ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

สามีสมัครใจแยกกันอยู่ฝ่ายเดียวอีกฝ่ายไม่ได้สมัครใจด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2560

โจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยอ้างเหตุโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขเกินสามปี จำเลยให้การต่อสู้ทั้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เพียงประเด็นเดียวว่า จำเลยมิได้สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์และการแยกกันอยู่นั้นไม่ถึงขนาดที่มีเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขเกินกว่าสามปี ดังนั้น ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์แต่จำใจแยกกันอยู่กับโจทก์เนื่องจากโจทก์ยกย่องนาง อ. เป็นภริยาตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน จำเลยรู้สึกอับอายจึงแยกมาอยู่ที่บ้านเลขที่ 59/9 นั้น จึงเป็นฎีกาที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ทั้งในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ทั้งไม่ปรากฏว่า จำเลยได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ว่า ไม่ชอบหรือไม่ถูกต้อง เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย      

 

สัญญาประนีประนอมยอมความ, ข้อตกลงจะไม่จดทะเบียนหย่า,

สามียอมจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู, สามีสมัครใจแยกกันอยู่ฝ่ายเดียว,

สามีไม่มีสิทธิฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี,

เพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา, สามีทิ้งร้างภริยาไปมีเมียน้อย

การที่สามีทิ้งร้างภริยาไปมีเมียน้อยแล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับภริยาโดยมีข้อตกลงว่าจะไม่จดทะเบียนหย่าต่อกันโดยที่สามียอมจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูและสามียอมให้เงินบำเหน็จบำนาญแก่ภริยานั้นเป็นการที่สามีเป็นฝ่ายสมัครใจแยกกันอยู่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ดังนั้นสามีจึงไม่อาจอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีเพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา และนำคดีมาฟ้องหย่าภริยาได้

 บันทึก ระบุว่าโจทก์(สามี)และจำเลย(ภริยา)ตกลงที่จะไม่ทำการจดทะเบียนหย่ากันและโจทก์ยอมจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและเงินบำเหน็จหรือบำนาญให้แก่จำเลย(ภริยา) เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลทำให้ประเด็นเรื่องการหย่าซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยยอมสละระงับสิ้นไป ในสัญญาไม่มีข้อความระบุว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ แต่จำเลยมีสิทธิที่จะหย่าโจทก์ได้เนื่องจากโจทก์มีภริยาอีกคนหนึ่งและทิ้งร้างจำเลยไปและจำเลยสละสิทธิที่จะหย่าโดยขอรับค่าอุปการะเลี้ยงดูแทน แต่พฤติการณ์ที่โจทก์ปฏิบัติต่อจำเลยนับแต่โจทก์ทิ้งร้างจำเลยจนกระทั่งทำสัญญาเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยฝ่ายเดียว มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีความสมัครใจที่จะแยกกันอยู่กับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยโดยอาศัยเหตุฟ้องหย่าเรื่องสมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีได้

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2541

สามีฟ้องหย่าอ้างเหตุต่างสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุขตลอดมาเป็นเวลาเกินสามปีแล้ว 

พฤติการณ์ที่สามีปฏิบัติต่อภริยา นับแต่สามีทิ้งร้างภริยาจนกระทั่งทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าสามีสมัครใจแยกกันอยู่กับภริยาฝ่ายเดียวเท่านั้นเพราะไม่เปิดโอกาสให้ภริยาไปอยู่กับสามีได้ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ภริยามีความสมัครใจที่จะแยกกันอยู่กับสามีและ เนื่องจากสามี มีภริยาอีกคนหนึ่งและทิ้งร้างภริยาไป สามีจึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าภริยาโดยอาศัยเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4/2) ได้

บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นข้อตกลงมีวัตถุประสงค์เป็นการระงับข้อพิพาทในเรื่องการหย่าโดยตรงโดยเฉพาะข้อตกลงซึ่งระบุว่าโจทก์และจำเลยตกลงที่จะ ไม่ทำการจดทะเบียนหย่าซึ่งกันและกัน และโจทก์ยอมจ่ายเงิน ค่าอุปการะเลี้ยงดูและเงินบำเหน็จหรือบำนาญให้แก่จำเลย ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ย่อมทำให้ประเด็นเรื่องการหย่าซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยยอมสละระงับสิ้นไปตามมาตรา 852 ในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีข้อความใดระบุว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ จึงไม่อาจแปลสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เป็นเรื่องจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ กับโจทก์ แต่กรณีเป็นเรื่องจำเลยมีสิทธิที่จะหย่าโจทก์ได้ เนื่องจากโจทก์มีภริยาอีกคนหนึ่งและทิ้งร้างจำเลยไป การที่ โจทก์ยินยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นเรื่อง ที่โจทก์ไม่ยินยอมหย่ากับจำเลย และจำเลยสละสิทธิที่จะขอหย่ากับโจทก์โดยจำเลยขอรับค่าอุปการะเลี้ยงดูแทนเท่านั้น แม้จำเลยทราบดีว่าเมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์จำเลย ก็ต้องแยกกันไปทำมาหากินเช่นเดิมก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลย สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ แต่พฤติการณ์ที่โจทก์ปฏิบัติต่อจำเลย นับแต่โจทก์ทิ้งร้างจำเลยจนกระทั่งทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยฝ่ายเดียวเท่านั้น ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวนั้นย่อมไม่เปิดโอกาสให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ได้ ก็ใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีความสมัครใจที่จะ แยกกันอยู่กับโจทก์ นอกจากนั้นก็ไม่ปรากฏว่าภายหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จำเลยได้ตกลงกันนอกเหนือจากข้อสัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ เหตุที่โจทก์จำเลยแยกกันอยู่มาเกิน 3 ปี นับแต่ วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมิได้เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจ ของจำเลยเพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้ โดยปกติสุขแต่เป็นความสมัครใจของโจทก์ฝ่ายเดียวเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยโดยอาศัยเหตุฟ้องหย่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4/2) ได้

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์และจำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุขตลอดมาเป็นเวลาเกินสามปีแล้ว ขอให้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน

จำเลยให้การว่า โจทก์จำเลยต้องแยกกันอยู่เนื่องจากโจทก์มีภริยาใหม่ ละทิ้งให้จำเลยต้องเลี้ยงดูบุตรแต่ลำพังผู้เดียวจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 18 ปี ในปี 2535 จำเลยมีหนังสือไปถึงโจทก์เพื่อให้โจทก์หย่ากับจำเลยและชดใช้ค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยและบุตรโดยจำเลยประสงค์จะดำเนินการฟ้องหย่ากับโจทก์และดำเนินคดีโจทก์ฐานแจ้งความเท็จที่โจทก์จดทะเบียนสมรสซ้อนกับภริยาคนใหม่ด้วยโจทก์กับจำเลยตกลงกันไม่ได้เรื่องการหย่า แต่โจทก์กลัวจะได้รับโทษทางอาญาจึงตกลงประนีประนอมยอมความกับจำเลยโดยทำบันทึกข้อตกลงกันขึ้นซึ่งไม่มีข้อตกลงว่าจะสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะโจทก์เป็นฝ่ายทิ้งร้างไปจากจำเลยอยู่แล้วเพียงแต่บันทึกยินยอมที่โจทก์จะชดใช้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเท่านั้นหลังจากนั้นโจทก์ส่งเงินให้บุตรเพียงบางเดือนแล้วไม่ได้ส่งให้อีกเลย จำเลยมิได้สมัครใจที่จะแยกกันอยู่กับโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับ ให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า โจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี อันเป็นเหตุหย่าตามกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า บันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.5 เป็นข้อตกลงมีวัตถุประสงค์เป็นการระงับข้อพิพาทในเรื่องการหย่าโดยตรง โดยเฉพาะในข้อ 1 ซึ่งระบุว่าโจทก์และจำเลยตกลงที่จะไม่ทำการจดทะเบียนหย่าซึ่งกันและกันและโจทก์ยอมจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและเงินบำเหน็จหรือบำนาญให้แก่จำเลย ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้ประเด็นเรื่องการหย่าซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยยอมสละระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 นอกจากนี้ในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีข้อความใดระบุว่า จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์จึงไม่อาจแปลสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เป็นเรื่องจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ หรือแปลสาเหตุการทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ว่าเกิดจากโจทก์จำเลยทะเลาะวิวาทกันด้วยเหตุที่โจทก์ได้นางบุญทยาเป็นภริยาอีกคนหนึ่งจนจำเลยประสงค์จะหย่าจากโจทก์ แต่กรณีเป็นเรื่องจำเลยมีสิทธิที่จะหย่าโจทก์ได้เนื่องจากโจทก์มีภริยาอีกคนหนึ่งและทิ้งร้างจำเลยไป การที่โจทก์ยินยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ยินยอมหย่ากับจำเลย และจำเลยสละสิทธิที่จะขอหย่ากับโจทก์โดยจำเลยขอรับค่าอุปการะเลี้ยงดูแทนเท่านั้นแม้จะได้ความจากจำเลยว่า จำเลยทราบดีว่าเมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วโจทก์จำเลยก็ต้องแยกกันไปทำมาหากินเช่นเดิมก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ไปอยู่กับนางบุญทยาเช่นเดิมโดยจำเลยไม่ติดใจเรื่องหย่ากับโจทก์หรือฟ้องร้องนางบุญทยาตามที่ปรากฏในสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น และในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีข้อใดที่ระบุห้ามมิให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ แต่พฤติการณ์ที่โจทก์ปฏิบัติต่อจำเลยนับแต่โจทก์ทิ้งร้างจำเลยจนกระทั่งทำสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยฝ่ายเดียวเท่านั้นซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวนั้นย่อมไม่เปิดโอกาสให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ได้ มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีความสมัครใจที่จะแยกกันอยู่กับโจทก์ นอกจากนั้นทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าภายหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จำเลยได้ตกลงกันนอกเหนือจากข้อสัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ เหตุที่โจทก์จำเลยแยกกันอยู่มาเกิน 3 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมิได้เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของจำเลยเพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขแต่เป็นความสมัครใจของโจทก์ฝ่ายเดียวเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยโดยอาศัยเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4/2) ได้

พิพากษากลับ ยกฟ้องโจทก์

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมค วร  หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความ ประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่าย หนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ 

มาตรา 10 เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้สองนัย นัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้ ให้ถือเอาตามนัยนั้นดีกว่าที่จะถือเอา นัยที่ไร้ผล

มาตรา 171 ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร

มาตรา 850 อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่ หรือ จะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน

มาตรา 852 ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมทำ ให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน

 ภริยาไม่สมัครใจแยกกันอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8832/2542
 
จำเลยเป็นชาวต่างประเทศอยู่กินร่วมกับโจทก์ผู้เป็นสามี ต้องพึ่งพาอาศัยสามีเป็นสำคัญในการครองชีพ โดยอาศัยเงินที่โจทก์จ่ายให้เดือนละ 20,000 บาท เลี้ยงดูบุตร การที่โจทก์เคยฟ้องหย่าจำเลย และจำเลยตกลงจะยอมหย่าแต่เรียกร้องเงินเป็นจำนวนสูงถึง 40,000,000 บาท ซึ่งเป็นที่คาดหมายได้ว่าโจทก์คงไม่ตกลงด้วยก็น่าจะเป็นเพราะจำเลยไม่ประสงค์จะเลิกร้างไปจากโจทก์หรือสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์นั่นเอง ทั้งเหตุที่โจทก์จำเลยไม่ได้อยู่ร่วมกันเป็นเวลานานก็เนื่องจากโจทก์ได้แยกออกไปอยู่กับบิดามารดาโจทก์เอง และภายหลังที่จำเลยไปอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เนื่องจากต้องไปดูแลรักษาบุตรที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ดังนั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ ตาม ป.พ.พ มาตรา 1516 (4/2) อันเป็นเหตุฟ้องหย่า

ต่างฝ่ายต่างอยู่นาน 6 ปี ถือว่าสมัครใจแยกกันอยู่ 

คำพิพากษาฎีกาที่ 1771/2540

         โจทก์จำเลยได้แยกกันอยู่โดยมิได้อยู่กินฉันสามีภรรยาตั้งแต่ พ.ศ. 2531  ระหว่างที่โจทก์แยกไปนั้นจำเลยเองก็ทราบดีว่าโจทก์ไปพักอยู่ที่ใดแต่จำเลยก็ มิได้ขวนขวายที่จะไปอยู่กินฉันสามีภรรยา โดยต่างคนต่างอยู่นับถึงวันฟ้องเป็นเวลานานถึง 6 ปี ตามพฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้
         คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องแย้งคือวันที่ 5 เมษายน 2537 จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่จำเลยเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องคือวันที่ 14 มกราคม 2537 จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่จำเลยฟ้องแย้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

สามีฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่ศาลพิพากษาหย่าภริยาสิ้นสิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8225/2540
 
          โจทก์ได้ ว. เป็นภริยาภายหลังจากจำเลยออกจากบ้านที่เคยอยู่ร่วมกับโจทก์ฉันสามีภริยาไปแล้ว ทั้งลักษณะของการที่จำเลยออกจากบ้านที่เคยอยู่ร่วมกับโจทก์ก็ล้วนแต่เป็นการตัดสินใจของจำเลยเอง มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ขับไล่จำเลยหรือโจทก์นำหญิงอื่นเข้ามาอยู่กินในบ้านฉันสามีภริยาอันเป็นการบีบบังคับให้จำเลยต้องออกจากบ้านแต่อย่างใด จึงเป็นกรณีที่จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ต่างหากจากโจทก์
        โจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขเกิน 3 ปี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุหย่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1516 (4/2) ได้
           ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนตามกันมาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน สิทธิหน้าที่ของโจทก์จำเลยที่ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง ย่อมสิ้นสุดลง เป็นเหตุให้จำเลยสิ้นสิทธิที่จะได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากโจทก์อีกต่อไป ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในข้อที่จำเลยขอเพิ่มค่าอุปการะเลี้ยงดูจากโจทก์อีกต่อไป

 ไปอยู่กับภริยาใหม่ถือว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยแต่ฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7004/2539
 
          โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้วได้อยู่กินด้วยกันที่บ้านเลขที่ 611 แสดงว่าบ้านเลขที่ 611 ดังกล่าวเป็นบ้านที่โจทก์และจำเลยใช้เป็นที่อยู่อาศัยกินอยู่หลับนอนฉันสามีภริยาซึ่งต่อมาก็มีบุตรด้วยกัน 1 คนแม้ในระหว่างอยู่กินด้วยกันโจทก์ต้องเดินทางไปรับราชการในต่างจังหวัด และบางครั้งโจทก์และจำเลยได้ทะเลาะกันก็ตามโจทก์ก็ต้องกลับมากินอยู่หลับนอนฉันสามีภริยากับจำเลยเช่นปกติที่สามีภริยาพึงต้องปฏิบัติต่อกัน แต่โจทก์กลับไปมีภริยาใหม่และไปอยู่กับภริยาใหม่ถือว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยไม่ได้สมัครใจแยกกันอยู่ กับโจทก์การที่โจทก์ได้ส่งเงินให้บุตร และจำเลยไม่ได้ไปมาหาสู่ร่วมอยู่กินหลับนอนกับโจทก์ฉันสามีภริยามิใช่พฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีที่สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี อันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(4/2)

  คำฟ้องหย่า สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี

                    ข้อ ๑.  เดิมโจทก์มีชื่อว่า นาย......................... ต่อมาโจทก์ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้เปลี่ยนชื่อตัวเป็น "..................."  รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว เลขที่  00/0000 ออกให้ ณ วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕..  เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑
                                    โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสกันที่สำนักทะเบียน ที่ว่าการอำเภอ............ จังหวัด.............. เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔.. รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบสำคัญการสมรส เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๒  มีบุตรด้วยกัน ๒ คน คือ นางสาว  ......... เกิดเมื่อวันที่ 00 เมษายน ๒๕๓.... ปัจจุบันอายุ  ๑๗  ปี    และ เด็กหญิง..................   เกิดเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔..  ปัจจุบันอายุ  ๑๔  ปี

                     ข้อ ๒. ภายหลังการสมรส โจทก์และจำเลยพักอาศัยอยู่ร่วมกันที่บ้านพักของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอ...................จังหวัด..........  ระหว่างอยู่กินร่วมกัน โจทก์และจำเลยมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน และมีปากเสียงทะเลาะกันตลอดมา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โจทก์และจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงสมัครใจแยกกันอยู่ที่  .............จังหวัดพระนครศรีอยุธยาต่อหน้าพันตำรวจโท ..... ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ในขณะนั้น เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมา ต่อมาเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔.. จำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๐๐/๒๕๔....  คดีหมายเลขแดงที่ ๐๐/๒๕๔... ศาลได้มีคำพิพากษาตามยอม ลงวันที่ ๐๐ กรกฎาคม ๒๕๔... ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ ๓. มีข้อความว่า "โจทก์ให้สัญญาว่าจะไม่ไปรบกวนความเป็นอยู่ของจำเลยในที่พักหรือสถานที่ทำงานให้จำเลยต้องเดือดร้อนรำคาญ"  นับตั้งแต่โจทก์และจำเลยทำบันทึกข้อตกลงสมัครใจแยกกันอยู่ต่อหน้า พันตำรวจ........................... ในปี พ.ศ. ๒๕๔.. และ นับแต่โจทก์และจำเลยทำข้อตกลงข้อ ๓. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ลงวันที่ ๐๐ กรกฎาคม ๒๕๔... โจทก์และจำเลยไม่ได้ติดต่อข้องเกี่ยวกันฉันสามีภริยาตลอดมา จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยตกลงสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปีซึ่งโจทก์มีสิทธิอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๑๖ (๔/๒)  รายละเอียดปรากฏตามสำเนาคำพิพากษาตามยอม และสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๓  โจทก์มีความประสงค์จะหย่าขาดจำเลย ขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน โจทก์ไม่มีทางบังคับจำเลยได้จึงต้องนำคดีมาฟ้องศาลเพื่อบังคับจำเลยต่อไป

               ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า article
เหตุหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า article
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่ article
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง article
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้
พฤติการณ์อย่างไรเรียกว่ายกย่องเมียน้อยฉันภริยา
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
จดทะเบียนสมรสโดยต่างไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง
สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
สามีบังคับภริยาให้ยอมร่วมประเวณีโดยใช้มีดขู่ฆ่าอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
สำนักงานการปฏิรูปฯ (ส.ป.ก.)ขอออกโฉนดโดยมิชอบ
พักโรงแรมห้องเดียวกับสามี ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้โดยไม่ต้องฟ้องหย่า
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัดเรื่องชู้สาวจึงไม่เป็นการยินยอมและให้อภัยของโจทก์
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
สามีภริยาจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้างแต่ต้องเกิดจากความยินยอม
ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส การจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรา(เงินสด)
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว โทร0859604258
สิทธิฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
แยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข