ReadyPlanet.com


สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก


รบกวนพี่ลีนนท์ช่วยตีความ ปพพ มาตรา 1750 วรรคสองให้ด้วยครับ ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันทรัพย์มรดกหากมีลายมือชื่อผู้รับผิดอย่างเดียวก็สามารถบังคับใช้ได้ตามกฎหมายแล้วใช่หรือไม่ หรือจำเป็นจะต้องมีทั้งลายมือชื่อทั้งผู้ให้และผู้รับจึงจะบังคับใช้ได้..ขอบคุณครับ

 



ผู้ตั้งกระทู้ เด็กขี้สงสัย :: วันที่ลงประกาศ 2011-05-29 14:57:04


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2183082)

สามารถบังคับได้ครับ ดูคำพิพากษาศาลฎีกาข้างล่างนี้ครับ

 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5286 - 5287/2538


          หนังสือไม่ขอรับมรดกซึ่งท. ลงลายมือชื่อให้ไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินระบุว่าตนเป็นบุตรของเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกในที่ดินโฉนดที่เท่าใดตั้งอยู่ที่ไหนไม่มีความประสงค์ที่จะรับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวและตกลงยินยอมให้จำเลยที่1รับจึงเป็นหนักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญเป็นสัญญาแบ่งปันมรดกมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850,852และ1750

          คดีสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาและพิพากษารวมกันโดยให้เรียกโจทก์ทั้งหกอย่างเดิม เรียกนางแม้น ว่าจำเลยที่ 1และเรียกนางสุดใจ ว่าจำเลยที่ 2

          โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องเป็นใจความว่า โจทก์ทั้งหกเป็นบุตรนายเที่ยง นายเที่ยง และจำเลยที่ 1 เป็นบุตรนางสาย ผู้ตายซึ่งมีบุตร 5 คน ผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคชรา จำเลยที่ 1ให้นายเที่ยง ลงชื่อในหนังสือไม่ขอรับมรดกที่ดินสองแปลงของผู้ตายซึ่งไม่เป็นการสละมรดกตามกฎหมาย ต่อมาจำเลยที่ 1 นำหนังสือไม่ขอรับมรดกดังกล่าวไปขอรับโอนมรดกที่ดินทั้งสองแปลงเป็นของตน แล้วโอนแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 2 อันเป็นทางให้นายเที่ยงเสียเปรียบนายเที่ยง มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายแปลงละหนึ่งในห้าส่วน เมื่อนายเที่ยง ถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งหกมีสิทธิได้รับมรดกส่วนที่นายเที่ยงพึงได้รับหนึ่งในห้าส่วน จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินแทนโจทก์ทั้งหก โจทก์ทั้งหกเพิ่งทราบการรับโอนที่ดินมรดก ขอให้เพิกถอนการยกให้ระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และให้จำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์ทั้งหกเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจำนวนหนึ่งในห้าส่วน หากไม่ยอมให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง หรือให้นำที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนที่จำเลยทั้งสองได้รับออกขายทอดตลาดแล้วแบ่งเงินที่ขายทอดตลาดแล้วแบ่งเงินที่ขายให้แก่โจทก์ทั้งหกหนึ่งในห้าส่วน

          จำเลยทั้งสองสำนวนให้การเป็นใจความว่า ขณะถึงแก่ความตามนายเที่ยง ไม่มีมรดก เพราะที่่ดินในส่วนของนายสาย ผู้ตายนั้นนายเที่ยง ตกลงทำหนังสือไม่ขอรับมรดก ซึ่งมีผลบังคับได้ตามกฎหมายและตกลงให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 4270 ตกได้แก่จำเลยที่ 1 โฉนดเลขที่4274 ตกได้แก่จำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกเงินค่าทำศพนางสาย ผู้ตาย การโอนมรดก นางสาย มายังจำเลยทั้งสองเสร็จสิ้นในปี 2523 จำเลยทั้งสองได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวอย่างเป็นเจ้าของฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ทั้ง หก
          โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
          โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาตามฎีกาโจทก์ทั้งหกในสำนวนคดีแรกว่าเมื่อหนังสือไม่ขอรับมรดกของนายเที่ยงไม่เป็นการสละมรดกตามกฎหมายแล้วจะเป็นสัญญาแบ่งปันมรดกตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยหรือไม่ โดยโจทก์ทั้งหกฎีกาว่า สัญญาแบ่งปันมรดกจะต้องมีคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายและจะต้องระบุด้วยว่า โฉนดที่ดินส่วนไหนเป็นของใครหรือตกได้แก่ใครเห็นว่า หนังสือไม่ขอรับมรดกซึ่งนายเที่ยงลงลายมือชื่อให้ไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินระบุไว้ว่า เป็นบุตรของเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกในที่ดินโฉนดที่เท่าใด ตั้งอยู่ไหน ไม่มีความประสงค์ที่จะรับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวและตกลงยินยอมให้จำเลยที่ 1 รับ จึงเป็นหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ เป็นสัญญาแบ่งปันมรดกมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850, 852 และ 1750

          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในสำนวนคดีหลังและยกฎีกาโจทก์ทั้งหกในสำนวนคดีหลัง คืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาให้โจทก์ทั้งหกในสำนวนคดีหลัง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

( สมคิด ไตรโสรัส - พรชัย สมรรถเวช - สถิตย์ ไพเราะ )

 
                

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-06-02 16:34:56


ความคิดเห็นที่ 2 (2183089)

 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7244/2537
 

           บันทึกแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์จำเลยและทายาทอื่นที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกที่สมบูรณ์ตามมาตรา 1750 วรรคสองใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา แม้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกบางคนจะมิได้ร่วมลงลายมือชื่อด้วยก็หาทำให้สัญญาดังกล่าวเสียไปไม่ คงมีผลเพียงไม่ผูกพันทายาทผู้มิได้ลงลายมือชื่อให้จำต้องถือตามเท่านั้น สัญญาดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์และจำเลย

          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยเป็นบุตรนายก็วง นางบันปรากฏดี ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน9 คน จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกนายก็วงตามคำสั่งศาล โจทก์จำเลยและทายาทนายก็วงได้ทำบันทึกว่า จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจะแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 44239 เป็น 9 แปลงแล้วโอนให้ทายาทในภายหลังต่อมาวันที่ 7 มิถุนายน 2531 จำเลยได้นำช่างรังวัดแบ่งที่ดินมรดกจนเสร็จ แต่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินให้แก่ทายาทขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินมรดกตามที่ได้แบ่งแยกไว้แล้วให้แก่โจทก์และทายาทคนอื่น ๆ ของนายก็วง ตามที่กล่าวข้างต้นภายใน 30 วันนับแต่ศาลพิพากษา หากจำเลยไม่โอนให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย

          จำเลยให้การว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 44239 ดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์มรดก เพราะนายก็วงได้แบ่งให้บุตรทุกคนแล้ว โจทก์และทายาทอื่นหลอกลวงจำเลยให้ลงชื่อในบันทึก อ้างว่าหากไม่ทำบันทึกให้ทายาทลงชื่อจะแบ่งแยกและโอนทางทะเบียนให้จำเลยไม่ได้ จำเลยไม่มีเจตนาจะแบ่งที่ดินตามบันทึกดังกล่าวขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 44239ตามแผนผังที่แบ่งแยกไว้ (เอกสารหมาย จ.7 และ จ.8) แปลงที่ 1 และที่ 2 ให้นายเบือก แปลงที่ 3 ให้เป็นทางเดิน แปลงที่ 4 ให้นางบีน แปลงที่ 5 ให้โจทก์ แปลงที่ 6 ให้นายรัศมี แปลงที่ 7 ให้นายณรงค์ แปลงที่ 8 ให้นายสุทธิพงษ์ แปลงที่ 9 ให้นางวรรณรัตน์ แปลงที่ 10 ให้จำเลย ภายใน 30 วัน นับแต่วันมีคำพิพากษา หากไม่โอนให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย

          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่
          โจทก์ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตามบันทึกเอกสารหมาย จ.5 เป็นบันทึกแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์จำเลยและทายาทอื่นที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกที่สมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1750 วรรคสอง ใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญาแม้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกบางคนจะมิได้ร่วมลงลายมือชื่อด้วยก็หาทำให้สัญญาดังกล่าวเสียไปไม่ คงมีผลเพียงไม่ผูกพันทายาทผู้มิได้ลงลายมือชื่อให้จำต้องถือตามเท่านั้น สัญญาดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยตามคำฟ้องของโจทก์ประกอบกับการนำสืบของโจทก์ ฟังได้ว่า ทายาทตกลงแบ่งที่ดินแปลงที่ 5 ตามเอกสารหมาย จ.7และ จ.8 ให้โจทก์ ซึ่งมีเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 13 ตารางวาจำเลยเองก็ไม่ได้ให้การโต้แย้งคัดค้านในเรื่องตำแหน่งและเนื้อที่ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ทั้งยังยอมรับและถือเป็นทุนทรัพย์พิพาทในคดีอีกด้วย จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ส่วนแบ่งที่ดินพิพาทแปลงที่ 5 ดังกล่าวดังนั้นคำขอท้ายฟ้องของโจทก์บังคับได้บางส่วน

          พิพากษากลับเป็นว่า ให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 44239ตามแผนผังที่แบ่งแยกไว้ตามเอกสารหมาย จ.7 และ จ.8 แปลงที่ 5เลขที่ดิน 344 เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 13 ตารางวา ให้โจทก์ภายใน30 วัน นับแต่มีคำพิพากษา หากจำเลยไม่โอนให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

( จิระ บุญพจนสุนทร - วินัย วิมลเศรษฐ - ชูชาติ ศรีแสง )

       

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ วันที่ตอบ 2011-06-02 16:42:51



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล