ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE 

 บุตรนอกกฎหมาย |  เรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?

มีคำถามว่าบุตรนอกกฎหมายคือใคร และบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วตามความหมายของมาตรา 1627 นั้นในระหว่างบิดากับบุตรดังกล่าวที่เกิดจากมารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับบิดาจะมีสิทธิและหน้าที่ต่อกันอย่างไรนั้น มีคำตอบที่นี่   บุตรนอกกฎหมายก็คือบุตรที่เกิดจากมารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับบิดา ส่วนคำว่าบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วนั้น หมายถึงบุตรที่บิดาแจ้งในสูติบัตรว่าเป็นบุตรและอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษา กฎหมายกำหนดว่า  บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา หมายถึงเฉพาะบุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ดังนั้นบุตรนอกกฎหมายก็ดี บิดานอกกฎหมายก็ดี ไม่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน    ประเด็นต่อไปที่จะพูดถึงก็คือการเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากผู้กระทำละเมิดให้บิดานอกกฎหมายถึงแก่ความตาย ถามว่าบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วมีสิทธิรับมรดกของบิดาหรือไม่ ในเรื่องนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 บอกว่า   "ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย" คำว่าผู้สืบสันดานมีปรากฎในเรื่องทายาทโดยธรรมในการรับมรดก ดังนั้นบุตรนอกกฎหมายจึงมีสิทธิรับมรดกของบิดานอกกฎหมายได้เพราะกฎหมายให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีที่บิดานอกกฎหมายถูกผู้อื่นขับรถโดยประมาทชนบิดานอกกฎหมายเสียชีวิต บุตรนอกกฎหมายจะเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?? ตอบได้เลยว่า ฟ้องเรียกไม่ได้เพราะบิดานอกกฎหมายไม่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย         

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1409/2548

          ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม กำหนดให้ผู้กระทำละเมิดในกรณีทำให้เขาถึงตายรับผิดต่อบุคคลที่ต้องขาดไร้อุปการะเฉพาะที่ผู้ตายมีหน้าที่อุปการะตามกฎหมายเท่านั้น แต่มาตรา 1563 และมาตรา 1564 ที่บัญญัติให้บุตรและบิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูกันนั้น หมายถึง บุตรและบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย ดังนั้น แม้บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วจะเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของบิดาได้ แต่ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดา จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากผู้กระทำละเมิด

          โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายพงษ์เทพ พัฒโนทัย ผู้ตาย โจทก์ที่ 3 เป็นบุตรของผู้ตายอันเกิดจากนางสมพิศ ชูติธวัช จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกคันหมายเลขทะเบียน 81 - 0304 นครสวรรค์ และเป็นนายจ้างหรือตัวการของบุคคลไม่ทราบชื่อซึ่งขับรถคันดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2542 เวลา 3.15 นาฬิกา ขณะที่นายพงษ์เทพนั่งโดยสารมาในรถยนต์กระบะหมายเลขทะเบียน บง - 1797 อุทัยธานี ซึ่งมีนายสมพงษ์ วงษ์รักษ์ เป็นผู้ขับ ไปตามถนนสายนครสวรรค์-พิษณุโลก มุ่งหน้าไปทางจังหวัดพิษณุโลก เมื่อถึงสะพานข้ามแม่น้ำปิง ตำบลวัดไทร อำเภอเมืองนครสวรรค์ มีรถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน 81 - 0304 นครสวรรค์ ซึ่งมีบุคคลไม่ทราบชื่อที่จำเลยจ้างวานให้ขับรถเป็นผู้ขับ แล่นมาจากทางจังหวัดพิษณุโลกมุ่งหน้าไปทางจังหวัดนครสวรรค์ ในทางการที่จ้างของจำเลยด้วยความเร็วสูง และขับล้ำเส้นทางเข้ามาในช่องเดินรถของนายสมพงษ์ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง เป็นเหตุให้รถชนทำให้นายพงษ์เทพถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหาย คือโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ต้องขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูคิดเป็นเงิน 120,000 บาท โจทก์ที่ 3 ต้องขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูคิดเป็นเงิน 384,000 บาท โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปลงศพ 61,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 565,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จำนวน 120,000 บาท ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 3 จำนวน 384,000 บาท และค่าปลงศพแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จำนวน 61,000 บาท รวมเป็นเงิน 565,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ

          จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 544,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง (วันที่ 20 มีนาคม 2543) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท
          จำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 160,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 20 มีนาคม 2543) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยกฟ้องโจทก์ที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์ที่ 3 กับจำเลยในศาลชั้นต้นให้เป็นพับค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
          โจทก์ที่ 3 ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งกันรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า โจทก์ที่ 3 เป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายพงษ์เทพ พัฒโนทัย ผู้เป็นบิดาได้รับรองแล้ว เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2542 ลูกจ้างของจำเลยขับรถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน 81 - 0304 นครสวรรค์ ไปในทางการที่จ้างของจำเลยด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์กระบะหมายเลขทะเบียน บง-1797 อุทัยธานีซึ่งมีนายพงษ์เทพโดยสารมาและนายพงษ์เทพถึงแก่ความตาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อนายพงษ์เทพ คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ที่ 3 ว่า บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ตามมาตรา 1629 (1) นั้นจะมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดเพราะเหตุที่การตายลงนั้นทำให้ตนต้องขาดไร้อุปการะหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสาม นั้น กำหนดให้ผู้กระทำละเมิดในกรณีทำให้เขาถึงตายรับผิดต่อบุคคลที่ต้องขาดไร้อุปการะเฉพาะที่ผู้ตายมีหน้าที่อุปการะตามกฎหมายเท่านั้น แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1563 และมาตรา 1564 บัญญัติให้บุตรและบิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูกันนั้น หมายถึง บุตรและบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมายแต่ประการใด ดังนั้น แม้บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วจะเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของบิดาได้ แต่ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดา บุตรนอกกฎหมายจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากผู้กระทำละเมิดให้บิดาตนถึงแก่ความตายได้ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้และมิได้ยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ก็เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ที่ 3 ฟังไม่ขึ้น"

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

มาตรา 443    ในกรณีทำให้เขาถึงตายนั้นค่าสินไหมทดแทนได้แก่ ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นๆ อีกด้วย

ถ้ามิได้ตายในทันที ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย

ถ้าว่าเหตุที่ตายลงนั้นทำให้บุคคลหนึ่งคนใดต้องขาดไร้อุปการะตามกฏหมายไปด้วยไซร้ ท่านว่าบุคคลคนนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

  มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้
มาตรา 1563 บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา

     




บิดามารดา กับ บุตร

ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ article
เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
นำหนี้ร่วมมาหักออกจากสินสมรสในคดีฟ้องหย่า
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร