ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

ในคำฟ้องว่า จำเลยปลอมและประทับดวงตราปลอมและลงลายมือชื่อปลอมบัตรประจำตัวบุคคลพื้นที่สูงอันเป็นเอกสารราชการ ปลอมหนังสืออนุญาตให้บุคคลพื้นที่สูงออกนอกเขตที่พักอาศัยอันเป็นเอกสารราชการ และประทับดวงตราปลอมและลงลายมือชื่อปลอม ปลอมแบบพิมพ์ประวัติบุคคลบนพื้นที่สูงอันเป็นเอกสารราชการ และปลอมทะเบียนบ้านของบุคคลที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรให้แก่บุคคล 1 คน โดยบรรยายฟ้องว่าเป็นการกระทำความผิดในวันที่ 23 พฤษภาคม 2547 เห็นได้ว่ากระทำความผิดในคราวเดียวกัน ด้วยมีเจตนาที่จะปลอมเอกสารดังกล่าวต่อเนื่องกันเพื่อให้เอกสารบริบูรณ์เท่านั้น หาได้มีเจตนาหลายเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกันแต่อย่างใดไม่ แม้จะมีการใช้ดวงตราปลอมในเอกสาร 2 ฉบับ  ก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้ดวงตราปลอม 2 กรรม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน

มาตรา 160 ความผิดหลายกระทงจะรวมในฟ้องเดียวกันก็ได้ แต่ให้แยกกระทงเรียงเป็นลำดับกันไป

ความผิดแต่ละกระทงจะถือว่าเป็นข้อหาแยกจากข้อหาอื่นก็ได้ ถ้าศาลเห็นสมควรจะสั่งให้แยกสำนวนพิจารณาความผิดกระทงใด หรือหลายกระทงต่างหาก และจะสั่งเช่นนี้ก่อนพิจารณาหรือในระหว่าง พิจารณาก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5843/2552

 พนักงานอัยการจังหวัดเชียงราย                    โจทก์
 
            มูลคดีที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 3 กับพวกร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 1.1 ถึง ข้อ 1.4 โดยร่วมกันปลอมและประทับดวงตราปลอม และลงลายมือชื่อปลอมบัตรประจำตัวบุคคลพื้นที่สูงอันเป็นเอกสารราชการ ปลอมหนังสืออนุญาตให้บุคคลพื้นที่สูงออกนอกเขตที่พักอาศัยหรือพื้นที่ออกบัตรเป็นการชั่วคราวอันเป็นเอกสารราชการและประทับดวงตราปลอมและลงลายมือชื่อปลอม ปลอมแบบพิมพ์ประวัติบุคคลบนพื้นที่สูงอันเป็นเอกสารราชการ และปลอมทะเบียนบ้านของบุคคลที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรให้แก่บุคคล 1 คน โดยบรรยายฟ้องว่าเป็นการกระทำความผิดในวันที่ 23 พฤษภาคม 2547 เวลากลางวัน พฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่า จำเลยที่ 3 กระทำความผิดดังกล่าวในคราวเดียวกัน ด้วยมีเจตนาที่จะปลอมเอกสารดังกล่าวต่อเนื่องกันเพื่อให้เอกสารบริบูรณ์เท่านั้น หาได้มีเจตนาหลายเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกันแต่อย่างใดไม่ แม้จะมีการใช้ดวงตราปลอมในเอกสาร 2 ฉบับ ก็ตาม ก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้ดวงตราปลอม 2 กรรม การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นความผิดกรรมเดียว

          ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 3 กับพวกร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 1.5 ถึง ข้อ 1.7 โดยบรรยายฟ้องในแต่ละข้อว่า ร่วมกันปลอมเอกสารข้อละประเภทเอกสารให้แก่บุคคล 3 คน ในคราวเดียวกันการปลอมเอกสารดังกล่าวเป็นการปลอมเอกสารด้วยมีเจตนาต่อเนื่องกันเพื่อให้เอกสารบริบูรณ์เท่านั้น หาได้มีเจตนาหลายเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกัน ส่วนที่ในฟ้องแต่ละข้อแม้จะเป็นการปลอมเอกสารของบุคคลต่างคนรวม 3 คน ก็ตาม แต่โจทก์บรรยายฟ้องรวมกันมาในข้อเดียวกัน แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษเป็นกรรมเดียว ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าการกระทำแต่ละข้อเป็นความผิดกรรมเดียว โจทก์ก็ไม่อุทธรณ์โต้แย้ง โจทก์จึงไม่อาจยกขึ้นฎีกาอีก

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 90, 251, 252, 264, 265 และริบของกลาง

          จำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพ ส่วนจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นให้โจทก์แยกฟ้องและจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ออกจากสารบบความ

            ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารราชการและร่วมกันใช้ดวงตราปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265, 252 รวม 2 กระทง ให้ลงโทษตามมาตรา 252 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามอัตราโทษในมาตรา 251 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 2 กระทง รวมจำคุก 10 ปี และจำเลยที่ 3 ยังมีความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารราชการอีก 5 กระทง จำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 10 ปี รวมจำคุกทั้งสิ้น 20 ปีจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 10 ปี ริบของกลางทั้งหมด คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
          จำเลยที่ 3 อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานร่วมกันใช้ดวงตราปลอมและปลอมเอกสารราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 252 (ที่ถูก มาตรา 252 ประกอบมาตรา 251), 265 ประกอบมาตรา 83 กระทงหนึ่ง เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 252 ประกอบมาตรา 251 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้จำคุก 2 ปี และจำเลยที่ 3 มีความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารราชการ (ที่ถูก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ประกอบมาตรา 83) อีกกระทงหนึ่ง ให้จำคุก 1 ปี รวมจำคุก 3 ปี จำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
          โจทก์ฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่โจทก์ฎีกาว่า การกระทำความผิดของจำเลยที่ 3 ตามฟ้องข้อ 1.1 ถึง ข้อ 1.4 เป็นความผิดหลายกรรมต้องเรียงกระทงลงโทษตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและการใช้ดวงตราปลอมในเอกสาร 2 ฉบับ เป็นความผิด 2 กรรม เห็นว่า มูลคดีที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 3 กับพวกร่วมกันปลอมและประทับดวงตราปลอมและลงลายมือชื่อปลอมบัตรประจำตัวบุคคลพื้นที่สูงอันเป็นเอกสารราชการ ปลอมหนังสืออนุญาตให้บุคคลพื้นที่สูงออกนอกเขตที่พักอาศัยหรือพื้นที่ออกบัตรเป็นการชั่วคราวอันเป็นเอกสารราชการ และประทับดวงตราปลอมและลงลายมือชื่อปลอม ปลอมแบบพิมพ์ประวัติบุคคลบนพื้นที่สูงอันเป็นเอกสารราชการ และปลอมทะเบียนบ้านของบุคคลที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรให้แก่บุคคล 1 คน โดยบรรยายฟ้องว่าเป็นการกระทำความผิดในวันที่ 23 พฤษภาคม 2547 เวลากลางวัน พฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่า จำเลยที่ 3 กระทำความผิดดังกล่าวในคราวเดียวกัน ด้วยมีเจตนาที่จะปลอมเอกสารดังกล่าวต่อเนื่องกันเพื่อให้เอกสารบริบูรณ์เท่านั้น หาได้มีเจตนาหลายเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกันแต่อย่างใดไม่ แม้จะมีการใช้ดวงตราปลอมในเอกสาร 2 ฉบับ ก็ตาม ก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้ดวงตราปลอม 2 กรรม การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกันดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษา ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

            ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า การกระทำความผิดของจำเลยที่ 3 ตามฟ้องข้อ 1.5 ถึง ข้อ 1.7 แต่ละข้อเป็นการกระทำให้แก่บุคคลถึง 3 คน คือ เป็นการปลอมเอกสารให้แก่นายใจ นายสยาม และนายใส การกระทำแต่ละข้อจึงเป็นการกระทำความผิด 3 กรรม และการกระทำแต่ละข้อเป็นความผิดต่างกรรมกันนั้น เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 กับพวกร่วมกันกระทำความผิดในคราวเดียวกัน คือ วันที่ 28 พฤษภาคม 2547 เวลากลางวัน ด้วยมีเจตนาที่จะปลอมเอกสารตามฟ้องต่อเนื่องกันเพื่อให้เอกสารบริบูรณ์เท่านั้น หาได้มีเจตนาหลายเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกัน ดังวินิจฉัยมาแล้วข้างต้น ส่วนที่การกระทำในแต่ละข้อแม้จะเป็นการปลอมเอกสารของบุคคลต่างคนกันก็ตาม แต่โจทก์บรรยายรวมกันมาในข้อเดียวกัน แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษเป็นกรรมเดียว ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าการกระทำแต่ละข้อเป็นความผิดกรรมเดียว โจทก์ก็ไม่อุทธรณ์โต้แย้ง โจทก์จึงไม่อาจยกขึ้นฎีกาอีก ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน...

  พิพากษายืน.




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความอาญา

อำนาจสอบสวนของกองปราบปราม
คำให้การชั้นสอบสวนแทนการสืบพยานในชั้นพิจารณา
ลดมาตราส่วนโทษในความผิดต้องห้ามฎีกา
ฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิด
คำรับสารภาพมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
อำนาจฟ้องในข้อหาความผิดตามมาตรา 157
พยานหลักฐานชนิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ
การกระทำหลายอย่างแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง
ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอมสิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ
ผู้เสียหายไม่มาเบิกความเป็นพยานในศาล
ผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เสียหาย(บุตร)
ความรับผิดในทางแพ่ง-ผู้เสียหายโดยนิตินัย
การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด
กรณีไม่ปรากฏลายมือชื่อผู้เรียง-พิมพ์คำฟ้องโจทก์
คดีราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญายื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายค้นได้
ศาลชั้นต้นยกอายุความมายกคำร้อง ม.44/1 ไม่ชอบ
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา | เรียกค่าเสียหาย
นายแพทย์กระทำอนาจารคนไข้อายุกว่า 15 ปี จำคุก 3 ปี ปรับ 20,000 บาท
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษใหม่แทนการยื่นอุทธรณ์
ผู้ต้องหายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนหมายจับ ยกคำร้อง ผู้ต้องหาอุทธรณ์
โจทก์ขอให้ลงโทษตามกฎหมายเดิมซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว
หลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์
ผู้เช่าซื้อมีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีฐานยักยอกได้
ไม่มีเจตนาเล่นการพนันด้วยจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
บุคคลล้มละลายมีอำนาจฟ้องคดีอาญา
พนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังต่อศาลภายในกำหนด
ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด
ฟ้องคดีสมยอมสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แก้ไขคำพิพากษาที่อ่านแล้ว
จำคุกไม่เกิน5ปีห้ามคู่ความฎีกาข้อเท็จจริง
ความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
จำเลยให้การรับสารภาพแต่ศาลอุทธรณ์ศาลฎีกายกฟ้อง
ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาห้ามอุทธรณ์
การกระทำอันเป็นความผิดรวมอยู่ในฟ้อง
ฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิด
พิพากษาถึงข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้อง
เพื่อการอนาจารเป็นเจตนาพิเศษ | การบรรยายฟ้อง
ของกลางที่พนักงานสอบสวนยึดไว้ | คดีถึงที่สุด
ไม่สามารถนำผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาล
ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า
คำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวห้ามอุทธรณ์
มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา
อำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้อุทธรณ์-ฎีกา
ฎีกาไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์-ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คดีขาดอายุความจึงชอบที่ศาลจะยกฟ้อง
คดีถึงที่สุดเมื่อครบกำหนดยื่นฎีกา
การพิจารณาคดีลับหลังจำเลย
ต้องห้ามฎีกาเพราะไม่ได้อุทธรณ์ไว้
ขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แก้ไขเล็กน้อย-จำคุกไม่เกินห้าปีห้ามฎีกา
เป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
โจทก์ฟ้องผิดวันจำเลยหลงต่อสู้
โต้แย้งดุลพิจนิจในการรับฟังพยานหลักฐาน
ฎีกาขอให้ลดมาตราส่วนโทษเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม
แก้ไขโทษของความผิดถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยห้ามฎีกา
ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง