ReadyPlanet.com


มรดก และ ค่าขาดไร้อุปการะ บิดารับรองโดยพฤตินัยว่าเป็นบุตร


อยากจะทราบว่า

ถ้านายสีกับนางสวยเป็นสามีภริกาโดยจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายมีบุตรคือนายจอมนายจอมได้นางใจเป็นภริยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน คงอยู่กินอย่างเปิดเผยเท่านั้น เมื่อนางใจตั้งครรภ์ นายจอมจัดงานเลี้ยงฉลอง เพราะอยู่กันนานไม่เคยมีบุตร นายจอมได้ถูกนายโจรฆ่าตายก่อนนางใจจะคลอด นายสีเสียใจจึงตรอมใจตายอีกคน นางใจคลอดบุตรตั้งชื่อว่า ด.ช.เทา ดังนี้ให้วินิจฉัยว่า ด.ช.เทา มีสิทธิรับมรดกของนายจอม และเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากนายโจรหรือไม่

คือผมอยู่ปี1แล้วอาจารย์ให้หาคำตอบครับ ตามความคิดผม ผมว่า ด.ช.เทาไม่มีสิทธิได้รับมรดก เพราะขณะที่นายเทา เสียชีวิต นางใจยังไม่คลอด ด.ช.เทา ๆจึงไม่ถือว่ามีสภาพบุคคลในขณะนั้น ตามมาตราที่15 ผู้มีสิทธิได้รับมรดกรองลงมาจากบุตรก็คือบิดามารดา แต่ว่านายสีตรอมใจตาย ผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกจึงเป็นนางสวยซึ่งเป็นมารดาของนายจอม ส่วนเรื่องการเรียกค่าขาดไร้อุปการะ ผมไม่รู้เรื่องอ่ะครับ ใครที่พอจะเรียงข้อความให้สวยๆหน่อย ช่วยผมหน่อยน่ะครับ ขอมาตราที่เกี่ยวข้องด้วยยิ่งดี

 

ขอบคุณมากๆครับผม ^^



ผู้ตั้งกระทู้ ปืนฉีดน้ำ :: วันที่ลงประกาศ 2009-06-04 00:21:42


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1946532)

ด.ช. เทา มีสิทธิรับมรดกของบิดาได้เพราะบิดาได้รับรองโดยพฤตินัยว่าเป็นบุตรของตนแล้ว แต่ เด็กชาย เทา ไม่ใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายจอม เพราะเด็กชายเทา จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อ บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

เมื่อเด็กชายเทาไม่ใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายจอมจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากผู้ทำละเมิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2526

ชายไปอยู่กินกับหญิง และแสดงความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาในที่ต่าง ๆ อย่างเปิดเผยเป็นการยอมรับว่าหญิงเป็นภริยา มีการจัดเลี้ยงฉลองการตั้งครรภ์ เป็นการแสดงออกถึงการรับรองว่าโจทก์ซึ่งเป็นทารกในครรภ์มารดาเป็นบุตรของตน โจทก์จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกตามมาตรา 1629(1)

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์สินให้โจทก์หนึ่งในหกส่วน ถ้าการแบ่งไม่ตกลงกันให้ประมูลราคากันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง ถ้าประมูลกันไม่อาจตกลงได้ ให้นำทรัพย์สินออกขายทอดตลาดแบ่งเงินที่ขายได้ให้โจทก์หนึ่งในหกส่วน และให้แบ่งเงินที่ได้จากการขายที่ดินให้โจทก์ 11,083.33 บาท จำเลยทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "ปัญหาตามฎีกาของจำเลยข้อแรกมีว่าเด็กชายมานะ สุขเกษม โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายเผด็จ สุขเกษมบิดาได้รับรองแล้วหรือไม่ ข้อนี้ได้ความว่า นางวิไลวรรณ ศิลปพงษ์ มารดาโจทก์เป็นสมุห์บัญชีสนามกอล์ฟสวนสามพราน นายเผด็จเป็นสมาชิกสนามกอล์ฟนี้โจทก์มีนางอรสุมล ดิษฐเกษร นายบุญเพ็ญ อุทุมพร พนักงานประจำสนามกอล์ฟ กับนายเฉลย เอี่ยมวัฒนะ ที่ปรึกษาสนามกอล์ฟดังกล่าวเป็นพยานเบิกความประกอบคำนางวิไลวรรณยืนยันว่า นายเผด็จกับนางวิไลวรรณมีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาจนเป็นที่รู้กันทั่วไป นายเผด็จไปรับและมาส่งนางวิไลวรรณที่สนามกอล์ฟเป็นปกติ ทั้งยังมีนางสาวศรีวรรณ ศิลปพงษ์เป็นพยานว่า นายเผด็จมาค้างคืนกับนางวิไลวรรณที่บ้านมารดานางวิไลวรรณเสมอ นอกจากนี้โจทก์มีภาพถ่ายของนายเผด็จและนางวิไลวรรณถ่ายภาพร่วมกันในโอกาสไปเที่ยวและรับประทานเลี้ยงซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิด กับหลักฐานรายงานประจำวันหมาย จ.1 ที่นางวิไลวรรณไปแจ้งความไว้ว่า นางอัมพรน้องสาวจำเลยที่ 1 ไปขู่อาฆาตจะทำร้ายนางวิไลวรรณ ในการที่นางวิไลวรรณยุ่งเกี่ยวกับนายเผด็จสามีจำเลยที่ 1และยังได้ความว่านายเผด็จแสดงความหึงหวงไม่ให้ใครยุ่งเกี่ยวกับนางวิไลวรรณ ประกอบกับก่อนที่นางวิไลวรรณจะตั้งครรภ์ ก็ไม่ปรากฏว่านางวิไลวรรณมีความสัมพันธ์กับชายอื่นนอกจากนายเผด็จ ข้อที่จำเลยอ้างว่านายเผด็จทำหมันตั้งแต่อยู่ที่จังหวัดเชียงรายก็เป็นเพียงคำกล่าวอ้างไม่มีหลักฐานสนับสนุน แต่ได้ความว่า นายเผด็จไปอยู่กินกับนางวิไลวรรณฉันสามีภริยาที่บ้านมารดานางวิไลวรรณ และแสดงความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาในที่ต่าง ๆ อย่างเปิดเผยเป็นการยอมรับว่า นางวิไลวรรณเป็นภริยาของตน ได้จัดเลี้ยงฉลองการตั้งครรภ์ของนางวิไลวรรณที่บ้านมารดานางวิไลวรรณแล้วถ่ายภาพร่วมกันไว้ตามภาพถ่ายหมาย จ.2 โดยนายเผด็จซบหน้าบนไหล่ มือซ้ายวางบนหน้าท้องนางวิไลวรรณนั่งอยู่บนเก้าอี้ยาวเป็นการแสดงออกถึงการรับรองว่า โจทก์ซึ่งเป็นทารกในครรภ์มารดาเป็นบุตรของตน โจทก์จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายเผด็จบิดารับรองแล้วถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกตามมาตรา 1629(1)"

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2009-06-04 12:22:51


ความคิดเห็นที่ 2 (1947194)

ขอบคุนมากๆเลยครับคุณ ลีนนท์

ผู้แสดงความคิดเห็น ปืนฉีดน้ำ วันที่ตอบ 2009-06-05 21:55:56


ความคิดเห็นที่ 3 (1947290)

แต่ผมยังมีข้อสงสัยนิดนึง คือนายจอมตายก่อนที่ ด.ช.เทา จะคลอดน่ะครับ ในตอนนั้น ด.ช.จอมยังไม่มีสภาพบุคคลเลย ผู้ที่สามารถรับมรดกได้ต้องมีสภาพบุคคลไม่ใช่หรอครับ หรือว่ายังไม่เกิด แต่เกิดภายหลังเกิด แล้วอยู่รอดก็ให้ถือว่ามีสภาพบุคคลครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปืนฉีดน้ำ วันที่ตอบ 2009-06-06 10:29:34


ความคิดเห็นที่ 4 (1947542)

ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่คัดลอกมาให้อ่านนั้นศาลฎีกาตีความแล้วว่า บิดาสามารถรับรองตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้ เมื่อบิดาตายแล้ว บุตรคลอดออกมามีสภาพบุคคลเมื่อใดก็มีสิทธิทันทีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 15 เรื่องสภาพบุคคล

ดังนั้นตามคำถามก็คือ มีสิทธิรับมรดกเมื่อมีสภาพบุคคลแล้ว แต่บิดารับรองโดยพฤตินัยตาม มาตรา 1627 ได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-06-07 10:10:53


ความคิดเห็นที่ 5 (1948258)
ขอบคุณมากครับ ทนายลีนนท์
ผู้แสดงความคิดเห็น ปืนฉีดน้ำ วันที่ตอบ 2009-06-09 00:56:08



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล