ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์

บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม
ในคดีนี้ศาลเห็นว่า บิดา และมารดา ต่างก็มีความสามารถที่จะอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ แต่การที่บิดารับราชการครูย่อมไม่สะดวกในการเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เพราะบิดามีเวลาเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์เท่านั้น ส่วนมารดาอยู่ใกล้ชิดกับบุตรผู้เยาว์มาตั้งแต่คลอด บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาย่อมจะได้รับความอบอุ่นมากกว่า แม้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จะตกแก่มารดา แต่กฎหมายรับรองให้บิดามีสิทธิจะติดต่อกับบุตรผู้เยาว์ได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3035/2533
 
  โจทก์จำเลยต่างสามารถเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ แต่การให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับโจทก์เป็นการไม่สะดวก เพราะโจทก์กลับบ้านได้เฉพาะ วันเสาร์-อาทิตย์ ส่วนการให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาได้รับความอบอุ่นมากกว่าเพราะอยู่ใกล้ชิดตลอดเวลา จึงสมควรให้จำเลยเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์ และแม้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จะตกแก่จำเลยก็ตาม โจทก์มีสิทธิจะติดต่อกับบุตรผู้เยาว์ได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์ คดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ จำเลยจึงมีสิทธิฟ้องแย้งโจทก์ในนี้ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้อีก ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148.
 
มาตรา 1521  ถ้าปรากฏว่าผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามมาตรา 1520 ประพฤติตนไม่สมควร หรือภายหลังพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองโดยคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ
 
   โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภรรยาโดยจดทะเบียนสมรสมีบุตรด้วยกัน 1 คน จำเลยได้พาบุตรไปอยู่กับมารดาโดยจงใจทิ้งร้างโจทก์ จนบัดนี้เกินกว่า 1 ปีแล้ว ทั้งจำเลยเคยฟ้องหย่าโจทก์ จึงขอให้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยา และให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ โดยให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ให้โจทก์ภายในกำหนด 7 วัน

  จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยมิได้ทิ้งร้างโจทก์ เหตุที่จำเลยไปอยู่กับมารดาเพราะถูกโจทก์ทำร้ายทุบตี จำเลยมีเวลาพอที่จะเลี้ยงดูบุตรได้ดีกว่าโจทก์ ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 62/2528 ของศาลชั้นต้น เพราะเหตุอย่างเดียวกัน ขอให้ยกฟ้องโจทก์ และให้จำเลยแต่ผู้เดียวเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ กับให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูให้จำเลยเดือนละ 1,000 บาท จนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ

          โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้ง และแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่เคยทุบตีจำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 63/2528 ของศาลชั้นต้น จำเลยไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู จำเลยไม่มีอำนาจขอเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์ โจทก์สามารถเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ดีกว่าจำเลย

          ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า 1. ฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งจำเลยเป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 63/2528 ของศาลชั้นต้นหรือไม่  2. จำเลยทิ้งร้างโจทก์ไปกว่า 1 ปี เป็นเหตุให้ฟ้องหย่าหรือไม่และ  3. เมื่อหย่าแล้วใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง และบุตรจะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเดือนละเท่าไร   ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นคู่ความสละประเด็นข้อพิพาทข้อ 2 และตกลงหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันโดยจะไปจดทะเบียนหย่าภายหลังศาลพิพากษาในกำหนด 7 วัน และติดใจสืบพยานเฉพาะประเด็นข้อที่ 3 เท่านั้น

          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า คดีไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 63/2528 ของศาลชั้นต้น เพราะอ้างเหตุคนละเหตุเมื่อหย่ากันแล้วให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ให้จำเลยได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากโจทก์เดือนละ 1,000 บาท จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน ให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แก่จำเลยเดือนละ 1,000 บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ
       
          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
          โจทก์ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาแรกโจทก์ฎีกาว่า โจทก์หรือจำเลยควรเป็นผู้ปกครองเด็กชายไกรภพ  บุตรผู้เยาว์ เห็นว่าโจทก์เป็นอาจารย์ 1 ระดับ 3 เงินเดือนขณะนั้น 3,325 บาท บิดาเป็นข้าราชการบำนาญ มีนา 400 ไร่ ส่วนจำเลยจบการศึกษาประถมปีที่ 4 มีนา 30 ไร่ ทำร่วมกับบิดามารดาอีก 80 ไร่ แม้โจทก์มีฐานะดีกว่าจำเลยมากก็ตามแต่โจทก์อาศัยอยู่บ้านพักครู กลางวันต้องไปสอนวันเสาร์-อาทิตย์จึงได้กลับบ้าน การที่จะให้เด็กชายไกรภพบุตรผู้เยาว์ซึ่งมีอายุ 3 ขวบ อยู่กับโจทก์ย่อมไม่สะดวก แม้ว่าจะหาผู้มาเลี้ยงหรือส่งบุตรผู้เยาว์อยู่ในโรงเรียนอนุบาลก็ตาม ความอบอุ่นที่บุตรผู้เยาว์ได้รับจากมารดามีมากกว่าเพราะมารดาอยู่ใกล้ชิดกับบุตรผู้เยาว์ตลอดเวลานับแต่คลอด จำเลยก็มิได้ยากจนถึงขนาดที่จะเลี้ยงดูและให้การศึกษาบุตรผู้เยาว์ไม่ได้ หากโจทก์ประสงค์ที่จะให้บุตรผู้เยาว์ได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาชั้นปริญญาตรีก็ทำได้ เพราะแม้อำนาจการปกครองจะตกแก่จำเลยก็ตาม โจทก์ยังมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1521 วรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย  โจทก์ฎีกาอีกข้อหนึ่งว่า ฟ้องแย้งของจำเลยคดีนี้ฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 63/2528 ของศาลชั้นต้นซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว  เห็นว่าค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 63/2528 ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าอุปการะเลี้ยงบุตรผู้เยาว์ในคดีนี้ได้  ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น

  พิพากษายืน.
 
 มาตรา 1566  บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา
อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มารดาหรือบิดาตาย
(2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
(3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
(6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้

มาตรา 1584/1  บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม

 




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

เหตุหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า article
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่ article
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง article
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้
พฤติการณ์อย่างไรเรียกว่ายกย่องเมียน้อยฉันภริยา
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
จดทะเบียนสมรสโดยต่างไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง
สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
สามีบังคับภริยาให้ยอมร่วมประเวณีโดยใช้มีดขู่ฆ่าอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
สำนักงานการปฏิรูปฯ (ส.ป.ก.)ขอออกโฉนดโดยมิชอบ
พักโรงแรมห้องเดียวกับสามี ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้โดยไม่ต้องฟ้องหย่า
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัดเรื่องชู้สาวจึงไม่เป็นการยินยอมและให้อภัยของโจทก์
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
สามีภริยาจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้างแต่ต้องเกิดจากความยินยอม
ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส การจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรา(เงินสด)
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว โทร0859604258
สิทธิฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
แยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า