ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของผู้เยาว์ article

สิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของผู้เยาว์

มารดาทำบันทึกท้ายทะเบียนหย่าว่ายอมรับเงินเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์-เป็นโมฆะ

สัญญาประนีประนอมยอมความที่เป็นนิติกรรมเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของผู้เยาว์นั้น ผู้ใช้อำนาจปกครองหรือบิดา มารดา จะกระทำแทนผู้เยาว์ไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ไม่ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นผู้เยาว์จะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ก็ตาม ก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน คดีนี้มารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทำบันทึกท้ายทะเบียนหย่าว่า ตกลงยินยอมรับเงินจำนวน 100,000 บาท เพื่อเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ และจะไม่ใชhสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอีก ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์ของผู้เยาว์ ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  9414/2542 

  ผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย มีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูให้เพียงพอแก่อัตภาพ ถ้าไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/38 สิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของผู้เยาว์

  บันทึกที่ระบุว่า โจทก์เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ ตกลงยินยอมรับเงินเพื่อเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นการทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(12)

    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(12) ห้ามผู้ใช้อำนาจปกครองสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นนิติกรรมเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของผู้เยาว์เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ไม่ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นผู้เยาว์จะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ก็ตาม ก็ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาประนีประนอมยอมความจึงตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้
 
มาตรา 1574 
นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(3) ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์
(4) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น
(5) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(6) ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) หรือ (3)
(7) ให้กู้ยืมเงิน
(8) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อการกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์
(9) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่รับการให้โดยเสน่หา
(10) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น
(11) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1598/4 (1) (2) หรือ (3)
(12) ประนีประนอมยอมความ
(13) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

มาตรา 1598/38  ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้นย่อมเรียกจากกันได้ในเมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี
 
          โจทก์ฟ้องโดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาแก่ผู้เยาว์เดือนละ 4,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะเป็นเวลา 5 ปี 2 เดือน คิดเป็นเงิน 248,000บาท โดยให้อยู่ในอำนาจการจัดการของโจทก์

          จำเลยยื่นคำให้การ ขอให้ยกฟ้อง
          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 1,000 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปถึงอายุ 18 ปีบริบูรณ์ หลังจากนั้นให้ชำระเดือนละ 1,500 บาทจนกว่าบุตรจะมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ โดยให้อยู่ในอำนาจจัดการของโจทก์สำหรับค่าธรรมเนียมศาลที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ให้จำเลยนำมาชำระต่อศาลในนามของโจทก์

          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน 1,750 บาทให้แก่จำเลย

 จำเลยฎีกา

  ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาฟังเป็นยุติได้ว่า เด็กชาย ภ. ผู้เยาว์ เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และจำเลย โจทก์และจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงกันตามเอกสารหมาย ล.1 ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยฎีกาประการแรกว่า ข้อตกลงตามบันทึกเอกสารหมาย ล.1 เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยจึงมิใช่นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า ผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย มีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูให้เพียงพอแก่อัตภาพ ถ้าหากไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/38 ดังนั้น สิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของผู้เยาว์ เมื่อพิเคราะห์บันทึกเอกสารหมาย ล.1 ที่ระบุว่าโจทก์เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ภ. ตกลงยินยอมรับเงินจำนวน 100,000 บาท เพื่อเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย ภ. จะไม่ใช่สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอีก จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นการทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็กชาย ภ. ผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(12) ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยฎีกาประการต่อไปว่า ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร คิดจนถึงผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 74,000 บาท แต่จำเลยได้มอบเงินให้โจทก์รับไปถึง 100,000 บาท ตามบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย ล.1 มากกว่าที่โจทก์จะพึงได้รับถึง 26,000 บาท จึงถือว่าเป็นการตกลงที่ผู้เยาว์มิได้เสียประโยชน์แต่ประการใด ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันผู้เยาว์เพราะมิได้ทำให้ทรัพย์สินของผู้เยาว์เสียหาย ศาลฎีกาเห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(12) นั้น เป็นการห้ามผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นนิติกรรมเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของผู้เยาว์เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น ไม่ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นผู้เยาว์จะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ก็ตาม ก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ภ. ผู้เยาว์ ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารหมาย ล.1 แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

          ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยฎีกาประการสุดท้ายว่า ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์สูงเกินไป ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยมีอาชีพรับราชการครูได้รับเงินเดือน 10,000 บาทเศษ โจทก์มีอาชีพรับจ้างรายได้วันละ 50 บาท โจทก์ในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 4,000 บาท เป็นเวลา 5 ปี 2 เดือน ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 1,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปถึงอายุ 18 ปีบริบูรณ์ หลังจากนั้นให้ชำระเดือนละ 1,500 บาท จนกว่าบุตรผู้เยาว์จะมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ นั้นศาลฎีกาเห็นว่า เป็นจำนวนที่เหมาะสมที่จำเลยจะสามารถชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ หาสูงเกินไปไม่ ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกันที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น"
          พิพากษายืน 




ประนีประนอมยอมความ

สัญญาประนีประนอมยอมความที่ขัดต่อกฎหมาย article
หนี้สินอันเกิดจากมูลละเมิดระงับสิ้นไป article
สัญญามีข้อสงสัยต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่ายซึ่งจะต้องเป็นผู้เสียหายในมูลหนี้ article
ขอให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าค่าศึกษาเล่าเรียน article
ขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ article
พิพากษาตามสัญญายอมความอาจเกินคำขอได้ article
ตกลงยอมความกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดี article
ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบด้วยกฎหมาย article