ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สิทธิของผู้ค้ำประกันที่จะฟ้องไล่เบี้ยลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันร่วม

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE

สิทธิของผู้ค้ำประกันที่จะฟ้องไล่เบี้ยลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันร่วม

ผู้ค้ำประกันซึ่งได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ไปแล้วย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ เพื่อเรียกจำนวนเงินกับดอกเบี้ยที่ชำระหนี้แทนลูกหนี้คืนเพราะการค้ำประกันนั้น โดยผู้ค้ำประกันย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้บรรดามีเหนือลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2509

ผู้ค้ำประกันร่วมกัน 2 คน เมื่อผู้ค้ำประกันคนหนึ่งได้ชำระหนี้ทั้งหมดแทนลูกหนี้ไป ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอากับผู้ค้ำประกันอีกคนหนึ่งได้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 229(3) และ 296 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรค 2 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้ และมาตรา 693 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับลูกหนี้แต่ในระหว่างผู้ค้ำประกันด้วยกันบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดต่อกันไว้จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 229,296

นายสมพงศ์เจ้าหนี้ได้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของนายเซียวทรงขิมผู้ล้มละลาย โดยอ้างว่าเจ้าหนี้และผู้ล้มละลายเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของบุคคลหนึ่งร่วมกัน เจ้าหนี้ได้ชำระหนี้ทั้งหมดไปแล้ว จึงขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กึ่งหนึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอความเห็นต่อศาลแพ่งว่าควรยกคำขอรับชำระหนี้ทั้งหมด เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้ค้ำประกันต่อผู้ค้ำประกันไล่เบี้ยกันได้

ศาลแพ่งเห็นว่าผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ต้องรับผิดเท่า ๆ กันจึงเรียกเอาจากผู้ล้มละลายได้ เห็นควรให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้ได้กึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้ชำระแทนไป

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เจ้าหนี้และผู้ล้มละลายเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกัน และเป็นลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291, 297 เมื่อเจ้าหนี้ชำระหนี้ไปย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้เดิมไล่เบี้ยเอากับผู้ล้มละลายได้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 229(3) และ 296 มาตรา 682 วรรค 2 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้และมาตรา 693 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับลูกหนี้ แต่ในระหว่างผู้ค้ำประกันด้วยกัน บทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดต่อกันไว้ เมื่อผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกันแล้ว จึงอาจไล่เบี้ยกันได้ตามหลักทั่วไปใน มาตรา229, 296

พิพากษายืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2111/2551 

เจ้าหนี้ ลูกหนี้ที่ 2  ส. และ ว. ได้ร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 กับโจทก์ จึงต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และมาตรา 682 วรรคสอง ถ้าเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นตามมาตรา 693 วรรคหนึ่ง และรับช่วงสิทธิของโจทก์ไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกันได้ตามส่วนเท่าๆ กันตามมาตรา 229 (3) และมาตรา 296 อีกด้วย เมื่อลูกหนี้ที่ 1 และที่ 2 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยแก่ลูกหนี้ที่ 1 และที่ 2 ในภายหน้าได้ทั้งจำนวนหรือตามส่วนแล้วแต่กรณี เว้นแต่โจทก์ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนอันมีต่อลูกหนี้ที่ 1 หรือที่ 2 แล้ว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 เมื่อบริษัท พ. ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ชั้นต้นอันมีต่อลูกหนี้ที่ 1 และได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ค้ำประกันอันมีต่อลูกหนี้ที่ 2 ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้ย่อมไม่มีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าต่อลูกหนี้ที่ 2 ได้

เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 โดยยอมรับผิดต่อบริษัท ท. อย่างลูกหนี้ร่วม เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้รายเดียวกันย่อมต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อกันไว้จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 229 และมาตรา 296 การที่บริษัท ท. ยอมรับการชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ 2 เป็นเงิน 500,000 บาท และปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องเฉพาะลูกหนี้ที่ 2 คงเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ปลดไปเท่านั้น ส่วนลูกหนื้ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อบริษัท ท. อีกต่อไป เพราะหนี้ส่วนที่เหลือสำหรับลูกหนี้ที่ 2 ระงับไปแล้วตามมาตรา 340 ดังนั้นหากต่อมาเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ท. ไปเพียงใดก็ไม่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 2 ได้อีกต่อไป เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ได้

คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 เด็ดขาดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2544

เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสิทธิไล่เบี้ยในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นเงิน 5,878,480.21 บาท จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 104 แล้ว ลูกหนี้ที่ 2 โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายนี้ว่า ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกหนี้ที่ 2 เพราะบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้วกับโจทก์ในคดีแพ่งได้ถอนฟ้องลูกหนี้ที่ 2 แล้ว จึงมิได้เป็นลูกหนี้ร่วมกับเจ้าหนี้รายนี้อีก

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้ว เห็นว่า สำหรับลูกหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 ค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 ไว้กับธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) โจทก์ ที่เจ้าหนี้อ้างว่าได้ชำระด้วยเช็คเอกสารหมาย จ. 4 และ จ. 5 เจ้าหนี้ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินได้แล้ว อันจะทำให้หนี้ระงับไป และเจ้าหนี้มีเจตนาชำระหนี้เพียงบางส่วนเพื่อให้ธนาคารปลดหนี้ส่วนที่เหลือให้แก่เจ้าหนี้ มิใช่เป็นการชำระหนี้แทนลูกหนี้ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ ส่วนมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้กับบริษัทไทยฟาร์เมอร์เฮลเลอร์ แฟคเตอริ่ง จำกัด เห็นว่า การที่ลูกหนี้ที่ 2 ได้ชำระหนี้ให้แก่บริษัทไทยฟาร์เมอร์เฮลเลอร์ แฟคเตอริ่ง จำกัด และบริษัทดังกล่าวถอนฟ้องลูกหนี้ที่ 2 แล้วมีผลเท่ากับเป็นการปลดหนี้ ลูกหนี้ที่ 2 จึงหลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ลูกหนี้ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดใดๆ ต่อเจ้าหนี้ เห็นสมควรให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายนี้เสียทั้งสิ้นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 107 (1)

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

เจ้าหนี้อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายพิพากษากลับเป็นว่า ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จำนวน 1 ใน 4 ของจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ที่ 1 พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ที่ 1 จนถึงวันที่ลูกหนี้ที่ 2 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ทั้งนี้ต้องไม่เกินจำนวนที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามบัญชีคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 130 (7) โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าโจทก์และหรือบริษัทไทยฟาร์เมอร์เฮลเลอร์ แฟคเตอริ่ง จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เดิมขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้วก็ไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าหนี้ ลูกหนี้ที่ 2 นายสมชาย และนายวิชัยร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 กับธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 และเจ้าหนี้ ลูกหนี้ที่ 2 นายสมชาย และนายธวัชชัยร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 กับบริษัทไทยฟาร์มเมอร์เฮลเลอร์ แฟคเตอริ่ง จำกัด ตามสำเนาคำฟ้อง สัญญาแฟคเตอริ่งและสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.7 ต่อมาโจทก์ทวงถามให้ลูกหนี้ที่ 1 เจ้าหนี้และนายวิชัยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 เจ้าหนี้และนายวิชัยยอมรับสภาพหนี้ว่าลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้เงินต้น 28,439,343.11 บาท ดอกเบี้ 10,433,452.93 บาท เจ้าหนี้และนายวิชัยตกลงชำระเพียงร้อยละ 40 ของต้นเงิน คิดเป็นเงิน 11,375,737.24 บาท ส่วนดอกเบี้ยคิดเป็นเงิน 4,169,381.17 บาท ให้แก่โจทก์ ตามสำเนาหนังสือรับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.12 ส่วนมูลหนี้ที่บริษัทไทยฟาร์เมอร์เฮลเลอร์ แฟคเตอริ่ง จำกัด เป็นโจทก์ฟ้องลูกหนี้ที่ 1 กับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ที่ 2 นายสมชายและนายธวัชชัยเป็นจำเลยให้ร่วมกันรับผิดตามสัญญาแฟคเตอริ่ง ระหว่างพิจารณาลูกหนี้ที่ 2 ชำระเงินให้แก่บริษัทไทยฟาร์เมอร์เฮลเลอร์ แฟคเตอริ่ง จำกัด จนเป็นที่พอใจแล้ว บริษัทดังกล่าวจึงถอนฟ้องเฉพาะลูกหนี้ที่ 2 ตามสำเนาคำพิพากษาศาลแพ่งเอกสารหมาย จ.26 มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของเจ้าพนักงานงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกาข้อแรกว่า มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่เจ้าหนี้ และลูกหนี้ที่ 2 กับพวกร่วมกันเข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 ต่อธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) โจทก์นั้น โจทก์ได้โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด แล้ว ซึ่งมีผลทำให้บรรดาสิทธิเรียกร้องต่างๆ ที่โจทก์มีต่อลูกหนี้ที่ 1 และลูกหนี้ที่ 2 โอนมายังบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด เมื่อบริษัทดังกล่าวได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้ย่อมไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามที่ศาลอุทธรณ์พิพากษานั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่บุคคลผู้เป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ในคดีล้มละลายที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้เว้นแต่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนแล้ว และวรรคสองของมาตราดังกล่าวให้นำบทบัญญัติดังกล่าวไปใช้บังคับแก่ผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันร่วมหรือบุคคลที่อยู่ในลักษณะเดียวกันนี้โดยอนุโลม 

คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่า เจ้าหนี้ ลูกหนี้ที่ 2 นายสมชาย และนายวิชัยได้ร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 กับโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 จึงต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 และมาตรา 682 วรรคสอง ถ้าเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใดๆ เพราะการค้ำประกันนั้นตามมาตรา 693 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้เจ้าหนี้ยังมีสิทธิรับช่วงสิทธิของโจทก์ไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกันได้ตามส่วนเท่าๆ กันตามมาตรา 229 (3) และมาตรา 296 อีกด้วย เมื่อลูกหนี้ที่ 1 และลูกหนี้ที่ 2 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 1 และลูกหนี้ที่ 2 ในภายหน้าได้ทั้งจำนวนหรือตามส่วนแล้วแต่กรณี เว้นแต่โจทก์ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนอันมีต่อลูกหนี้ที่ 1 หรือลูกหนี้ที่ 2 แล้ว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 เมื่อตามรายงานเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ฉบับลงวันที่ 22 มีนาคม 2545 และ 28 พฤษภาคม 2545 เอกสารท้ายฎีกาหมายเลย 1 ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปรากฏว่าบริษัทสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ชั้นต้นอันมีต่อลูกหนี้ที่ 1 และได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ค้ำประกันอันมีต่อลูกหนี้ที่ 2 ไว้เต็มจำนวนแล้ว เจ้าหนี้ย่อมไม่มีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าต่อลูกหนี้ที่ 2 ได้ ฎีกาข้อนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฟังขึ้น

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกาข้อต่อไปว่า มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 กับพวกร่วมกันเข้าทำสัญญาประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 ต่อบริษัทไทยฟาร์เมอร์เฮลเลอร์ แฟคเตอริ่ง จำกัด นั้น บริษัทไทยฟาร์เมอร์เฮลเลอร์ แฟคเตอริ่ง จำกัด ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องลูกหนี้ที่ 1 เจ้าหนี้ และลูกหนี้ที่ 2 กับพวกเป็นจำเลยให้ร่วมกันรับผิดตามสัญญาแฟคเตอริ่งต่อศาลแพ่ง ซึ่งต่อมาในระหว่างการพิจารณาคดี ลูกหนี้ที่ 2 ได้ชำระหนี้ให้แก่บริษัทไทยฟาร์เมอร์เฮลเลอร์ แฟคเตอริ่ง จำกัด บางส่วนจนเป็นที่พอใจแล้ว บริษัทดังกล่าวจึงได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องลูกหนี้ที่ 2 ศาลมีคำสั่งอนุญาตและให้จำหน่ายคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความตามสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องเอกสารท้ายฎีกาหมายเลข 2 จึงเป็นกรณีที่บริษัทไทยฟาร์เมอร์เฮลเลอร์ แฟคเตอริ่ง จำกัด เจ้าหนี้ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ 2 แล้วทำให้ลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับเจ้าหนี้ไม่ต้องรับผิดต่อบริษัทไทยฟาร์เมอร์เฮลเลอร์ แฟคเตอริ่ง จำกัด อีกต่อไป หากเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่บริษัทไทยฟาร์เมอร์ เฮลเลอร์ แฟคเตอริ่ง จำกัด ไปแล้วเพียงใดก็คงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเท่านั้นไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 2 ได้ จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ได้นั้น เห็นว่า ข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 โดยยอมรับผิดต่อบริษัทไทยฟาร์เมอร์เฮลเลอร์ แฟคเตอริ่ง จำกัด อย่างลูกหนี้ร่วม เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้รายเดียวกันย่อมต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 วรรคสอง เมื่อบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อกันไว้จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229 และมาตรา 296 การที่บริษัทดังกล่าวยอมรับการชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ 2 เป็นเงิน 500,000 บาท และปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องเฉพาะลูกหนี้ที่ 2 เสียตามสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องเอกสารท้ายฎีกาหมายเลข 2 และสำเนาคำพิพากษาเอกสารหมาย ล.26 ก็คงเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ปลดไปเท่านั้น ส่วนลูกหนี้ที่ 2 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อบริษัทไทยฟาร์เมอร์เฮลเลอร์ แฟคเตอริ่ง จำกัด อีกต่อไป เพราะหนี้ส่วนที่เหลือสำหรับลูกหนี้ที่ 2 ระงับไปแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 ดังนั้น หากต่อมาเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่บริษัทไทยฟาร์เมอร์เฮลเลอร์ แฟคเตอริ่ง จำกัด ไปเพียงใดก็ไม่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 2 ได้อีกต่อไป เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับลูกหนี้ที่ 2 มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ตามมาตรา 101 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2583 นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาข้อนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฟังขึ้นเช่นกัน"

พิพากษากลับ ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายนี้เสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ

 ตัวอย่างการฟ้องไล่เบี้ยของผู้คำประกัน

 นาย ก. กับ นาย ข. เป็นเพื่อนสนิทกัน ทำงานในบริษัทเดียวกัน ต่อมา นาย ข. มาขอร้องให้นาย ก. ช่วยเป็นผู้ค้ำประกัน เพื่อซื้อรถยนต์ เนื่องจากผู้ค้ำประกันอีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นพ่อของนาย ข. เองนั้น มีเครดิตไม่น่าเชื่อถือ ต่อมาไม่นาน นาย ข. ได้ขอลาออกจากงาน และไม่ผ่อนชำระค่างวดรถยนต์ดังกล่าว บริษัทไฟแนนซ์จึงได้ทวงถามมายังนาย ก. และถูกบริษัทไฟแนนซ์ยื่นฟ้องต่อศาล ขอให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันทั้งสองคนร่วมกันคืนรถยนต์หรือชดใช้ค่ารถยนต์ดังกล่าว สุดท้าย นาย ก. ต้องถูกบังคับคดียึดทรัพย์สิน และมีการเจรจาขอลดยอดหนี้จากทั้งหมด 600,000 บาท เหลือ 300,000 บาท ต้องลำบากไปหยิบยืมญาติพี่น้องมาชำระหนี้แทน นาย ข. เพื่อแลกกับการขอให้ไฟแนนซ์เพิกถอนการยึดทรัพย์สินของตัวเอง

 นาย ก. จะสามารถฟ้องไล่เบี้ยผู้เช่าซื้อหรือลูกหนี้ชั้นต้น หรือ ผู้ค้ำประกันอีกรายหนึ่งได้หรือไม่

กรณีแบบนี้เคยมีแนวคำพิพากษาฎีกาได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานครับ กรณีผู้ค้ำประกันที่ได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ชั้นต้นไปแล้ว สามารถฟ้องไล่เบี้ยลูกหนี้ชั้นต้นหรือผู้เช่าซื้อได้ทุกบาททุกสตางค์ที่ได้ชำระแทนไปครับ แต่ในส่วนของผู้ค้ำประกันด้วยกันเองนั้น สามารถฟ้องไล่เบี้ยได้เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น

เทียบเคียง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2509 ผู้ค้ำประกันร่วมกัน 2 คน เมื่อผู้ค้ำประกันคนหนึ่งได้ชำระหนี้ทั้งหมดแทนลูกหนี้ไป ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอากับผู้ค้ำประกันอีกคนหนึ่งได้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 229 (3) และ 296 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรค 2 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้ และมาตรา 693 บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้ำประกันกับลูกหนี้ แต่ในระหว่างผู้ค้ำประกันด้วยกันบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดต่อกันไว้จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 229, 296




ค้ำประกัน

จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม