ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

ทายาททุกคนตกลงมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม

สิทธิเรียกร้องมรดกของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่? ที่จำเลยได้รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นมรดกก็เนื่องจากทายาททุกคนตกลงมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้นำไปขายแล้วนำเงินมาแบ่งแก่ทายาท จำเลยจึงครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วมกันดังกล่าว แม้จำเลยขายที่ดินมรดกนี้ไปก็ถือว่า จำเลยยังครอบครองเงินที่ขายแทนทายาททุกคนเพื่อการแบ่งปันกัน อายุความตัดสิทธิในระหว่างทายาทด้วยกันยังไม่เริ่มนับ เพราะการแบ่งปันทรัพย์มรดกนี้ยังไม่เสร็จสิ้น จำเลยจะยกอายุความมาต่อสู้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  9787/2552

  จำเลยได้รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกของเจ้ามรดกมา ก็เนื่องจากทายาททุกคนตกลงมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้นำไปขายแล้วนำเงินมาแบ่งแก่ทายาท ดังเห็นได้จากที่จำเลยแบ่งเงินที่ขายให้แก่ทายาทบางคนตามสิทธิในเวลาต่อมา จำเลยจึงครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วมกันดังกล่าว ดังนั้น แม้ปรากฏว่าในวันที่ 1 มิถุนายน 2537 จำเลยขายที่ดินมรดกนี้ไปก็เป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น ถือว่าจำเลยยังครอบครองเงินที่ขายแทนทายาททุกคนเพื่อการแบ่งปันกันอายุความตัดสิทธิในระหว่างทายาทด้วยกันยังไม่เริ่มนับเพราะการแบ่งปันทรัพย์มรดกนี้ยังไม่เสร็จสิ้น จำเลยจะยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสองและวรรคท้ายมาต่อสู้โจทก์หาได้ไม่

โจทก์ฟ้องโดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 9,945,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 7,020,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ

  จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง

    ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 3,295,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2537 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 6,000 บาท สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมศาลที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ให้จำเลยนำมาชำระต่อศาลในนามของโจทก์

    จำเลยอุทธรณ์

   ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 3,000 บาท แทนโจทก์

          จำเลยฎีกา
          ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ถึงแก่ความตาย นายธนพร ผู้จัดการมรดกของโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลฎีกาอนุญาต

    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความต่างมิได้โต้เถียงกันรับฟังเป็นยุติในชั้นนี้ว่า นายทองดี กับนางส่วนหรือสาด บัวพ่วง เจ้ามรดก เป็นสามีภริยากัน มีบุตรด้วยกัน 5 คน ได้แก่ จำเลยซึ่งเป็นบุตรคนโต โจทก์ นายฉวี ปัจจุบันบวชเป็นพระฉายา “ สุทธิ ญาโณ ” และนายไสว กับนายสวัสดิ์ ซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้ว นายทองดีบิดาของโจทก์จำเลยถึงแก่ความตายไปนานแล้ว ต่อมาวันที่ 2 พฤษภาคม 2521 นางส่วนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย มีทรัพย์มรดกเป็นที่ดินหลายแปลงและแบ่งให้แก่ทายาทไปแล้ว คงเหลือทรัพย์มรดกที่พิพาทกันในคดีนี้เป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 737 ตำบลบางรักใหญ่ ( บางไผ่ ) อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา และจำเลยได้รับโอนทางมรดกเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2534 ต่อมาในวันที่ 20 ธันวาคม 2536 จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงดังกล่าวกับนายฤทธิศักดิ์ ในราคา 20,475,000 บาท ครั้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2537 จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่บริษัทอักษราราชธานี จำกัด ผู้ซื้อไป หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2539 จำเลยบริจาคเงินจำนวน 4,000,000 บาท ให้แก่วัดบางรักใหญ่ เพื่อใช้ในการสร้างศาลาอเนกประสงค์โดยระบุชื่อโจทก์และนายฉวี เป็นผู้บริจาค รายละเอียดปรากฏตามใบอนุโมทนาบัตร ต่อมาวัดบางรักใหญ่ได้สร้างศาลาอเนกประสงค์เสร็จแล้วโจทก์จำเลยและทายาทอื่น ๆ ได้ประกอบพิธีฉลองศาลาอเนกประสงค์ ส่วนเงินที่ขายมรดกที่ดินพิพาทหลังจากหักเงินบริจาค 4,000,000 บาท ดังกล่าวแล้ว คงเหลือเพียง 16,475,000 บาท

          คดีมีปัญหาตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า การที่จำเลยนำเงินจากการขายที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่ โจทก์จำเลยและทายาททุกคนในกองมรดกของนางส่วนหรือสาด เจ้ามรดก เฉพาะส่วนจำนวน 4,000,000 บาท ไปบริจาคทำบุญให้แก่วัดบางรักใหญ่ ตามใบอนุโมทนาบัตรเป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์หรือไม่ เห็นว่า โจทก์มีฐานะยากจนโดยได้ความจากพระครูนนทการ โกศล เจ้าอาวาสวัดบางรักใหญ่ ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่ว่า พยานรู้จักโจทก์เพราะโจทก์เคยเป็นภารโรงอยู่ที่โรงเรียนวัดบางรักใหญ่ ปัจจุบันโจทก์ไปอาศัยข้าววัดรับประทาน ดังนั้น แม้โจทก์จะรับรู้และไปร่วมงานฉลองศาลาที่ก่อสร้างจากเงินบริจาคดังกล่าวตามข้อฎีกาของจำเลย แต่เมื่อคำนึงถึงเงินบริจาคเป็นจำนวนถึง 4,000,000 บาท นับว่าเป็นเงินจำนวนสูงมากเปรียบเทียบกับฐานะความเป็นอยู่ของโจทก์แล้ว ไม่น่าเชื่อว่าโจทก์จะมอบหมายให้จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าว อันเป็นส่วนมรดกของโจทก์เองผู้เดียวไปทำบุญอุทิศให้แก่วัดในขณะที่โจทก์กลับมีฐานะยากจน ที่สำคัญพระสุทธิ ญาโณ (นายฉวี) พยานโจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งในกองมรดกเบิกความยืนยันว่าพยานทราบว่า จำเลยซึ่งเป็นพี่ชายคนโตบริจาคเงินให้แก่วัดโดยถือเป็นเงินบริจาคของพี่น้องทุกคน ซึ่งพยานโจทก์ปากนี้เป็นพยานคนกลาง และเบิกความในทางเสียประโยชน์แก่ตน จึงน่าเชื่อถือ ข้อเท็จจริงเชื่อได้ว่าพี่น้องของโจทก์จำเลยซึ่งต่างเป็นทายาทในกองมรดกตกลงให้จำเลยนำเงินที่ขายมรดกที่ดินพิพาทดังกล่าวไปใช้ในงานฌาปนกิจศพเจ้ามรดกและบริจาคบางส่วนให้แก่วัดตามจำนวนเงินบริจาคในใบอนุโมทนาบัตร หาใช่โจทก์เป็นฝ่ายขอให้จำเลยนำเงินตามสิทธิส่วนได้ของโจทก์ในทรัพย์มรดกพิพาทไปบริจาคทำบุญตามใบอนุโมทนาบัตรดังกล่าวตามข้อต่อสู้ของจำเลยไม่ ดังนั้น เมื่อเงินขายที่ดินมรดกหลังจากหักเงินบริจาคแล้วคงเหลือเพียง 16,475,000 บาท จำเลยจึงต้องแบ่งแก่โจทก์ 1 ใน 5 ส่วน ถูกต้องตามที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาประการนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น

  ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการสุดท้ายมีว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามฟ้องขาดอายุความแล้วหรือไม่ ในปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่พิพากษามาโดยวินิจฉัยว่า ในปี 2534 ที่จำเลยได้รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกของเจ้ามรดกมาก็เนื่องจากทายาททุกคนตกลงมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้นำไปขายแล้วนำเงินมาแบ่งแก่ทายาทดังเห็นได้จากที่จำเลยแบ่งเงินที่ขายให้แก่ทายาทบางคนตามสิทธิในเวลาต่อมา จำเลยจึงครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วมกันดังกล่าว ดังนั้น แม้ปรากฏว่าในวันที่ 1 มิถุนายน 2537 จำเลยขายที่ดินมรดกนี้ไป ก็เป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น ถือว่า จำเลยยังครอบครองเงินที่ขายแทนทายาททุกคนเพื่อการแบ่งปันกัน อายุความตัดสิทธิในระหว่างทายาทด้วยกันยังไม่เริ่มนับ เพราะการแบ่งปันทรัพย์มรดกนี้ยังไม่เสร็จสิ้น จำเลยจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสองและวรรคท้ายมาต่อสู้โจทก์หาได้ไม่ ฎีกาในประการนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน ส่วนที่โจทก์ขอในคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกาให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 3,500,000 บาท นั้น โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์และฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามลำดับ โจทก์จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกาดังกล่าวหาได้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1745 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทเหล่านั้นมีสิทธิและหน้าที่ เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันจนกว่าจะได้แบ่งมรดกกันเสร็จแล้ว และให้ใช้ มาตรา 1356 ถึง มาตรา 1366 แห่งประมวลกฎหมายนี้บังคับ เพียงเท่าที่ไม่ ขัดกับบทบัญญัติแห่งบรรพนี้

มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม

ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียก ร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้ นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้อง ร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย         




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ article
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก article
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก