ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงอายุความ 5 ปียังไม่เริ่มนับ

ทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกอ้างว่าจัดการมรดกโดยทำบัญชีทรัพย์มรดกและแบ่งมรดกไม่ถูกต้องเป็นธรรม จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก อายุความที่มิให้ทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงนั้น เมื่อปรากฏว่ายังมีทรัพย์มรดกหลายรายการที่ผู้จัดการมรดกจะต้องแบ่งให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง จึงยังไม่อาจเริ่มนับอายุความตามบทกฎหมายดังกล่าว และโดยเหตุที่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ต้องรับผิดต่อทายาทในลักษณะตัวการตัวแทน การที่ผู้จัดการมรดกครอบครองที่ดินสองแปลง ซึ่งมีส่วนเป็นทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท ตัวผู้จัดการมรดกจะยกอายุความขึ้นต่อสู้ทายาทหาได้ไม่ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4116/2550

          โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ตามคำสั่งศาล อ้างว่าจำเลยจัดการมรดกโดยทำบัญชีทรัพย์มรดกและแบ่งมรดกไม่ถูกต้อง จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก กำหนดอายุความต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง เมื่อยังมีทรัพย์มรดกที่จำเลยจะต้องแบ่งให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง จึงยังไม่เริ่มนับอายุความตามบทกฎหมายดังกล่าว และโดยเหตุที่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 ในลักษณะตัวการตัวแทนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 809 ถึง 812, 819 และมาตรา 823 การที่จำเลยครอบครองที่ดินซึ่งมีส่วนเป็นทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยจะยกอายุความตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทหาได้ไม่

    โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสี่เป็นบุตรของนายบุญเลี้ยง รัชบุตร กับนางคำ รัชบุตร ซึ่งจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย เมื่อนางคำถึงถึงแก่ความตาย นายบุญเลี้ยงสมรสใหม่กับจำเลยเมื่อปี 2517 และมีบุตรด้วยกัน 2 คน วันที่ 24 กันยนยน 2541 นายบุญเลี้ยงถึงแก่ความตาย ศาลจังหวัดอุดรธานีมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนายบุญเลี้ยงเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2542 ต่อมาจำเลยทำบัญชีทรัพย์มรดกส่งให้โจทก์ทั้งสี่พร้อมแจ้งว่าจัดแบ่งทรัพย์มรดกเรียบร้อยแล้ว โดยโจทก์ทั้งสี่ได้รับส่วนแบ่งคนละ 10,059.32 บาท ซึ่งไม่ถูกต้อง เนื่องจากยังมีทรัพย์มรดกอยู่ในครอบครองของจำเลยที่ไม่ได้ระบุไว้ในบัญชีทรัพย์มรดก คือที่ดินโฉนดเลขที่ 13809 และ 13804 ที่ดินปลูกบ้านพร้อมสิ่งปลูกสร้าง รถไถนาชนิดเดินตาม และทรัพย์สินที่ระบุไว้ในบัญชีทรัพย์มรดกแล้วแต่ยังไม่ได้แบ่ง คือรถยนต์ยี่ห้อดัทสัน 1 คัน ปืน 2 กระบอก และรถจักรยานยนต์ 1 คัน รวมราคาประมาณ 2,650,250 บาท ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นเป็นสินสมรสของนายบุญเลี้ยงกับจำเลย จึงเป็นทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่งราคาประมาณ 1,325,125 บาท ซึ่งต้องแบ่งให้แก่ทายาท 7 คน โจทก์ทั้งสี่จะได้รับส่วนแบ่งคนละ 189,303 บาท รวมเป็นเงิน 754,214 บาท (ที่ถูก 357,212 บาท) ขอให้บังคับจำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของนายบุญเลี้ยงแก่โจทก์ทั้งสี่คนละส่วนหรือแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสี่เป็นเงิน 754,214 บาท หากตกลงแบ่งกันไม่ได้ ให้นำทรัพย์มรดกดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสี่คนละส่วน

    จำเลยให้การว่า จำเลยทำบัญชีทรัพย์มรดกถูกต้องแล้ว ที่ดินโฉนดเลขที่ 13809 และ 13804 และรถไถนาชนิดเดินตามมิใช่ทรัพย์มรดก แต่เป็นสินส่วนตัวของจำเลย ส่วนที่ดินปลูกบ้านพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นทรัพย์สินที่นายบุญเลี้ยงยกให้จำเลยก่อนตาย จำเลยครอบครองที่ดินดังกล่าวมา 10 ปี และครอบครองรถไถนาชนิดเดินตามมา 3 ปี โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกเกินกว่า 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจัดการแบ่งทรัพย์มรดกของนายบุญเลี้ยง  คือที่ดินโฉนดเลขที่ 13804 และ 13809 ตำบลบ้านถิ่น อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู รถไถนาชนิดเดินตาม รถยนต์ยี่ห้อดัทสัน 1 คัน ปืน 2 กระบอก และรถจักรยานยนต์ 1 คัน ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ หากตกลงแบ่งกันไม่ได้ ให้นำทรัพย์มรดกดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสี่ ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสี่ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท คำขออื่นให้ยก

          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 8,000 บาท แทนโจทก์ทั้งสี่

  จำเลยฎีกา

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีนี้จำเลยยื่นฎีกาภายในกำหนดฎีกาโดยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 เฉพาะปัญหาเรื่องอายุความ ศาลชั้นต้นเห็นว่าฎีกาของจำเลยมีข้อความไม่ถูกต้องและสั่งให้จำเลยทำฎีกามาใหม่ จำเลยยื่นฎีกาฉบับใหม่โดยมีประเด็นอื่นเพิ่มเติม ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะแต่ข้อที่เกี่ยวกับอายุความ ส่วนฎีกาข้ออื่นถือว่ายื่นล่วงพ้นกำหนดฎีกาจึงไม่รับ คงมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเพียงว่า คดีโจทก์ในส่วนที่ฟ้องขอแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 13804 และ 13809 ตำบลบ้านถิ่น อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ขาดอายุความหรือไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ว่า โจทก์ทั้งสี่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายบุญเลี้ยง รัชบุตร กับนางคำ รัชบุตร เมื่อนางคำถึงแก่ความตาย นายบุญเลี้ยงสมรสกับจำเลยและอยู่กินฉันสามีภริยาจนมีบุตรด้วยกัน 2 คน ต่อมานายบุญเลี้ยงถึงแก่ความตาย จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนายบุญเลี้ยงตามคำสั่งศาล ที่ดินโฉนดเลขที่ 13804 และ 13809 เป็นสินสมรสของนายบุญเลี้ยงกับจำเลย ทรัพย์สินดังกล่าวกึ่งหนึ่งตกเป็นมรดกของนายบุญเลี้ยงที่จำเลยฎีกา นายบุญเลี้ยงมิได้ทำพินัยกรรม มรดกที่ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของนายบุญเลี้ยงหมายถึงแต่เฉพาะทรัพย์สินที่ระบุไว้ในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก การที่จำเลยครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 13804 และ 13809 ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จึงไม่ถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินในฐานะผู้จัดการมรดกแทนทายาทอื่นรวมทั้งโจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีเกิน 1 ปี จึงขาดอายุความนั้น เห็นว่า โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของนายบุญเลี้ยงตามคำสั่งศาล อ้างว่าจำเลยจัดการมรดกโดยทำบัญชีทรัพย์มรดกและแบ่งมรดกไม่ถูกต้อง จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก กำหนดอายุความต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง เมื่อปรากฏว่ายังมีทรัพย์มรดกหลายรายการที่จำเลยจะต้องแบ่งให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง จึงยังไม่อาจเริ่มนับอายุความตามบทกฎหมายดังกล่าว และโดยเหตุที่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ต้องรับผิดต่อทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 ในลักษณะตัวการตัวแทนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 809 ถึง 812, 819 และมาตรา 823 การที่จำเลยครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 13804 และ 13809 ซึ่งมีส่วนเป็นทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทหาได้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ทั้งสี่ไม่ขาดอายุความ จึงชอบแล้ว”

   พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความ 5,000 บาท แทนโจทก์ทั้งสี่

 มาตรา 1754  ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม
ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อนๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย

 มาตรา 1733  การให้อนุมัติ การปลดเปลื้องความรับผิด หรือข้อตกลงอื่นๆ อันเกี่ยวกับรายงานแสดงบัญชีการจัดการมรดกดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1732 นั้น จะสมบูรณ์ต่อเมื่อรายงานแสดงบัญชีนั้นได้ส่งมอบล่วงหน้าแก่ทายาทพร้อมด้วยเอกสารอันเกี่ยวกับการนั้นไม่น้อยกว่าสิบวันก่อนแล้ว

คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง

 มาตรา 1720  ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 809 ถึง 812, 819, 823 แห่งประมวลกฎหมายนี้โดยอนุโลม และเมื่อเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ใช้มาตรา 831 บังคับโดยอนุโลม 




คดีมรดก ร้องศาลตั้งผู้จัดการมรดก

การแบ่งมรดกที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิ article
คดีมรดกต้องเป็นคดีที่ทายาทด้วยกันพิพาทกันเรื่องสิทธิในส่วนแบ่งมรดก article
ขอให้ศาลสั่งถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดของผู้ตาย
แสดงบัญชีเครือญาติเป็นเท็จปิดบังจำนวนทายาท
อายุความคดีมรดกสะดุดหยุดลง การแบ่งทรัพย์มรดกไม่ชอบ
ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฟ้องเอาทรัพย์มรดกจากทายาทอื่นที่ครอบครองแทนใน 1 ปี
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์กองมรดกเรียกส่วนแบ่งเป็นโมฆะ
คดีฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมปลอมและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่เพียงทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี
ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันฟังคำสั่งศาล
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอายุความ 5 ปี
การแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน
ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
การที่จะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่น
พินัยกรรมเอกสารลับทำผิดแบบเป็นโมฆะ
การจัดการมรดกไม่ชอบไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว
การจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกตามหน้าที่ที่จำเป็น
คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกปิดบังทรัพย์มรดกมีผลอย่างไร
ทายาทมิได้ฟ้องเรียกร้องมรดกภายใน 1 ปี
ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้มีส่วนได้เสีย
สามีไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้
ทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาททุกคน-การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น
บุคคลผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มีผลอย่างไร?
ฟ้องผู้จัดการมรดกนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงเกินห้าปีขาดอายุความ
ผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลถูกเพิกถอนได้
อายุความคดีมรดก เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเกินหนึ่งปี
คดีของโจทก์ขาดอายุความการจัดการมรดก
บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดาน
มารดาขายที่ดินซึ่งผู้เยาว์มีส่วนแบ่งไม่ต้องขอศาล
นายอำเภอคือผู้มีอำนาจจัดทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ความรับผิดของผู้จัดการมดกภายหลังการเสียชีวิต
ผู้จัดการมรดกร่วมนำทรัพย์มรดกหาประโยชน์แก่ตน
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่-ทายาทผู้มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกได้
ผู้สืบสันดาน คือใคร? ต่างกับทายาท อย่างไร?
คู่สมรสและการแบ่งมรดกของคู่สมรส | การสมรสเป็นโมฆะ
อายุความคดีมรดก และอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก
เหตุอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
การปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้วการถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลา
สามีมิได้จดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นทายาทของภริยาผู้ตาย
อำนาจหน้าที่จัดการศพพระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สิน
สามีไม่จดทะเบียนสมรสขอถอนผู้จัดการมรดก มีกรรมสิทธิ์รวม
ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก
อำนาจฟ้องขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ทายาททุกคนมอบหมายให้ครอบครองที่ดินแทนทายาททุกคนเพื่อประโยชน์ร่วม
ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300
ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก
ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความแล้ว
ทายาทมีส่วนเท่ากันออกค่าใช้จ่ายจัดการทำศพ
ความเหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น
สิทธิของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกตกเป็นโมฆะหรือไม่?
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพและลำดับก่อนหลัง
พินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
ผู้จัดการมรดกฟ้องแทนทายาทโดยธรรมอื่น
คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าแล้วเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายจึงขาดความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
แม้กองมรดกมีผู้จัดการมรดกแล้วทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้อง
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไม่ได้ทำต่อหน้าพยานตกเป็นโมฆะ
บุตรนอกสมรสและบิดานอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกต่อกันอย่างไร
ผู้จัดการมรดก | ทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
ผู้จัดการมรดกเรียกให้เจ้าของรวมส่งมอบโฉนดที่ดิน
สิทธิรับมรดกก่อนหลัง
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
อายุความฟ้องคดีแพ่งอันเนื่องจากคดียักยอกทรัพย์มรดก
เมื่อแบ่งมรดกเสร็จแล้วความเป็นทายาทสิ้นสุดลง-อายุความมรดก