ReadyPlanet.com


สิทธิในการเรียกค่าขาดไร้อุปการะ มีเงื่อนไขอย่างไร


การเรียกค่าขาดไร้อุปการะ จะเรียกได้เมื่อใดบ้าง และมีเงื่อนไขอย่างไร ผู้ที่เรียกต้องเป็นใครบ้างจึงจะเรียกได้


ผู้ตั้งกระทู้ จินตนา :: วันที่ลงประกาศ 2007-12-19 21:10:06


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1615141)

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรค สาม

"ถ้าว่าเหตุที่ตายลงนั้นทำให้บุคคลหนึ่งคนใดต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมายไปด้วย บุคคลนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น"

ดังนั้นบิดา มารดา สามี ภริยา และบุตร จึงสามารถเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้

และที่สำคัญต้องเป็นบิดามารดาสามีภริยา และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 บิดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 (รับรองโดยพฤตินัย คือรับว่าเป็นลูกจริง) ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลทำให้เป็น ผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมเท่านั้นเมื่อบิดาซึ่งเป็นผู้ตายไม่ใช่ บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายในการอุปการะเลี้ยงดูเด็กหรือบุตรดังนั้น มารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะจากผู้ทำ ละเมิดต่อบิดาของตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7119/2541

ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1563 บัญญัติไว้ว่าบุตรจำร้องเลี้ยงดูบิดามารดา การที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ที่ 3 ตาย ถือว่าโจทก์ที่ 3 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายจากบุตร โจทก์ที่ 3 จึงชอบที่จะได้รับี่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและความหวังในอนาคตโดยผล แห่งกฎหมาย โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุหรือในอนาคตเด็กหญิง พ. จะได้อุปการะ โจทก์ที่ 3 จริงหรหือไม่ ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดให้ตามสมควร ค่าเสียหายจำนวน 40,000 บาท ซึ่งโจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์ของโรงพยาบาลในการทำการผ่าตัดเพื่อช่วยชีวิตเด็กหญิง ส. นั้น ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ เป็นสินน้ำใจที่โจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์เองโดยที่คณะแพทย์ไม่ได้เรียกร้องเป็นความพอใจของโจทก์ ที่ 4 ที่ต้องการตอบแทน คณะแพทย์ที่ฃ่วยเหลือบุตรสาวของตน การจ่ายนี้ไม่อาจกำหนดจำนวนที่แน่นอน ไม่มีหลักเกณฑ์และกฎหมายรองรับ จึงไม่อาจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ การที่เด็กหญิง ส. บาดเจ็บสาหัสต้องหยุดเรียนไปนานจึงเป็นการจำเป็นต้องจ้างครูมาสอนพิเศษ ส่วนการเรียนเปียโนก็เป็นการฟื้นฟูจิตใจของเด็กหญิง ส. ซึ่งบาดเจ็บสาหัสและต้องกระทบกระเทือนจิตใจจากใบหน้าที่เสียโฉม ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายชอบที่จะได้รับการชดใช้ จากผู้กระทำละเมิด

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนาย ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ 0859604258 วันที่ตอบ 2007-12-19 23:11:10


ความคิดเห็นที่ 2 (1987236)

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

 

http://www.peesirilaw.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=peesirilawcom&thispage=9&No=1218087

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-09-23 21:04:16



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล