ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE

เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้

สิทธิได้ค่าเลี้ยงชีพจนกว่าโจทก์จะช่วยเหลือตนเองได้หรือจดทะเบียนสมรสใหม่ 

ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงเพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้... คดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างเหตุหย่าซึ่งล้วนแต่เป็นเหตุหย่าอันเป็นความผิดของจำเลยทั้งสิ้น ก่อนสมรสกับจำเลย โจทก์ได้รับเงินช่วยเหลือเนื่องจากสามีคนเดิมเสียชีวิตจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เดือนละประมาณ 36,000 บาท ในฐานะเป็นหม้าย จนกว่าโจทก์จะเสียชีวิตหรือสมรสใหม่ เมื่อโจทก์สมรสกับจำเลย โจทก์จึงหมดสิทธิรับเงินดังกล่าวแสดงว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิในการช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และต้องยากจนลง เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันด้วยเหตุหย่าอันเป็นความผิดของจำเลย และปรากฏว่าโจทก์ยากจนลง จึงชอบที่จะให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ได้
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8046/2556
 
  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1526 บัญญัติว่า “ในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงเพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้...” คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำอันเป็นเหตุหย่าของจำเลยหลายประการ ได้แก่ การด่าโจทก์ด้วยถ้อยคำดูถูกเหยียดหยาม การให้การยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา การทำร้ายร่างกาย และการไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู ซึ่งล้วนแต่เป็นเหตุหย่าอันเป็นความผิดของจำเลยทั้งสิ้น นอกจากนี้โจทก์ยังบรรยายฟ้องต่อไปว่า ก่อนสมรสกับจำเลย โจทก์ได้รับเงินช่วยเหลือเนื่องจากสามีคนเดิมเสียชีวิตจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เดือนละ 1,032.66 ดอลล่าสหรัฐ หรือประมาณ 36,000 บาท ในฐานะเป็นหม้าย จนกว่าโจทก์จะเสียชีวิตหรือสมรสใหม่ เมื่อโจทก์สมรสกับจำเลย โจทก์จึงหมดสิทธิรับเงินดังกล่าว และขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าขาดรายได้จากจำเลย เดือนละ 50,000 บาท นับแต่วันฟ้อง เห็นได้ว่าคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้แสดงว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิในการช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และต้องยากจนลง แม้โจทก์ใช้ถ้อยคำว่า “จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู” แต่มีคำว่า “ค่าขาดรายได้” เมื่อพิจารณาถึงคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้โจทก์ได้รับนับแต่วันฟ้องจนกว่าโจทก์จะเสียชีวิต ย่อมแสดงถึงเจตนาของโจทก์ว่าประสงค์จะได้เงินค่าเลี้ยงชีพ อันเป็นสิทธิที่ได้รับเมื่อหย่าแล้ว คำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ จึงเป็นการใช้สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพ ซึ่งครบองค์ประกอบดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 1526 วรรคหนึ่ง ข้างต้นแล้ว เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันด้วยเหตุหย่าอันเป็นความผิดของจำเลย และปรากฏว่าโจทก์ยากจนลง จึงชอบที่จะให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ได้
 
 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2547 ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยา จำเลยปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง โดยจำเลยทำร้ายร่างกาย ทรมานจิตใจ หมิ่นประมาท เหยียดหยามให้โจทก์ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง และเปรียบเทียบโจทก์เป็นทาส ขอทาน สุนัขข้างถนน เมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2552 จำเลยคบหากับนางสาวบังอร ฉันชู้สาวจนถึงปัจจุบัน และจำเลยไม่ให้เงินเลี้ยงดูโจทก์ โดยก่อนโจทก์จะจดทะเบียนสมรสกับจำเลย โจทก์ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในฐานะที่เป็นหม้าย เดือนละ 1,032.66 ดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 36,000 บาท จนกว่าโจทก์จะเสียชีวิตหรือแต่งงานใหม่ เมื่อโจทก์แต่งงานกับจำเลย รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงระงับการจ่ายเงินดังกล่าว ขอให้พิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกัน ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์เดือนละ 1,500 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยเดือนละ 50,000 บาท จนกว่าโจทก์จะเสียชีวิต
 
 จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
   ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน กับให้จำเลยชำระค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันมีคำพิพากษาจนกว่าโจทก์จะเสียชีวิตหรือสมรสใหม่ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
  จำเลยอุทธรณ์
 
 ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
 จำเลยฎีกา
 
    ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่ไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นนี้ฟังว่า โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยากันโดยจดทะเบียนสมรส ก่อนสมรสโจทก์กับจำเลยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อต้นปี 2547 ต่อมาเข้ามาอยู่ในประเทศไทย โจทก์กับจำเลยพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 48 ถนนโชคชัย 4 ซอย 32 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร
 
   มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า การกระทำของจำเลยเป็นเหตุหย่าหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่เคยปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากับโจทก์ ไม่เคยทำร้ายร่างกาย ทรมานจิตใจหรือหมิ่นประมาท เหยียดหยามโจทก์เป็นขอทาน หรือสุนัขข้างถนน เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยด่าโจทก์ด้วยถ้อยคำในวาระต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า “Street Dog” แปลว่า “หมาข้างถนน” ด่าว่า “อีบ้า โรคจิต ขี้อิจฉาริษยา อีเลว อีตอแหล อีหน้าผี อีสมองกลวง อีขอทาน อีหมาข้างถนน อีสติแตก” ด่าว่าโจทก์ต่อหน้าเพื่อนว่า “Beggar” แปลว่า “ขอทาน” อันเป็นถ้อยคำดูถูกเหยียดหยามโจทก์และเป็นการทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (3) และ (6) แต่ตามฎีกาของจำเลยมิได้แสดงเหตุผลโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์โดยชัดแจ้งว่า จำเลยได้ด่าโจทก์ด้วยถ้อยคำดังกล่าวหรือไม่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่า จำเลยได้กล่าวถ้อยคำเหยียดหยามโจทก์ อันเป็นการร้ายแรงและกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุหย่าดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (3) และ (6) แล้ว แม้จำเลยจะฎีกาโต้แย้งในข้ออื่นเกี่ยวกับจำเลยได้ให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์หรือไม่ จำเลยยกย่องอุปการะหญิงอื่นฉันภริยาหรือไม่ ก็ไม่มีผลทำให้เหตุหย่าหมดไป หรือเปลี่ยนแปลงผลแห่งคำพิพากษาส่วนนี้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
 
  มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการที่สองว่า จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด โดยจำเลยฎีกาว่า โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากโจทก์ มิใช่ค่าเลี้ยงชีพ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ในคดีหย่าถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้....” ในคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำอันเป็นเหตุหย่าของจำเลยหลายประการ ได้แก่ การด่าโจทก์ด้วยถ้อยคำดูถูกเหยียดหยาม การให้การยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา การทำร้ายร่างกาย และการไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู ซึ่งล้วนแต่เป็นเหตุหย่าอันเป็นความผิดของจำเลยทั้งสิ้น นอกจากนี้ โจทก์ยังบรรยายฟ้องต่อไปว่า ก่อนสมรสกับจำเลย โจทก์ได้รับเงินช่วยเหลือเนื่องจากสามีคนเดิมเสียชีวิตจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เดือนละ 1,032.66 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 36,000 บาท ในฐานะเป็นหม้าย จนกว่าโจทก์จะเสียชีวิตหรือสมรสใหม่ เมื่อโจทก์สมรสกับจำเลย โจทก์จึงหมดสิทธิรับเงินดังกล่าว และขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าขาดรายได้จากจำเลย เดือนละ 50,000 บาท นับแต่วันฟ้อง เห็นว่า คำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้แสดงว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิในการช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และต้องยากจนลง แม้โจทก์ใช้ถ้อยคำว่า “จ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู” แต่มีคำว่า ค่าขาดรายได้ เมื่อพิจารณาถึงคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้โจทก์ได้รับ นับแต่วันฟ้องจนกว่าโจทก์จะเสียชีวิต ย่อมแสดงถึงเจตนาของโจทก์ว่าประสงค์จะได้รับเงินค่าเลี้ยงชีพ อันเป็นสิทธิที่จะได้รับเมื่อหย่าแล้ว คำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ จึงเป็นการใช้สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพ ซึ่งครบองค์ประกอบดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 1526 วรรคหนึ่ง ข้างต้นแล้ว เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกัน ด้วยเหตุหย่าอันเป็นความผิดของจำเลย และปรากฏว่าโจทก์ยากจนลง จึงชอบที่จะให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ได้ ส่วนปัญหาว่า จำเลยต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพเพียงใดนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ค่าเลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับ...” ในข้อนี้โจทก์เบิกความประกอบพยานเอกสารว่า จำเลยได้รับเงินบำนาญจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เดือนละ 1,451 ดอลล่าร์สหรัฐ และมีเงินได้จากเงินปันผลในเงินลงทุนกับบริษัทออพเพนฮายม์รจำนวน 273,061.68 ดอลล่าร์สหรัฐ ส่วนจำเลยมีนายธนพล ผู้รับมอบอำนาจเบิกความว่า จำเลยมีรายได้จากเงินช่วยเหลือของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เดือนละ 2,000 ดอลล่าร์สหรัฐ เท่านั้น โดยมิได้โต้แย้งพยานหลักฐานของโจทก์ให้ฟังเป็นอย่างอื่น แม้จำเลยฎีกาว่าโจทก์ยังได้รับเงินช่วยเหลือให้การอุปการะเลี้ยงดูจากบุตร และจำเลยต้องเช่าบ้านเพื่อพักอาศัยเองก็ตาม แต่มิได้ระบุถึงจำนวนค่าเช่าพร้อมแสดงพยานหลักฐานมาประกอบเช่นนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจ่ายเงินค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ เดือนละ 10,000 บาท เหมาะสมแก่ฐานานุรูปของโจทก์และจำเลยแล้ว แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ปัจจุบันจำเลยมีอายุ 75 ปี (เกิดวันที่ 30 เมษายน 2481) เมื่อคำนึงถึงระยะเวลาที่โจทก์กับจำเลยอยู่กินด้วยกันในฐานะสามีภริยา ภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของจำเลยในอนาคตที่ต้องเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากจำเลยอยู่ในวัยชรา ย่อมมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและค่ารักษาพยาบาล ส่วนโจทก์มีบุตรที่เกิดจากสามีคนก่อนซึ่งประกอบอาชีพแล้ว ย่อมอยู่ในฐานะที่จะอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ได้อีกทางหนึ่ง หากให้จำเลยรับผิดชอบในค่าเลี้ยงชีพจนกว่าโจทก์จะเสียชีวิตหรือสมรสใหม่ก็จะเป็นระยะเวลายาวนานเกินควรแก่ความสามารถของจำเลย เห็นสมควรให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์เป็นเวลา 5 ปี เว้นแต่โจทก์สมรสใหม่ภายในระยะเวลาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน
         
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ มีกำหนด 5 ปี เว้นแต่โจทก์สมรสใหม่ภายในระยะเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ ให้นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
 
สิทธิได้ค่าเลี้ยงชีพจนกว่าโจทก์จะช่วยเหลือตนเองได้หรือจดทะเบียนสมรสใหม่ 
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4532/2556
 
สิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพจะมีได้เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง การหย่าโดยคำพิพากษาย่อมมีผลให้การสมรสสิ้นสุดนับแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1531 วรรคสอง
 
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
 
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกัน และให้จำเลยชดใช้ค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์เป็นเงินเดือนละ 14,500 บาท นับตั้งแต่ศาลมีคำสั่งให้หย่าเป็นต้นไปจนกว่าโจทก์จะสมรสใหม่หรือสามารถช่วยเหลือตัวเองได้
 
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
 
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
 
โจทก์อุทธรณ์
 
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษากลับ ให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ให้จำเลยชำระค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์เดือนละ 7,500 บาท นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์จะช่วยเหลือตนเองได้หรือจดทะเบียนสมรสใหม่ ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
 
จำเลยฎีกา
 
ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า โจทก์กับจำเลยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2552 โดยอยู่กินด้วยกันที่รังสิตแกรนด์คอนโด ห้องเลขที่ 550A ซอยคลองหลวง 11 ตำบลคลองหลวง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เมื่อปี 2535 เป็นต้นมา จำเลยอยู่กินฉันสามีภริยากับนางสาวกัลยา ที่หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค บ้านเลขที่ 802/300 หมู่ที่ 12 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายและนางสาว อายุ 18 ปี และ 16 ปี ตามลำดับ (ขณะฟ้อง) ต่อมาปลายเดือนธันวาคม 2553 นางสาวกัลยาพาบุตรทั้งสองไปหาจำเลยกับโจทก์ที่ห้องพัก จากนั้นในเดือนมกราคม 2554 โจทก์ออกจากที่ทำงานเดิมคือบริษัทเมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) สาขาห้วยขวาง เพื่อไปทำงานที่บริษัทกรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) สาขานครสวรรค์ แล้วแยกกันอยู่กับจำเลยตลอดมา
 
คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า โจทก์มีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพจากจำเลยหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาเพียงว่าเหตุฟ้องหย่ามิใช่ความผิดของจำเลยฝ่ายเดียว โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพจากจำเลย เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามข้อวินิจฉัยข้างต้นแล้วย่อมแสดงว่าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของจำเลยแต่ฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยมิได้คัดค้านในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่าโจทก์ต้องยากจนลงเพราะไม่มีรายได้พอจากการงานที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรสอย่างไร และค่าเลี้ยงชีพสูงเกินไปหรือไม่ ย่อมไม่มีประเด็นให้ศาลฎีกาวินิจฉัย จำเลยต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 ฎีกาทุกข้อของจำเลยฟังไม่ขึ้น
 
อนึ่ง สิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพจะมีได้เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง คดีนี้เป็นการหย่าโดยคำพิพากษาย่อมมีผลนับแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1531 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยชำระค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 นั้น เมื่อคดีนี้มีการฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขให้มีผลนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา และที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยเช่นกัน ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
 
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาจนกว่าโจทก์จะสมรสใหม่ ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ      



การสิ้นสุดแห่งการสมรส

ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า article
เหตุหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า article
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่ article
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง article
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
พฤติการณ์อย่างไรเรียกว่ายกย่องเมียน้อยฉันภริยา
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
จดทะเบียนสมรสโดยต่างไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง
สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
สามีบังคับภริยาให้ยอมร่วมประเวณีโดยใช้มีดขู่ฆ่าอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
สำนักงานการปฏิรูปฯ (ส.ป.ก.)ขอออกโฉนดโดยมิชอบ
พักโรงแรมห้องเดียวกับสามี ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้โดยไม่ต้องฟ้องหย่า
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัดเรื่องชู้สาวจึงไม่เป็นการยินยอมและให้อภัยของโจทก์
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
สามีภริยาจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้างแต่ต้องเกิดจากความยินยอม
ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส การจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรา(เงินสด)
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว โทร0859604258
สิทธิฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
แยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข