ReadyPlanet.com


คดีข่มขืนกระทำชำเรา


1.อยากทราบว่าคดีข่มขืนกระทำชำเรา ยอมความได้หรือไม่ครับ ถ้ายอมความได้จะยอมได้ในกรณีใดบ้างครับ. 2.คดีที่เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มีอะไรบ้างครับ และความผิดที่ยอมความได้มีอะไรบ้างคับ


ผู้ตั้งกระทู้ ก้อง :: วันที่ลงประกาศ 2009-04-28 22:43:56


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1931074)

มาตรา 281 การกระทำความผิดตาม มาตรา 276 วรรคแรก และ มาตรา 278 นั้น ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย หรือมิได้เป็นการ กระทำแก่บุคคลดังระบุไว้ใน มาตรา 285 เป็นความผิดอันยอมความได้

---------- เมื่อดูมาตรา 281 แล้ว การข่มขืนกระทำชำเราธรรมดา คือ ผู้ถูกข่มขื่นไม่ได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความความตายตามมาตรา 276 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ครับ

มาตรา 276   (วรรคแรก)  ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

 

ความผิดอันยอมความได้

1. มาตรา 272 เอาชื่อหรือยี่ห้อในทางการค้าของผู้อื่นมาใช้
2. มาตรา 276 วรรคแรก ข่มขืนกระทำชำเราธรรมดา
3. มาตรา 278 กระทำอนาจารธรรมดา
4. มาตรา 284 พาหญิงไปเพื่อการอนาจาร
5. มาตรา 209 วรรคแรก ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ
6. มาตรา 310 วรรคแรก หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น
7. มาตรา 311 หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นโดยประมาท
8. มาตรา 322 เปิดเผยความลับในกฎหมาย
9. มาตรา 323 เปิดเผยความลับ ของผู้อื่นที่รู้มาโดยหน้าที่
10. ม าตรา 324 เปิดเผยความลับในทางอุตสาหกรรมหรือวิทยาศาสตร์
11. มาตรา 326 หมิ่นประมาทคนเป็น
12. มาตรา327 หมิ่นประมาทคนตาย
13. มาตรา 328 หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
14. มาตรา 341 ฉ้อโกงธรรมดา
15. มาตรา 342 ฉ้อโกงประกอบด้วยเหตุพิเศษ
16. ม าตรา 344 หลอกลวงคนให้ไปทำงาน
17. มาตรา 345 สั่งซื้ออาหารหรือเข้าอยู่ในโรงแรมโดยไม่มีเงิน
18. มาตรา 346 ชักจูงให้เด็กเบาปัญญาขายของโดยเสียเปรียบ
19. มาตรา 347 ฉ้อโกงในเรื่องประกันวินาศภัย
20. มาตรา 349 ฉ้อโกงเจ้าหนี้จำนำ
21. มาตรา350 ฉ้อโกงเจ้าหนี้ธรรมดา
22. มาตรา 352 ยักยอกทรัพย์ธรรมดา
23. มาตรา 353 ยักยอกทรัพย์ในฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์แทนเขา
24. มาตรา 354 ยักยอกทรัพย์ในฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์ตามคำสั่งศาล
25. มาตรา 355 ยักยอกทรัพย์เก็บตก
26. มาตรา 358 ทำให้เสียทรัพย์ตามธรรมดา
27. มาตรา 359 ทำให้เสียทรัพย์ชนิดพิเศษ
28. มาตรา 362 บุกรุกตามธรรมดา
29. มาตรา 363 บุกรุกโดยย้ายเครื่องหมายอสังหาริมทรัพย์
30. มาตรา 364 เข้าไปซ่อนตัวในอาคารของคนอื่น
(ความผิดที่กฎหมายให้เป็นความผิดอันยอมความได้นอกเหนือจาก ลำดับ 1- 30 เมื่อผู้เสียหายและผู้ต้องหาเป็นญาติกันตาม มาตรา 71 มีดังนี้
1. มาตรา 334 ลักทรัพย์ธรรมดา
2. มาตรา 335 ลักทรัพย์ประกอบเหตุพิเศษ (เหตุฉกรรจ์)
3. มาตรา 336 วรรคแรก วิ่งราวทรัพย์ตามธรรมดา
4. มาตรา 343 ฉ้อโกง
5. มาตรา 357 รับของโจร
6. มาตรา 360 ทำให้ทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์เสียหาย

(ตรวจสอบประมวลกฎหมายอาญาอีกครั้ง)

 

 

การกระทำความผิดที่เป็นอาญาแผ่นดิน

ผู้กระทำความผิดจะต้องถูกจับดำเนินคดี และเมื่อมี พยานหลักฐานว่าได้กระทำผิดจริง และขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน กระทบกระเทือนต่อสังคม ศาลจะตัดสินลงโทษผู้กระทำความผิดตามความหนักเบาที่ได้กำหนดไว้ โดยไม่สามารถจะยอมความกันได้ระหว่างฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย และฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด

ความผิดคดีอาญาแผ่นดินได้แก่ความผิดดังต่อไปนี้


1. ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรเป็นความผิดอาญาแผ่นดินที่มีโทษ สูงถึงขั้นประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต และจำคุกมากน้อยตามความผิดที่กระทำดังนี้


ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ **ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรซึ่งเป็นความผิดในการ เปลี่ยนแปลง รัฐธรรมนูญ ล้มล้างอำนาจอธิปไตย แบ่งแยกราชอาณาจักร ความผิดเหล่านี้เป็นความผิด ฐานกบฏ **ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร ซึ่งได้แก่ ความผิดเข้าร่วม กับข้าศึก หรือทำให้รัฐต่างประเทศได้ประโยชน **ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับ ต่างประเทศ ซึ่งเป็นความผิดที่กระทำต่อผู้นำของประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ


2. ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ซึ่งได้แก่ความผิดเหล่านี้


ความผิดต่อเจ้าพนักงาน เช่น แจ้งความเท็จ ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานขณะ ปฏิบัติหน้าที่ ข่มขืนใจ ให้สินบนเจ้าพนักงาน แสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน สวมเครื่องแบบโดยไม่มีสิทธิ์ ต้องได้รับโทษตามความผิดที่ได้กระทำ **ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ เช่น เบียดบังทรัพย์เป็นของตน จูงใจเรียก ทรัพย์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ทุจริตต่อหน้าที่ ทำเอกสารหรือทรัพย์สูญหาย ได้รับโทษตามความผิดที่ได้กระทำขึ้น


3. ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม เป็นความผิดคดีอาญาแผ่นดินเกี่ยวกับความผิดเหล่านี้


ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม เช่น ให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน เจ้าพนักงาน ในทางยุติธรรม ขัดขืนคำบังคับตามกฎหมาย ขัดหมาย หรือ คำสั่งศาลให้ข้อความเท็จ แจ้งความเท็จ ทำพยานหลักฐานเท็จ ทำลายหลักฐาน หลบหนีคุมขังห้ามเข้าเขต หลบหนีจากสถานพยาบาล ฝ่าฝืนคำสั่งศาล ดูหมิ่นศาล ทำลายศพเพื่อปิดบัง จะต้องได้รับโทษตามความผิดที่ได้กระทำ **ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม เช่น กระทำมิชอบเพื่อ ช่วยเหลือ คนอื่นรับหรือยอมจะรับทรัพย์สิน ปล่อยผู้ต้องขังหลบหนี


4. ความผิดเกี่ยวกับศาสนา เป็นความผิดคดีอาญาแผ่นดินซึ่งได้แก่กระทำการเหล่านี้คือ

เหยียดหยามต่อวัตถุหรือสถานที่ทางศาสนา ก่อความวุ่นวายในการทำพิธีกรรมทาง ศาสนา แต่งกายเลียนแบบเครื่องแต่งกายของศาสนา


5. ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน เป็นความผิดคดีอาญาแผ่นดิน อันได้แก่

ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ซ่องโจร ให้ที่พักแก่ผู้กระทำผิด มั่วสุมกันเกินสิบคน ขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ ไม่ยอมเลิกมั่วสุมตามคำสั่งเจ้าพนักงาน


6. ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน เป็นความผิดคดีอาญาแผ่นดิน อันได้แก่

ความผิดฐานวางเพลิง กระทำให้เกิดการระเบิด การะทำให้เกิดอุทกภัย กระทำ การกีดขวางทางรถไฟ กระทำให้สัญญาณจราจรเสียหายอันจะก่อให้เกิดอันตรายต่อการ จราจรใช้ยานพาหนะไม่ปลอดภัยรับจ้างขนส่ง กระทำความเสียหายแก่ไฟฟ้า ไปรษณีย์ โทรเลขปลอมปนอาหารหรือยาเกิดอันตรายต่อสุขภาพ ใส่สารพิษในอาหารหรือน้ำ


7. ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง เป็นความผิดคดีอาญาแผ่นดิน เกี่ยวกับ ความผิดเหล่านี้


ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา เช่น ทำธนบัตร หรือเหรียญกษาปณ์ปลอม นำเงินปลอม ออกใช้ทำเครื่องมือผลิตธนบัตร หรือเหรียญกษาปณ์ปลอมทำบัตรหรือโลหะ คล้ายธนาคารหรือเงินตรา ตลอดจนผู้นำมาจำหน่าย ** ความผิดเกี่ยวกับดวงตรา แสตมป์และตั๋วเช่น ทำตราแผ่นดินปลอม ทำตรากระทรวงทบวงปลอมทำแสตมป์ ปลอมนำแสตมป์ใช้แล้วมาใช้อีก ขายแสตมป์ปลอม ทำตั๋ว ขนส่งสารธารณะปลอม ขายตั๋วปลอม **ความผิดเกี่ยวกับการเอกสาร เช่น ทำเอกสารปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน ทำเอกสาร ราชการปลอม แจ้งเจ้าหน้าที่กรอกเอกสารราชการเท็จ ทำคำรับรองเอกสารเป็นเท็จ


8. ความผิดเกี่ยวกับการค้า เป็นความผิดคดีอาญาแผ่นดิน อันได้แก่

ความผิดเครื่องชั่ง ตวง วัดปลอมขายของหลอกลวงให้หลงเชื่อ ปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น เลียนแบบ เครื่องหมายการค้าของผู้อื่น


9. ความผิดเกี่ยวกับเรื่องเพศ เป็นความผิดคดีอาญาแผ่นดิน อันได้แก่ ความผิดข่มขืนกระทำ ชำเราหญิงที่ไม่ใช่ภรรยาตน เป็นธุระจัดหาหญิงเพื่อให้ผู้อื่นสำเร็จความใคร่ พาหญิงไป เพื่อการอนาจารค้าวัตถุลามก( ------หมายเหตุ **มาตรา 281 การกระทำความผิดตาม มาตรา 276 วรรคแรก และ มาตรา 278 นั้น ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้ ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย หรือมิได้เป็นการ กระทำแก่บุคคลดังระบุไว้ใน มาตรา 285 เป็นความผิดอันยอมความได้ )

 


10. ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย เป็นความผิดคดีอาญาแผ่นดิน ซึ่งได้แก่ ความผิดเหล่านี้


ความผิดต่อชีวิต เช่น การฆ่าคนตาย ความผิดต่อร่างกาย เช่น ทำร้ายร่างกายให้ บาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัส คือ ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว แท้งลูก จิตพิการอย่างติดตัว ทุพพลภาพ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา ชุลมุนทำร้ายตั้งแต่สามคนขึ้นไป **ความผิดฐานทำให้แท้งลูก เช่น การทำแท้ง ผู้ทำแท้ง **ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือคนชรา เช่น ทอดทิ้งเด็กอายุไม่เกินเก้าปี ทอดทิ้งผู้พึ่งตนเองไม่ได้


11. ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง เป็นความผิดคดีอาญาแผ่นดิน ซึ่งได้แก่ความผิดเหล่านี้


ความผิดต่อเสรีภาพ เช่น เอาคนเป็นทาส เรียกค่าไถ่ พรากผู้เยาว์ พาส่งคนไปนอกประเทศ กักขังหน่วงเหนี่ยว


12. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เป็นความผิดคดีอาญาแผ่นดิน ซึ่งได้แก่ความผิด เหล่านี้


ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์ เช่น ลักทรัพย์ ลักวัตถุทางศาสนา วิ่งราวทรัพย์ **ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงเอาและปล้นทรัพย์ เช่น ลักทรัพย์โดยใช้กำลังทำร้าย ชิงทรัพย์ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ปล้นทรัพย์โดยร่วมกระทำตั้งแต่สามคน ขึ้นไป ปล้นทรัพย์ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย **ความผิดฐานฉ้อโกง ตาม มาตรา 343 **ความผิดฐานรับของโจร เช่น รับซื้อของโจร รับจำนำของโจร รับจำหน่ายของโจร **ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ เช่น ทำลายทรัพย์สินที่เป็นสาธารณ-ประโยชน์ มาตรา 360 มาตรา 360 ทวิ **ความผิดฐานบุกรุก เช่น บุกรุกใช้กำลังทำร้าย มีอาวุธร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ สองคนขึ้นไป บุกรุกในเวลากลางคืน มาตรา 365


 

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-04-29 00:24:46



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล