ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน article

ทนายความคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สินสมรส อำนาจปกครองบุตร ชู้สาว มรดก

 ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน

 ปี 2545 โจทก์ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่ คดีอยู่ระหว่างฎีกา ปี 2547 โจทก์ฟ้องหย่าอ้างเหตุเดียวกัน ระหว่างพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นว่า คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำกับคดีก่อน หรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อไม่ปรากฏว่าในระหว่างนั้นโจทก์และจำเลยได้กลับมาอยู่ด้วยกันแล้วสมัครใจแยกกันอยู่อีกก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ดังนั้นมูลเหตุแห่งการฟ้องหย่าทั้งในคดีก่อนและในคดีนี้จึงเป็นมูลเหตุเรื่องเดียวกัน เหตุฟ้องหย่าในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8186/2551
 
 การสมัครใจแยกกันอยู่ซึ่งเป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องหย่าตามที่โจทก์อ้างในคดีก่อน เกิดเมื่อประมาณปลายปี 2539 ในคดีนี้โจทก์ก็อ้างมูลเหตุแห่งการฟ้องหย่าเดียวกันที่เกิดเมื่อประมาณเดือนตุลาคม 2539 อันเป็นช่วงปลายปี 2539 เมื่อไม่ปรากฏว่าในระหว่างนั้นโจทก์และจำเลยได้กลับมาอยู่ด้วยกันแล้วสมัครใจแยกกันอยู่อีกก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ มูลเหตุแห่งการฟ้องหย่าทั้งในคดีก่อนและในคดีนี้จึงเป็นมูลเหตุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันนั่นเอง เมื่อเป็นเรื่องเดียวกันและโจทก์ได้อ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าในคดีก่อนแล้ว เหตุฟ้องหย่าในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

ป.พ.พ.
มาตรา 1516  เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
 
มาตรา 173  เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมายส่งสำเนาคำฟ้อง
ให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง ให้โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายนั้น
นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และผลแห่งการนี้
(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่นและ
(2) ถ้ามีเหตุเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพฤติการณ์อันเกี่ยวด้วยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้น เช่น การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของจำเลย การเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้หาตัดอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีไว้ในอันที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไม่
 
 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยาจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายระหว่างอยู่กินมีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชายวิช ต่อมาประมาณเดือนตุลาคม 2539 จำเลยนำบุตรชายออกจากบ้านไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาอันเป็นการแสดงเจตนาแยกกันอยู่ และไม่ได้กลับไปอยู่กับโจทก์อีก ต่อมาวันที่ 5 กรกฎาคม 2545 โจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1121/2545 จำเลยให้การและฟ้องแย้งในคดีดังกล่าว นอกจากนั้นจำเลยยังฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้นและศาลอื่นอีกรวมทั้งสิ้น 5 คดี อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่สามารถอยู่ร่วมกับโจทก์ได้อย่างปกติสุข ซึ่งการแสดงเจตนาของโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาสมัครใจแยกกันอยู่ไม่ประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภริยาอีกต่อไป และเป็นการสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่สามารถอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาได้ จนถึงบัดนี้เป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 ปี นับตั้งแต่จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1121/2545 ของศาลชั้นต้นดังกล่าว จำเลยประพฤติตัวไม่เหมาะสมโดยรบกวนการอยู่อาศัยของโจทก์ บุกรุกสถานที่พักอาศัย ก่อให้เกิดความวุ่นวายนอกจากนี้จำเลยต้องใช้เวลาในการทำงานเพื่อหารายได้เลี้ยงดูบุตรและดูแลบุตรให้ได้รับความอบอุ่น แต่จำเลยกลับใช้เวลาไปกับการหาข้อมูลในการฟ้องร้องคดีต่อโจทก์ทั้งที่เรื่องดังกล่าวเป็นความผิดของจำเลยเอง จำเลยมีรายได้เดือนละ 9,000 บาท ไม่เพียงพอในการเลี้ยงดูบุตร ต่างจากโจทก์ซึ่งทำงานในตำแหน่งนักบิน สามารถใช้สิทธิของสวัสดิการในการดูแลบุตรได้ดีกว่าจำเลย ขอให้พิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา ให้โจทก์มีอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว

          จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ แต่โจทก์เป็นฝ่ายให้จำเลยไปอยู่กับบิดามารดาของจำเลยเพื่อให้ช่วยในการดูแลบุตรผู้เยาว์ เนื่องจากโจทก์เป็นนักบิน ไม่มีเวลาช่วยดูแลบุตร แต่จำเลยกลับนำเวลาดังกล่าวไปหาหญิงอื่นและคิดเป็นอุบายในการฟ้องหย่ากับจำเลย ต่อมาโจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอคุ้มครองชั่วคราวโดยขอขายบ้านที่อยู่กินกับจำเลย แต่ศาลไม่อนุญาต โจทก์จึงแอบขายบ้านหลังดังกล่าวไปโดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าโจทก์ไม่มีภริยา ทำให้จำเลยไม่สามารถกลับไปอยู่อาศัยที่บ้านหลังดังกล่าวได้ จำเลยจึงฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการโอนและดำเนินคดีแก่โจทก์ในข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนในคดีที่โจทก์ฟ้องหย่านั้น จำเลยให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งจำเลย และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีอยู่ระหว่างการฎีกา จำเลยเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์มาโดยตลอด ส่วนโจทก์ไม่เคยส่งเสียเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เลย ซึ่งจำเลยได้ฟ้องโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูและศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู แต่โจทก์ก็ยังไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1121/2545 ของศาลชั้นต้น ซึ่งยังอยู่ในระหว่างระยะเวลายื่นฎีกา โดยโจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาไว้ ถ้าหากโจทก์ไม่ยื่นฎีกา คดีนี้ก็จะเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าวขอให้ยกฟ้อง

          ระหว่างพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นว่า คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 810/2547 หรือไม่ และโจทก์แถลงว่าติดใจในประเด็นที่ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเพียงประเด็นเดียวว่า คดีมีเหตุหย่าเพราะโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินกว่า 3 ปี หรือไม่ ส่วนประเด็นอื่นนั้น ฝ่ายโจทก์ไม่ติดใจที่จะขอให้ศาลวินิจฉัย

          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ
          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีของโจทก์ในประเด็นตามคำฟ้องข้ออื่นนอกจากในคำฟ้องข้อ 2 ต่อไปและมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่
          จำเลยฎีกา

   ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 810/2547 ของศาลชั้นต้น ขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่ากันโดยอ้างเหตุหย่าในคดีดังกล่าวว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า เหตุหย่าตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ที่ว่า โจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีเป็นฟ้องซ้อนในเหตุหย่าเดียวกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 810/2547 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำแถลงรับของคู่ความตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 26 กันยายน 2549 ว่า คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 810/2547 ของศาลชั้นต้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาในคดีนี้โจทก์ขอสละประเด็นอื่นคงเหลือประเด็นที่ว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี เห็นว่า มูลเหตุแห่งการฟ้องหย่าตามที่โจทก์อ้างในคดีก่อนเกิดเมื่อประมาณปลายปี 2539 ในคดีนี้โจทก์ก็อ้างว่ามูลเหตุแห่งการฟ้องหย่าเกิดเมื่อประมาณเดือนตุลาคม 2539 อันเป็นช่วงปลายปี 2539 เมื่อไม่ปรากฏว่าในระหว่างนั้นโจทก์และจำเลยได้กลับมาอยู่ด้วยกันแล้วสมัครใจแยกกันอยู่อีกก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ดังนั้นมูลเหตุแห่งการฟ้องหย่าทั้งในคดีก่อนและในคดีนี้จึงเป็นมูลเหตุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันนั่นเอง ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน เมื่อโจทก์ได้อ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าในคดีก่อนแล้ว เหตุฟ้องหย่าในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น”

  พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ 

ฝ่ายหนึ่งได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายเดียว ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเงินนั้น มีอายุความ 5 ปี

บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์เสมือนเป็นลูกหนี้ร่วมกัน หลังจากหย่าขาดจากกันแล้ว กรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายเดียว ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเงินนั้นจากอีกฝ่ายหนึ่งได้แม้บุตรจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม...




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก article
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้ article
ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง article
สามีภริยาจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้างแต่ต้องเกิดจากความยินยอม article
ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ article
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า article
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา article
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส การจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรา(เงินสด) article
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า article
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว article
สิทธิฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี article
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง article
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา article
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล article
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี article
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด article
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย article
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง article
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา article
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง article
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา article
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ article
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า article
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง article
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน article
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ article
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้ article
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้ article
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว article
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ article
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้ article
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว article
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้ article
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์ article
แยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข article
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า article
เหตุหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า article
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่ article
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง article
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย article
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้ article
พฤติการณ์อย่างไรเรียกว่ายกย่องเมียน้อยฉันภริยา article
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด article
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง article
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม article
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี article
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร article
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้ article
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง article
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต article
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม article
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่ article
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง article
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส article
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง article
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ article
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล article
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า article
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ article
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง article
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี article
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา article
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด article
จดทะเบียนสมรสโดยต่างไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง article
สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง article
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส article
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด article
สามีบังคับภริยาให้ยอมร่วมประเวณีโดยใช้มีดขู่ฆ่าอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ article
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า article
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ article
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง" article
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ article
สำนักงานการปฏิรูปฯ (ส.ป.ก.)ขอออกโฉนดโดยมิชอบ article
พักโรงแรมห้องเดียวกับสามี ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้โดยไม่ต้องฟ้องหย่า article
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัดเรื่องชู้สาวจึงไม่เป็นการยินยอมและให้อภัยของโจทก์ article