ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน article

สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้คนอื่นเพื่อกู้ยืมเงิน(จำนอง)แทน

มีที่ดินแต่ไม่มีเครดิตจะกู้เงินธนาคารจึงใช้ชื่อบุคคลอื่นกู้ยืมเงินโดยวิธีโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินให้แล้วผู้รับโอนกรรมสิทธิ์นำที่ดินไปจำนองเป็นประกันเงินกู้โดยมีข้อตกลงกันว่าเจ้าของที่ดินและพี่สาวของผู้กู้เงินธนาคารจะเป็นผู้ผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารคนละครึ่งผ่อนหมดจะแบ่งที่ดินคืนครึ่งหนึ่งส่วนอีกครึ่งหนึ่งตกเป็นของพี่สาวผู้รับโอน และทำสัญญาเช่าที่ดินกับผู้กู้เงินเป็นประกันเพื่อให้ผ่อนหนี้เงินกู้ตามสัญญา ต่อมาเจ้าของที่ดินไม่ชำระหนี้ตรงตามกำหนด คนที่กู้เงินและมีชื่อในโฉนดที่ดินจึงนำสัญญาเช่ามาฟ้องขับไล่เจ้าของที่ดินเป็นคดีนี้ 
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2952/2554
 
  สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน เป็น
การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์และจำเลย เพื่อให้โจทก์นำที่ดินและบ้านพิพาทไปจำนองเป็นประกันหนี้กู้ยืมต่อธนาคาร และให้จำเลยทำสัญญาเช่าเพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร สัญญาซื้อขายและสัญญาเช่าดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง

  เจตนาที่แท้จริงของโจทก์และจำเลยเกิดจาก ส. และจำเลยเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยเนื่องจากเจ้าหนี้จะยึดที่ดินและบ้านที่อยู่อาศัยชำระหนี้ แต่จำเลยและ ส. ไม่สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารมาชำระหนี้ได้ จึงต้องขอให้โจทก์เป็นผู้กู้ยืมเงินให้เพื่อนำเงินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของจำเลย เพื่อจะนำที่ดินมาเป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและ ส. โดยจำเลยและ ส. มีหน้าที่ร่วมกันผ่อนชำระหนี้ที่โจทก์กู้ยืมมาคนละครึ่ง หากจำเลยและ ส. ร่วมกันชำระหนี้จนครบ 10 ปี ตามสัญญาจำนอง หนี้จะหมด จำเลยมีสิทธิได้แบ่งที่ดินส่วนที่จำเลยปลูกบ้านแล้วจำนวนครึ่งหนึ่งของที่ดินทั้งหมดนอกจากส่วนที่กันเป็นถนน ส่วนที่ดินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจะตกเป็นของ ส. ซึ่งถือเป็นตัวการซึ่งเชิดโจทก์เป็นตัวแทนทำนิติกรรมแทน ส. สัญญาตามบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินแม้จะถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท แต่เจตนาที่แท้จริงของโจทก์และจำเลยที่ต้องการให้ ส. และจำเลยมีที่ดินอยู่อาศัยคนละครึ่ง จึงให้จำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารครึ่งหนึ่ง เพื่อว่าเมื่อจำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้ครบแล้วจะได้แบ่งที่ดินครึ่งหนึ่งจึงพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีเจตนาจะให้ตกลงในส่วนนี้แยกออกจากสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อตกลงในส่วนนี้จึงไม่ตกเป็นโมฆะและมีผลผูกพันโจทก์ว่าเมื่อจำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้จำนองแก่ธนาคารแม้เพียงบางส่วนจำเลยก็มีสิทธิในที่ดินพิพาทฐานะในเจ้าของร่วมด้วยเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท

มาตรา 155  การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้
ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางมาใช้บังคับ

มาตรา 173  ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น เว้นแต่จะพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้นแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้

มาตรา 821  บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดีรู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน

มาตรา 1356  ถ้าทรัพย์สินเป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน ท่านให้ใช้บทบัญญัติในหมวดนี้บังคับ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
 
          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมบ้านพิพาท โดยซื้อมาจากจำเลย แล้วให้จำเลยเช่าบ้านหลังดังกล่าวมีกำหนดเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2544 ถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2549 ค่าเช่าเดือนละ 5,500 บาท กำหนดชำระทุกวันที่ 14 ของแต่ละเดือน เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 14 กรกฎาคม 2544 จำเลยชำระค่าเช่าบ้านพิพาทเรื่อยมาจนกระทั่งเดือนมกราคม 2546 จำเลยชำระเพียง 2,800 บาท คงค้างอีก 2,700 บาท แล้วไม่ชำระอีกเลย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่าและให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากบ้านพิพาท แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอคิดค่าเสียหายตามอัตราค่าเช่าเป็นเวลา 17 เดือน นับถึงวันฟ้องเป็นเงิน 96,200 บาท และค่าเสียหายอันเนื่องมาจากโจทก์ไม่สามารถให้บุคคลอื่นเช่าได้ในอัตราเดือนละ 5,500 บาท ขอให้บังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากบ้านพิพาท ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 96,200 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และค่าเสียหายเดือนละ 5,500 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากบ้านพิพาท

          จำเลยให้การ แก้ไขคำให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยไม่ได้ประสงค์ขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยต้องการกู้ยืมเงินจากธนาคาร แต่จำเลยไม่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคาร จำเลยจึงตกลงให้โจทก์เป็นผู้กู้ยืมแทนโดยจำเลยตกลงโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้เป็นชื่อของโจทก์เพื่อให้โจทก์ทำสัญญากู้ยืมเงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โจทก์จำเลยไม่มีเจตนาผูกพันตามสัญญาซื้อขายตามฟ้อง สัญญาซื้อขายเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงตกเป็นโมฆะ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของจำเลย สำหรับสัญญาเช่าตามฟ้องนั้น จำเลยตกลงทำสัญญาเช่าเพื่อเป็นหลักประกันต่อโจทก์ว่าจำเลยจะชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มิใช่เป็นการตกลงเช่ากันอย่างแท้จริง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าแก่โจทก์ ขอให้ยกฟ้อง และพิพากษาให้สัญญาซื้อขายที่ดินตามฟ้องตกเป็นโมฆะ ให้โจทก์คืนที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย หากไม่ไป ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา

          โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ตกลงซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยด้วยเจตนาอันแท้จริง มิใช่เป็นการแสดงเจตนาลวง เมื่อทำสัญญาซื้อขายกันแล้ว โจทก์จำเลยยังตกลงทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติต่อกันและได้ทำสัญญาเช่าบ้านพิพาทไว้ด้วย ขอให้ยกฟ้องแย้ง

          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากบ้านพิพาท พร้อมทั้งให้ส่งมอบบ้านพิพาทคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย และให้จำเลยชำระเงินจำนวน 96,200 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับถัดจากวันฟ้อง (วันที่ 16 กรกฎาคม 2548) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้ชำระค่าเสียหายเดือนละ 5,500 บาท นับแต่วันฟ้อง (ที่ถูก นับถัดจากวันฟ้อง) เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากบ้านพิพาท กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความให้ 6,000 บาท ยกฟ้องแย้งของจำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งให้เป็นพับ

          จำเลยอุทธรณ์โดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้อย่างคนอนาถา

          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับว่า สัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทตกเป็นโมฆะ ให้โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลย โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโอน หากโจทก์ไม่ไป ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ ให้ยกฟ้องโจทก์และคำขออื่นตามฟ้องแย้ง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องและคำฟ้องแย้งให้ตกเป็นพับ

          โจทก์ฎีกา

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 17527 ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมบ้านเลขที่ 5 บนที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ต่อมาเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2544 จำเลยทำสัญญาขายที่ดินและบ้านดังกล่าวแก่โจทก์ในราคา 800,000 บาท ตามหนังสือสัญญาขายที่ดินเอกสารหมาย จ.1 พร้อมทำบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินเอกสารหมาย จ.5 ยินยอมให้จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทได้ โดยระบุว่าให้จำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.7 โจทก์นำที่ดินและบ้านพิพาทไปจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้ซึ่งโจทก์กู้จากธนาคารจำนวน 800,000 บาท ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเอกสารหมาย จ.3 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า สัญญาซื้อขายที่ดินเอกสารหมาย จ.3 กระทำขึ้นโดยเจตนาที่แท้จริงของโจทก์และจำเลย ไม่ใช่เจตนาลวง และสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.7 ก็ไม่ใช่นิติกรรมอำพรางหรือไม่ โจทก์มีนายสัมพันธ์ ทนายความของโจทก์และนางสุพร พี่สาวโจทก์เบิกความทำนองเดียวกันว่า เมื่อปี 2544 นางสุพรและจำเลยมีปัญหาโดยธนาคารจะยึดบ้านและที่ดินอยู่อาศัยของนางสุพร จำเลยก็จะถูกเจ้าหนี้บังคับจำนองบ้านและที่ดินเช่นกัน จำเลยจึงตกลงขายที่ดินและบ้านพิพาทแก่นางสุพรเพื่อนำเงินไปชำระหนี้ แต่นางสุพรและสามีไม่สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารได้ จึงให้โจทก์ซึ่งเป็นน้องสาวเป็นผู้ขอกู้เงินจากธนาคารและทำสัญญาซื้อขายที่ดินแทน ส่วนจำเลยอ้างตนเองเบิกความเป็นพยานโดยมีนายวินัย สามีจำเลยเบิกความสนับสนุนว่า เมื่อปี 2544 จำเลยต้องการเงินเพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้และซื้อกิจการทำน้ำดื่มจากสามีนางสุพร แต่ไม่สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคาร นางสุพรเสนอให้จำเลยทำสัญญาขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ซึ่งเป็นน้องสาวนางสุพร เพื่อให้โจทก์ขอกู้ยืมเงินจากธนาคารมามอบแก่จำเลย โดยจำเลยต้องผ่อนชำระหนี้ธนาคารเดือนละ 11,000 บาท แต่ต่อมานางสุพรมาขอปลูกบ้านอาศัยในที่ดินพิพาทและจะช่วยผ่อนชำระหนี้ธนาคารเดือนละ 5,500 บาท ส่วนสัญญาเช่าโจทก์ให้จำเลยทำขึ้นเพื่อเป็นประกันว่าจำเลยจะต้องช่วยผ่อนชำระหนี้ธนาคารจนครบ เห็นว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท บันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดิน สัญญาจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้จำนวน 800,000 บาท เท่าราคาซื้อขายที่ดินตลอดจนสัญญาเช่าบ้านพิพาทที่จำเลยทำกับโจทก์ทำขึ้นในวันเดียวกัน โดยเฉพาะตามบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายข้อ 2 ที่ให้สิทธิจำเลยซื้อที่ดินและบ้านพิพาทคืนได้เมื่อครบ 5 ปี โดยจำเลยต้องชำระเงิน 330,000 บาท (5,500 บาท x 60 เดือน) พร้อมค่าโอนกรรมสิทธิ์ค่าก่อสร้างที่โจทก์หรือบริวารก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างลงบนที่ดินและให้ฝ่ายโจทก์อาศัยอยู่ในที่ดินได้อีก 1 ปี และในข้อ 3 กรณีจำเลยไม่ซื้อคืน แต่ได้ชำระเงินเดือนละ 5,500 บาท จนครบ 10 ปี ตามสัญญาจำนองกับธนาคาร ให้จำเลยมีสิทธิแบ่งที่ดินเฉพาะส่วนที่เป็นที่ตั้งบ้านพิพาทครึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาททั้งแปลงที่เหลือจากส่วนที่กันเป็นถนนทางเข้า-ออกของที่ดิน เมื่อพิจารณาประกอบกับสัญญาเช่าข้อ 5 ที่ระบุให้นำเงินค่าเช่าที่จำเลยชำระไปชำระหนี้ค่างวดแก่ธนาคาร จึงเห็นได้ว่า เหตุที่มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาท บันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดิน สัญญาเช่าบ้านพิพาทตลอดจนการจำนองที่ดินพิพาทแก่ธนาคารเกิดจากนางสุพรและจำเลยต่างมีปัญหาจะถูกเจ้าหนี้ของตนยึดที่ดินและบ้านอยู่อาศัย แต่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่สามารถกู้ยืมเงินมาจากธนาคารได้ จึงต้องอาศัยโจทก์เป็นผู้กู้แทน โดยต้องนำที่ดินและบ้านพิพาทจำนองเป็นประกันหนี้ จึงจำต้องทำสัญญาให้จำเลยขายที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์ และให้จำเลยทำสัญญาเช่าบ้านพิพาทจากโจทก์ แต่กำหนดให้นำค่าเช่าไปชำระหนี้เงินกู้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนเพื่อไม่ให้จำเลยบิดพริ้วไม่ช่วยนางสุพรผ่อนชำระหนี้ โดยปรากฏจากคำเบิกความของนางสุพรว่า นางสุพรเป็นผู้รับผิดชอบชำระหนี้ธนาคารแทนโจทก์ แสดงว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบชำระหนี้เงินกู้ต่อธนาคาร แต่นางสุพรและจำเลยต้องร่วมกันรับผิดชอบชำระคนละครึ่ง ทั้งนี้เพื่อให้ทั้งนางสุพรและจำเลยมีที่อยู่อาศัยและจำเลยก็ไม่ถูกเจ้าหนี้ยึดที่ดินและบ้านพิพาท และตามบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินข้อ 3 ที่ระบุกรณีจำเลยไม่ซื้อที่ดินและบ้านคืน แต่ได้ช่วยชำระค่าเช่าหรือหนี้แก่ธนาคารเดือนละ 5,500 บาท จนครบ 10 ปี ซึ่งจะครบกำหนดชำระหนี้จำนอง จำเลยมีสิทธิแบ่งที่ดินได้ครึ่งหนึ่ง จึงสนับสนุนให้เห็นว่าแท้จริงแล้วคู่สัญญาไม่มีเจตนาจะทำสัญญาซื้อขายและสัญญาเช่าที่ดินพิพาท โดยสัญญาซื้อขายทำขึ้นเพียงเพื่อให้โจทก์กู้เงินจากธนาคารแทน ส่วนสัญญาเช่าทำขึ้นเพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้รายเดือนของจำเลยต่อธนาคารดังจำเลยนำสืบนั่นเอง ซึ่งเท่ากับว่าหากจำเลยร่วมกับนางสุพรผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารคนละครึ่งจนครบ จำเลยก็มีสิทธิแบ่งที่ดินได้คนละครึ่งกับนางสุพร ดังปรากฏจากคำเบิกความของนายสัมพันธ์และนางสุพรประกอบเอกสารหมาย จ.12 ซึ่งนางสุพรและจำเลยลงลายมือชื่อรับรองร่วมกันว่า จำเลยช่วยชำระหนี้ธนาคารถึงเดือนมกราคม 2546 แล้วไม่ชำระอีกเลย นางสุพรจึงต้องชำระหนี้แทนตลอดมา พยานหลักฐานจำเลยจึงมีน้ำหนักให้รับฟังยิ่งกว่าพยานหลักฐานโจทก์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์และจำเลย เพื่อให้โจทก์นำที่ดินและบ้านพิพาทไปจำนองเป็นประกันหนี้กู้ยืมต่อธนาคาร และให้จำเลยทำสัญญาเช่าเพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร สัญญาซื้อขายและสัญญาเช่าดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจตนาที่แท้จริงของโจทก์และจำเลยเกิดจากนางสุพรและจำเลยเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยเนื่องจากเจ้าหนี้จะยึดที่ดินและบ้านที่อยู่อาศัยชำระหนี้ แต่จำเลยและนางสุพรไม่สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารมาชำระหนี้ได้ จึงต้องขอให้โจทก์เป็นผู้กู้ยืมเงินให้เพื่อนำเงินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของจำเลย เพื่อจะนำที่ดินมาเป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและนางสุพร โดยจำเลยและนางสุพรมีหน้าที่ร่วมกันผ่อนชำระหนี้ที่โจทก์กู้ยืมมาคนละครึ่งเป็นเงิน 5,500 บาท ต่อเดือน หากจำเลยและนางสุพรร่วมกันชำระหนี้จนครบ 10 ปี ตามสัญญาจำนอง หนี้จะหมด จำเลยมีสิทธิได้แบ่งที่ดินส่วนที่จำเลยปลูกบ้านแล้วจำนวนครึ่งหนึ่งของที่ดินทั้งหมดนอกจากส่วนที่กันเป็นถนน ส่วนที่ดินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจะตกเป็นของนางสุพรซึ่งถือเป็นตัวการซึ่งเชิดโจทก์เป็นตัวแทนทำนิติกรรมแทนนางสุพร สัญญาตามบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินแม้จะถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท แต่เจตนาที่แท้จริงของโจทก์และจำเลยที่ต้องการให้นางสุพรและจำเลยมีที่ดินอยู่อาศัยคนละครึ่ง จึงให้จำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารครึ่งหนึ่ง เพื่อว่าเมื่อจำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้ครบแล้วจะได้แบ่งที่ดินครึ่งหนึ่ง จึงพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีเจตนาจะให้ข้อตกลงในส่วนนี้แยกออกจากสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อตกลงในส่วนนี้จึงไม่ตกเป็นโมฆะ และมีผลผูกพันโจทก์ว่าเมื่อจำเลยร่วมผ่อนชำระหนี้จำนองแก่ธนาคารแม้เพียงบางส่วน จำเลยก็มีสิทธิในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของร่วมด้วยเช่นกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาในส่วนของคำฟ้องและฟ้องแย้งให้เป็นพับ
 
นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่ออการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ นิติกรรมต้องเป็นการกระทำโดยมีการแสดงเจตนา ซึ่งอาจเป็นการแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยาย หรือโดยการนิ่งก็ได้ 

การดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญา เป็นนิติกรรมหรือไม่?

ตามแนวคำพิพากษาฎีกาได้แยกออกเป็น 3 กรณีคือ 1). การร้องทุกข็ในคดีอาญาในความผิดยอมความได้ และการฟ้องคดีอาญานั้น เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ไม่เป็นนิติกรรม (ฎีกาที่ 214/2477, 1074/2477, 1590/2530)  2). การฟ้องคดีแพ่ง มิได้มุ่งโดยตรางต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ  แต่เป็นการขอให้บังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่แล้วและถูกโต้แย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จึงไม่ใช่นิติกรรม (ฎีกาที่ 3976/2529)  โดยเหตุผลเดียวกัน คำท้าในคดีแพ่ง เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาล ที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดให้ประเด็นที่ท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะ จึงไม่เป็นนิติกรรม (ฎีกาที่ 3590/2538)   3). การถอนฟ้องคดีอาญา  เป็นการระงับเสียซึ่งสิทธิที่จะดำเนินคดีต่อไป จึงเป็นนิติกรรม ดังนั้น ผู้เยาว์จะทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ได้ (ฎีกาที่ 1074/2477) เหตุผลเดียวกันนี้จึงรวมถึงการถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความในคดีอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ด้วย




นิติกรรม

สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน article
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว article
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด article
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย article
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง article
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต article
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา article
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ article
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน article
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย article
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ article
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน article
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้ article
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม article
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ article
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน article
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่? article
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้ article
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม article
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด article
สัญญเช่าตึกแถว ผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของตึกแถวที่ให้เช่า article
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย article
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ article
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด article
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ" article
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย article
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน article
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม article
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม article
องค์ประกอบของนิติกรรม article
สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม article
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ article