ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร

กฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 1461 บัญญัติไว้ว่า สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา และสามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน ในกรณีที่สามีภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน เป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควร ฝ่ายที่เดือดร้อนเกินควรอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้

การไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูรวมหมายถึงการไม่ช่วยปฏิบัติหน้าที่ในครอบครัว ไม่ให้สิ่งจำเป็นในการดำรงชีพ สำหรับพฤติการณ์ที่จะถือว่าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตามสมควรนั้น กฎหมายไม่ได้ระบุขอบเขตว่าจะต้องถึงขนาดไหนจึงจะเรียกว่าเดือดร้อนเกินควร เมื่อเอาสภาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบด้วย และมีสิทธิอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ ตัวอย่างกรณีที่สามีต้องจ่ายเงินให้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ภริยาทุกเดือนเมื่อเงินเดือนออก  ถ้าสามีไม่จ่ายเดือนใด แต่ภริยาก็ยังมีเงินเหลือที่จะจับจ่ายใช้สอยอยู่ไม่ถึงกับอดๆ หยาก ๆขัดสนอย่างนี้จะถือว่าสามีไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตามสมควรไม่ได้ หรือในกรณีที่ภริยาแยกตัวออกไปอยู่ต่างหากเองโดยที่สามีไม่ได้ขับไสไล่ส่ง ซึ่งในระหว่างที่ภริยาแยกตัวออกไปสามีไม่ได้ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งไม่ใช่ความผิดของสามี กรณีนี้ภริยาจะอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าว่าสามีไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตามสมควรหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2519 

-ภริยาแยกจากสามีไปเอง มิใช่เพราะสามีขับไล่ สามีไม่เลี้ยงดูในระหว่างนั้น ไม่ใช่ความผิดของสามีที่ภริยาจะอ้างเป็นเหตุหย่า

กรณีที่สามีไม่จ่ายเงินให้ภริยาดังเช่นเคยปฏิบัติแต่ก็มอบเงินให้ลูกและแม่บ้านไว้ใช้จ่ายตามความจำเป็น ภริยาก็ได้ใช้เงินนั้นไม่เดือดร้อน ถือไม่ได้ว่าสามีไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตามสมควร อ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  853/2520 

-สามีไม่จ่ายเงินให้ภริยาเหมือนแต่ก่อน แต่ได้มอบเงินให้ลูกหรือคนใช้ไว้ใช้จ่ายในบ้าน ภริยาได้ใช้เงินนั้นไม่เดือดร้อนไม่เป็นการไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตามควร ไม่เป็นเหตุหย่าตาม มาตรา 1500(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2524

จำเลยซึ่งเป็นสามีถูกคนร้ายยิงหัวเข่าจนพิการงอขาไม่ได้ ต้องพักรักษาตัวอยู่กับบ้านไม่ได้ประกอบอาชีพอะไรนั้น สามีไม่อยู่ในฐานะที่จะอุปการะเลี้ยงดูภริยาได้ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้เป็นภริยาที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยผู้เป็นสามีตามมาตรา 1461 วรรคสอง ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์จึงฟังไม่ได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3608/2531

  หลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว จำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุให้เกิดความระหองระแหงในครอบครัว ด้วยการไปรับบุตรสาวซึ่งเกิดจากภริยาเก่ามาเลี้ยงดูอยู่ในบ้านเดียวกัน อันเป็นการผิดถ้อยคำพูดที่จำเลยเคยให้ไว้แก่โจทก์ว่าจำเลยไม่เคยมีภริยาและบุตรมาก่อนแล้วหลังจากนั้นจำเลยก็ไม่จ่ายเงินเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และครอบครัวเช่นที่เคยปฏิบัติมา เป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินเดือนแต่ละเดือนของโจทก์มาใช้จ่ายเลี้ยงดูครอบครัวจำเลยเกือบหมดทั้งจำเลยยังติดต่อกับภริยาเก่าและแสดงกิริยาวาจาเหยียดหยามมารดาของโจทก์จนกระทั่งโจทก์ไม่สามารถอยู่ร่วมกับจำเลยต่อไปได้เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามสมควรอันประกอบด้วยเหตุอื่น ๆ อีกถึงขนาดที่โจทก์เดือดร้อนเกินสมควรที่โจทก์จะอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยากับจำเลยต่อไปได้อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(6) การหย่าโดยคำพิพากษานั้น พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 16 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่านั้นไว้ในทะเบียน โดยคู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียนอีก ศาลจึงไม่ต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา
 
  โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยจำเลยไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ และกระทำการเหยียดหยามบุพการีของโจทก์ ขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ถ้าจำเลยไม่จดทะเบียนหย่าให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา

จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงเป็นอันรับฟังได้ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ว่า โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนสมรสและอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2524 ที่บ้านเลขที่ 1583/16 ซอยเกษมสุวรรณ แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสานกรุงเทพมหานคร โดยมีคนในครอบครัว 6 คน คือโจทก์ จำเลย มารดาและพี่สาวจำเลย กับหลานจำเลยอีก 2 คน ระหว่างนั้นจำเลยได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์เดือนละ 1,500 บาท เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเลี้ยงดูโจทก์และครอบครัว ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2526 จำเลยได้นำบุตรสาวของจำเลยอายุประมาณ 5 ปี มาเลี้ยงดูที่บ้านเลขที่ 1583/16 ด้วย ทั้ง ๆ ที่เคยสัญญาแก่โจทก์ว่าจำเลยไม่เคยมีภริยาและบุตรมาก่อน หลังจากนั้นก็เกิดการระหองระแหงระหว่างโจทก์กับจำเลยเรื่อยมา และจำเลยไม่จ่ายเงินที่เคยจ่ายเดือนละ 1,500 บาทแก่โจทก์อีกเลย เป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินเดือนของโจทก์เดือนละ 4,400 บาท มาใช้จ่ายเลี้ยงดูครอบครัวของจำเลยเกือบหมด จำเลยยังติดต่อกับภริยาเก่าของจำเลย และได้แสดงกิริยาและวาจาเหยียดหยามมารดาของโจทก์มีปัญหาตามฎีกาของโจทก์ว่าเหตุดังกล่าวเพียงพอที่จะถือเป็นเหตุหย่าได้หรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า หลังจากโจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสและอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาแล้ว จำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุให้เกิดความระหองระแหงในครอบครัวด้วยการไปรับบุตรสาวซึ่งเกิดจากภริยาเดิมมาเลี้ยงดูอยู่ในบ้านเดียวกันอันเป็นการผิดถ้อยคำพูดที่จำเลยเคยให้ไว้แก่โจทก์ว่าจำเลยไม่เคยมีภริยาและบุตรมาก่อนแล้วหลังจากนั้นจำเลยก็ไม่จ่ายเงินเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และครอบครัวเช่นที่เคยปฏิบัติมา เป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินเดือนแต่ละเดือนของโจทก์มาใช้จ่ายเลี้ยงดูครอบครัวจำเลยเกือบหมดทั้งปรากฏว่าจำเลยยังติดต่อกับภริยาเก่าและแสดงกิริยาวาจาเหยียดหยามมารดาของโจทก์ จนกระทั่งโจทก์ไม่สามารถอยู่ร่วมกับจำเลยต่อไปได้เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามสมควรอันประกอบด้วยเหตุอื่น ๆ อีกถึงขนาดที่โจทก์เดือดร้อนเกินสมควรที่โจทก์จะอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยากับจำเลยต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(6) ศาลชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นแต่ที่โจทก์ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่า ถ้าไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้น เห็นว่าการหย่าโดยคำพิพากษาคู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียนอีกทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 16ก็บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องแล้วต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่านั้นไว้ในทะเบียนเท่านั้น จึงไม่จำต้องสั่งคำขอนี้ของโจทก์"

     พิพากษากลับ ให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันคำขออื่นให้ยก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2542

 โจทก์หนีออกจากบ้านมาเองโดยจำเลยมิได้ขับไล่หรือทอดทิ้งโจทก์แต่อย่างใด  ส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยชอบดื่มสุรา  เล่นการพนันและหาเรื่องทะเลาะวิวาทกับโจทก์เป็นประจำก็เป็นการเบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานอื่นมาสนับสนุน ไม่น่าเชื่อ  โจทก์จึงเป็นฝ่ายทำผิดหน้าที่ไม่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยากับจำเลย  นอกจากนี้โจทก์เองมีรายได้วันละ  120 บาท  มารดาโจทก์มีเงินจากการขายที่ดินเป็นจำนวนมาก ซึ่งโจทก์ก็รับว่าสามารถขอความช่วยเหลือทางการเงินจากมารดาได้ โดยไม่เดือดร้อนเกินควร  ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ  กรณีไม่เข้าเหตุฟ้องหย่าที่สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (6) โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย

มาตรา 1516  เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้


นายทะเบียนสามารถจดทะเบียนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141/2535

ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20ได้บัญญัติถึงการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไว้เป็นพิเศษว่า เมื่อศาลได้พิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ แสดงว่า การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนั้น นายทะเบียนสามารถจดทะเบียนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วได้ โดยไม่จำต้องอาศัยการแสดงเจตนาของจำเลยดังนั้น ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1557(3) ซึ่งสำหรับคดีนี้ต้องเริ่มนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นต้นไป คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีเด็กและเยาวชนก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยา โดยมิได้จดทะเบียนสมรสตั้งแต่เดือนกันยายน 2527 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2529จนโจทก์ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 4 เดือน จึงแยกทางกัน ต่อมาเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2529 โจทก์คลอดบุตรคือเด็กหญิง...โดยจำเลยให้คำรับรองว่า เป็นบุตรของจำเลยและให้ความอุปการะเลี้ยงดูเป็นครั้งคราวไม่สม่ำเสมอ แต่ยินยอมใช้นามสกุลของจำเลย การที่จำเลยไม่อุปการะเลี้ยงดูอย่างจริงจัง ทำให้โจทก์ได้รับความลำบากยากแค้นต้องบากบั่นหางานทำเลี้ยงดูบุตรตามลำพัง โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย ทั้งละเลยไม่จดทะเบียนรับรองว่าเด็กเป็นบุตรของจำเลย ขอให้พิพากษาว่า เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู เดือนละ 5,000 บาทนับแต่วันที่ศาลพิพากษาจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ

จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยรับรองว่าเด็กเป็นบุตรของจำเลยขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เด็กหญิง... ผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ให้จำเลยจดทะเบียนรับรองว่าผู้เยาว์เป็นบุตรหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีเด็กและเยาวชนพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์เป็นเงินเดือนละ 1,500 บาท นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะอีกส่วนหนึ่งด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเด็กและเยาวชนวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยนำสืบและตามรายงานของพนักงานคุมประพฤติฟังได้ในเบื้องต้นว่า จำเลยเคยร่วมประเวณีกับโจทก์ และเมื่อวันที่ 28มิถุนายน 2529 โจทก์คลอดเด็กหญิง..บุตรผู้เยาว์ ต่อมาวันที่ 15ธันวาคม 2529 โจทก์ได้ไปแจ้งการเกิดของผู้เยาว์ ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองอุบลราชธานี โดยนายทองปอน งามหลอด นายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองอุบลราชธานี เป็นผู้สอบสวนพยานหลักฐานไว้ตามเอกสารหมาย ป.จ.1 และ ป.จ.2...ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าการที่โจทก์ไปแจ้งเกิดผู้เยาว์จึงอยู่ในความรู้เห็นยินยอมของจำเลย ซึ่งเมื่อฟังประกอบกับข้อเท็จจริงที่ได้วินิจฉัยมาแล้วว่าโจทก์จำเลยได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาอย่างเปิดเผยในระยะเวลาที่โจทก์อาจตั้งครรภ์เด็กหญิง....ได้แล้วเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักรับฟังได้ว่า เด็กหญิง... เป็นบุตรของโจทก์ที่เกิดกับจำเลย

ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยข้อสุดท้าย คือเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูควรจะเป็นจำนวนเท่าใด โจทก์เบิกความว่า หลังจากคลอดเด็กหญิง...ได้ 2 เดือนเศษ จำเลยให้เงินค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นครั้งคราวครั้งละ 1,000 บาทเศษ โดยจำเลยให้คนสนิทคือนายวิชัยนำเงินมาให้ครั้งสุดท้ายจำเลยนำเงินมาให้ 1,000 บาท เมื่อเดือนกันยายน 2531จำเลยมีรายได้เดือนละ 20,000 บาทเศษ และนางมะลัยพยานโจทก์เบิกความว่า จำเลยให้เงินโจทก์ประมาณ 10 ครั้ง ๆ ละ 1,000 บาทเศษจำเลยเบิกความว่า มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด...ซึ่งค้าขายรถ จำเลยมีเงินเดือน เดือนละ 7,500 บาท พิเคราะห์แล้วได้ความจากนายวิชัยตอบทนายโจทก์ถามค้านว่าพยานทำงานอยู่กับจำเลยมา 10 ปีเศษ จำเลยมีธุรกิจการค้าหลายอย่าง เช่น กิจการโรงแรม....ซึ่งแสดงว่าจำเลยมีรายได้อื่น ๆ อีก นอกจากเงินเดือนในห้างหุ้นส่วนจำกัด... ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิง...เป็นเงินเดือนละ 1,500 บาท จึงพอสมควรเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งกรณีแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น แต่ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง...เป็นบุตร หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย นั้น เห็นว่าตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20 ได้บัญญัติถึงการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไว้เป็นพิเศษว่า เมื่อศาลได้พิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ แสดงว่า การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนั้น นายทะเบียนสามารถจดทะเบียนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วได้ โดยไม่จำต้องอาศัยการแสดงเจตนาของจำเลยแต่อย่างใด ดังนั้น ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง...เป็นบุตรหากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยและที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิง...นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา นั้น ก็เห็นว่าการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557(3) ซึ่งสำหรับคดีนี้ต้องเริ่มนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นต้นไปคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาแผนกคดีเด็กและเยาวชนก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาและให้ยกคำขอในส่วนที่บังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยด้วย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก article
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้ article
ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง article
สามีภริยาจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้างแต่ต้องเกิดจากความยินยอม article
ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ article
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า article
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา article
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส การจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรา(เงินสด) article
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า article
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว article
สิทธิฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี article
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง article
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา article
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล article
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี article
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด article
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
แยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า
เหตุหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้
พฤติการณ์อย่างไรเรียกว่ายกย่องเมียน้อยฉันภริยา
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
จดทะเบียนสมรสโดยต่างไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง
สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
สามีบังคับภริยาให้ยอมร่วมประเวณีโดยใช้มีดขู่ฆ่าอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
สำนักงานการปฏิรูปฯ (ส.ป.ก.)ขอออกโฉนดโดยมิชอบ
พักโรงแรมห้องเดียวกับสามี ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้โดยไม่ต้องฟ้องหย่า
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัดเรื่องชู้สาวจึงไม่เป็นการยินยอมและให้อภัยของโจทก์