มาตรา 1599 บัญญัติไว้ว่า เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท

ดังนั้นเมื่อพ่อของคุณตาย มรดกของพ่อคุณก็ตกแก่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรที่บิดาได้รับรองแล้ว

คุณพ่อมีบุตร 6 คน ถ้าคุณพ่อไม่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ใครหรือบุตรคนใดโดยเฉพาะ มรดกของคุณพ่อก็ตกได้แก่บุตรทั้ง 6 คน คนละส่วนเท่าๆกัน

เมื่อต้องการแบ่งทรัพย์มรดกก็ต้องร้องขอต่อศาลที่เป็นภูมิลำเนาของเจ้ามรดกหรือคุณพ่อคุณอยู่ในเขตอำนาจขอให้ตั้งบุตรคนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดก

เมื่อศาลได้มีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกแล้วก็ให้โอนทรัพย์มรดกเป็นชื่อของผู้จัดการมรดก แล้วผู้จัดการมรดกก็แบ่งปันให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิต่อไป

กรณีของคุณที่ต้องการจะซื้อในส่วนของพี่ชายนั้น ถ้าจะทำให้ถูกต้องก็ต้องโอนเป็นชื่อของพี่ชายคุณแล้วโอนขายกันต่อไปก็ได้

ส่วนกรณีที่จะโอนข้ามมาเป็นชื่อคุณนั้นเห็นว่าเป็นเรื่องผู้จัดการมรดกต้องจัดการไปตามหน้าที่ของตน หากกระทำผิดหน้าที่อาจถูกฟ้องในความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดกก็ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2007-12-27 13:25:59


ความคิดเห็นที่ 2 (1615152)

คำพิพากษาฎีกาที่  6238/2538

 

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งห้ากับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 และนางปาน จำเลยที่ 1 และนางปานมีทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้เป็นโคและที่ดิน เมื่อนางปานถึงแก่กรรมทรัพย์สินดังกล่าวกึ่งหนึ่งเป็นมรดกตกแก่ทายาท จำเลยที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล แต่ไม่จัดการตามหน้าที่กลับสมคบกับจำเลยที่ 2 โอนทรัพย์มรดกไป ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งห้า

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-01-01 12:03:45


ความคิดเห็นที่ 3 (1615153)

คำพิพากษาฎีกา  1638/2538  (ฎีกาย่อ)

 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งห้ากับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 และนางปาน จำเลยที่ 1 และนางปานมีทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้เป็นโคและที่ดิน เมื่อนางปานถึงแก่กรรมทรัพย์สินดังกล่าวกึ่งหนึ่งเป็นมรดกตกแก่ทายาท จำเลยที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล แต่ไม่จัดการตามหน้าที่กลับสมคบกับจำเลยที่ 2 โอนทรัพย์มรดกไป ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งห้า

          จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 และนางปานได้ยกทรัพย์สินให้จำเลยที่ 2 แล้ว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

        

  จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยที่ 1 และนางปานยกที่ดินและโคให้จำเลยที่ 2 ก่อนนางปานถึงแก่กรรม โจทก์ทั้งห้าไม่ได้เกี่ยวข้องจึงไม่มีสิทธิฟ้องขอแบ่งปัน ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่ดินและโคเป็นของจำเลยที่ 2 ห้ามโจทก์ทั้งห้าและบริวารเกี่ยวข้อง

         

 โจทก์ทั้งห้าให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ที่ดินและโคเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และนางปานร่วมกันทำมาหาได้ในระยะเป็นสามีภรรยากันหลังจากนางปานถึงแก่กรรมไปแล้วโจทก์ทั้งห้าและจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา จำเลยที่ 2 ครอบครองทรัพย์มรดกเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่น ขอให้ยกฟ้องแย้ง

          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงและโคพิพาทคนละ 1 ใน 30 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงและโคพิพาท22 ใน 30 ส่วน ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ทะเบียนเล่ม 120 หน้า 4 สารบบเล่มหมู่ที่ 1 เลขที่ 20 หมู่ที่ 1 ตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ในส่วนที่เกิน 22 ใน 30 ส่วน ให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนและให้จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จดทะเบียนโอนและส่งมอบที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 คนละ 1 ใน 30 ส่วน ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2ร่วมกันส่งมอบที่ดินพิพาทแปลงที่สองตามแผนที่พิพาทเอกสารหมาย ผ.1ในส่วนที่อยู่นอกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ดังกล่าวข้างต้นแก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 คนละ 1 ใน 30 ส่วน ให้จำเลยที่ 1ที่ 2 ส่งมอบโคทรัพย์มรดกแก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 คนละ 2 ใน 3 ตัวหากส่งมอบไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันใช้ราคาแก่โจทก์ที่ 1ถึงที่ 5 คนละ 3,333,33 บาท คำขออื่นนอกนั้นให้ยก

          จำเลยที่ 2 อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาททั้งสองแปลงและโคพิพาททั้ง 20 ตัว ให้โจทก์ทั้งห้าคนละ 1 ใน 30 ส่วน หากตกลงกันไม่ได้ให้ทำการประมูลกันในระหว่างเจ้าของ หากประมูลไม่ได้ให้ขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งปันกันตามสิทธิ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          จำเลยทั้งสองฎีกา โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริง

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ คดีในส่วนจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยคงรับวินิจฉัยเฉพาะฎีกาของจำเลยที่ 2 ซึ่งฟังไม่ขึ้นทั้งสองข้อ

          พิพากษายืน

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-01-01 12:20:36


ความคิดเห็นที่ 4 (1615154)

แก้ไขเลขฎีกา

จากฎีกาที่ 1638/2538 เป็น  6238/2538

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2008-01-01 12:37:59



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล