ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE


การฟ้องซ้ำ คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทกันมาในคดีก่อนมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้ 

การฟ้องซ้ำ มีหลักว่า คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทกันมาในคดีก่อนมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ แล้วคำว่า "ถึงที่สุด คืออะไร? เมื่อศาลได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟังที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นที่สุด เมื่อพ้นระยะอุทธรณ์หรือฏีกา หรือขอให้พิจารณาคดีใหม่ ฟ้องซ้ำต้องเป็นคู่ความเดียวกันจึงจะต้องห้าม คำว่า "คู่ความเดียวกัน"  แม้คดีก่อนเป็นโจทก์ แต่คดีใหม่กลับมาเป็นจำเลยก็ถือว่าเป็นคู่ความเดียวกัน ขยายความ "คู่ความเดียวกัน" ให้รวมถึงผู้สืบสิทธิจากคู่ความเดิม เช่นสามีภริยา เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ผู้รับโอนทรัพย์  แม้เป็นคู่ความเดิมแต่เข้ามาคนละฐานะ ก็ไม่อยู่ในความหมายของคำว่า "คู่ความเดิม" เช่น คดีก่อนฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว คดีใหม่ฟ้องคดีในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม เช่นนี้ไม่ถือเป็น "คู่ความเดียวกัน"  ต่อไปคือได้นำคดีมาฟ้องร้องกันใหม่ในประเด็นเดียวกัน ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน แล้วเหตุอย่างเดียวกันเป็นอย่างไร??? "เหตุอย่างเดียวกัน"  หมายถึง คำพิพากษา หรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้วินิจฉัยในเนื้อหาของเรื่องที่ฟ้องร้องกันโดยวินิจฉัยอย่างเดียวกับคดีก่อนที่ศาลได้วินิจฉัยมาและต้องเป็นส่วนของเนื้อหาด้วย ถ้าหากไม่ใช่ก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำ 

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2349/2553

          แม้จำเลยทั้งสองในคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 291/2529 ของศาลชั้นต้น ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน และประเด็นพิพาทเป็นประเด็นเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้รับโอนสิทธิในที่ดินพิพาทมาจาก ส. โจทก์ในคดีก่อน แต่เป็นการฟ้องในฐานะเจ้าของคนก่อนซึ่งได้ขายที่พิพาทให้แก่ ส. กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ในคดีนี้เป็นผู้สืบสิทธิในที่พิพาทต่อจาก ส. โจทก์ในคดีก่อน โจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความเดียวกันกับคดีก่อน มีสิทธิฟ้องเพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยทั้งสองได้

โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองไปเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 323 ตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม และพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาทส่วนที่เป็นสีแดงตามรูปแผนที่ท้ายฟ้อง

          จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง
  ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

          โจทก์อุทธรณ์
 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          โจทก์ฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นคู่ความในคดีที่นายสงวนเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นจำเลย คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ ประกอบกับการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่พิพาทของจำเลยที่ 2 เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ในฐานะบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธินำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ เห็นว่า แม้จำเลยทั้งสองในคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกันกับจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 291/2529 ของศาลชั้นต้น ที่ดินที่พิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน และประเด็นพิพาทเป็นประเด็นเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้รับโอนสิทธิในที่พิพาทมาจากนายสงวนโจทก์ในคดีก่อน แต่เป็นการฟ้องในฐานะเจ้าของคนก่อนซึ่งได้ขายที่พิพาทให้แก่นายสงวน กรณีจึงถือไม่ได้ว่า โจทก์ในคดีนี้เป็นผู้สืบสิทธิในที่พิพาทต่อจากนายสงวนโจทก์ในคดีก่อน โจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความเดียวกันกับคดีก่อน มีสิทธิฟ้องเพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยทั้งสองได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น...

  พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

มาตรา 145 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่า ด้วยการอุทธรณ์ฎีกาและการพิจารณาใหม่ คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมี คำสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งจนถึงวันที่คำพิพากษาหรือ คำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี

ถึงแม้ศาลจะได้กล่าวไว้โดยทั่วไปว่าให้ใช้คำพิพากษาบังคับแก่ บุคคลภายนอก ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาล ด้วยก็ดี คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นย่อมไม่ผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่ที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 142(1) มาตรา 245 และ มาตรา 274 และในข้อต่อไปนี้
(1) คำพิพากษาเกี่ยวด้วยฐานะหรือความสามารถของบุคคล หรือคำพิพากษาสั่งให้เลิกนิติบุคคล หรือคำสั่งเรื่องล้มละลายเหล่านี้ บุคคลภายนอกจะยกขึ้นอ้างอิง หรือจะใช้ยันแก่บุคคลภายนอกก็ได้
(2) คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า

มาตรา 148 คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วห้ามมิให้ คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัย เหตุอย่างเดียวกันเว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) เมื่อเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือ คำสั่งของศาล
(2) เมื่อคำพิพากษา หรือคำสั่งได้กำหนดวิธีการชั่วคราวให้อยู่ ภายในบังคับที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเสียได้ตามพฤติการณ์
(3) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้ยกคำฟ้องเสียโดยไม่ตัดสิทธิ โจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ ในศาลเดียวกันหรือในศาลอื่น ภายใต้ บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ

 หลักเกณฑ์การฟ้องซ้ำและข้อยกเว้น

การฟ้องซ้ำมีหลักเกณฑ์สำคัญ 4 ประการคือ

1. คู่ความรายเดียวกัน หรือ เป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  หรือ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม หรือ แม้เพิ่มคู่ความบางฝ่ายเข้าไป หรือ การใช้สิทธิฟ้องคดีแทนกัน

2. เป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน 

มีข้อยกเว้น เช่น  ยังมิได้มีการวินิจฉัยโดยตรง เพียงวินิจฉัยว่าฟ้องเคลือบคลุม ยังฟ้องใหม่ได้ หรือ ในคดีก่อนศาลพิพากษาระบุให้สิทธิฟ้องคดีใหม่ได้

3. สามารถฟ้องได้ในคดีก่อนแล้ว แต่ไม่ฟ้อง

4. ฟ้องซ้ำในคดีแพ่งนำไปใช้ในคดีอาญาดัวย

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2039/2551

          ประเด็นในคดีก่อนมีว่า ผู้ร้องทำละเมิดต่อผู้คัดค้านที่ 1 โดยการทำรั้วในที่ดินของผู้คัดค้านที่ 1 หรือไม่ ส่วนในคดีนี้มีประเด็นว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ กรณีจึงเป็นคนละประเด็นกัน อีกทั้งผู้คัดค้านที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน การยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ร้องในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ปัญหานี้แม้ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในคำคัดค้าน แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมจึงยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง

           ผู้ร้องยื่นคำร้องขอและแก้ไขคำร้องขอ ขอให้มีคำสั่งว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 5156 ตำบลบางขุนกอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เฉพาะส่วนเนื้อที่ 1 งาน 53 ตารางวา ด้านทิศเหนือเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ และให้ใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวต่อไป

           ผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำคัดค้าน ขอให้ยกคำร้องขอ

           ระหว่างพิจารณา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเรียกนางวัชรี ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5156 เข้ามาเป็นผู้คัดค้านร่วม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต

          ผู้คัดค้านร่วมยื่นคำค้ดค้าน ขอให้ยกคำร้องขอ

           ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 5156 เลขที่ดิน 525 ตำบลบางขุนกอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เฉพาะเนื้อที่ 1 งาน 53 ตารางวา ด้านทิศเหนือตามแผนที่พิพาทเอกสารหมาย ร.10 เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

          ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมฎีกา

           ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นซึ่งคู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 5158 ตำบลบางขุนกอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยรับโอนมรดกมาจากนางรอด ซึ่งเป็นมารดา ผู้คัดค้านที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมเป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5156 ตำบลบางขุนกอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับยกให้จากผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาและผู้คัดค้านร่วมได้รับยกให้จากนายสนั่น ซึ่งเป็นบิดา ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวอยู่ติดกันโดยที่ดินโฉนดเลขที่ 5158 อยู่ทางทิศตะวันตกของที่ดินโฉนดเลขที่ 5156 ที่ดินพิพาทที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์เป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 5156 ทางด้านทิศเหนือซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ของที่ดินโฉนดเลขที่ 5158 ผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองที่ดินส่วนนี้โดยเจตนาเป็นเจ้าของ ก่อนผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นคดีนี้ผู้คัดค้านที่ 1 เคยเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องเป็นคดีละเมิดตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1988/2538 ของศาลชั้นต้น ขอให้ผู้ร้องรื้อถอนรั้วลวดหนามพร้อมเสาคอนกรีตที่ผู้ร้องสร้างขึ้นในที่ดินโฉนดเลขที่ 5156 ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ผู้ร้องรื้อถอนรั้วลวดหนามพร้อมเสาคอนกรีตออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 5156

           มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมว่า การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำหรือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1988/2538 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ ปัญหานี้แม้ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในคำคัดค้าน แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมจึงยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง เห็นว่า ประเด็นในคดีก่อนมีว่า ผู้ร้องทำละเมิดต่อผู้คัดค้านที่ 1 โดยการทำรั้วในที่ดินของผู้คัดค้านที่ 1 หรือไม่ ส่วนในคดีนี้ประเด็นว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ หรือไม่ กรณีจึงเป็นคนละประเด็นกัน อีกทั้งผู้คัดค้านที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน การยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ร้องในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1988/2538 ของศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2533 (ประชุมใหญ่) ที่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมอ้างนั้น ข้อเท็จจริงต่างกับคดีนี้ ฎีกาข้อนี้ของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมฟังไม่ขึ้น

           คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมว่า ผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบหรือไม่ ที่ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมฎีกาว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทยังไม่ครบ 10 ปี และมิได้ครอบครองโดยสงบนั้น ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 6 มิถุนายน 2539 ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 แถลงรับว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาโดยสงบและโดยเปิดเผยตลอดมา โดยครอบครองต่อมาจากบิดามารดาผู้ร้องรวมเวลาได้กว่า 30 ปี แม้ตามรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวจะระบุเนื้อที่ของที่ดินพิพาทเพียง 30 ตารางวา แต่ต่อมาศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจาก 30 ตารางวา เป็น 1 งาน 53 ตารางวา ตามคำร้องของผู้ร้องลงวันที่ 12 มิถุนายน 2541 ทั้งนี้ ตามคำสั่งศาลชั้นต้นในรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 11 สิงหาคม 2542 (ที่ถูกเป็น 2541) ดังนี้ คำแถลงรับข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงผูกพันผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จะยกขึ้นฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 คงรับวินิจฉัยเฉพาะฎีกาของผู้คัดค้านร่วมซึ่งมิได้แถลงรับข้อเท็จจริงดังกล่าว ในปัญหานี้ผู้ร้องนำสืบว่า ผู้ร้องเริ่มครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2506 ซึ่งเป็นปีที่นางรอด มารดาผู้ร้องถึงแก่กรรมตามสำเนาทะเบียนคนตาย จนกระทั่งถึงปี 2533 ผู้ร้องจึงขอรังวัดสอบเขต นับถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้ว โดยไม่มีบุคคลใดเข้ามาโต้แย้งการครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ร้องแต่อย่างใด โดยผู้ร้องมีนายก้าน อดีตกำนันตำบลบางขุนกอง มาเบิกความว่า พยานเห็นผู้ร้องปลูกต้นไม้ในที่ดินพิพาทและเก็บกินดอกผลตลอดมา พยานเข้าใจว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้ร้องและผู้ร้องมีนางสอน ญาติผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมมาเบิกความว่าที่ดินพิพาทเดิมเป็นของนายโต๊ะและนางรอด ภายหลังจากบุคคลทั้งสองถึงแก่กรรมผู้ร้องในฐานะทายาทของบุคคลทั้งสองได้เข้าทำประโยชน์โดยเก็บเกี่ยวผลไม้ในที่ดินพิพาทมานานประมาณ 30 ปี พยานเข้าใจว่าผู้ร้องครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของไม่เคยเห็นฝ่ายผู้คัดค้านเข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ผู้คัดค้านร่วมนำสืบว่าก่อนปี 2533 ผู้ร้องไม่เคยขอรังวัดสอบเขตโฉนดที่ดินเลขที่ 5158 เมื่อผู้ร้องได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 5158 มาในปี 2533 จึงได้มีการังวัดสอบเขตที่ดิน ผู้ร้องชี้แนวเขตไปจนจดที่ดินของนางสมจิตร์ อันเป็นการชี้แนวเขตทับที่ดินโฉนดเลขที่ 5156 ของผู้คัดค้านร่วม นายสนั่นจึงคัดค้านการชี้แนวเขตของผู้ร้อง เห็นว่า ผู้คัดค้านร่วมมิได้นำสืบหักล้างว่าผู้ร้องไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2506 แต่นายโชติ พยานผู้คัดค้านร่วมเบิกความเจือสมทางนำสืบของผู้ร้องว่าพยานเห็นนายโต๊ะและนางรอดบิดามารดาผู้ร้องทำกินในที่ดินพิพาทจนกระทั่งถึงแก่กรรม หลังจากนั้นเห็นผู้ร้องทำกินในที่ดินพิพาท ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามที่ผู้ร้องนำสืบว่า ผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2506 จึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทติดต่อกันเกิน 10 ปีแล้ว ที่ผู้คัดค้านร่วมนำสืบว่า ฝ่ายผู้ร้องกันฝ่ายผู้คัดค้านมีการพิพาทกันเกี่ยวกับที่ดินภายหลังจากการรังวัดสอบเขตของผู้ร้องในปี 2533 นั้น ก็เป็นเวลาภายหลังจากที่ผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยมีเจตนาเป็นเจ้าของครบ 10 ปีแล้ว จึงรับฟังได้ว่าผู้ร้องครอบครองโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน อันเป็นการครอบครองโดยสงบดังที่ผู้ร้องนำสืบ ฎีกาของผู้คัดค้านร่วมในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน”

          พิพากษายืน

หมายเหตุ 

          การฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 มีหลักเกณฑ์สำคัญ 4 ประการคือ

          1. คู่ความรายเดียวกัน คือ โจทก์และจำเลยในคดีก่อนกับโจทก์และจำเลยในคดีใหม่เป็นคู่ความรายเดียวกัน อาจจะสลับกันเป็นโจทก์หรือเป็นจำเลยหรือไม่ก็ได้ แต่มีข้อยกเว้นที่ไม่จำเป็นต้องเป็นคู่ความรายเดียวกัน

           1.1 เป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2549 จำเลยคดีนี้เคยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ พ. สามีโจทก์พร้อมทั้งบริวารให้ออกไปจากที่ดินพิพาท พ. ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และโจทก์ยอมให้ พ. พร้อมบริวารมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด พ. ถึงแก่ความตายเมื่อประมาณปี 2537 ต่อมาปี 2539 จำเลยนำเจ้าพนักงานรังวัดที่ดิน แต่โจทก์คัดค้านว่าเป็นที่ดินที่ พ. ครอบครองมาเกินกว่า 10 ปี แล้ว อันเป็นการโต้แย้งสิทธิต่อจำเลย การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2540 โดยกล่าวอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2500 เป็นการกล่าวอ้างถึงสิทธิที่ได้ครอบครองร่วมกันมากับ พ. ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิของ พ. นั่นเอง จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นคู่ความเดียวกับ พ. โดยประเด็นที่วินิจฉัยเป็นเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

           1.2 เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2548 โจทก์ในคดีนี้ อ. และ ค. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีก่อน ซึ่ง อ. เป็นโจทก์ จำเลยคดีนี้กับพวกเป็นจำเลย และคดีระหว่างจำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ ค. เป็นจำเลย ซึ่งรวมพิจารณาพิพากษา โดยมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปกปักษ์ การที่ อ. เป็นโจทก์ฟ้องคดีและ ค. เป็นจำเลยต่อสู้คดีในคดีก่อน เป็นกรณีที่เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ ใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด เพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 จึงเป็นการกระทำแทนโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทด้วย ถือได้ว่าโจทก์คดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

           1.3 แม้เพิ่มคู่ความบางฝ่ายเข้าไป

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3038/2549 โจทก์ฟ้องคดีโดยอาศัยประเด็นสำคัญเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยก็โดยอาศัยข้ออ้างที่ต้องวินิจฉัยในประเด็นว่า โจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากันและเป็นเรื่องที่โจทก์ชอบจะยกขึ้นว่ากล่าวในคดีเดิมได้ เมื่อศาลในคดีเดิมได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าจำเลยที่ 3 คดีนี้เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจนำประเด็นเรื่องว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากันมารื้อร้องฟ้องกันอีก แม้ว่าโจทก์จะได้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 พ่วงเข้ามาในคดีนี้อีกแต่ก็เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าเป็นคู่ความเดียวกัน ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามเพราะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

           1.4 การใช้สิทธิฟ้องคดีแทนกัน

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2549 โจทก์เป็นภริยาของ พ. ซึ่งเป็นจำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 432/2530 ของศาลชั้นต้น ตามทางนำสืบโจทก็นำสืบว่าโจทก์ครอบครองที่ดินร่วมกันมากับ พ. สามีโจทก์ และสามีโจทก์ถึงแก่ความตายไปเมื่อประมาณปี 2537 ต่อมาปี 2539 จำเลยนำเจ้าพนักงานรังวัดที่ดินแต่โจทก์คัดค้านว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ครอบครองอยู่เป็นที่ดินที่ พ. ครอบครองมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว อันเป็นการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ต่อโจทก์และการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2540 โดยกล่าวอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2500 เป็นการกล่าวอ้างถึงสิทธิที่ได้ครอบครองร่วมกันมากับ พ. สามีโจทก์และครอบครองสืบมา ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิของ พ. สามีโจทก์นั่นเอง จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นคู่ความเดียวกับ พ. สามีโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 432/2530 ของศาลชั้นต้นดังกล่าว โดยประเด็นที่วินิจฉัยเป็นเหตุอย่างเดียวกันและคดีก่อนศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่ง พ. สามีโจทก์ตกลงยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยคดีนี้แล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

          2. เป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน มีข้อยกเว้น

           2.1 ยังมิได้มีการวินิจฉัยโดยตรง เพียงวินิจฉัยว่าฟ้องเคลือบคลุม ยังฟ้องใหม่ได้

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2549 คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่านายหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าโล่ที่จำเลยสัญญาว่าจะมอบให้และค่าปรับเงินเดือนเพิ่ม พร้อมทั้งออกหนังสือรับรองเกี่ยวกับการทำงานให้โจทก์ระหว่างการพิจารณาจำเลยขอให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่าคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม คงพิจารณาคดีต่อไปเฉพาะประเด็นเรื่องค่าโล่และค่าปรับเงินเดือนเพิ่ม อันเป็นการยกคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการอุทธรณ์คัดค้าน ข้อพิพาทในเรื่องค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเป็นอันยุติเพราะฟ้องเคลือบคลุมซึ่งเป็นกรณีที่ศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดี และไม่ได้อยู่ในกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวต่อไปแล้ว การที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในเวลาต่อมา โดยจำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์ 36,000 บาท ซึ่งน้อยกว่าค่าโล่และค่าปรับเงินเดือนเพิ่มที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงิน 5,000 บาท และ 66,000 บาท รวมกันโดยไม่ระบุว่าค่าอะไร และไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นว่าการประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทในเรื่องค่านายหน้าที่ศาลยกฟ้องเพราะฟ้องเคลือบคลุมไปแล้วด้วยแต่อย่างใด แม้ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาตามยอมไปแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่ามีคำวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องค่านายหน้าระหว่างโจทก์จำเลยไปแล้ว จึงไม่ต้องห้ามไม่ให้โจทก์นำค่านายหน้ามาฟ้องเป็นคดีนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

           2.2 ในคดีก่อนศาลพิพากษาระบุให้สิทธิฟ้องคดีใหม่ได้

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2546 คดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งและมาตรา 148 (3) เป็นข้อยกเว้นในเรื่องฟ้องซ้ำกรณีเมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้ยกคำฟ้องเสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและขอให้บังคับจำนองแก่ที่ดินอันเป็นหลักประกัน ซึ่งจำเลยให้การต่อสู้หลายประการ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะทำคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวินิจฉัยชี้ขาดไปตามประเด็นแห่งคดีตาม 131 (2) ได้ โดยคำพิพากษาในประเด็นแห่งคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่นั้นมีประเด็นเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยเพียงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงใด หาได้มีประเด็นว่าต้นเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีเพียงใดไม่ การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ไม่ได้อ้างส่งรายการบัญชีกระแสรายวันในวันที่ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงทำให้ไม่ทราบว่าวันดังกล่าวจำเลยมีหนี้ต้นเงินค้างชำระอยู่เพียงใด จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่นั้น ก็เพื่อให้โจทก์คิดดอกเบี้ยให้ถูกต้องตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่ได้ ซึ่งย่อมเป็นธรรมแก่คู่ความทั้งสองฝ่ายหาได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใดไม่ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 148 (3) แล้ว

           3. สามารถฟ้องได้ในคดีก่อนแล้ว แต่ไม่ฟ้อง

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8231/2549 ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูตามบันทึกข้อตกลงเป็นเงิน 11,000 บาท และจ่ายจากเงินบำนาญครึ่งหนึ่ง หรือให้โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกันรับเงินบำเหน็จ เมื่อจำเลยเกษียณอายุราชการแล้ว ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เต็มคำขอโดยตกลงว่า จำเลยยินยอมจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่โจทก์ 11,000 บาท และโจทก์จำเลยไม่ติดใจว่ากล่าวคดีสืบต่อไป ย่อมหมายความว่าโจทก์พอใจที่จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยเป็นเงิน 11,000 บาท โดยไม่ติดใจที่จะเรียกให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกต่อไป ดังนี้ ที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ แม้ในคดีก่อนโจทก์จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยอาศัยบันทึกข้อตกลงแต่มูลเหตุของการทำบันทึกข้อตกลงเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาของโจทก์จำเลย ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1461 วรรคสอง นั่นเอง แม้ในคดีก่อนโจทก์จะไม่อ้างบันทึกข้อตกลง โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องจำเลยเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้อยู่แล้วประเด็นแห่งคดีนี้กับคดีก่อนจึงเป็นประเด็นและเหตุเดียวกัน คือ การเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง

           4. ฟ้องซ้ำในคดีแพ่งนำไปใช้ในคดีอาญาดัวย

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2550 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรวมโทษจำคุกของจำเลยรวม 16 คดีมิให้เกินกว่า 20 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน คดีถึงที่สุด จำเลยยื่นคำร้องครั้งใหม่อ้างเหตุอย่างเดียวกันกับในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้วินิจฉัยและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการร้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงงเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225

           คดีที่หมายเหตุนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ว่าไม่เป็นฟ้องซ้ำโดยให้เหตุผลประการหนึ่งว่า "อีกทั้งผู้คัดค้านที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน... น่าจะไม่ใช่เหตุหรือองค์ประกอบว่าเป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันหรือไม่ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3038/2549 ข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีก่อนศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ร้องกระทำละเมิดโดยสร้างรั้วในที่ดินของผู้คัดค้านที่ 1 การที่จะพิพากษาว่าผู้ร้องกระทำละเมิดหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาก่อนว่าที่ดินที่ผู้ร้องสร้างรั้วเป็นที่ดินของผู้คัดค้านที่ 1 หรือไม่ เมื่อฟังว่าเป็นที่ดินของผู้คัดค้านที่ 1 การกระทำของผู้ร้องจึงจะเป็นการกระทำละเมิดต้องรื้อรั้วออกไป เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อนว่าที่ดินเป็นของผู้คัดค้านที่ 1 การที่ผู้ร้องมาฟ้องในคดีนี้ว่าที่ดินเป็นของผู้ร้องอีก จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าที่ดินเป็นของใคร ย่อมเป็นฟ้องซ้ำ นอกจากนี้คำพิพากษาในคดีก่อนมีผลผูกพันคู่ความคือผู้ร้องและผู้คัดค้านด้วย                        

          ศิริชัย วัฒนโยธิน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2854/2561

คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่ากันและแบ่งสินสมรส ประเด็นในคดีก่อนมีว่า มีเหตุหย่าหรือไม่ หากศาลพิพากษาให้หย่า จึงจะมีการแบ่งสินสมรสว่ามีทรัพย์สินใดที่เป็นสินสมรส เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากไม่มีเหตุหย่า จึงไม่ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้แยกสินสมรสและให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า มีเหตุให้แยกสินสมรสหรือไม่ และจำเลยต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือไม่ และสินสมรสที่ต้องแยกได้แก่ทรัพย์สินใด ประเด็นแห่งคดีนี้และประเด็นคดีก่อนจึงต่างกัน แม้ทรัพย์สินที่อ้างตามฟ้องคดีนี้จะเป็นทรัพย์สินตามฟ้องกับคดีก่อน แต่เมื่อคดีก่อนศาลยังไม่ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสที่ ต้องแบ่ง จึงถือไม่ได้ว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เกี่ยวกับสินสมรสเป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ หรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน

โจทก์ฟ้องขอให้แยกสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลย เดิมโจทก์และจำเลยประกอบกิจการห้างหุ้นส่วนจำกัด น. และต่อมาจดทะเบียนเลิกห้าง และจัดตั้งบริษัท อ. โดยมีข้อตกลงว่าโจทก์และจำเลยจะไม่ใช้อำนาจบริหารกิจการบริษัท อ. แต่ให้ อ. บุตรชายของโจทก์และจำเลยเป็นผู้บริหารแทน กิจการโรงงานเป็นของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก หาใช่สินสมรสไม่ ทั้งคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบริษัท อ. เนื่องจากโจทก์ติดการพนันและมีปัญหาหนี้สิน โจทก์จะไม่เกี่ยวข้องเป็นผู้ถือหุ้นหรือกรรมการผู้มีอำนาจ และโจทก์เคยทำลายทรัพย์สินของบริษัทจนถูกห้ามเข้าบริษัท ข้อเท็จจริงในคดีก่อนจึงผูกพันโจทก์และจำเลยในคดีนี้ ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบกับโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องหลังจากคดีก่อนถึงที่สุดเพียง 4 เดือน บ่งชี้ถึงความไม่สุจริตของโจทก์ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยขัดขวางการจัดการสินสมรสของโจทก์

บริษัท อ. และ บริษัท ซ. มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบุคคลอื่นและผู้ถือหุ้น มีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ เป็นของตนเอง การดำเนินกิจการต่างๆ เป็นอำนาจหน้าที่กรรมการบริษัทภายในขอบอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับจัดตั้ง กิจการบริษัททั้งสองรวมทั้งทรัพย์สินของบริษัทหาใช่สินสมรสไม่ แต่เป็นของบริษัทภายใต้การดำเนินกิจการของบริษัท หากจะเกิดความเสียหายหรือเกิดความหายนะ ก็เป็นเรื่องที่กรรมการบริษัทจะรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 กรณีจึงไม่มีเหตุแยกสินสมรส

โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์ แต่ข้อตกลงของโจทก์และจำเลยคือ ให้ อ. บุตรชาย นำรายได้ของบริษัทส่วนหนึ่งมาจ่ายเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และจำเลยคนละ 300,000 บาท ซึ่งค่าอุปการะเลี้ยงดูตามที่โจทก์ฟ้องเป็นของบริษัทที่นำมาจ่ายให้โจทก์และจำเลยเมื่อมีกำไร หาใช่ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่คู่สมรสต้องอุปการะเลี้ยงดูตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง อันจะถือเป็นเหตุให้แยกสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1484 (2) ไม่ ทั้งบริษัท อ. ถูกศาลล้มละลายกลางพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลาย จึงมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่มีรายได้ที่จะนำมาชำระค่าเลี้ยงดูโจทก์และจำเลยได้ ดังนี้จะถือว่าจำเลยผิดข้อตกลงหาได้ไม่

คดีที่เกี่ยวข้อง

การฟ้องที่มีประเด็นต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน

คดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอันเดียวกันว่านายบัญชา เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหรือเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทน นางพัฒนา ปรากฏว่าในคดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยและคดีถึงที่สุดแล้วว่านายบัญชา ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนนางพัฒนา ส่วนในคดีนี้แม้โจทก์ฟ้องว่านายบัญชา ไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนนางพัฒนา ก็เป็นการฟ้องที่มีประเด็นต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน

คดีก่อนางพัฒนา ฟ้องโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายบัญชา ส่วนในคดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายบัญชาฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทกับนางพัฒนา  หลังจากศาลพิพากษาคดีก่อน และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทของนางพัฒนา หลังจากศาลพิพากษาคดีก่อนแล้ว เจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทจากนายบัญชา  มาเป็นนางพัฒนา ตามคำสั่งศาล ต่อมานางพัฒนา ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกับนางพัฒนา ในที่ดินพิพาท จำเลยทั้งหกจึงเป็นผู้สืบสิทธิจากนางพัฒนา ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน ดังนั้น ถือได้ว่าคู่ความในคดีนี้กับคู่ความในคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทจึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

ในคดีก่อนนางพัฒนา ไม่ได้ฟ้องเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 237 ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาท คดีก่อนจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 237 ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ฟ้องคดีนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13284/2558

คดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอันเดียวกันว่า บ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหรือเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทน พ. ปรากฏว่าในคดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยและคดีถึงที่สุดแล้วว่า บ. ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทน พ. ส่วนในคดีนี้แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องอ้างว่าพบพยานหลักฐานใหม่ที่แสดงว่า บ. ไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทน พ. ก็เป็นการฟ้องที่มีประเด็นต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน

คดีก่อน พ. ฟ้องโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ส่วนในคดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทกับ พ. หลังจากศาลพิพากษาคดีก่อน และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทของ พ. หลังจากศาลพิพากษาคดีก่อนแล้ว เจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทจาก บ. มาเป็น พ. ตามคำสั่งศาล ต่อมา พ. ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกับ พ. ในที่ดินพิพาท จำเลยทั้งหกจึงเป็นผู้สืบสิทธิจาก พ. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน ดังนั้น ถือได้ว่าคู่ความในคดีนี้กับคู่ความในคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทจึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

โจทก์ฟ้องขอให้เปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจากชื่อของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และ พ. เป็นชื่อของ บ. เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท ตามตาราง 1 ข้อ 1 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียมโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง เมื่อโจทก์แพ้คดีบางข้อและบางข้อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ จึงชอบแล้ว

ในคดีก่อน พ.ไม่ได้ฟ้องเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 237 ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาท คดีก่อนจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 237 ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ฟ้องคดีนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า นายบัญชาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2200 เลขที่ดิน 591 ตำบลแก่งคอย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 237 ที่ปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทกับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ดำเนินการเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจากชื่อของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และนางพัฒนาเป็นชื่อนายบัญชาและเปลี่ยนชื่อผู้มีกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจากชื่อจำเลยที่ 1 เป็นชื่อนายบัญชา หากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา

จำเลยทั้งหกให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 237 ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาท ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นข้อนี้แล้วพิพากษาใหม่ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์และจำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า โจทก์เป็นภริยาของนายบัญชา โดยนายบัญชามีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4 คน คือ นางพัฒนา และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ส่วนจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 เป็นบุตรของนางพัฒนา เดิมนายบัญชามีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 2200 ตำบลแก่งคอย (ขอนขว้าง) อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งมีสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 237 ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาท หลังจากนายบัญชาถึงแก่ความตาย ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายบัญชา ต่อมานางพัฒนาฟ้องโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายบัญชาต่อศาลชั้นต้นให้พิพากษาว่านางพัฒนาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ให้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายบัญชาดำเนินการเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของนางพัฒนา ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่านายบัญชาถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนนางพัฒนา พิพากษาว่านางพัฒนาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ให้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายบัญชาดำเนินการเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อนางพัฒนา หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ ตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1567/2545 ของศาลชั้นต้น คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2546 เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทตามคำสั่งศาลจากนายบัญชาเป็นนางพัฒนา วันที่ 15 กันยายน 2546 เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับนางพัฒนา และวันที่ 9 ธันวาคม 2553 นางพัฒนาถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนางพัฒนาและยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกของนางพัฒนา คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1567/2545 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า จำเลยทั้งหกในคดีนี้ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1567/2545 ของศาลชั้นต้นหรือคดีก่อน แม้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 จะเป็นทายาทผู้สืบสิทธิของนางพัฒนา แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ใช่ผู้สืบสิทธิของนางพัฒนา และหลังจากคดีก่อนถึงที่สุดแล้ว โจทก์พบพยานหลักฐานใหม่ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เคยให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่านายบัญชาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงหนึ่ง ซึ่งแสดงว่านายบัญชาไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนนางพัฒนา ข้อเท็จจริงคดีนี้จึงแตกต่างจากคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า คดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอันเดียวกันว่า นายบัญชาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหรือเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนนางพัฒนา ปรากฏว่าในคดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยและคดีถึงที่สุดแล้วว่านายบัญชาถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนนางพัฒนา ส่วนในคดีนี้แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องอ้างว่าพบพยานหลักฐานใหม่ที่แสดงว่านายบัญชาไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนนางพัฒนา ก็เป็นการฟ้องที่มีประเด็นต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน นอกจากนี้ในคดีก่อนนางพัฒนาฟ้องโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายบัญชา ส่วนในคดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายบัญชาฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทกับนางพัฒนาหลังจากศาลพิพากษาคดีก่อน และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทของนางพัฒนา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากศาลพิพากษาคดีก่อนแล้ว เจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทจากนายบัญชามาเป็นนางพัฒนาตามคำสั่งศาลเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2546 ต่อมาวันที่ 15 กันยายน 2546 นางพัฒนาได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกับนางพัฒนาในที่ดินพิพาท จำเลยทั้งหกจึงเป็นผู้สืบสิทธิจากนางพัฒนาซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน ดังนั้น ถือได้ว่าคู่ความในคดีนี้กับคู่ความในคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทจึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์วางเงินค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ในอัตราร้อยละ 2 ของทุนทรัพย์พิพาทและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์เป็นพับ จึงไม่ถูกต้อง เห็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้เปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจากชื่อของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และนางพัฒนาเป็นชื่อของนายบัญชา เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท ทั้งนี้ตามตาราง 1 ข้อ 1 (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว และที่โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์เป็นพับ เห็นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียมโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง เมื่อโจทก์แพ้คดีบางข้อและบางข้อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ จึงชอบแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น

ส่วนที่จำเลยทั้งหกฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ในประเด็นเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 237 ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาท เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนนั้น เห็นว่า ในคดีก่อน นางพัฒนาไม่ได้ฟ้องเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 237 ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาท คดีก่อนจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 237 ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ฟ้องคดีนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในปัญหาเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแล้วพิพากษาไปตามรูปความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 (3) นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยทั้งหกฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่ง

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หน้าที่ในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ขาดนัดยื่นคำให้การ-สิทธิถามค้าน การพิจารณาผิดระเบียบ
โจทก์ร่วมไม่จำต้องจัดทำคำให้การใหม่เพื่อแก้คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย
วันนัดชี้สองสถาน
ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
คำร้องสอด
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
สิทธิในฐานะผู้รับจำนอง -ขอรับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
การบรรยายคำฟ้องที่มิได้ระบุวัน เวลาที่แน่ชัดว่าเป็นวันที่เท่าใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทแต่ได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี
การยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยไม่ครบหน้าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 1 เดือน
ฟ้องขับไล่- แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน
เพิกถอนการขายทอดตลาดหากเป็นประวิงให้ชักช้าต้องรับผิดชดค่าสินไหมทดแทน
ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพิกถอนการขายทอดตลาด
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น-ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
ในคดีเดิมเป็นเพียงคู่ความตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อเท่านั้นไม่เป็นฟ้องซ้ำ
พิพากษาที่เกินคำขอและขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1548 อันเป็นการไม่ชอบ
การยื่นและการส่งคำคู่ความในคดีฟอกเงิน
ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
สัญญาประนีประนอมยอมความตกลงยุติคดี-ฟ้องซ้ำ
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนแต่ละคน
เจ้าหนี้ผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดิน
การมีอยู่ขององค์กรสาธารณประโยชน์ที่ได้รับรองแล้ว
กระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษา-ฟ้องซ้ำ
ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญา
อายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้ว
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ มิได้ร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี
คำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกฟ้องนอกประเด็น
สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนของผู้รับจำนอง
ฟ้องซ้ำ คดีถึงที่สุดห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก
โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็น"เจ้าหนี้" และ "ลูกหนี้" ตามคำพิพากษา
จำเลยไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับ
ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดต้องอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์
เงื่อนเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดให้สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้
นำใบแต่งทนายความซึ่งปลอมลายมือชื่อไปทำสัญญายอม
อำนาจว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของทนายความในศาล
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน
ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียกับคู่ความเดิมถือเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยเป็นข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180
ยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่อาจรับฟังเป็นพยานได้(ยื่นชั้นอุทธรณ์ฎีกา)
จำเลยฟ้องแย้ง-โจทก์ทิ้งฟ้อง ไม่มีผลให้ฟ้องแย้งตกไป
อำนาจปกครองบุตร-มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลใด?
ดุลพินิจสั่งค่าฤชาธรรมเนียมคำนึงความสุจริตของคู่ความ
ฟ้องแย้งของจำเลยแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม
พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?ไม่มีประเด็นข้อพิพาท
มีเส้นทางอื่นออกไม่ตัดสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229
ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วคดีอยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์
คำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การส่งหมายนัดไต่สวน-สำเนาคำร้องไม่ชอบ
คำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้อง
เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
คณะบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้
มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดสิทธิฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน
อำนาจฟ้องที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ
เข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย
ใครมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
การถอนการบังคับคดี | คำพิพากษาถูกกลับชั้นที่สุด
ยังไม่ผิดสัญญายังไม่มีเหตุขอออกหมายบังคับคดีได้
แจ้งคำสั่งขายทอดตลาดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย คู่สมรสไม่มีชื่อในโฉนดที่ดิน
คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่ชอบ
ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีของศาล มีพยานหลักฐานใหม่
ผู้เสียหายฐานละเมิดอำนาจศาล
ค่าสินไหมทดแทนที่จำนวนเงินไม่แน่นอนต้องนำสืบพยาน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ฟ้องปลูกสร้างผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร
คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์มีทุนทรัพย์
รับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมาย