ReadyPlanet.com


จะดำเนินคดีฟ้องหย่าฝ่ายเดียวทำอย่างไรปัจจุบันไม่ทราบที่อยู่ที่ติดต่อ


 เรียนคุณทนาย

เคยจดทะเบียนสมรสสมัยเป็นนักศึกษา(แฟนต้องการหลักประกันในขนะนั้น)กับแฟนไม่เคยอยู่ด้วยกันแต่ในที่สุดก็ไม่ได้เจอกันแยกไปทำงานกันคนละที่และเลิกกันไปไม่ได้พบกันอีกเลยเป็นเวลากว่า 20 ปี แต่ต้องการจดทะเบียนหย่าจะดำเนินการอย่างไรได้บ้างครับ กรณีจะดำเนินฟ้องหย่าฝ่ายเดียวทำอย่างไรปัจจุบันไม่ทราบที่อยู่ที่ติดต่อ



ผู้ตั้งกระทู้ ทิน :: วันที่ลงประกาศ 2013-06-20 10:12:28


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2379422)

เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ให้มายังมีความจำกัดที่จะตอบคำถามอยู่บ้าง จึงขอให้เป็นความเห็นดังนี้ครับ

การที่ชาย และหญิง สมัครใจจดทะเบียนสมรสกัน ย่อมมีความรักความผูกพันเป็นอย่างมากอยู่แล้ว(ในขณะจดทะเบียนสมรส) แม้จะไม่เคยอยู่ด้วยกันเพราะเหตุด้วยความจำเป็นของแต่ละฝ่ายก็ตาม แต่การทีคุณทั้งสองเลิกกันควรจะมีเหตุผลในรายละเอียดอยู่บ้างอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งหากมีรายละเอียดมากกว่านี้คงจะตอบคำถามให้ชัดเจนกว่านี้ แต่เท่าที่จะปรับข้อกฎหมายในกรณีตามข้อเท็จจริงข้างต้นได้ดังนี้

1. (4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

ในกรณีนี้ กฎหมายต้องการเหตุที่แยกกันอยู่ว่าต้องเป็นเพราะเหตุที่สามีภริยาไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขด้วยครับ (แต่โจทก์สามารถเรียงคำฟ้องให้เข้าเหตุหย่าตามกฎหมายได้ แต่ในทางนำสืบต้องไปว่ากันในชั้นศาล)

2.  (6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

การที่สามี ภริยา จดทะเบียนสมรสกันแล้วก็ต้องอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา ถ้าไม่ได้อยู่ร่วมกันโดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนก็เข้าข่าย ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตามสมควรอันเป็นเหตุฟ้องหย่าได้

3. สำหรับที่อยู่ของจำเลย เบื้องต้นก็ต้องไปคัดถ่ายทะเบียนบ้าน แล้วส่งหมายและสำเนาคำฟ้องไปให้จำเลยตามที่อยู่ที่ปรากฏตามทะเบียนบ้านกฎหมายก็ถือว่าส่งหมายให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว หากจำเลยไม่ต่อสู้คดีหรือไม่มาศาล ศาลก็อนุญาตให้โจทก์สืบพยานไปฝ่ายเดียวครับ แล้วนำคำพิพากษาของศาลไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางทะเบียนได้ครับ โดยถือเอาคำพิพากษาแสดงเจตนาแทนจำเลยครับ

มาตรา 1516  เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยา
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

มาตรา 1458  การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากันและต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย

มาตรา 1461  สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2013-06-30 10:55:05


ความคิดเห็นที่ 2 (2381452)

บทความที่เกี่ยวข้อง (เหตุฟ้องหย่า)

ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่ต้องเกิดจากความสมัครใจสองฝ่าย

การจะอ้างสมัครใจแยกกันอยู่ | เหตุฟ้องหย่าที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว  สามีเป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าภริยาได้  แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกันหรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน และไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตาม

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2013-07-04 14:40:14


ความคิดเห็นที่ 3 (2383666)

 ถ้าสามีหรือภรรยาจะฟ้องหย่าโดยศาลในลักษณะแบบข้างต้นที่ยกตัวอย่างมา ไม่ทราบว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่ครับ ถึงจะทราบผล


ผู้แสดงความคิดเห็น ธีระ วันที่ตอบ 2013-07-09 00:25:39


ความคิดเห็นที่ 4 (2406026)

ถ้าสามีหรือภรรยาจะฟ้องหย่าโดยศาลในลักษณะแบบข้างต้นที่ยกตัวอย่างมา ไม่ทราบว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่ครับ ถึงจะทราบผล
 

ตอบ - ศาลจะนัดพิจารณาคดีประมาณ 2 เดือน เมื่อไปศาลในนัดแรกก็พอจะทราบแนวโน้มของคดีว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานกี่เดือนครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2013-08-29 17:53:44



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล