ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง article

ทนายความคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สินสมรส อำนาจปกครองบุตร ชู้สาว มรดก

การจดทะเบียนหย่า, การแสดงเจตนาลวง

โจทก์เป็นบุตรของจำเลยกับนายสวงผู้ตาย จำเลยจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าโดยตกลงยกที่ดินพร้อมบ้านให้แก่นายสวงบิดาโจทก์ แต่กระทำไปเพราะโมโหและประชดประชันที่นายสวงไปติดพันหญิงอื่น จำเลยไม่มีเจตนาที่จะหย่าและยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทดังกล่าวให้แก่นายสวงแต่อย่างใด อีกทั้งนายสวงไม่มีเจตนาที่จะรับ เพราะนายสวงรู้ว่าตนเองมีความผิดที่ไปคบหาหญิงอื่น จึงไม่ไปแจ้งโอนหรือจดทะเบียนในที่ดินและบ้านจนกระทั่งนายสวงถึงแก่ความตาย

 

หลังจากจดทะเบียนหย่าแล้ว จำเลยกับนายสวงก็ยังอยู่กินฉันสามีภริยากันต่อไป และจำเลยยังเป็นผู้ดูแลนายสวงที่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง รวมทั้งรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จนนายสวง ถึงแก่ความตายแสดงว่า การจดทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยกับนายสวงกระทำขึ้นโดยมีเจตนาที่จะไม่ประสงค์ให้ผูกพันตามนั้น จึงเป็นโมฆะใช้บังคับมิได้ เมื่อการจดทะเบียนหย่าเป็นโมฆะ การสมรสยังคงมีอยู่ มีผลทำให้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าเกี่ยวกับการยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่นายสวงจึงใช้บังคับมิได้ จำเลยอ้างความเป็นโมฆะดังกล่าวใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นทายาทรับมรดกของนายสวงได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8333/2560

ภายหลังจากจำเลยกับ ส. จดทะเบียนหย่ากันแล้ว จำเลยกับ ส. ยังคงอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาพักอาศัยอยู่ที่บ้านเดียวกัน ทั้งจำเลยยังเป็นผู้ดูแล ส. เมื่อยามเจ็บไข้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจนกระทั่ง ส. ถึงแก่ความตาย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า การจดทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยกับ ส. กระทำขึ้นโดยมีเจตนาที่จะไม่ประสงค์ให้ผูกพันตามนั้น จึงเป็นโมฆะใช้บังคับมิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะเบิกความว่า เหตุที่จำเลยจดทะเบียนหย่าเพราะเหตุผลทางธุรกิจการค้าของจำเลย แตกต่างจากเหตุผลการหย่าในคำให้การก็ตาม ก็ไม่ทำให้ข้อต่อสู้ของจำเลยเสียไป เพราะเหตุผลการหย่าไม่ได้เป็นสาระสำคัญ สาระสำคัญอยู่ที่การแสดงเจตนา เมื่อการจดทะเบียนหย่าเป็นโมฆะ การสมรสยังคงมีอยู่ มีผลทำให้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าเกี่ยวกับการยกที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้ ส. ใช้บังคับมิได้ จำเลยอ้างความเป็นโมฆะดังกล่าวใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นทายาทรับมรดกของ ส. ที่จะต้องรับไปทั้งสิทธิและความรับผิดต่าง ๆ ได้

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบบ้านเลขที่ 100/15 และ 100/18 หมู่ที่ 14 ตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พร้อมโฉนดที่ดินเลขที่ 47731 และโฉนดที่ดินเลขที่ 168290 ตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ให้แก่โจทก์ กับให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยปลอดภาระผูกพันใด ๆ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย หากจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ให้จำเลยชำระเป็นเงิน 1,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์จนครบถ้วน กับให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์อัตราเดือนละ 40,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์จนครบถ้วน

จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง

ระหว่างพิจารณา ศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำสั่งให้โอนคดีนี้ไปยังศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรีเนื่องจากเป็นคดีเกี่ยวกับครอบครัวตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 10 (3)

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท

โจทก์อุทธรณ์โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษากลับ ให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 47731 เลขที่ดิน 504 ตำบลบางบัวทอง (หนองเชียงโคต) อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เนื้อที่ 59 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 100/15 หมู่ 14 ตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินแปลงดังกล่าว โดยปลอดภาระจำนองให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย หากจำเลยไม่อาจดำเนินการได้ไม่ว่าเพราะกรณีใด ๆ ให้จำเลยใช้ราคาแทนเป็นเงิน 750,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เงินเสร็จ คำขออื่นของโจทก์นอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์และจำเลยฎีกา โดยโจทก์และจำเลยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นบุตรของนายสวง กับนางบุญกอง นายสวงบิดาโจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยากัน โดยจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 ต่อมาวันที่ 12 ธันวาคม 2549 บุคคลทั้งสองได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกันและทำบันทึกท้ายทะเบียนการหย่า โดยในข้อ 3 ของบันทึกดังกล่าวระบุว่า บ้านพร้อมที่ดินเลขที่ 100/15 อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ายชายคือนายสวง ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 47731 อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี มีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยซื้อมาจากนายวิรัช เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545 บนที่ดินพิพาทมีบ้านเดี่ยวสองชั้นตั้งอยู่ 2 หลัง แต่เลขที่เดียวกัน คือ บ้านเลขที่ 100/15 ต่อมาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2551 จำเลยขอเลขที่บ้านสำหรับบ้านอีกหลังหนึ่งเป็นบ้านเลขที่ 100/18 หลังจากนั้นนายสวงถึงแก่ความตายด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2552 ก่อนตายนายสวงได้ทำพินัยกรรมลงวันที่ 23 มีนาคม 2551 ยกทรัพย์มรดกให้แก่จำเลย วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เป็นจำนวนเงิน 1,500,000 บาท วันที่ 22 ตุลาคม 2553 จำเลยยื่นคำร้องขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็น 2 แปลง โดยที่ดินอีกแปลงหนึ่งคือโฉนดเลขที่ 168290 อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีบ้านเลขที่ 100/18 ตั้งอยู่และอยู่ทางทิศเหนือติดทางสาธารณะ ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 47731 ซึ่งมีบ้านเลขที่ 100/15 ตั้งอยู่และอยู่ทางทิศใต้ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2553 ศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนายสวง และมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านของโจทก์ซึ่งยื่นคำร้องคัดค้านเข้าไปในคดีดังกล่าว ต่อมาวันที่ 1 เมษายน 2554 โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกว่ากระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดกของนายสวงต่อศาลจังหวัดนนทบุรี และศาลจังหวัดนนทบุรีกับศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า ที่ดินพิพาทพร้อมบ้านเดี่ยว 2 หลัง เป็นทรัพย์มรดกของนายสวงที่ตกทอดแก่โจทก์หรือไม่ ได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ว่า นายสวงกับจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยากันตั้งแต่ปี 2533 และจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 ในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยได้ช่วยกันทำมาหากินและร่วมกันซื้อที่ดินพิพาท รวมทั้งร่วมกันปลูกสร้างบ้านลงบนที่ดิน 2 หลัง จำเลยกับนายสวงจึงเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว เมื่อจำเลยกับนายสวงจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกการหย่าโดยจำเลยตกลงยกที่ดินพร้อมบ้านเลขที่ 100/15 ให้นายสวง จำเลยจึงถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแทนนายสวง เมื่อนายสวงถึงแก่ความตายจึงเป็นทรัพย์มรดกของนายสวงซึ่งตกทอดแก่โจทก์ จำเลยฎีกาและนำสืบต่อสู้ว่า จำเลยซื้อ ที่ดินพิพาทก่อนจดทะเบียนสมรสกับนายสวง ซื้อด้วยเงินรายได้จากการทำโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่จำเลยลงทุนด้วยเงินที่จำเลยเก็บออมไว้จำนวนหนึ่ง จากการที่จำเลยเคยเดินทางไปทำงานที่ประเทศซาอุดิอารเบีย และจำเลยกู้ยืมเงินจากธนาคารโดยจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 75882 และ 76883 ไว้เป็นหลักประกันเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2535 และที่ดินโฉนดเลขที่ 75875 จดทะเบียนจำนองเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2546 ที่ดินพิพาทพร้อมบ้านเดี่ยว 2 หลัง จึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน แต่จำเลยเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า จำเลยเปิดโรงงานเย็บผ้ามาก่อนที่จะอยู่กินฉันสามีภริยากับนายสวง จำเลยว่าจ้างรถรับจ้างเพื่อรับส่งเสื้อผ้า จึงรู้จักกับนายสวงซึ่งมีอาชีพขับรถรับจ้างตั้งแต่ปี 2533 และอยู่กินฉันสามีภริยาเมื่อปี 2534 จำเลยกับนายสวงย้ายภูมิลำเนาและย้ายโรงงานมาอยู่ที่อำเภอบางบัวทองเมื่อปี 2537 ได้ร่วมกันบริหารโรงงานโดยแบ่งงานกันทำ จำเลยซื้อที่ดินพิพาทเมื่อปี 2545 และต่อมาได้ร่วมกับนายสวงปลูกบ้าน 2 หลังบนที่ดินดังกล่าว เห็นว่า ขณะซื้อที่ดินพิพาทและปลูกบ้าน 2 หลัง จำเลยกับนายสวงได้ช่วยกันประกอบกิจการโรงงานเย็บผ้าแล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ดังนั้น ที่ดินพิพาทพร้อมบ้าน 2 หลัง จึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับนายสวงทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยกับนายสวงจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยในประการต่อมาว่า การจดทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยและนายสวงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ให้ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142 (5) ข้อนี้จำเลยเบิกความรับว่า จำเลยจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าโดยตกลงยกที่ดินพร้อมบ้านเลขที่ 100/15 ให้แก่นายสวงบิดาโจทก์ แต่กระทำไปเพราะโมโหและประชดประชันที่นายสวงไปติดพันหญิงอื่น จำเลยไม่มีเจตนาที่จะหย่าและยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทดังกล่าวให้แก่นายสวงแต่อย่างใด อีกทั้งนายสวงไม่มีเจตนาที่จะรับ เพราะนายสวงรู้ว่าตนเองมีความผิดที่ไปคบหาหญิงอื่น จึงไม่ไปแจ้งโอนหรือจดทะเบียนในที่ดินและบ้านจนกระทั่งนายสวงถึงแก่ความตาย และในชั้นพิจารณาก็ได้ความว่าหลังจากจดทะเบียนหย่าแล้ว จำเลยกับนายสวงก็ยังอยู่กินฉันสามีภริยากันต่อไป และจำเลยยังเป็นผู้ดูแลนายสวงที่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง รวมทั้งรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จนนายสวง ถึงแก่ความตาย เห็นว่า ข้อเท็จจริงที่ได้จากทางนำสืบสอดคล้องกับข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวว่า ภายหลังจากที่จำเลยกับนายสวงจดทะเบียนหย่ากันแล้ว จำเลยกับนายสวงยังคงอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาพักอาศัยอยู่ที่บ้านเดียวกัน ทั้งจำเลยยังเป็นผู้ดูแลนายสวงเมื่อยามเจ็บไข้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจนกระทั่งนายสวงถึงแก่ความตาย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า การจดทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยกับนายสวงกระทำขึ้นโดยมีเจตนาที่จะไม่ประสงค์ให้ผูกพันตามนั้น จึงเป็นโมฆะใช้บังคับมิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะเบิกความว่า เหตุที่จำเลยจดทะเบียนหย่าเพราะเหตุผลทางธุรกิจการค้าของจำเลย แตกต่างจากเหตุผลการหย่าในคำให้การก็ตาม ก็ไม่ทำให้ข้อต่อสู้ของจำเลยเสียไปเพราะเหตุผลการหย่าไม่ได้เป็นสาระสำคัญ สาระสำคัญอยู่ที่การแสดงเจตนา เมื่อการจดทะเบียนหย่าเป็นโมฆะ การสมรสยังคงมีอยู่ มีผลทำให้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าเกี่ยวกับการยกที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้แก่นายสวงจึงใช้บังคับมิได้ จำเลยอ้างความเป็นโมฆะดังกล่าวใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นทายาทรับมรดกของนายสวงที่จะต้องรับไปทั้งสิทธิและความรับผิดต่าง ๆ ได้ ประกอบกับโจทก์มิใช่บุคคลภายนอก อย่างไรก็ตาม ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาท เป็นทรัพย์สินที่นายสวงกับจำเลยทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยกับนายสวงจึงมีกรรมสิทธิ์คนละกึ่งหนึ่ง เมื่อนายสวงถึงแก่ความตาย ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมของนายสวงจึงเป็นทรัพย์มรดกซึ่งตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นภริยาและโจทก์ผู้เป็นบุตรซึ่งมีสิทธิรับมรดกของนายสวงคนละกึ่งหนึ่ง จำเลยนำทรัพย์พิพาทไปจำนองประกันหนี้หลังจากนายสวงตายไปแล้ว หนี้ดังกล่าวมิใช่หนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับนายสวง กองมรดกของนายสวงจึงไม่ต้องรับผิด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นสมควรให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 47731 เนื้อที่ 59 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 100/15 ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินโดยปลอดภาระจำนองนั้น เห็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งหมด แต่ได้ความว่าโจทก์มีสิทธิเพียงหนึ่งในสี่ส่วน จำเลยจึงมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หนึ่งในสี่ส่วนของที่ดินทั้งสองแปลงโดยปลอดภาระจำนอง หากจำเลยไม่อาจดำเนินการได้ไม่ว่าเพราะกรณีใด ๆ ให้โจทก์กับจำเลยตีราคาทรัพย์พิพาท แล้วให้จำเลยใช้ราคาแทนแก่โจทก์หนึ่งในสี่ส่วน แต่ทั้งนี้ให้โจทก์ได้รับไม่เกิน 750,000 บาท ตามคำขอของโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยบางส่วน

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 47731 และเลขที่ 168290 ตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยปลอดภาระจำนองให้แก่โจทก์หนึ่งในสี่ส่วน โดยให้โจทก์จำเลยแบ่งทรัพย์สินกันเอง เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ให้ประมูลราคาระหว่างกันเอง ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ให้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาด ได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งให้โจทก์หนึ่งในสี่ส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ทั้งนี้ให้ไม่เกินจำนวน 750,000 บาท ตามที่โจทก์ขอมาในฟ้อง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

การจดทะเบียนหย่าอันเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างกันหรือกระทำขึ้นโดยการสมยอมระหว่าสามีและภริยาเพื่ออำพรางสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายนั้น ย่อมไม่ผูกพันบุคคลภายนอก แม้มีบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าในเรื่องทรัพย์สินก็ไม่ผูกพันเจ้าหนี้ที่จะนำยึดทรัพย์ที่เป็นสินสมรสได้

 หนังสือข้อตกลงหย่าและการจดทะเบียนหย่า ผู้ร้องกับจำเลยแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างกันกระทำขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการกระทำขึ้นโดยสมยอมจึงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดจึงเป็นสินสมรสซึ่งผู้ร้องกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันผู้ร้องไม่มีอำนาจมาร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3698/2524
 
 ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่า ผู้ร้องกับจำเลยซึ่งเป็นสามีภรรยายกันได้ตกลงหย่าและแบ่งทรัพย์สินกัน โดยมีข้อตกลงว่าทรัพย์สินนอกจากเงินสด 700,000 บาท เป็นของผู้ร้อง โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของผู้ร้อง โจทก์ไม่มีสิทธิจะนำยึด ขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ยึด

          โจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องกับจำเลยยังอยู่ร่วมหลับนอนทำมาหากินร่วมกันฉันสามีภรรยา ทะเบียนหย่าและข้อตกลงหย่าและแบ่งทรัพย์สิน ผู้ร้องและจำเลยได้สมคบกันทำขึ้นโดยสมยอมเพื่อฉ้อโกงโจทก์และเจ้าหนี้อื่น ขอให้ยกคำร้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ถอนการยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและเรือที่โจทก์นำยึด

          โจทก์อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกคำร้องของผู้ร้อง

  ผู้ร้องขัดทรัพย์ฎีกา

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษาทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องได้มาในระหว่างที่ผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภรรยากัน แต่ปรากฏว่าผู้ร้องกับจำเลยได้ตกลงทำหนังสือหย่าโดยความยินยอมกันไว้ ซึ่งผู้ร้องกับจำเลยตกลงหย่าขาดจากกันและแบ่งสินสมรสกันโดยฝ่ายจำเลยขอรับเงินสดเจ็ดแสนบาทซึ่งได้รับไปแล้วในวันทำสัญญา ส่วนทรัพย์สินอื่นทั้งอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ให้ตกเป็นของผู้ร้อง ต่อมาผู้ร้องและจำเลยได้จดทะเบียนหย่ากัน การทำหนังสือข้อตกลงหย่าและการจดทะเบียนหย่าเกิดขึ้นก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ หลังจากนั้นผู้ร้องกับจำเลยก็ยังอยู่กินร่วมบ้านกันที่บ้านผู้ร้องฉันสามีภรรยาและทำมาหากินร่วมกันตามปกติธรรมดาเสมือนหนึ่งมิได้มีการหย่าขาดจากกันตลอดมาจนกระทั่ง พ.ศ. 2518 จำเลยจึงได้หลบหนี้สินไปจากบ้านผู้ร้อง ดังนี้ เชื่อไม่ได้ว่าผู้ร้องกับจำเลยได้ตกลงหย่าและทำการแบ่งสินสมรสกันเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อเป็นเช่นนี้การที่ผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่ากันตามเอกสารหมาย จ.7 โดยทั้งสองฝ่ายได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบันทึกไว้ด้านหลังทะเบียนหย่าว่าได้ตกลงกันในเรื่องทรัพย์สินที่มีมาก่อนจดทะเบียนหย่าเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงฝ่าฝืนความจริง กรณีถือได้ว่าการที่ผู้ร้องกับจำเลยตกลงทำหนังสือข้อตกลงหย่าและจดทะเบียนหย่ากันเป็นการที่ผู้ร้องกับจำเลยแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างกันกระทำขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการกระทำขึ้นโดยสมยอม จึงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดจึงเป็นสินสมรสซึ่งผู้ร้องกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยจากการยึด

  พิพากษายืน

  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 288 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง มาตรา 55 ถ้าบุคคลใด กล่าวอ้างว่าจำเลย หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออก ขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อ ศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้น ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้กล่าวอ้างนั้นนำส่งสำเนาคำร้องขอแก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษา และจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงาน บังคับคดีโดยลำดับ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำร้องขอเช่นว่านี้ ให้งดการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่พิพาทนั้นไว้ในระหว่าง รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลดั่งที่บัญญัติไว้ต่อไปนี้

เมื่อได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลแล้ว ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสิน คดีนั้นเหมือนอย่างคดีธรรมดา เว้นแต่
(1) เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนวันกำหนดชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้า มาเพื่อประวิงให้ชักช้าศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้ผู้กล่าวอ้างวางเงิน ต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลจะกำหนดไว้ในคำสั่งตามจำนวนที่ ศาลเห็นสมควร เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาสำหรับความเสียหายที่อาจได้รับเนื่องจากเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดี อันเกิดแต่การยื่นคำร้องขอนั้น ถ้าผู้กล่าวอ้างไม่ ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบ ความ
(2) ถ้าทรัพย์สินที่พิพาทนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์และมีพยาน หลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีเหตุอันควรฟัง หรือถ้า ปรากฏว่าทรัพย์สินที่ยึดนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ที่เก็บไว้นานไม่ได้ ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาด หรือจำหน่ายทรัพย์สินเช่นว่านี้โดยไม่ชักช้า

คำสั่งของศาลตามวรรคสอง (1) และ (2) ให้เป็นที่สุด

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 237    เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใดๆอันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบแต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หาท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้

บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมีให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน

 มาตรา 1522 ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกัน ไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่ายหรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะ ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด

ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่อง ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ให้ศาลเป็นผู้กำหนด

มาตรา 1531 การสมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายนั้น การหย่าโดย ความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีผลนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่าเป็นต้น ไป

การหย่าโดยคำพิพากษามีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็น เหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จด ทะเบียนการหย่านั้นแล้ว

มาตรา 1532 เมื่อหย่ากันแล้วให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยา

แต่ในระหว่างสามีภริยา
(ก) ถ้าเป็นการหย่ากันโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ให้จัดการแบ่ง ทรัพย์สินของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนการหย่า
(ข) ถ้าเป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาส่วนที่บังคับ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น มีผลย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่า

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5690/2552

    การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากันเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีแต่ยังคงอยู่กินและอุปการะเลี้ยงดูกันเสมือนมิได้หย่ากันเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างกัน การหย่าดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 คำฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าการหย่าเป็นโมฆะและขอแบ่งทรัพย์ที่ทำมาหาได้ จึงเป็นการขอเข้าจัดการสินสมรสร่วมกับจำเลยซึ่งโจทก์มีสิทธิร้องขอได้ตราบเท่าที่โจทก์และจำเลยยังคงมีฐานะเป็นสามีภริยากันอยู่ และกรณีนี้มิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องที่จะต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/9

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 155   การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะแต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้

ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรม อื่นให้นำบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพราง มาใช้บังคับ

มาตรา 193/9   สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดสิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ

 นิติกรรมขายที่ดินเพื่ออำพรางนิติกรรมให้

เจ้าของที่ดินมีเจตนายกที่ดินให้แก่หลานแต่จดทะเบียนนิติกรรมเป็นการขาย ดังนี้ถือได้ว่าการจดทะเบียนนิติกรรมขายที่ดินเพื่ออำพรางนิติกรรมให้ ทำให้นิติกรรมการขายที่ดินเป็นการแสดงเจตนาด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี นิติกรรมดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะ การที่เจ้าของที่ดินจดทะเบียนนิติกรรมขายมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน คือที่ดินเช่นเดียวกับนิติกรรมให้ต่างกันเพียงว่ามีค่าตอบแทนแก่กันหรือไม่เท่านั้น ย่อมถือได้ว่าการจดทะเบียนขายดังกล่าวเป็นการทำหนังสือและจดทะเบียนสำหรับการให้ที่ถูกอำพรางด้วยโดยอนุโลม นิติกรรมการให้ที่ดิน จึงไม่เป็นโมฆะและมีผลบังคับได้

หลังจากจดทะเบียนหย่าแล้วจำเลยกับสามีก็ยังอยู่กินกันต่อไป

จำเลยจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าโดยตกลงยกที่ดินพร้อมบ้านให้แก่นายสวง(สามี) ซึ่งเป็นบิดาโจทก์ แต่กระทำไปเพราะโมโหและประชดประชันที่นายสวงไปติดพันหญิงอื่น จำเลยไม่มีเจตนาที่จะหย่าและยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทดังกล่าวให้แก่นายสวงแต่อย่างใด อีกทั้งนายสวงไม่มีเจตนาที่จะรับ เพราะนายสวงรู้ว่าตนเองมีความผิดที่ไปคบหาหญิงอื่น จึงไม่ไปแจ้งโอนหรือจดทะเบียนในที่ดินและบ้านจนกระทั่งนายสวงถึงแก่ความตาย




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก article
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้ article
ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง article
สามีภริยาจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้างแต่ต้องเกิดจากความยินยอม article
ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ article
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า article
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา article
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส การจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรา(เงินสด) article
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า article
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว article
สิทธิฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี article
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง article
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา article
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล article
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี article
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด article
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย article
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง article
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา article
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง article
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา article
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ article
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า article
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง article
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน article
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ article
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้ article
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้ article
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว article
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ article
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้ article
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว article
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้ article
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์ article
แยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข article
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า article
เหตุหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า article
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่ article
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง article
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย article
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้ article
พฤติการณ์อย่างไรเรียกว่ายกย่องเมียน้อยฉันภริยา article
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด article
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง article
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม article
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี article
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร article
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้ article
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง article
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต article
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม article
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่ article
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง article
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส article
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง article
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ article
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล article
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า article
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ article
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี article
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา article
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด article
จดทะเบียนสมรสโดยต่างไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง article
สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง article
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส article
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด article
สามีบังคับภริยาให้ยอมร่วมประเวณีโดยใช้มีดขู่ฆ่าอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ article
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า article
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ article
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง" article
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน article
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ article
สำนักงานการปฏิรูปฯ (ส.ป.ก.)ขอออกโฉนดโดยมิชอบ article
พักโรงแรมห้องเดียวกับสามี ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้โดยไม่ต้องฟ้องหย่า article
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัดเรื่องชู้สาวจึงไม่เป็นการยินยอมและให้อภัยของโจทก์ article