ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE 

การฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม

การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรของผู้ตายต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอ   เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยทำเป็นคำฟ้อง  การฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม

   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8504/2544

การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรของผู้ตายต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอ   เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยทำเป็นคำฟ้อง  การฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม

การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555 หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยทำเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แต่ถ้าบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188(1) ดังนั้น เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท ส่วนบทบัญญัติมาตรา 1558 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่ร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นบุตร มิใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรของนายอนุวัติ  กับนางคำเปา ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกัน นายอนุวัติรับราชการครู เป็นสมาชิกช.พ.ค. ครุสภา เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 นายอนุวัติถึงแก่ความตายระหว่างมีชีวิตนายอนุวัติได้รับรองต่อบุคคลทั่วไปว่าโจทก์เป็นบุตร นายอนุวัติได้เลิกร้างกับมารดาโจทก์แล้วสมรสกับจำเลย หลังจากนายอนุวัติถึงแก่ความตาย สำนักงาน ช.พ.ค. สอบสวนแล้วได้พิจารณาว่าโจทก์เป็นทายาทนายอนุวัติ จึงได้จ่ายเงินสงเคราะห์ครอบครัวในส่วนของโจทก์จำนวน 28,561.58 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์มีข้อขัดข้องในการรับเงินบำเหน็จตกทอดของทายาท นายอนุวัติที่ทางราชการได้กันไว้เป็นส่วนของโจทก์จำนวน 110,000 บาท ซึ่งมีระเบียบของกรมบัญชีกลางว่าต้องมีคำพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายอนุวัติแล้วโจทก์จึงจะได้รับเงินจำนวนดังกล่าว ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายอนุวัติ

จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ต่อจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน 

 โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของนายอนุวัติ  ผู้ตาย ให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายอนุวัติได้หรือไม่ เห็นว่า การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1555 หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยเสนอข้อหาทำเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แต่ถ้าบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือให้เริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188(1) เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ตายซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอ มิใช่เสนอคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาท ส่วนกรณีที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1558 บัญญัติว่า "การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรของผู้ตายที่ได้ฟ้องภายในอายุความมรดก ถ้าศาลได้พิพากษาว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เด็กนั้นมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่ร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นบุตร หาใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไม่ ดังนั้นปัญหาที่ว่าตามคำให้การของจำเลยได้แสดงการโต้แย้งสิทธิว่าโจทก์มิใช่เป็นผู้สืบสันดานของนายอนุวัติและนายอนุวัติไม่เคยอุปการะเลี้ยงดูตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ย่อมเป็นที่ชัดแจ้งว่าจำเลยมีการกระทำการอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์นั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะโจทก์มิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังที่กล่าวมาแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาเห็นด้วยในผลฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท


มาตรา 55 เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของ บุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายน

 มาตรา 188 ในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ให้ใช้ข้อบังคับต่อไปนี้
(1) ให้เริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาล
(2) ศาลอาจเรียกพยานมาสืบได้เองตามที่เห็นจำเป็นและวินิจฉัยชี้ ขาดตามที่เห็นสมควรและยุติธรรม
(3) ทางแก้แห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้ใช้ได้แต่โดย วิธียื่นอุทธรณ์หรือฎีกาเท่านั้น และให้อุทธรณ์ฎีกาได้แต่เฉพาะใน สองกรณีต่อไปนี้
(ก) ถ้าศาลได้ยกคำร้องขอ ของคู่ความฝ่ายที่เริ่มคดีเสีย ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือ
(ข) ในเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย นี้ว่าด้วยการพิจารณาหรือพิพากษาหรือคำสั่ง
(4) ถ้าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มี ข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่า บุคคลเช่นว่ามานี้เป็นคู่ความและให้ดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาทแต่ในคดีที่ยื่น คำร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คำอนุญาต ที่ผู้แทนโดยชอบธรรมได้ปฏิเสธเสีย หรือให้ศาลมีคำพิพากษาหรือ คำสั่งถอนคืนคำอนุญาตอันได้ให้ไว้แก่ไร้ความสามารถนั้นให้ถือว่า เป็นคดีไม่ข้อพิพาท แม้ถึงว่าผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้ไร้ความสามารถนั้นจะได้มาศาลและแสดงข้อคัดค้านในการให้คำอนุญาตหรือถอนคืนคำอนุญาตเช่นว่านั้น


ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5335/2542

ผู้ตายและนางบ. เป็นสามีภริยากันโดยมีนางค. ซึ่งเป็นบุตรของนางบ.กับสามีเก่าพักอาศัยอยู่ด้วย นางค. คลอดผู้ร้องแล้วผู้ตายถึงแก่กรรม โดยผู้ตายมิได้เป็นผู้ไปแจ้งการเกิดผู้ร้อง จึงไม่มีเหตุที่จะให้ผู้ตายรับผู้ร้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555(4) นางค. พักอาศัยในฐานะที่เป็นบุตรสาวของนางบ. มิใช่ในฐานะภริยาของผู้ตาย การที่ผู้ร้องใช้นามสกุลของผู้ตายก็เพราะสูติบัตรของผู้ร้องระบุว่าผู้ร้องเป็นบุตรของผู้ตายกับนางบ. หาใช่เพราะผู้ตายยอมให้ใช้นามสกุลของตนเพราะเหตุที่ผู้ร้องเป็นบุตรของนางค.ไม่ จึงฟังไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าผู้ร้องเป็นบุตรผู้ตายที่เกิดจากนางค. ไม่มีเหตุที่จะให้ผู้ตายรับผู้ร้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1555(7)

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายสมพงษ์ ตะราษี

ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้าน ขอให้ยกคำร้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกคำร้อง

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับว่า เด็กชายธ.เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายสมพงษ์ ตะราษี

ผู้คัดค้านฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า นายสมพงษ์และนางเบญจา ตะราษี เป็นสามีภริยากันโดยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2530 ต่อมาในวันที่ 3 กรกฎาคม 2532 บุคคลทั้งสองจดทะเบียนหย่ากัน และในเดือนเดียวกันนั้นได้จดทะเบียนสมรสกันใหม่อีก นางแคทลียา ขุราษี เป็นบุตรของนางเบญจากับสามีเก่าที่เลิกร้างกันไปแล้ว นางแคทลียาพักอาศัยในบ้านเดียวกันกับนางเบญจาและนายสมพงษ์แล้วตั้งครรภ์และคลอดผู้ร้องเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2536 แต่สูติบัตรของผู้ร้องระบุว่านายสมพงษ์เป็นบิดา นางเบญจาเป็นมารดา ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2536 นายสมพงษ์ถึงแก่กรรมหลังจากนั้นนางแคทลียายื่นคำร้องขอแก้ชื่อมารดาของผู้ร้องจากชื่อนางเบญจาเป็นนางแคทลียา สำนักงานทะเบียนอำเภอธวัชบุรีอนุญาตให้แก้ไขชื่อมารดาของผู้ร้องจากนางเบญจาเป็นนางแคทลียาได้ตามสำเนาสูติบัตรเอกสารหมาย ร.1 คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านว่า มีเหตุที่ศาลจะพิพากษาว่าผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสมพงษ์ผู้ตายหรือไม่ โดยในคดีนี้ผู้ร้องอ้างเหตุในการฟ้องคดี 2 เหตุ คือเหตุที่มีหลักฐานว่า นายสมพงษ์เป็นผู้แจ้งการเกิดผู้ร้องโดยระบุว่าตนเป็นบิดา กับเหตุที่ว่ามีเหตุพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าผู้ร้องเป็นบุตรนายสมพงษ์ จะได้วินิจฉัยไปเป็นลำดับ สำหรับในเหตุที่มีหลักฐานว่านายสมพงษ์เป็นผู้แจ้งการเกิดผู้ร้องโดยระบุว่าตนเป็นบิดานั้น ผู้ร้องมีนายมาศ สพลาภ ผู้ใหญ่บ้านมาเบิกความเป็นพยานว่า เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2536 นายสมพงษ์มาแจ้งการเกิดผู้ร้องโดยแจ้งว่าผู้ร้องเป็นบุตรของนายสมพงษ์ พยานตรวจสอบหลักฐานถูกต้องครบถ้วนแล้ว จึงรับแจ้งไว้ตามสำเนาใบรับแจ้งการเกิดเอกสารหมาย ร.5 แผ่นที่ 4 หลังจากนั้น พยานนำเรื่องไปติดต่อที่ว่าการอำเภอธวัชบุรี นายทะเบียนอำเภอธวัชบุรีออกสูติบัตรผู้ร้องให้ในวันที่ 17 มีนาคม 2536 โดยพยานเป็นผู้ไปรับสูติบัตรจากที่ว่าการอำเภอตามสำเนาสูติบัตรเอกสารหมาย ค.6 ฝ่ายผู้คัดค้านมีตัวผู้คัดค้านและนางนิภา ยศราวาส เจ้าพนักงานอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด มาเบิกความว่า รายละเอียดบางตอนในสูติบัตรเอกสารหมาย ร.1 มีข้อพิรุธที่แสดงว่า นายสมพงษ์มิได้ไปแจ้งการเกิดผู้ร้องแต่อย่างใด เห็นว่าตามมรณบัตรเอกสารหมาย ร.3 นายสมพงษ์มีหมายเลขประจำตัวประชาชนที่แท้จริงคือหมายเลข 3-4505-00228-02-8 แต่สำเนาใบรับแจ้งการเกิดเอกสารหมาย ร.5 แผ่นที่ 4 ในช่องที่ 3 บิดา ระบุว่า นายสมพงษ์มีหมายเลขประจำตัวประชาชนหมายเลข 01067151 คนละหมายเลขกัน แต่มีรอยขีดฆ่าหมายเลขดังกล่าวแล้วใส่หมายเลข 3450500 ไว้แทน และในช่องที่ 4 หลักฐานการแจ้งการเกิดก็ระบุว่าบัตรประจำตัวของผู้แจ้งเลขที่ 01067151 แต่มีการขีดฆ่าหมายเลขดังกล่าวโดยไม่มีการใส่หมายเลขอื่นไว้แทน แสดงว่าผู้แจ้งการเกิดผู้ร้องมีหมายเลขประจำตัวประชาชนเลขที่ 01067151 ส่วนสำเนาสูติบัตรเอกสารหมาย ร.1 และ ค.1 ซึ่งเป็นฉบับอัดสำเนาคาร์บอนด้วยกันในช่องที่ 4 ผู้แจ้งการเกิด ข้อที่ 4.8 ลงชื่อผู้แจ้งการเกิด เอกสารหมายร.1 มีลายมือชื่อลงไว้ แต่ในเอกสารหมาย ค.1 ไม่มีลายมือชื่อลงไว้แต่อย่างใดอันเป็นข้อพิรุธว่าเอกสารในการแจ้งการเกิดผู้ร้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในภายหลัง พยานของผู้คัดค้านมีน้ำหนักมากกว่าพยานของผู้ร้องน่าเชื่อว่านายสมพงษ์มิได้เป็นผู้ไปแจ้งการเกิดผู้ร้อง จึงไม่มีเหตุที่จะให้นายสมพงษ์รับผู้ร้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายสมพงษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1555(4) ได้ สำหรับเหตุที่ว่ามีพฤติการณ์ที่รู้กันอยู่ทั่วไปตลอดมาว่า ผู้ร้องเป็นบุตรของนายสมพงษ์ เห็นว่า นางแคทลียาพักอาศัยในบ้านเดียวกันกับนางเบญจาและนายสมพงษ์ในฐานะที่เป็นบุตรสาวของนางเบญจา มิใช่ในฐานะเป็นภริยาของนายสมพงษ์ภาพถ่ายหมาย ร.4 ที่นายสมพงษ์อุ้มผู้ร้องก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่บุคคลซึ่งอยู่บ้านเดียวกันมีการถ่ายรูปร่วมกัน การที่ผู้ร้องใช้นามสกุลของนายสมพงษ์ก็เพราะสูติบัตรของผู้ร้องระบุว่าผู้ร้องเป็นบุตรของนายสมพงษ์กับนางเบญจาซึ่งเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายผู้ร้องจึงมีสิทธิใช้นามสกุลของนายสมพงษ์ หาใช่เพราะนายสมพงษ์ยอมให้ใช้นามสกุลของตน เพราะเหตุที่ผู้ร้องเป็นบุตรของนางแคทลียาไม่จึงฟังไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่า ผู้ร้องเป็นบุตรของนายสมพงษ์ที่เกิดจากนางแคทลียา ไม่มีเหตุที่จะให้นายสมพงษ์รับผู้ร้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายสมพงษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555(7) ได้เช่นเดียวกันที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ผู้ร้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายสมพงษ์นั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของผู้คัดค้านฟังขึ้น"

พิพากษากลับ ให้ยกคำร้อง 

ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรเกิดหน้าที่แก่บิดา

เมื่อศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรแล้ว หน้าที่ของบิดาก็เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายคือหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ นอกจากนั้นเกิดสิทธิในการใช้อำนาจปกครองด้วยซึ่งรวมถึงสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตรได้ด้วย ในคดีนี้สามีฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้เด็กหญิง ญ. (บุตรนอกกฎหมาย)เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตน และขอให้ตนเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร  และอุปการะเลี้ยงดู ส่วนภริยา(นอกกฎหมาย)ฟ้องแย้งขอให้บิดา(สามี)เด็กจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิง  การฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวเนื่องจากฟ้องของโจทก์ที่ขอให้เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนั่งเอง ศาลฎีกาเห็นว่าการฟ้องแย้งเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะไม่จำเป็นต้องรอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนจึงจะมาฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาเด็กในภายหลังเป็นการเสียเวลา

 




บิดามารดา กับ บุตร

เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร article
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
นำหนี้ร่วมมาหักออกจากสินสมรสในคดีฟ้องหย่า
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว