ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การปลดหนี้ให้แก่ผู้ค้ำประกัน

ปลดหนี้ให้แก่ผู้ค้ำประกันคนหนึ่งได้ประโยชน์แก่ผู้ค้ำฯร่วมคนอื่น 

ข้อ 5. นายแดงกู้ยืมเงินจากนายเฮง 200,000 บาท มีนางสาวสวยและนายดำเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของนายแดงโดยยอมรับผิดต่อนายเฮงอย่างลูกหนี้ร่วม และทำหลักฐานการกู้ยืมและค้ำประกันเป็นหนังสือถูกต้อง ต่อมานางสาวสวยในฐานะผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่นายเฮง 150,000 บาท นายเฮงไม่ติดใจเรียกร้องจากนางสาวสวยอีกจึงทำหนังสือปลดหนี้ให้แก่นางสาวสวย แล้วนายแดงตกลงทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้แก่นางสาวสวยว่าเป็นหนี้เงินกู้นางสาวสวย 150,000 บาท
ตามที่ชำระหนี้แทนไป

ให้วินิจฉัยว่า

(ก) นายแดงจะต้องรับผิดต่อนายเฮงและนางสาวสวยหรือไม่ เพียงใด

(ข) นายดำจะต้องรับผิดต่อนายเฮงหรือไม่ เพียงใด

 ธงคำตอบ

(ก) การที่ผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดีต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดี ยังคงมีอยู่ตามเดิม (คำพิพากษาฎีกาที่ 893/2540) หนี้ที่เหลือนั้นลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685 เงินกู้จำนวน 50,000 บาท ที่นางสาวสวยยังมิได้ชำระ แม้นายเฮงจะไม่ติดใจเรียกร้องจากนางสาวสวยด้วยการปลดหนี้ ก็ยังคงเป็นหนี้ส่วนที่มิได้มีการชำระ นายแดงในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดชำระเงินกู้จำนวน 50,000 บาท ให้แก่นายเฮง

เมื่อนางสาวสวยชำระหนี้แทนนายแดงจำนวน 150,000 บาท ย่อมรับช่วงสิทธิของนายเฮงเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่นายแดงเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามมาตรา 693 วรรคหนึ่ง แต่การที่นายแดงตกลงทำสัญญากู้เงินให้ไว้แก่นางสาวสวยว่าเป็นหนี้เงินกู้จำนวน 150,000 บาท ตามที่ได้ชำระหนี้แทนไป ถือได้ว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้น เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มีผลทำให้สิทธิไล่เบี้ยนั้นระงับไป และถือว่าได้มีการส่งมอบเงินกู้แล้ว นางสาวสวยย่อมบังคับตามมูลหนี้ในสัญญากู้อันเกิดจากการแปลงหนี้ใหม่ได้ ดังนั้น นายแดงต้องรับผิดชำระเงินกู้จำนวน 150,000 บาท ให้แก่นางสาวสวย

(ข) การค้ำประกันของนายดำเป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวกับนางสาวสวย ย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับ
นางสาวสวยจึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 682 วรรคสอง เมื่อนางสาวสวยได้ชำระหนี้ให้แก่นายเฮงบางส่วน
และนายเฮงได้ปลดหนี้ส่วนที่เหลือให้แก่นางสาวสวย ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับนายดำระงับด้วยตามมาตรา 340 และมาตรา 293
นายดำจึงหลุดพ้นไม่ต้องรับผิดต่อนายเฮง (คำพิพากษาฎีกาที่ 893/2540, 2551/2544)

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 685 "ถ้าเมื่อบังคับตามสัญญาค้ำประกันนั้น ผู้ค้ำประกันไม่ชำระหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนและอุปกรณ์ด้วยไซร้หนี้ยังเหลืออยู่เท่าใด ท่านว่าลูกหนี้ยังคงรับผิดต่อเจ้าหนี้ในส่วนที่เหลือนั้น"

มาตรา 693 "ผู้ค้ำประกันซึ่งได้ชำระหนี้แล้วย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้เพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใด ๆ เพราะการค้ำประกันนั้น

อนึ่ง ผู้ค้ำประกันย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดามีเหนือลูกหนี้ด้วย"

มาตรา 682 "ท่านว่าบุคคลจะยอมเข้าเป็นผู้รับเรือนคือเป็นประกันของผู้ค้ำประกันอีกชั้นหนึ่งก็เป็นได้

ถ้าบุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันไซร้ท่านว่าผู้ค้ำประกันเหล่านั้นมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม้ถึงว่ามิได้เข้ารับค้ำประกันรวมกัน"

มาตรา 340 "ถ้าเจ้าหนี้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป

ถ้าหนี้มีหนังสือเป็นหลักฐาน การปลดหนี้ก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วยหรือต้องเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ให้แก่ลูกหนี้หรือขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย"

มาตรา 293 "การปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่น ๆ เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ได้ปลดให้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540

การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมมีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้นหน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดีต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดียังคงมีอยู่ตามเดิมเหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 685 คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้นจำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ดังนี้ที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทนท. ผู้ค้ำประกันไปเท่าใดถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยท. และมีผลให้จำเลยที่1หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้นหนี้ส่วนที่ท. ยังมิได้ชำระแม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจากท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระจำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ การค้ำประกันของจำเลยที่2เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับท. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา682วรรคสองเมื่อท. โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อท. มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่2ระงับด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340และมาตรา293จำเลยที่2จึงหลุดพ้นไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลุกค้าโจทก์ประเภทขายลดเช็คโดยมีจำเลยที่ 2 และนางทิพย์สุดา สุขารมณ์ เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2526จำเลยที่ 1 นำเช็ค 2 ฉบับ จำนวนเงินฉบับละ 200,000 บาท ที่นายเกรียงไกร เดชเจริญยศ ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมาขายลดให้โจทก์ และวันที่ 13 มกราคม 2527 จำเลยที่ 1 นำเช็ค 1 ฉบับ จำนวนเงิน200,000 บาท ที่นายบรรจบ กลางการลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมาขายลดให้โจทก์ ครั้นเมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนด โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินแต่ธนาคารเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้ฟ้องนายเกรียงไกรและนายบรรจบให้ชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นายเกรียงไกรและนายบรรจบชำระหนี้แก่โจทก์ครั้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2527 นางทิพย์สุดา ถูกศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันขายลดเช็คจากกองทรัพย์สินของนางทิพย์สุดาศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของนางทิพย์สุดาเป็นเงิน 719,687.22 บาท นางทิพย์สุดาขอประนอมหนี้กับโจทก์โดยนำบุคคลภายนอกมาชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2533 เป็นเงิน 719,687.22 บาท โจทก์หักเงินจำนวน 14,456.25 บาท จากจำนวนเงิน 719,687.22 บาทชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องนายเกรียงไกรและนายบรรจบ แล้วนำเงินส่วนที่เหลือไปชำระดอกเบี้ยกับเงินต้นบางส่วนตามสัญญาขายลดเช็ค ซึ่งปรากฏว่า ณ วันที่ 15 มีนาคม 2533จำเลยที่ 1 ค้างชำระต้นเงินโจทก์อยู่ 572,234.32 บาทขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 572,234.32 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 มีนาคม2533 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 และนางทิพย์สุดา สุขารมณ์ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการขายลดเช็คให้โจทก์ มีบุคคลภายนอกชำระหนี้แทนนางทิพย์สุดาจนครบถ้วนและโจทก์พอใจ อีกทั้งโจทก์ได้สละสิทธิในอันที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ จำนวนเงิน 14,456.25 บาทขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2526 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2529 และร่วมกันชำระเงิน 200,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 20 มกราคม 2527 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2529 และนับต่อวันที่ 2 มกราคม 2529 เป็นต้นไปให้คิดดอกเบี้ยจากต้นเงิน600,000 บาทในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี เป็นต้นไปจนถึง(ที่ถูกน่าจะเป็นและนับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2533 เป็นต้นไป)วันที่ 15 มีนาคม 2533 คิดดอกเบี้ยได้จำนวนเท่าใดให้นำเงินจำนวน 705,230.97 บาท หักออก หากยังเหลืออยู่ให้นำไปหักออกจากต้นเงินจำนวน 600,000 บาท จากนั้นให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17 ต่อปี จากยอดเงินคงเหลือต่อไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน545,082.64 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปีนับแต่วันที่ 15 มีนาคม 2533 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์โดยให้น้ำยอดหนี้ที่โจทก์ได้รับชำระตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 17202/2527 และ 1950/2528 ของศาลชั้นต้นมาหักออก

จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "สำหรับปัญหาที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าการชำระหนี้บางส่วนแทนนางทิพย์สุดา โดยบุคคลภายนอกและโจทก์สละสิทธิไม่ติดใจเรียกร้องในหนี้ส่วนที่ยังเหลือจากนางทิพย์สุดาอีก ซึ่งจำเลยทั้งสองอ้างว่าการสละสิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นการปลดหนี้มีผลให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้น และนางทิพย์สุดาเป็นผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ย่อมมีผลให้จำเลยทั้งสองหลุดพ้นจากหนี้ด้วยนั้น เห็นว่า ที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดี ต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดี ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685 คือ จะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้นจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ดังนี้ ที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทนนางทิพย์สุดาไปเท่าใดจึงถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยนางทิพย์สุดาผู้ค้ำประกันและมีผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้น หนี้ส่วนที่นางทิพย์สุดายังมิได้ชำระ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจากนางทิพย์สุดา ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระจำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องตรงกันให้จำเลยที่ 1 รับผิดนั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น

แต่สำหรับจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับนางทิพย์สุดา จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับนางทิพย์สุดาทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อนางทิพย์สุดาโดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้วดังปรากฏตามคำขอรับชำระหนี้เอกสารหมายล.1 และการ์ดบัญชีเอกสารหมาย จ.19 ตามรายการลงวันที่15 มีนาคม 2533 ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อนางทิพย์สุดามีผลให้หนี้ระงับสำหรับนางทิพย์สุดา ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 340 และมาตรา 293 จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นไปด้วยที่ศาลล่างทั้งสองยังคงให้จำเลยที่ 2 รับผิดนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาจำเลยที่ 2 ฟังขึ้น"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 สำหรับจำเลยที่ 1ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2544

จำเลยและ ส. ได้ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินของบริษัท ถ. จำกัด โดยยอมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยและ ส. ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้เป็นประกันต่อมาจำเลยได้ขายที่ดินที่จำนองเป็นประกันหนี้ไป และ ส.ได้ชำระหนี้แก่โจทก์จำนวนหนึ่งซึ่งโจทก์ได้ออกหนังสือปลดหนี้แก่ ส. แล้ว จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้รายเดียวกันย่อมต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสองเมื่อบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดชอบผู้ค้ำประกันต่อกันไว้ จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229 และ296 การที่โจทก์สละสิทธิต่อ ส. ย่อมมีผลทำให้หนี้ส่วนที่เหลือสำหรับส. ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 และย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 293

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 17160/2532 ของศาลแพ่ง ซึ่งพิพากษาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2532 โดยจำเลยกับพวกยอมชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 7,994,777.58 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15ต่อปี ในต้นเงิน 5,280,000 บาท นับแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2532จนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ต้องชำระให้เสร็จภายใน 6 เดือน นับจากวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ กับชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลไม่สั่งคืนและค่าทนายความ 4,000 บาท หากผิดนัดยอมให้โจทก์ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดชำระหนี้หากไม่พอชำระยอมให้โจทก์ยึดทรัพย์สินอื่นออกขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบ จำเลยกับพวกได้ชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนองหลายครั้งครั้งสุดท้ายวันที่ 11 มิถุนายน 2534 ชำระ 650,000 บาท เมื่อนำไปหักชำระหนี้ดอกเบี้ยและต้นเงินบางส่วนแล้ว จำเลยกับพวกยังคงเป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมอยู่อีก 4,433,822.06 บาท แล้วไม่ชำระแก่โจทก์อีกเลย โจทก์ได้ขอออกหมายบังคับคดีและสืบหาทรัพย์สินของจำเลยกับพวกเพื่อดำเนินการบังคับคดีแล้ว แต่จำเลยกับพวกไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้คำนวณยอดหนี้ถึงวันฟ้อง จำเลยกับพวกยังเป็นหนี้โจทก์เป็นต้นเงินจำนวน4,433,822.06 บาท กับดอกเบี้ยจำนวน 4,580,806.29 บาท รวมเป็นเงิน 9,014,628.35 บาท พฤติการณ์ของจำเลยต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย

จำเลยให้การว่า หนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ของบริษัทถุงกระดาษไทยจำกัด ซึ่งได้ชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วน จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นความรับผิด จำเลยไม่ได้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และมีทรัพย์สินสามารถใช้หนี้โจทก์ได้จนครบ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายพิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 17160/2532 ของศาลแพ่งซึ่งพิพากษาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2532 ให้บริษัทถุงกระดาษไทย จำกัด นายวิวัฒน์อรรถประสิทธิ์ จำเลยและนางสาวสุพรรณี ลีลาวัณย์ ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันและผู้จำนองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 7,994,777.58 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในต้นเงิน 5,280,000 บาทนับตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2532 จนกว่าจะชำระเสร็จ และร่วมกันชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลไม่สั่งคืนกับค่าทนายความ 4,000 บาทโดยชำระให้เสร็จภายใน 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หากผิดนัดยอมให้โจทก์ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยกับพวกออกขายทอดตลาดชำระหนี้ หากไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยกับพวกออกขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบถ้วนตามสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความและสำเนาคำพิพากษาตามยอมเอกสารหมายจ.2 และ จ.3 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยยังมีหนี้ค้างชำระแก่โจทก์หรือไม่ เมื่อพิจารณาจากคำฟ้องคดีหมายเลขดำที่ 2804/2532 หมายเลขแดงที่ 17160/2532 ของศาลแพ่งตามเอกสารหมาย ล.1 แล้ว เห็นว่า จำเลยและนางสาวสุพรรณีได้ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินของบริษัทถุงกระดาษไทย จำกัดโดยยอมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยและนางสาวสุพรรณีได้จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้เป็นประกัน ซึ่งต่อมาจำเลยได้ขายที่ดินที่จำนองเป็นประกันหนี้ไป และนางสาวสุพรรณีได้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยโจทก์ได้ออกหนังสือฉบับลงวันที่ 21 ธันวาคม 2532 เรื่อง ชำระหนี้และปลดภาระค้ำประกันให้แก่นางสาวสุพรรณีโดยระบุว่า"... ตามที่ธนาคารได้อนุมัติให้ท่านชำระหนี้ส่วนตัวและในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัทถุงกระดาษไทย จำกัด จำนวน 6,600,000 บาทเพื่อไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 149097 และ 169049แขวงสวนหลวง เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร และปลดภาระค้ำประกันออกไป นั้น... ธนาคารได้รับชำระเงินจำนวน 6,600,000บาท โดยท่านได้ไถ่ถอนทรัพย์จำนองดังกล่าวข้างต้นเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2538 ภาระหนี้ส่วนตัวและภาระค้ำประกันหนี้บริษัทถุงกระดาษไทย จำกัด ของท่านที่มีต่อธนาคารได้หมดไป..."ตามหนังสือเอกสารหมาย ล.2 แม้เอกสารหมาย ล.2 จะเป็นสำเนาเอกสารซึ่งถ่ายจากต้นฉบับแต่เมื่อจำเลยอ้างส่งสำเนาต่อศาลพยานโจทก์รับว่าโจทก์ออกเอกสารดังกล่าวจริง จึงถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้อง แสดงว่าโจทก์ได้ปลดหนี้ให้แก่นางสาวสุพรรณีแล้ว และในส่วนของจำเลยนั้นเป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวกันย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับนางสาวสุพรรณีจึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสอง ทั้งบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อกันไว้ จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229และ 296 เมื่อนางสาวสุพรรณีได้ชำระหนี้ส่วนตัวและในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัทถุงกระดาษไทย จำกัด ตามเอกสารหมาย ล.2 แล้ว การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อนางสาวสุพรรณีมีผลทำให้หนี้ส่วนที่เหลือสำหรับนางสาวสุพรรณีระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 และย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 293 จำเลยจึงหลุดพ้นไปด้วย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นด้วยในผลฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 59(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

การโอนเช็คด้วยการคบคิดกันฉ้อฉล
การถือเอาสิทธิแก่บุคคลภายนอกในกิจการซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตน
บันทึกเป็นหนังสือไม่เรียกร้องทรัพย์มรดก-การสละมรดก
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ขนส่งอื่น-การซื้อขายแบบ CIF
ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
ภาระจำยอมโดยอายุความ
การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณี
ผู้ทำละเมิดหลุดพ้นในมูลละเมิด
ทำสัญญาเช่าหกปีไม่ได้จดทะเบียนเช่ามีผลบังคับได้เพียงสามปี