ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ทายาททำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางไม่ได้สิทธิภาระจำยอม

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

ใช้ทางโดยอาศัยสิทธิ 50 ปีก็ไม่ได้สิทธิภาระจำยอม

ผู้ที่จะฟ้องบังคับภาระจำยอมต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้ดำเนินกิจการโรงเรียน ซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้เปิดทาง บิดามารดาสั่งให้พี่น้องทุกคนใช้ทางพิพาทร่วมกัน รวมทั้งครูและนักเรียนด้วย บรรดาทายาทจึงทำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางพิพาท จึงเป็นการใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของมารดาโจทก์ที่ 1 และสิทธิของจำเลย โจทก์ที่ 1 ไม่ได้เปลี่ยนเจตนาการใช้โดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาจะให้ได้สิทธิภาระจำยอมในทางแต่อย่างใด แม้โจทก์ที่ 1 จะใช้ทางพิพาทเป็นเวลาติดต่อกันกว่า 50 ปี ก็หาได้สิทธิภาระจำยอมในทางไม่ 
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  307/2552

 ป.พ.พ. มาตรา 1387 บัญญัติให้ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ที่จะฟ้องบังคับภาระจำยอมจึงต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้ดำเนินกิจการโรงเรียนซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้เปิดทางภาระจำยอม

  โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 538 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 5/10 ตารางวา โจทก์ที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทมูลนิธิ มีนายวิโรจน์ เป็นผู้จัดการมูลนิธิ และเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงเรียนเจียหมินซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของโจทก์ที่ 1 เนื้อที่ประมาณ 600 ตารางวา จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 539 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เดิมที่ดินของโจทก์ที่ 1 กับที่ดินของจำเลยเป็นกรรมสิทธิ์ของนางบุญเฮียงหรือมุยเฮียง หรือเฮียง มารดาโจทก์ที่ 1 และจำเลย เมื่อประมาณปี 2490 ขณะที่นางเฮียงยังมีชีวิตได้ก่อตั้งโรงเรียนเจียหมินขึ้น ต่อมาจึงมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินออกเป็นแปลงย่อยหลังจากนางเฮียงถึงแก่กรรมเพื่อแบ่งมรดกที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 จำเลย และพี่น้องคนอื่นโจทก์ที่ 1 ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่เป็นโรงเรียนเจียหมิน ซึ่งต่อมาได้โอนกิจการให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการจนถึงปัจจุบัน ในการเข้าออกโรงเรียนเจียหมินนั้น นักเรียน ผู้ปกครอง โจทก์ที่ 1 บริวารโจทก์ที่ 1 และประชาชนทั่วไปได้เดินหรือใช้รถยนต์ผ่านที่ดินของจำเลยด้านทิศใต้บางส่วนไปทางทิศตะวันออกจนจดที่ดินของนายบรรชิต เพื่อออกสู่ถนนเจ้าสำอางค์อันเป็นถนนสาธารณะ มีความกว้างประมาณ 6 ถึง 11 เมตร ยาวประมาณ 33 เมตร โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาจะให้เป็นทางภาระจำยอมติดต่อกันมาประมาณ 50 ปี แล้ว ตั้งแต่นางเฮียงยังมีชีวิตอยู่ จนกระทั่งเมื่อประมาณต้นเดือนกันยายน 2543 จำเลยได้สร้างประตูเหล็กกว้าง 6 เมตร ปิดกั้นทางเข้าออกด้านทิศตะวันออกและสร้างรั้วลวดหนามยาว 18 เมตร ปิดกั้นทางเข้าออกด้านทิศใต้ในที่ดินของจำเลย ทำให้โจทก์ที่ 1 พร้อมบริวาร นักเรียน ผู้ปกครอง และเพื่อนบ้านใกล้เคียง ตลอดจนประชาชนทั่วไปไม่สามารถใช้ทางดังกล่าวเข้าออกถนนเจ้าสำอางค์ได้ และหากเกิดอัคคีภัยหรือภัยพิบัติอย่างใดแก่โรงเรียนเจียหมิน รถดับเพลิงหรือรถพยาบาลจะไม่สามารถเข้าออกได้สะดวก อันจะทำให้เกิดความเดือนร้อนเสียหายแก่นักเรียนอย่างมาก จึงขอให้ศาลมีคำสั่งว่าทางเดินเข้าออกกว้างประมาณ 6 ถึง 11 เมตร ยาวประมาณ 33 เมตร บนที่ดินโฉนดเลขที่ 539 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ของจำเลยตามแผนที่พิพาทท้ายฟ้องหมายเลข 4 ที่ระบายด้วยสีส้มเป็นทางภาระจำยอม และมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนประตูเหล็กและรั้วลวดหนามที่เขียนด้วยหมึกสีแดงและสีม่วงในแผนที่พิพาทดังกล่าวออกโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย หากจำเลยเพิกเฉยก็ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการแทนโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

   จำเลยให้การว่า โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์ที่ 1 มิได้เป็นผู้ใช้ทางพิพาท แต่เป็นนักเรียนโรงเรียนเจียหมินซึ่งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการ ส่วนโจทก์ที่ 2 มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในสามยทรัพย์ที่จะฟ้องบังคับให้เปิดทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมได้และโจทก์ที่ 2 มิได้รับมอบอำนาจจากนายวิโรจน์ ผู้จัดการเนื่องจากนายวิโรจน์ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว นับตั้งแต่โรงเรียนเจียหมินดำเนินกิจการ นักเรียนได้ขออาศัยใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่หน้าบ้านจำเลยเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณะตลอดมาโดยไม่มีพฤติการณ์เปลี่ยนเจตนาเป็นปรปักษ์อันก่อให้เกิดภาระจำยอมแต่อย่างใด ทั้งจำเลยได้ปิดประกาศโดยเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปว่าทางพิพาทเป็นถนนส่วนบุคคลมาตั้งแต่ปี 2503 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นทางพิพาทจึงไม่ตกเป็นภาระจำยอมโดยผลแห่งกฎหมาย ปัจจุบันจำเลยยังอนุญาตให้นักเรียนอาศัยเดินผ่านทางพิพาทโดยมิได้กั้นหรือหวงห้ามตามที่โจทก์ฟ้อง นอกจากนี้ครูโรงเรียนเจียหมินยังสามารถใช้เส้นทางด้านทิศเหนือออกสู่ทางสาธารณะได้อีกทางหนึ่งด้วย ขอให้ยกฟ้อง

   ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ทางเดินในที่ดินของจำเลยโฉนดเลขที่ 539 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ความกว้าง 6 ถึง 11 เมตร ยาวประมาณ 33 เมตร เป็นทางจำเป็นสำหรับโจทก์ที่ 2 ให้จำเลยเปิดทางดังกล่าวแก่โจทก์ที่ 2 เพื่อให้รถยนต์และบุคคลเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้สะดวกโดยไม่จำต้องรื้อถอนประตูเหล็กและรั้วลวดหนาม ให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 1 คำขออื่นให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
          โจทก์ที่ 1 และจำเลยอุทธรณ์

   ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จำเลยถึงแก่กรรมนางบุญช่วย ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งอนุญาต

 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ทางเดินเข้าออกกว้างประมาณ 6 ถึง 11 เมตร ยาว 33 เมตร บนที่ดินโฉนดเลขที่ 539 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ของจำเลยตามที่ระบายด้วยหมึกสีส้มในแผนที่พิพาทท้ายฟ้องหมายเลข 4 (เอกสารหมาย จ.6) เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองส่วนในการรื้อถอนรั้วเหล็กกั้นตามภาพถ่ายประตูทางเข้าทางพิพาทหมาย ล.1 ให้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 เบญจ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
          จำเลยฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์ที่ 1 จำเลยและนายบรรชิต เป็นบุตรของนางเฮียง และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 538, 539 และ 540 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามลำดับซึ่งเดิมที่ดินทั้งสามเป็นแปลงเดียวกันโดยเป็นกรรมสิทธิ์ของนางเฮียงตามแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.6 เมื่อปี 2490 นางเฮียงได้ก่อตั้งโรงเรียนเจียหมินโดยสร้างอยู่บนที่ดินด้านทิศตะวันตกมีทางเดินเข้าออกสู่ถนนเจ้าสำอางค์ไปทางทิศตะวันออกแล้วเลี้ยวไปทางทิศใต้ออกสู่ถนนเจ้าสำอางค์ โดยนางเฮียงได้แบ่งแยกที่ดินให้โจทก์ที่ 1 จำเลยและนายบรรชิตครอบครองที่ดินเป็นสัดส่วน ต่อมาเมื่อนางเฮียงถึงแก่ความตายจึงมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 จำเลย และนายบรรชิตดังกล่าว โดยโรงเรียนเจียหมินอยู่บนที่ดินโฉนด เลขที่ 538 ของโจทก์ที่ 1 ส่วนทางเดินเข้าออกของโรงเรียนเจียหมินอยู่บนที่ดินของจำเลยและนายบรรชิต โจทก์ที่ 1 ดูแลกิจการโรงเรียนเจียหมินจึงถึงปี 2525 จึงโอนกิจการให้โจทก์ที่ 2 ดำเนินการ แต่มิได้โอนกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 ครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเจียหมินใช้ทางพิพาทที่ผ่านที่ดินโจทก์ที่ 1 จำเลยและนายบรรชิตออกสู่ถนนเจ้าสำอางค์ตลอดมาเป็นเวลา 50 ปี จำเลยได้ทำประตูและรั้วลวดหนามปิดกั้นทางเข้าออกดังกล่าว ทำให้โจทก์ที่ 1 ครู นักเรียนและผู้ปกครองไม่สามารถใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทดังกล่าวได้ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในประเด็นแรกว่าโจทก์ที่ 2 มีอำนาจฟ้อง หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 บัญญัติให้ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังริมทรัพย์ ฉะนั้นผู้ที่จะฟ้องบังคับภาระจำยอมจำต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้ดำเนินกิจการโรงเรียนเจียหมิน ซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 538 ของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้เปิดทาง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยมาศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปว่า โจทก์ที่ 1 และบริวารใช้ทางพิพาทโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาจะให้ได้สิทธิภาระจำยอมติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี หรือไม่ โจทก์ที่ 1 นำสืบว่าหลังจากนางเฮียงมารดาของโจทก์ที่ 1 ก่อตั้งโรงเรียนเจียหมินบนที่ดินของโจทก์ที่ 1 แล้วได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกโรงเรียนสู่ถนนเจ้าสำอางค์มาตลอด และนายชาญชัย พยานโจทก์ที่ 1 เบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยว่า จำเลยยินยอมให้โรงเรียนใช้ทางพิพาทตลอดมา นอกจากนี้นางวิจิตร ผู้จัดการมรดกของนางเฮียงและพี่สาวของโจทก์ที่ 1 จำเลยและนายบรรชิตเบิกความว่าบิดามารดาสั่งให้พี่น้องทุกคนใช้ทางพิพาทร่วมกัน รวมทั้งครูและนักเรียนด้วย บรรดาทายาทของนางเฮียงจึงทำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางพิพาท จึงเป็นการใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของมารดาโจทก์ที่ 1 และสิทธิของจำเลย ทั้งโจทก์ที่ 1 มิได้นำสืบให้ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้เปลี่ยนเจตนาการใช้ทางพิพาทโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาจะให้ได้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทแต่อย่างใด แม้โจทก์ที่ 1 จะใช้ทางพิพาทเป็นเวลาติดต่อกันกว่า 50 ปี ก็หาได้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทไม่ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น กรณีจึงไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นอีกเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง"

          พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ

        หมายเหตุ 

  โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 เป็นโจทก์ร่วมกัน ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 ให้เป็นโจทก์ร่วมกันได้ถ้าบุคคลนั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี แต่โจทก์แต่ละคนต้องเป็นผู้ที่ถูกโต้แย้งสิทธิซึ่งมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 55 อยู่แล้ว เพียงมาเป็นโจทก์ร่วมกันตามมาตรา 59 เท่านั้น เมื่อโจทก์ที่ 2 มิใช่เจ้าของที่ดินไม่มีอำนาจฟ้องให้เปิดทางภาระจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 โจทก์ที่ 2 ก็เป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ที่ 1 โดยอาศัยมาตรา 59 ไม่ได้

ไพโรจน์ วายุภาพ
 
   มาตรา 1387  อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภารจำยอมอันเห็นเหตุ ให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงด เว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่ อสังหาริมทรัพย์อื่น

          




ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

อำนาจฟ้องคดี ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองไม่ได้
ครอบครองที่ดินมรดกตกทอดหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่
นับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้
ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี -ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คลองสาธารณะไม่ได้ใช้สัญจรไม่ทำให้สิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะได้
การโอนกรรมสิทธิ์ในระยะที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์กระทบสิทธิครอบครอง
อุทิศที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างถนนสาธารณะแล้วจะขอเรียกคืน
ได้กรรมสิทธิ์ตาม มาตรา 1382 เพราะเจ้าของสละแล้ว
ความแตกต่างของทางจำเป็นกับภาระจำยอม
ทางออกมีที่ดินสูงชันขวางอยู่ขอให้เปิดทางจำเป็นได้
ค่าทดแทนการใช้ทางเดือนละเท่าไหร่เหมาะสม
ฟ้องขอให้เปิดทางจำแต่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นตกลงจดภาระจำยอมให้
เจ้าของที่ดิน น.ส. 3 ก ออกเอกสารสิทธิทับที่ดินมีโฉนดอ้างครอบครองปรปักษ์
ใช้ทางโดยสำคัญผิดว่าทางนั้นอยู่ในที่ดินของตนกว่า10 ปีได้ภาระจำยอม
การใช้สิทธิวางท่อน้ำ,สายไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น
ครอบครองโดยสำคัญผิดได้กรรมสิทธิ์โดยปรปักษ์หรือไม่?
ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า
จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย
เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่?
ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ
ยึดถือที่ดินเพื่อตนกับมีชื่อในทะเบียนสิทธิใดดีกว่า?
ตกเป็นภาระจำยอมแล้วจึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่
ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?
คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด
เพิกถอนโฉนดที่ดินออกทับที่ดินของผู้มีสิทธิครอบครอง
ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ
ครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ซื้อมาไม่จดทะเบียน
ตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 3-(ต่อ)
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 2-(ต่อ)
เหตุตามกฎหมายทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ให้จดภาระจำยอม
มีทางออกสู่ทางสาธารณะอื่นทางจำเป็นที่สิ้นความจำเป็นแล้ว
การยึดถืออย่างสิทธิครอบครอง กับครอบครองเจตนาเป็นเจ้าของ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 4-(ต่อ)
ทางที่ประชาชนเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้าม
ทางจำเป็นคืออะไร | เงินค่าทดแทนใช้ทาง article
แม้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมไม่บริบูรณ์แต่มีสิทธิได้โดยอายุความ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม
ยกเลิกภาระจำยอมได้ไหม?
ที่ดินตาบอดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ขอเปิดทางจำเป็น
การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ-การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์-การครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ
ที่ดินแบ่งแยกเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกมีสิทธิเรียกให้เปิดทางจำเป็น
สัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากคู่ความฉ้อฉล
ปรปักษ์ใช้ยันผู้ได้สิทธิมาโดยจ่ายค่าซื้อที่ดินและจดทะเบียนโอนแล้วไม่ได้
รับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต
ตกลงยินยอมให้ใช้ทางเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน
การครอบครองปรปักษ์กับการนับเวลาการครอบครองต่อเนื่องต่อจากเจ้าของเดิม
ผู้ขายสละการครอบครอง ผู้ซื้ออ้างครอบครองปรปักษ์ได้
ขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก
เจ้าของที่ดินจำต้องยอมให้ที่ดินมีแนวเขตติดต่อวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าได้
ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นแต่ระหว่างพิจารณาคดีได้สิทธิภาระจำยอมแปลงอื่น
กรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง
ครอบครองอาศัยสิทธิไม่บอกเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ
ภาระจำยอมคืออะไร การใช้ทางโดยไม่มีใครห้ามและไม่ต้องรับอนุญาต
ได้กรรมสิทธิ์ปรปักษ์แล้วไม่ได้จดทะเบียนการได้มา
ต่อสู้คดีอ้างครอบครองปรปักษ์แต่ขาดเจตนาเป็นเจ้าของ10 ปี
การใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านโดยถือวิสาสะไม่ได้ภาระจำยอม