ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE

ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว,  รับบุตรบุญธรรม

การที่สามีภรรยาจดทะเบียนสมรสแต่ในทะเบียนสมรสไม่ได้ลงชื่อภริยาจะมีผลในทางกฎหมายอย่างไร? ในบันทึกด้านหลังของทะเบียนสมรสเจ้าหน้าที่ได้บันทึกถ้อยคำฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงไว้ว่าคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีความสมัครใจและเต็มใจที่จะจดทะเบียนสมรสกัน โดยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน ย่อมถือได้ว่าถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ความบกพร่องที่คู่สมรสฝ่ายหญิงไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าทะเบียนสมรสยังไม่เป็นเหตุถึงทำให้การจดทะเบียนสมรสไม่มีผลสมบูรณ์เป็นโมฆะแต่อย่างได
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3739/2548

    แม้ตามสำเนาทะเบียนการสมรสจะปรากฏลายมือชื่อฝ่ายชายคือ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ร้องขอจดทะเบียนแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ในบันทึกด้านหลังของทะเบียนสมรสดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้บันทึกถ้อยคำที่จำเลยที่ 1 และผู้ตายให้ไว้ว่าคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีความสมัครใจและเต็มใจที่จะจดทะเบียนสมรสกัน โดยทั้งจำเลยที่ 1 และผู้ตายได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน บันทึกดังกล่าวได้ทำในวันและเวลาต่อเนื่องกับรายการจดทะเบียนสมรสด้านหน้า จึงย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และผู้ตายได้ให้ถ้อยคำและปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายในเรื่องการจดทะเบียนสมรสด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ความบกพร่องที่ผู้ตายไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าทะเบียนสมรสดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุถึงทำให้การจดทะเบียนสมรสไม่มีผลสมบูรณ์เป็นโมฆะแต่อย่างไร

  ในการรับบุตรบุญธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1583 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น บัญญัติว่า ถ้าผู้ที่บุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การรับบุตรบุญธรรมจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดามารดา ถ้าไม่มีบิดามารดา ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้ความยินยอมก็ได้ และมาตรา 1585 (เดิม) บัญญัติว่า การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์เมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย เมื่อพิจารณาประกอบ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัวฯ มาตรา 22 แล้วจะเห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดแต่เพียงว่า การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาเท่านั้น มิได้บังคับว่าคำยินยอมต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีลายมือชื่อของบิดามารดาให้ความยินยอมแต่อย่างไร ดังนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 กับ ม. ซึ่งเป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จดทะเบียนหย่าและแยกกันอยู่โดยมีบันทึกหลังทะเบียนหย่าว่าให้จำเลยที่ 1 รับเลี้ยงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ส่วน ม. รับเลี้ยงบุตรคนเล็ก และต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายและผู้ตายได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งจำเลยที่ 4 ในฐานะนายทะเบียนได้ดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมให้แก่ผู้ตายโดยที่ให้เฉพาะจำเลยที่ 1 บิดาเป็นผู้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมแต่เพียงผู้เดียว โดยเห็นว่าตามบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่ามีผลทำให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจปกครองจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพียงผู้เดียว แม้ข้อความในบันทึกหลังทะเบียนหย่ามิอาจถือได้ว่า ม. ตกลงยินยอมให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจปกครองจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ปรากฏว่านับแต่ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรมจนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นเวลากว่า 29 ปี ม. ก็มิได้ว่ากล่าวคัดค้านการรับบุตรบุญธรรม และยังทำหนังสือยืนยันว่าทราบเรื่องและให้ความยินยอมมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน และเหตุที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ก็เพราะขณะที่จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 1 ม. ตกลงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในการเลี้ยงดูของจำเลยที่ 1 นั้น หมายถึงการให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียวด้วยและไม่ขอคัดค้าน รวมทั้งยังขอร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยยืนยันการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม พฤติการณ์จึงฟังได้ว่า ม. ได้ให้ความยินยอมด้วยแล้วในการรับบุตรบุญธรรมของผู้ตาย การรับบุตรบุญธรรมดังกล่าวจึงชอบแล้ว
 
พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว

มาตรา 22  การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมเป็นผู้ร้องขอ
ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายให้ถ้อยคำว่า ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายในเรื่องรับบุตรบุญธรรมดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ถ้าปรากฏต่อนายทะเบียนว่าการมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ว่านั้น หรือถ้อยคำที่ได้ให้ไว้ไม่เป็นความจริง ห้ามมิให้รับจดทะเบียน
ถ้านายทะเบียนไม่ยอมรับจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม ผู้ร้องขอจดทะเบียนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะยื่นคำร้องต่อศาลก็ได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เมื่อศาลไต่สวนได้ความว่าการได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายครบถ้วนแล้ว ก็ให้ศาลมีคำสั่งไปให้รับจดทะเบียน
 
    โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ตายเป็นโมฆะ และการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับผู้ตายเป็นโมฆะ กับให้จำเลยที่ 5 เพิกถอนการจดทะเบียนสมรสและให้จำเลยที่ 4 เพิกถอนการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

  จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยื่นคำให้การ ขอให้ยกฟ้อง
 จำเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ตาย และการจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตายได้กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ขอให้ยกฟ้อง

    ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

 โจทก์อุทธรณ์
   ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน

    โจทก์ฎีกา

  ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าโจทก์เป็นน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกับนางสำอาง  ผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 1 เคยอยู่กินกับนางมยุรี  โดยจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายและเกิดบุตรด้วยกัน 3 คน รวมทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อมาจำเลยที่ 1 และนางมยุรีจดทะเบียนหย่ากัน โดยบันทึกด้านหลังทะเบียนหย่าว่าให้ฝ่ายชายคือจำเลยที่ 1 เป็นผู้เลี้ยงดูบุตรคนโตและคนที่สองซึ่งคือจำเลยที่ 2 และที่ 3 ครั้นปี 2509 จำเลยที่ 1 ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตาย แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ตายเป็นโมฆะหรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า ผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อในทะเบียนสมรส ซึ่งถือว่าเป็นสาระสำคัญในการจดทะเบียนสมรส แม้จะปรากฏลายมือชื่อของผู้ตายในบันทึกด้านหลังทะเบียนสมรส แต่บันทึกดังกล่าวก็หาใช่ทะเบียนการสมรสไม่ การจดทะเบียนสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ตายย่อมไม่สมบูรณ์มีผลเป็นโมฆะ เห็นว่า แม้ตามสำเนาทะเบียนการสมรสเอกสารหมาย จ.5 ในช่องรายการลำดับที่ 11 ซึ่งระบุว่าลายมือชื่อผู้ร้องขอจดทะเบียนจะปรากฏแต่เฉพาะลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ในบันทึกด้านหลังของทะเบียนสมรสดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้บันทึกถ้อยคำที่จำเลยที่ 1 และผู้ตายให้ไว้ว่าคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีความสมัครใจและเต็มใจที่จะจดทะเบียนสมรส โดยทั้งจำเลยที่ 1 และผู้ตายได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน บันทึกดังกล่าวลงวันที่ 25 ตุลาคม 2509 ซึ่งเป็นวันเดียวกับการจดทะเบียนสมรส แสดงว่าบันทึกด้านหลังทะเบียนสมรสนายทะเบียนได้ทำในวันและเวลาเดียวกันต่อเนื่องกับรายการจดทะเบียนสมรสด้านหน้า จึงย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และผู้ตายได้ให้ถ้อยคำและปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายในเรื่องการจดทะเบียนสมรสด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ความบกพร่องที่ผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าทะเบียนสมรสดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุถึงกับทำให้การจดทะเบียนสมรสนั้นไม่มีผลสมบูรณ์เป็นโมฆะแต่อย่างไร ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

          มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์เป็นประการสุดท้ายว่า การจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตายนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โจทก์ฎีกาว่า ขณะผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เยาว์เป็นบุญธรรม นางมยุรีซึ่งเป็นมารดาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ลงลายมือชื่อยินยอมให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตาย ส่วนบันทึกท้ายทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับนางมยุรีเป็นแต่เพียงตกลงให้จำเลยที่ 1 เลี้ยงดูจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงถือไม่ได้ว่ามีการตกลงให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ลำพัง จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจให้ยินยอมแต่เพียงผู้เดียวได้ เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1583 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติว่าถ้าผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การรับผู้นั้นเป็นบุตรบุญธรรมจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดามารดา ถ้าไม่มีบิดามารดา ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้ความยินยอมก็ได้ และมาตรา 1585 (เดิม) บัญญัติว่า การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์เมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย เมื่อพิจารณาประกอบพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 มาตรา 22 แล้วจะเห็นได้ว่าบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวกำหนดแต่เพียงว่า การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาเท่านั้น มิได้บังคับว่า คำยินยอมต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีลายมือชื่อของบิดามารดาให้ความยินยอมแต่อย่างไร ข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2509 จำเลยที่ 1 กับนางมยุรีซึ่งเป็นบิดาและมารดาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้จดทะเบียนหย่าและแยกกันอยู่ โดยมีบันทึกหลังทะเบียนหย่าว่าให้จำเลยที่ 1 รับเลี้ยงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ส่วนนางมยุรีรับเลี้ยงบุตรคนเล็ก ต่อมาวันที่ 25 ตุลาคม 2509 จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย และในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2512 ผู้ตายได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรม โดยมีบันทึกหลังทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเอกสารหมาย จ.6 และ จ.7 ว่า ฝ่ายผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมเกิดจากนางมยุรีซึ่งได้หย่าขาดจากจำเลยที่ 1 แล้ว และได้มีบันทึกหลังทะเบียนหย่ากัน ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอยู่ในความปกครองและอุปการะเลี้ยงดูของจำเลยที่ 1 บิดาจำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ให้ความยินยอมและยื่นคำร้องแทนได้ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 4 ในฐานะนายทะเบียนได้ดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมให้แก่ผู้ตายโดยที่ให้แต่เฉพาะจำเลยที่ 1 บิดาเป็นผู้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมเพียงผู้เดียวก็ด้วยเห็นว่าตามบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่ามีผลทำให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจปกครองจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพียงผู้เดียว แม้ข้อความในบันทึกหลังทะเบียนหย่าดังกล่าวมิได้ถือได้ว่านางมยุรีตกลงยินยอมให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจปกครองจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพียงผู้เดียว แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏว่านับแต่ที่ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรมจนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นระยะเวลานานถึง 29 ปี นางมยุรีก็มิได้ว่ากล่าวคัดค้านการรับบุตรบุญธรรมแต่อย่างไร นอกจากนี้นางมยุรียังได้ทำหนังสือยืนยันการให้ความยินยอมว่า นางมยุรีได้ทราบเรื่องการรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตายและได้ให้ความยินยอมมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน เหตุที่มิได้ลงลายมือชื่อไว้ก็เพราะว่าขณะที่จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 1 นางมยุรีได้ตกลงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในการเลี้ยงดูของจำเลยที่ 1 นั้น หมายถึงการให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวด้วย การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมของผู้ตายชอบแล้วไม่ขอคัดค้านตามเอกสารหมาย ล.17 อีกทั้งนางมยุรีได้ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2543 เพื่อร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในฐานะจำเลยร่วม โดยยืนยันว่า การจดทะเบียนรับรองบุตรบุญธรรมชอบแล้วแต่ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ดังนั้น ตามพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวฟังได้ว่านางมยุรีได้ยินยอมด้วยแล้วในการรับบุตรบุญธรรมของผู้ตาย การรับบุตรบุญธรรมดังกล่าวจึงชอบแล้ว เมื่อได้ความดังกล่าว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1856 (เดิม) หรือ 1598/28 (ใหม่) และถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1627 ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ (1) ตามมาตรา 1629 โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ (3) จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่เป็นทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ในประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เพราะไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับมรดกของผู้ตายเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น”

     พิพากษายืน




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

เหตุหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า article
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่ article
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง article
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้
พฤติการณ์อย่างไรเรียกว่ายกย่องเมียน้อยฉันภริยา
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
จดทะเบียนสมรสโดยต่างไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง
สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
สามีบังคับภริยาให้ยอมร่วมประเวณีโดยใช้มีดขู่ฆ่าอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
สำนักงานการปฏิรูปฯ (ส.ป.ก.)ขอออกโฉนดโดยมิชอบ
พักโรงแรมห้องเดียวกับสามี ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้โดยไม่ต้องฟ้องหย่า
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัดเรื่องชู้สาวจึงไม่เป็นการยินยอมและให้อภัยของโจทก์
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
สามีภริยาจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้างแต่ต้องเกิดจากความยินยอม
ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส การจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรา(เงินสด)
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว โทร0859604258
สิทธิฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
แยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า