ReadyPlanet.com


คำตัดสิน


เรียน อาจารย์ลีนนท์

ดิฉันโดนฟ้องเรื่องที่ดินค่ะ ซึ่งดิฉันเป็นเจ้าของที่ ให้เขาอาศัยอยู่ จำนวน 1 ไร่ 

แต่เขาได้ล่วงล้ำเกินกว่าที่ดิฉันให้อยู่อาศัย เพิ่มมาอีก 2 งาน  ที่ดินผืนนี้ เป็นโฉนด จำนวน 4 ไร่ ดิฉันได้ให้เขาอาศัยอยู่แค่บางส่วนของโฉนด

ในสำนวนฟ้องของฝ่ายโจทก์ ฟ้องแค่ 2 งานค่ะ

และดิฉันได้จ้างทนายความ ทำสำนวนฟ้องแย้งไป ในคำฟ้องแย้ง คือ ไม่ต้องการให้โจทก์และบริวาร อาศัยอยู่ในที่ดินของดิฉัน ให้โจทก์ รื้อถอนที่อยู่อาศัยออกจากที่ดินของดิฉัน

ดิฉันเรียนถามค่ะ

หากศาลตัดสิน แล้วดิฉันเป็นฝ่ายชนะ ศาลจะตัดสินให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ทั้งหมดของโจทก์ออกจากที่ดินของดิฉัน  ตามคำฟ้องแย้ง หรือไม่คะ  หรือว่า  จะตัดสินตามสำนวนฟ้องที่ฝ่ายโจทก์ได้ยื่นฟ้องมาคะ

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ที่กรุณาตอบคำถาม

 



ผู้ตั้งกระทู้ ดิฉัน :: วันที่ลงประกาศ 2009-11-04 10:05:11


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2002998)

หากศาลมีคำสั่งรับฟ้องแย้งแล้ว และศาลพิพากษาให้คุณดิฉัน เป็นฝ่ายชนะคดี ศาลก็จะพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-11-04 13:33:46


ความคิดเห็นที่ 2 (2003037)

เรียนถามต่อค่ะ

ในการทำแผนที่พิพาท

ให้ชี้เฉพาะที่ทางฝ่ายโจทก์ฟ้องมาคือ 2 งาน

หรือว่าชี้รวมที่ทั้งหมดที่ให้เขาอาศัยอยู่รวมด้วยหรือไม่คะ  หากรวมก้จะเป็น 1 ไร่ 2 งาน

ทนายบอกว่า การทำแผนที่พิพาท จะสำคัญมาก เพราะทางศาลจะดูจากแผนที่ประกอบค่ะ

ดิฉันควรจะขี้เขตอย่างไรดีคะอาจารย์

ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ดิฉัน วันที่ตอบ 2009-11-04 14:46:45


ความคิดเห็นที่ 3 (2003097)

ทนายความของคุณเขาทราบดีอยู่แล้วครับ

แผนที่พิพาท ก็นำเสนอส่วนของที่ดินที่มีปัญหากันว่าที่ดินตรงส่วนใดบ้างมีปัญหาเพื่อประกอนในการพิจารณาคดีครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-11-04 16:57:43


ความคิดเห็นที่ 4 (2008126)

อาจารย์คะ

หากดิฉันจะทำคำขอท้ายฟ้องเพิ่มเติม จะทำได้ไหมคะ ดิฉันอ่านดูคำฟ้องแย้งแล้ว คิดว่าไม่ครอบคลุมทั้งหมดค่ะ

เพราะตอนนี้ คดีอยู่ในช่วงการทำแผนที่พิพาท และประมาณเดือนมกราคมปีหน้า จะนัดชี้ 2 สถานค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ลีนนท์ที่ให้ความกระจ่างค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ดิฉัน วันที่ตอบ 2009-11-19 14:34:13


ความคิดเห็นที่ 5 (2008232)

คำขอท้ายฟ้อง ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องจึงสามารถกระทำได้เช่นเดียวกับการขอแก้ไขคำฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ถึง 181

มาตรา 179 โจทก์หรือจำเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้างหรือข้อเถียง อันกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรก ก็ได้
การแก้ไขนั้น โดยเฉพาะอาจเป็นการแก้ไขในข้อต่อไปนี้
(1) เพิ่ม หรือลด จำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาท ในฟ้องเดิม หรือ
(2) สละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้ บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคำฟ้องเพิ่มเติม หรือเสนอคำฟ้องเพื่อคุ้มครอง สิทธิของตนในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษา หรือคำสั่ง หรือ
(3) ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่เป็นข้อแก้ข้อหาเดิมหรือที่ยื่นภายหลัง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้ออ้างหรือข้อเถียงเพื่อสนับสนุนข้อหาหรือ เพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง

แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคำฟ้องใดต่อศาล ไม่ว่าโดยวิธี ฟ้องเพิ่มเติมหรือฟ้องแย้ง ภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะ รวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ 

มาตรา 180 การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อ ศาลไว้แล้ว ให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อน วันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่ มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการ แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อย

มาตรา 181 เว้นแต่ในกรณีที่คำร้องนั้นอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียว
(1) ห้ามไม่ให้มีคำสั่งยอมรับการแก้ไข เว้นแต่จะได้ส่งสำเนา คำร้องให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวัน ก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องนั้น
(2) ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความ ได้แก้ไขคำฟ้อง หรือคำให้การ เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้มี โอกาสบริบูรณ์ในอันที่จะตรวจโต้แย้งและหักล้างข้อหาหรือข้อต่อสู้ใหม่ หรือข้ออ้างหรือข้อเถียงใหม่ที่กล่าวไว้ในคำร้องขอแก้ไขนั้น

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-11-19 21:32:22



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล