ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การแบ่งทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์รวม ทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE 

การแบ่งทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์รวม ทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้

เมื่อสามีและภริยาอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส ย่อมเป็นสามีภริยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้ด้วยกันมา ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์รวมหรือเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยแต่ละฝ่ายมีกรรมสิทธิ์ หรือเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์สินดังกล่าวคนละส่วนเท่า ๆ กัน แต่ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นเลย ต่อมาเมื่อมีการจดทะเบียนสมรสกันแล้วทรัพย์สินที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรับมา ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ หรือที่ทั้งสองฝ่ายทำมาหาได้หลังจากจดทะเบียนสมรสกันย่อมเป็นสินสมรสทั้งสิ้น รวมทั้งการที่คู่สมรสฝ่ายใดได้เช่าซื้อ หรือซื้อผ่อนทรัพย์สินมาก่อนที่จะเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว หลังจากจดทะเบียนสมรสกันแล้วจึงผ่อนชำระราคาส่วนมากที่ยังเหลืออยู่จนครบถ้วนและได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ทรัพย์สินที่ได้มาดังกล่าวนี้ย่อมย่อมเป็นสินสมรสด้วย ทั้งสองฝ่ายมีอำนาจจัดการทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสนั้นร่วมกัน แต่ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซื้อมาและชำระราคาครบถ้วนแล้ว แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ ครั้นเมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว ต่อมาจึงจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์นั้นมา ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของฝ่ายนั้น มิใช่สินสมรสแต่อย่างใด การทำนิติกรรมหรือสัญญาต่าง ๆ หรือการฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส ต้องกระทำด้วยกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย ส่วนทรัพย์สินที่เป็นที่ดิน หรือทรัพย์สินที่ต้องมีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้มีชื่อของคู่สมรสฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าของในทางทะเบียนก็ตาม ก็มิได้ถือว่าเป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายนั้น แต่ถือว่าเป็นสินสมรส เมื่อหย่ากันแล้วก็ให้แบ่งสินสมรสให้แต่ละฝ่ายได้รับคนละส่วนเท่า ๆ กัน โดยตกลงแบ่งกันเอง หากตกลงแบ่งกันไม่ได้ก็ต้องนำทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสออกขายทอดตลาด แล้วนำเงินที่ขายได้มาแบ่งครึ่งกัน หรือถ้าตามสภาพไม่อาจกระทำเช่นดังที่กล่าวได้เพราะจะทำให้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายมาก ก็ต้องแบ่งกันดัวยวิธีการอื่นอันสมควร ที่จะไม่ให้คู่สมรสฝ่ายใดได้รับความเสียหายมาก เช่น แบ่งกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1316 และมาตรา 1364 เป็นต้น นอกจากนี้ในระหว่างสมรสได้มีการที่ใส่ชื่อคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทะเบียนทรัพย์สินใด เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นต้น หรือมีชื่อเป็นเจ้าของในเอกสารของทรัพย์สินใด เช่น คู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ ใบหุ้น หรือสมุดบัญชีเงินฝากในธนาคาร เป็นต้น ถือเป็นสินสมรส หากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งร้องขอให้ใส่ชื่อตนถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น คู่สมรสฝ่ายดังกล่าวก็ต้องดำเนินการให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นร่วมกับตนด้วย หากไม่ดำเนินการให้ก็ย่อมมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เกิดขึ้นแล้ว คู่สมรสฝ่ายที่ถูกปฏิเสธการใส่ชื่อของตนเป็นเจ้าของร่วมดังกล่าว ย่อมมีอำนาจฟ้องคู่สมรสอีกฝ่ายให้จดทะเบียนใส่ชื่อของตนในทะเบียนของทรัพย์สินดังกล่าว แต่ตราบใดที่คู่สมรสยังคงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็ย่อมไม่อาจที่จะขอแบ่งแยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสได้ จะแบ่งสินสมรสกันได้ก็ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนหย่ากันแล้ว

แต่ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ยกทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัว หรือที่เป็นสินสมรสส่วนของตนทั้งหมด หรือแต่บางส่วนให้แก่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ย่อมถือว่าทรัพย์สินที่ได้รับยกให้มาดังกล่าวนั้นได้ตกเป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายที่ได้รับการยกให้แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการยกสินสมรสส่วนของตนให้อีกฝ่ายหนึ่งไปแล้ว ถือว่าเป็นการให้โดยเสน่หา ไม่ถือว่าเป็นการแบ่งสินสมรส และหากทรัพย์สินที่ยกให้นั้นมีชื่อคู่สมรสผู้รับการยกให้นั้นถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก เพียงแต่ทำหนังสือแล้วลงชื่อผู้ยกให้ไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น แต่ถ้าฝ่ายที่ยกให้เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ก็ต้องไปจดทะเบียนการยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจะมีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตารา 1470 มาตรา 1471 มาตรา 1472 มตรา 1473 มาตรา 1474 มาตรา 1475 มาตรา 1532 และ มาตรา 1533

มาตรา 1470 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัว ย่อมเป็นสินสมรส

มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดย การให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น

มาตรา 1472 สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว

สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือ เงินมาทดแทนทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว

มาตรา 1473 สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ

มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว 

ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

มาตรา 1475 ถ้าสินสมรสใดเป็นจำพวกที่ระบุไว้ใน มาตรา 456 แห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือที่มีเอกสารเป็นสำคัญ สามีหรือภริยา จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมกันในเอกสารนั้นก็ได้ 

มาตรา 1532 เมื่อหย่ากันแล้วให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยา

แต่ในระหว่างสามีภริยา
(ก) ถ้าเป็นการหย่ากันโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ให้จัดการแบ่ง ทรัพย์สินของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนการหย่า
(ข) ถ้าเป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาส่วนที่บังคับ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น มีผลย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่า

มาตรา 1533 เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน 

มาตรา 1316 ถ้าเอาสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมารวมเข้ากันจน เป็นส่วนควบหรือแบ่งแยกไม่ได้ไซร้ ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นเจ้าของรวม แห่งทรัพย์ที่รวมเข้ากัน แต่ละคนมีส่วนตามค่าแห่งทรัพย์ของตนในเวลาที่รวม เข้ากับทรัพย์อื่น

ถ้าทรัพย์อันหนึ่งอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธานไซร้ ท่านว่าเจ้าของ ทรัพย์นั้นเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้ากันแต่ผู้เดียว แต่ต้องใช้ค่าแห่งทรัพย์ อื่น ๆ ให้แก่เจ้าของทรัพย์นั้น ๆ 

มาตรา 1364 การแบ่งทรัพย์สินพึงกระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเอง ระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน

ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรไซร้ เมื่อเจ้าของ รวมคนหนึ่งคนใดขอ ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง ถ้าส่วนที่แบ่งให้ ไม่เท่ากันไซร้ จะสั่งให้ทดแทนกันเป็นเงินก็ได้ ถ้าการแบ่งเช่นว่านี้ไม่อาจทำ ได้หรือจะเสียหายมากนักก็ดี ศาลจะสั่งให้ขายโดยประมูลราคากันระหว่าง เจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้

กรณีที่สามีภริยาจดทะเบียนหย่ากันแล้วแต่ยังอยู่ด้วยกันมา แล้วได้ร่วมกันทำมาหากินได้ทรัพย์สินมาอีก ดังนี้ ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ตั้งแต่วันจดทะเบียนสมรสจนถึงวันจดทะเบียนหย่า ย่อมเป็นสินสมรสที่สามีภริยามีสิทธิกันคนละส่วนเท่าๆ กัน แต่ทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้ ก่อนจดทะเบียนสมรส หรือหลังจดทะเบียนหย่า สามีภริยาย่อมเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์สินดังกล่าว โดยมีสิทธิคนละส่วนเท่า ๆ กัน ไม่ใช่เป็นสินสมรส แต่ถ้าเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำมาหาได้ซึ่งทรัพย์สินฝ่ายเดียว ก็เป็นทรัพย์สินของฝ่ายนั้น อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินนั้นเลย

การหย่ากันโดยความยินยอมทั้งสองฝ่ายและจดทะเบียนหย่าแล้ว ต้องจัดการแบล่งวทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส ตามที่มีอยู่ในขณะจดทะเบียนหย่า การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ต้องจัดการแบ่งทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสตามที่มีอยู่ในสันที่ฟ้องหย่านั้น มิใช่เท่าที่มีอยู่ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลแต่อย่างใด 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2618/2524

ผู้ร้องกับจำเลยจดทะเบียนสมรสเมื่อ พ.ศ.2520 แต่อยู่กินกันมาประมาณ 30 ปีแล้ว จำเลยกับผู้ร้องร่วมกันสร้างบ้านพิพาทก่อนจดทะเบียนสมรส จึงมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละครึ่ง และถือว่าเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องครึ่งหนึ่ง หนี้ตามฟ้องจำเลยก่อให้เกิดขึ้นก่อนสมรส จึงมิใช่เป็นหนี้ร่วมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1490(4) ผู้ร้องมีสิทธิขอกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด บ้านพิพาทได้

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้กันส่วนเงินที่ขายทอดตลาดบ้านให้แก่ผู้ร้องครึ่งหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องมีสิทธิขอกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดบ้านที่โจทก์นำยึดหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องกับจำเลยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2520 แต่อยู่กินกันมาประมาณ 30 ปีแล้ว บ้านพิพาทจำเลยกับผู้ร้องร่วมกันสร้างก่อนจดทะเบียนสมรส จึงมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละครึ่งและถือได้ว่าบ้านพิพาทเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องครึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(1) อนึ่งหนี้ตามฟ้องจำเลยก่อให้เกิดขึ้นก่อนสมรส จึงมิใช่เป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4) ดังนั้น ผู้ร้องมีสิทธิขอกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดบ้านพิพาทได้"

พิพากษายืน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดย การให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น

มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามี หรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
(1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบ ครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและ การศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ได้ให้สัตยาบัน

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 

มาตรา 287 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 288 และ มาตรา 289 บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการบังคับคดีแก่ ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึง บุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับ เหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2524

ทรัพย์สินที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำมาหาได้ในระหว่างที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา เป็นของผู้ร้องกับผู้ตายร่วมกันผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย และมีสิทธิร้องขอให้ตั้ง อ. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วย ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องจะเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ศาลจะตั้งใครเป็นผู้จัดการมรดกนั้นจะต้องคำนึงถึงประโยชน์แก่กองมรดกและเจตนาของเจ้ามรดกด้วย เมื่อผู้ตายได้ทำหนังสือตั้ง อ. เป็นผู้จัดการมรดกไว้ ส่วนผู้คัดค้านเป็นเพียงพี่สาวร่วมมารดากับผู้ตาย เคยมีเรื่องทะเลาะกันกับผู้ตายจนไม่พูดจากัน จึงควรตั้ง อ. เป็นผู้จัดการมรดก 

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งพันโทโอภาส นิมมานพ เป็นผู้จัดการมรดกของนายพิศาล เต็งกวน ผู้วายชนม์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้คัดค้านฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "ปัญหามีว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียหรือไม่ปัญหานี้ผู้ร้องและผู้คัดค้านนำสืบรับกันว่า ผู้ร้องกับผู้ตายได้อยู่กินฉันสามีภรรยาร่วมกันตลอดมาจนกระทั่งผู้ตายถึงแก่กรรม ทั้งยังได้ความจากผู้ร้องเบิกความว่า ตอนได้เสียเป็นภรรยาผู้ตายนั้น ผู้ร้องมีสินเดิมเป็นเงินที่ได้จากการทำการค้ากับพี่สาว ดังนั้น บรรดาทรัพย์สินที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำมาหาได้ในระหว่างที่อยู่กินด้วยกัน จึงเป็นของผู้ร้องกับผู้ตายร่วมกัน ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย และมีสิทธิร้องขอให้ตั้งพันโทโอภาส นิ่มมานพ เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วย ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องจะเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ฎีกาผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น

ปัญหาต่อไปว่าพันโทโอภาส นิ่มมานพ กับผู้คัดค้านใครสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ปัญหานี้ผู้ร้องเบิกความว่า ก่อนผู้ตายถึงแก่กรรมได้ทำหนังสือตั้งพันโทโอภาส นิ่มมานพ เป็นผู้จัดการมรดกไว้ตามเอกสารหมาย ร.3 และได้ฝากหนังสือดังกล่าวไว้กับพระครูสังฆรักษ์บุญทาเจ้าอาวาสวัดอินทราราม ซึ่งผู้ร้องมีพระครูสังฆรักษ์บุญทาเป็นพยานเบิกความสนับสนุนว่าผู้ตายได้ฝากหนังสือดังกล่าวไว้กับพยานจริงมาสนับสนุนให้มีน้ำหนักเชื่อถือยิ่งขึ้นว่าผู้ตายได้ทำหนังสือเอกสารหมาย ร.3ไว้จริงที่ผู้คัดค้านอ้างว่าหนังสือเอกสารหมาย ร.3 นั้นปลอม โดยมีนายจีรศักดิ์ ศรมณี เบิกความว่าผู้ตายได้เซ็นชื่อไว้ในใบมอบอำนาจแล้วมีผู้ไปกรอกข้อความเองนั้น แต่พยานมิได้ยืนยันว่าเอกสารที่เคยมีผู้นำมาปรึกษาคือเอกสารหมาย ร.3 ทั้งผู้คัดค้านก็ไม่เคยรู้จักนายจีรศักดิ์ ศรมณี และไม่มีญาติพี่น้องคนใดพูดสั่งหรือเล่าเรื่องนายจีรศักดิ์ให้ฟังแต่อย่างใดถึงเดี๋ยวนี้เหตุใดผู้คัดค้านจึงอ้างนายจีรศักดิ์เป็นพยานจึงเป็นที่น่าสงสัย คำเบิกความของนายจีรศักดิ์จึงไม่มีน้ำหนักควรแก่การรับฟังเมื่อผู้ตายมีเจตนาที่จะตั้งให้พันโทโอภาส นิ่มมานพ เป็นผู้จัดการมรดกของตน และพันโทโอภาส นิ่มมานพ ก็ยินดีและเต็มใจรับเป็นผู้จัดการมรดกให้ ทั้งพันโทโอภาส นิ่มมานพ มีคุณสมบัติครบถ้วนไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ส่วนผู้คัดค้านเป็นเพียงพี่สาวร่วมมารดากับผู้ตายเท่านั้น ทั้งปรากฏว่าผู้คัดค้านกับผู้ตายเคยมีเรื่องทะเลาะกัน จนไม่พูดจามา 10 ปีเศษแล้ว และผู้คัดค้านก็ไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินมรดกว่าเป็นที่ดินมีโฉนดหรือไม่ อยู่ตรงไหนบ้าง และจะมีเงินฝากธนาคารอะไรมีจำนวนเงินมากน้อยเท่าไร ผู้คัดค้านก็ไม่ทราบ การทีศาลจะแต่งตั้งใครเป็นผู้จัดการมรดกนั้นจะต้องคำนึงถึงประโยชน์แก่กองมรดกและเจตนาของเจ้ามรดกด้วย จากเหตุผลดังกล่าวเห็นสมควรตั้งพันโทโอภาส นิ่มมานพ เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย"

พิพากษายืน 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้อง ต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดั่งต่อไปนี้
(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหาย ไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
(2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัด การ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก
(3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วย ประการใด ๆ 

การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งตาม ข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่ข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อ ประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของ เจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3610/2526

โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันและขอแบ่งสินสมรสหลายรายการระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความแถลงตกลงกันในการแบ่งทรัพย์สินบางรายการ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดให้แบ่งทรัพย์สินที่ตกลงกันได้นั้นไปตามที่คู่ความตกลงกันส่วนรายการที่ตกลงกันไม่ได้ ศาลวินิจฉัยชี้ขาดไปตามพยานหลักฐานของคู่ความ ดังนี้ ศาลไม่อาจคืนค่าธรรมเนียมศาลให้โจทก์ได้ เพราะกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความที่จะทำให้ศาลมีอำนาจคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่คู่ความที่เกี่ยวข้องได้

การที่จะพิจารณาให้คู่ความใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจของศาล โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161

โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินแปลงพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสมีราคา 9 ล้านบาทขอให้จำเลยแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน 4.5 ล้านบาท จำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธว่าที่ดินแปลงพิพาทไม่ใช่สินสมรส แต่ไม่ได้โต้เถียงในเรื่องราคาที่ดินและจำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้อง จึงต้องฟังตามคำฟ้องของโจทก์ว่าที่ดินแปลงพิพาทมีราคา 9 ล้านบาท

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยได้ประพฤติชั่วและทำการเป็นปรปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง ขอให้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน และให้จำเลยแบ่งสินสมรสรวม 11 รายการแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง

จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยขอปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ทั้งสิ้นทรัพย์สินอันดับ 7 ไม่ใช่สินสมรส อันดับ 8 ไม่ใช่ของจำเลย ขอให้โจทก์จดทะเบียนหย่ากับจำเลยและให้โจทก์แบ่งที่ดินอันเป็นสินสมรสให้จำเลย

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์พร้อมจะแบ่งที่ดินตามฟ้องแย้งให้จำเลย

ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงร่วมกันว่ายอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน และรับข้อเท็จจริงและตกลงกันบางประการเกี่ยวกับทรัพย์สินตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยแบ่งสินสมรสรวม 7 รายการให้แก่โจทก์ คำขออื่นของโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยให้ยก

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า สำหรับที่ดินรายการที่ 7 อันเป็นสินสมรสให้จำเลยชดใช้ราคาให้โจทก์กึ่งหนึ่งแทนการแบ่งที่ดิน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์และจำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่จำเลยฎีกาว่า ทรัพย์สินตามฟ้องบางรายการจำเลยยอมรับว่าเป็นสินสมรส โจทก์จำเลยได้ประนีประนอมยอมความแบ่งกันชอบที่ศาลจะคืนค่าธรรมเนียมศาลให้โจทก์นั้น เห็นว่า คดีนี้มิได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความที่จะทำให้ศาลมีอำนาจคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด หรือแต่บางส่วนแก่คู่ความที่เกี่ยวข้อง เป็นเพียงแต่คู่ความรับข้อเท็จจริงกันบางประการ ทรัพย์สินตามฟ้องบางรายการศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปตามที่คู่ความตกลงกัน บางรายการวินิจฉัยชี้ขาดไปตามพยานหลักฐานของคู่ความ ศาลชั้นต้นไม่อาจคืนค่าธรรมเนียมศาลให้โจทก์ได้ ในข้อที่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมศาล (ในศาลชั้นต้น) ฝ่ายเดียวนั้น การที่จะพิจารณาให้คู่ความใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจของศาล โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนิคดีของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และศาลชั้นต้นก็ได้ใช้ดุลพินิจในเรื่องนี้เหมาะสมแล้ว

ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1121 ราคา 9,000,000 บาทจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในเรื่องราคา ต้องฟังว่าที่ดินแปลงนี้ราคา 9,000,000 บาทโจทก์มีสิทธิอยู่กึ่งหนึ่ง จำเลยต้องใช้เงินให้โจทก์ 4,500,000 บาทนั้น เห็นว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินแปลงนี้ซึ่งเป็นสินสมรสมีราคา 9,000,000 บาท ขอให้จำเลยแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่ง ได้ระบุจำนวนเงินที่ขอแบ่งมาด้วย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยให้โจทก์มีสิทธิของโจทก์มิใช่เป็นเรื่องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการละเมิด หรือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามควรแก่พฤติการณ์ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเงินที่โจทก์เรียกร้องเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 1121 เป็นค่าเสียหาย จำเลยปฏิเสธว่าที่ดินดังกล่าวมิใช่สินสมรส โจทก์ต้องนำสืบค่าเสียหาย ถ้าโจทก์สืบไม่ได้ศาลก็ต้องคำนวณให้ตามพฤติการณ์ปกติ และฟังว่าราคาที่ดินแปลงนี้ตามพฤติการณ์ปกติเป็นเงิน 4,360,000 บาท พิพากษาให้จำเลยใช้ราคากึ่งหนึ่งเป็นเงิน 2,180,000 บาท นั้น ศาลฎีกาจึงไม่เห็นพ้องด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1121 ซึ่งเป็นสินสมรสราคา 9,000,000 บาท ขอให้จำเลยใช้ราคาแก่โจทก์กึ่งหนึ่ง จำเลยไม่ได้โต้เถียงเรื่องราคาที่ดินและจำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้องเมื่อจำเลยไม่ได้ยกเป็นประเด็นต่อสู้ไว้เช่นนี้ จึงต้องฟังตามคำฟ้องของโจทก์ว่าที่ดินแปลงนี้ราคา 9,000,0000 บาท จำเลยจึงต้องใช้ราคาให้โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน 4,500,000 บาท

พิพากษาแก้เป็นว่า สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 1121 ให้จำเลยใช้ราคาให้โจทก์ 4,500,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1514 การหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย หรือโดยคำพิพากษาของศาล

การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ

อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความ ประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่าย หนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

มาตรา 1532 เมื่อหย่ากันแล้วให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยา

แต่ในระหว่างสามีภริยา
(ก) ถ้าเป็นการหย่ากันโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ให้จัดการแบ่ง ทรัพย์สินของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนการหย่า
(ข) ถ้าเป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาส่วนที่บังคับ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น มีผลย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่า

มาตรา 1533 เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน

มาตรา 1534 สินสมรสที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำหน่ายไปเพื่อประ โยชน์ตนฝ่ายเดียวก็ดี จำหน่ายไปโดยเจตนาทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเสียหาย ก็ดี จำหน่ายไปโดยมิได้รับความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีที่ กฎหมายบังคับว่าการจำหน่ายนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง ด้วยก็ดี จงใจทำลายให้สูญหายไปก็ดี ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่ เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตาม มาตรา 1533 และถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้รับส่วน แบ่งสินสมรสไม่ครบตามจำนวนที่ควรจะได้ ให้คู่สมรสฝ่ายที่ได้จำหน่าย หรือจงใจทำลายสินสมรสนั้นชดใช้จากสินสมรสส่วนของตนหรือสินส่วนตัว

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 161 ภายใต้บังคับบทบัญญัติห้ามาตราต่อไปนี้ ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีเป็นผู้รับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจะชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือแต่บางส่วนศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีนั้นรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือให้คู่ความแต่ละฝ่ายรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนของตนหรือตามส่วนแห่งค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งคู่ความทุกฝ่ายได้เสียไปก่อนได้ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี

คดีที่ไม่มีข้อพิพาทให้ฝ่ายเริ่มคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียม

มาตรา 163 ถ้าคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยการตกลงหรือการ ประนีประนอมยอมความหรืออนุญาโตตุลาการ คู่ความแต่ละฝ่าย ย่อมรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนการดำเนินกระบวนพิจารณา ของตน เว้นแต่คู่ความจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 165 ในกรณีที่มีการชำระหนี้ดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 137 ถ้าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้นั้นเป็นการพอใจเต็มตามที่เรียกร้องแล้ว จำเลยต้องเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเว้นแต่ศาลจะเห็นสมควร มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ถ้าโจทก์ไม่พอใจในการชำระหนี้เช่นว่านั้น และดำเนินคดีต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมให้อยู่ในดุลพินิจของศาล แต่ถ้าศาลเห็นว่าการ ชำระหนี้นั้นเป็นการพอใจเต็มตามที่โจทก์เรียกร้องแล้ว ค่า ฤชาธรรมเนียมทั้งสิ้นอันเกิดแต่การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับ ชำระหนี้นั้น โจทก์ต้องเป็นผู้รับผิด

มาตรา 172 ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 57 ให้โจทก์เสนอ ข้อหาของตนโดยทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้น

คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และ คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น

ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสีย หรือ ให้คืนไปตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18

มาตรา 177 เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลย ทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน

ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น

จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่อง อื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก

ให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้คืนไป หรือสั่ง ไม่รับตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18

บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ถูกเรียก เข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตาม มาตรา 57 (3) โดยอนุโลม

มาตรา 183 ในวันชี้สองสถาน ให้คู่ความมาศาล และให้ศาลตรวจ คำคู่ความและคำแถลงของคู่ความแล้วนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏใน คำคู่ความและคำแถลงของคู่ความเทียบกันดู และสอบถามคู่ความ ทุกฝ่ายถึงข้ออ้าง ข้อเถียง และพยานหลักฐานที่จะยื่นต่อศาลว่า ฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้าง ข้อเถียงนั้นอย่างไร ข้อเท็จจริงใด ที่คู่ความยอมรับกันก็เป็นอันยุติไปตามนั้นส่วนข้อกฎหมายหรือ ข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างแต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับและ เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาทตามคำคู่ความ ให้ศาลกำหนด ไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐาน มาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้

ในการสอบถามคู่ความตามวรรคหนึ่ง คู่ความแต่ละฝ่ายต้องตอบ คำถามที่ศาลถามเองหรือถามตามคำขอของคู่ความฝ่ายอื่น เกี่ยวกับ ข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายอื่นยกขึ้นเป็นข้ออ้าง ข้อเถียง และพยาน หลักฐานต่าง ๆ ที่คู่ความจะยื่นต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่ตอบ คำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด หรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใดโดยไม่มี เหตุผลอันสมควร ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เว้นแต่คู่ความ ฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบ หรือแสดงเหตุผลแห่งการปฏิเสธได้ใน ขณะนั้น

คู่ความมีสิทธิคัดค้านว่าประเด็นข้อพิพาทหรือหน้าที่นำสืบที่ศาล กำหนดไว้นั้นไม่ถูกต้องโดยแถลงด้วยวาจาต่อศาลในขณะนั้นหรือ ยื่นคำร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลสั่งกำหนดประเด็น ข้อพิพาท หรือหน้าที่นำสืบ ให้ศาลชี้ขาดคำคัดค้านนั้นก่อนวันสืบพยาน คำชี้ขาดคำคัดค้านดังกล่าวให้อยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2529

โจทก์และจำเลยที่1เป็นสามีภริยากันต่างประสงค์จะแบ่งที่ดินสินสมรสซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันอยู่ออกเป็นสัดส่วนได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินดังกล่าวส่วนใหญ่ในชื่อของโจทก์ผู้เดียวแล้วขายไปโดยจำเลยที่1รู้เห็นด้วยต่อมาจำเลยที่1ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่เหลือคือที่พิพาทในชื่อของจำเลยที่1ผู้เดียวเช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่1ได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่ายแล้วที่พิพาทจึงหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสตกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่1จำเลยที่1ย่อมมีอำนาจขายที่พิพาทโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์เมื่อจำเลยที่1ขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่3โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทและการจดทะเบียนซื้อขายระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่3.

โจทก์ฟ้อง ใจความว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันแต่แยกกันอยู่ โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 51 เนื้อที่ 57 ไร่ ซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอรับรองการทำประโยชน์ (เฉพาะส่วน)จำนวนครึ่งหนึ่งของที่ดินดังกล่าวในที่สุดได้มีการรังวัดออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 1601 ให้แก่จำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินดังกล่าว แก่จำเลยที่ 3 โดยบุคคลทั้งสองร่วมกันทำโดยไม่สุจริต ทำให้ โจทก์เสียเปรียบและ มิได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นสามีขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 1601 และสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3

จำเลยทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่าที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 51 เป็นสินสมรส โจทก์ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ในนามของโจทก์ผู้เดียว พร้อมแบ่งขายให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว เนื้อที่ 30 ไร่ 3 งาน 45 ตารางวา ที่เหลือ 26 ไร่ 2 งาน 60 ตารางวา ให้เป็นของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินที่เหลือ และ ทางราชการออกให้ เลขที่ 1601 คือที่พิพาทนี้ จำเลยที่ 1 ได้ขายให้แก่จำเลยที่ 3 โดยสุจริต ที่ดินดังกล่าว เป็น สินส่วนตัวสามารถขายไปได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรส โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้อง

ระหว่างพิจารณา โจทก์ขอถอนฟ้อง จำเลยที่ 2 และขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี ศาลชั้นต้นอนุญาต

จำเลยร่วมให้การทำนองเดียว กับจำเลยที่ 1 ที่ 3

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

จำเลยที่ 1 ที่ 3 และ จำเลยร่วมฎีกา

ข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากัน ที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 51 เป็นสินสมรส โดยโจทก์ได้รับมรดกมาระหว่างที่เป็นสามีภริยากัน โจทก์ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และแบ่งขายที่ดินดังกล่าว ตาม น.ส.3 เลขที่ 1595 ถึง 1597 เนื้อที่ 30 ไร่ 3 งาน 45 ตารางวา ให้แก่ผู้มีชื่อไปแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินส่วนที่เหลือ เนื้อที่ 26 ไร่ 2 งาน 60 ตารางวา ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 1601 คือ ที่ พิพาทแล้วโอนขายให้แก่จำเลยที่ 3

ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้นาย วรศักดิ์บุตรของโจทก์ กับจำเลยที่ 1 ให้ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และแบ่งขายที่ดิน ตลอดจนให้ถ้อยคำต่อเจ้าหน้าที่นาย วรศักดิ์ ได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบอำนาจ มาจนเสร็จสิ้นรวมทั้งระบุเขตที่ดินส่วนของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ให้ถ้อยคำยืนยันอาณาเขตที่พิพาทด้วย

วินิจฉัยข้อกฎหมายว่าไม่ปรากฏว่าโจทก์คัดค้านเป็นหนังสือในการที่จำเลยที่ 1 ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งๆ ที่โจทก์ก็ทราบว่าที่จำเลยที่ 1 กระท เช่นนั้น ก็เพื่อจะขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวเป็นการสนับสนุนให้เห็นว่า ขณะที่โจทก์มอบอำนาจให้นาย วรศักดิ์ ขายที่ดินอันเป็นสินสมรส ตามเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 โจทก์ และจำเลยที่ 1 ต่างประสงค์จะแบ่งที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมออกเป็นสัดส่วนในที่สุดก็ได้มีการออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ในชื่อของโจทก์ผู้เดียวส่วนใหญ่แล้วขายไปทั้งหมดโดยจำเลยที่ 1 รู้เห็นด้วย ต่อมาจำเลยที่ 1 ก็ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่พิพาทในชื่อจำเลยที่ 1 ผู้เดียวเช่นนี้ ถือได้ว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าว ออกเป็นของแต่ละฝ่ายแล้ว ที่พิพาทจึงหมดสภาพจากการเป็น สินสมรส ตกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจขายที่พิพาทโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์

ปัญหาต่อไป กรณีที่ศาลอุทธรณ์ ย้อนสำนวนไปให้ ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เมื่อฟังได้ว่า ที่พิพาทเป็น สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจขายไปได้ โดยลำพังดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และการจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาท รูปคดีไม่มี เหตุที่จะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้น พิจารณาพิพากษาใหม่ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยทั้งสามฟัง ขึ้น

พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไป ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และ ให้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ ฎีกา เป็นพับ.

 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1473 สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ

มาตรา 1492 เมื่อได้แยกสินสมรสตาม มาตรา 1484 วรรค 2,มาตรา 1491 หรือ มาตรา 1598/17 วรรค 2 แล้ว ให้ส่วนที่แยกออก ตกเป็นสินส่วนตัวของสามีหรือภริยา และบรรดาทรัพย์สินที่ฝ่ายใดได้ มาในภายหลังไม่ให้ถือเป็นสินสมรส แต่ให้เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น และสินสมรสที่คู่สมรสได้มาโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นหนังสือ ตาม มาตรา 1474 (2) ในภายหลัง ให้ตกเป็นสินส่วนตัวของสามีและ ภริยาฝ่ายละครึ่ง

ดอกผลของสินส่วนตัวที่ได้มาหลังจากที่ได้แยกสินสมรสแล้วให้เป็นสิน ส่วนตัว

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2530

เมื่อสามีทำหนังสือสละสิทธิในทรัพย์สินทั้งปวงให้แก่ภรรยาที่พิพาทซึ่งในโฉนดมีชื่อภรรยาถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของภรรยาโดยสมบูรณ์ หาจำต้องจดทะเบียนกันอีกไม่.

โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นเจ้าของร่วมกับนางเฉลิม วัฒนารมย์ภรรยาในที่ดินโฉนดที่ 73 ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยองจังหวัดระยองเมื่อภรรยาโจทก์ถึงแก่กรรมไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้ขายที่ดินดังกล่าวไป แล้วไม่ยอมแบ่งเงินที่ได้จากการขายที่ดินให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง จึงขอให้บังคับจำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 100,000 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ย

จำเลยให้การมีสาระสำคัญว่า โจทก์ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาสละทรัพย์สินของโจทก์ให้แก่ภรรยาโจทก์แล้ว

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้สละที่ดินพิพาทให้ภรรยาโจทก์ไปแล้ว พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ถึงแก่กรรม ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้นายเฉลา รัตนาเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งให้กับนางเฉลิม วัฒนารมย์ ภริยาโจทก์มีข้อความว่า 'ทรัพย์สินทั้งหลายที่ข้าพเจ้ามีสิทธิร่วมกับนางเฉลิม วัฒนารมย์ ข้าพเจ้าขอมอบให้เป็นสิทธิแก่นางเฉลิม วัฒนารมย์ แต่ผู้เดียว ข้าพเจ้าขอสละสิทธิอันจะพึงมีพึงได้นี้นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม2517 เป็นต้นไปและต่อไปนั้นนางเฉลิม วัฒนารมย์ มีสิทธิที่จะทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนหรือจะให้ใครย่อมทำได้โดยบริบูรณ์ โดยมิต้องเกี่ยวข้องถึงข้าพเจ้า' ข้อความดังกล่าวย่อมแสดงว่าโจทก์ได้สละสิทธิในทรัพย์สมบัติทั้งปวง ซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทให้แก่นางเฉลิมไปแล้วตั้งแต่วันที่1 กรกฎาคม 2517 เมื่อโฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อนางเฉลิมแต่ผู้เดียวเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์จึงไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันอีก ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน.

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2530

โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินสินสมรสแต่ผู้เดียว ในระหว่างสมรส จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนยกที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนายกทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสส่วนของตนทั้งหมดให้แก่โจทก์ ย่อมทำให้ทรัพย์สินนั้นหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ และสัญญานี้เป็นสัญญาระหว่างสมรสที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ เมื่อจำเลยยกทรัพย์สินให้แก่โจทก์และทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3)แล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นต่อไป โจทก์จำเลยหย่ากัน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์สินดังกล่าวได้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวนั้น มิได้กำหนดให้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย.

โจทก์ฟ้องและแก้ไขฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 15668 ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรีพร้อมสิ่งปลูกสร้างคือ บ้าน 1 หลัง และโรงงาน 1 โรง จำเลยขออยู่อาศัยในที่ดินและบ้านนั้น บัดนี้โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอาศัยอยู่ต่อไป ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่

จำเลยให้การว่า ที่ดิน บ้าน และโรงงานเป็นสินสมรสของโจทก์จำเลย ต่อมาโจทก์จำเลยหย่ากันแต่ยังไม่ได้แบ่งสินสมรสจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวอยู่กึ่งหนึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ ขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งให้โจทก์แบ่งทรัพย์สินให้จำเลยกึ่งหนึ่ง

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคนละเรื่องกับฟ้องโจทก์ ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้ และจำเลยได้จดทะเบียนโอนสินสมรสของจำเลยให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอแบ่ง ขอให้ยกฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้วพิพากษาขับไล่จำเลยและยกฟ้องแย้ง

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ฎีกาของจำเลยที่ว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 (3) ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวนั้น ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้ ไม่รวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วยนั้น เห็นว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 15668 ซึ่งเป็นสินสมรสนั้นเดิมมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว และตามหนังสือสัญญาให้ที่ดินเอกสารหมายเลข 2 ท้ายฟ้อง มีข้อสัญญาระบุว่าผู้ให้ยอมยกที่ดินทั้งแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้รับเป็นเด็ดขาดแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป แสดงว่าจำเลยมีเจตนายกทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสส่วนของตนทั้งหมดให้แก่โจทก์ โดยโจทก์และจำเลยต่างตกลงแบ่งที่ดินกับสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินคือ บ้าน และโรงงานอันเป็นสินสมรสที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันอยู่ออกเป็นสัดส่วนของแต่ละฝ่าย แล้วจำเลยยกทรัพย์สินส่วนของตนทั้งหมดให้แก่โจทก์ ซึ่งจากข้อตกลงดังกล่าวทำให้ที่ดิน บ้านและโรงงานหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายตามสัดส่วนที่ตกลงกัน สัญญานี้เป็นสัญญาระหว่างสมรสที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ เมื่อจำเลยยกทรัพย์สินส่วนของตนทั้งหมดให้แก่โจทก์และโจทก์ได้รับทรัพย์สินมาในระหว่างสมรสเช่นนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1471 (3) ให้ถือว่าทรัพย์ที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัวดังนั้น ที่ดิน บ้าน และโรงงาน จึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดให้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น ฉะนั้น จึงรวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันด้วยจำเลยจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์สินดังกล่าวอีกต่อไป เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอาศัยอยู่ จำเลยก็ต้องออกไป

พิพากษายืน.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1469 สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกัน ในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใด ที่เป็นสามีภริยากันอยู่ หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการ เป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระบทกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอก ผู้ทำการโดยสุจริต

มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดย การให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น

มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
 

ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

มาตรา 1492 เมื่อได้แยกสินสมรสตาม มาตรา 1484 วรรค 2,มาตรา 1491 หรือ มาตรา 1598/17 วรรค 2 แล้ว ให้ส่วนที่แยกออก ตกเป็นสินส่วนตัวของสามีหรือภริยา และบรรดาทรัพย์สินที่ฝ่ายใดได้ มาในภายหลังไม่ให้ถือเป็นสินสมรส แต่ให้เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น และสินสมรสที่คู่สมรสได้มาโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นหนังสือ ตาม มาตรา 1474 (2) ในภายหลัง ให้ตกเป็นสินส่วนตัวของสามีและ ภริยาฝ่ายละครึ่ง
 

ดอกผลของสินส่วนตัวที่ได้มาหลังจากที่ได้แยกสินสมรสแล้วให้เป็นสิน ส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2531

จำเลยประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน นายจ้างปลดจำเลยออกจากงาน จำเลยได้รับเงินค่าชดเชยและผลประโยชน์ตามสิทธิที่จำเลยพึงได้ตามกฎหมาย ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างโดยเกิดสิทธิขึ้นจากผลของกฎหมาย หาใช่เพราะนายจ้างจ่ายให้จำเลยโดยเสน่หาไม่ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่สมรสของโจทก์ได้เงินดังกล่าวมาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1474(1) อันโจทก์มีสิทธิขอแบ่งจากจำเลยเมื่อหย่ากัน จำเลยอุทธรณ์ว่า เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าชดเชยต่าง ๆ มาแล้วต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายและอื่น ๆ คงมีอยู่เท่าที่เหลือฝากธนาคารไว้ 100,000 บาท เท่านั้น ถือได้ว่าจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยรับเงินค่าชดเชยและอื่น ๆตามฟ้องเมื่อชดใช้หนี้และใช้อย่างอื่นแล้วยังเหลืออยู่ 242,150.87บาท ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวน

โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนหย่ากับโจทก์และให้จำเลยแบ่งเงินที่รับไปแล้ว 252,690.37 บาท และที่จะได้รับจากสำนักงานแรงงานจังหวัดสระบุรีอีก 220,033.35 บาท ให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง และให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะอีกเดือนละ 1,000 บาท จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย เงินต่าง ๆ ที่จำเลยรับมาตามฟ้อง เป็นสินส่วนตัวของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิแบ่ง และจำเลยใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและชำระหนี้สินไปเกือบหมดแล้ว ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยหย่าขาดกับโจทก์ให้แบ่งสินสมรสให้โจทก์ 121,075.40 บาท และจ่ายค่าอุปการะบุตรเดือนละ 1,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นนี้มีเพียงว่าโจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่งในเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยหรือไม่เท่าใด จำเลยฎีกาข้อแรกว่าเงินที่จำเลยได้รับตามฟ้องทุกประเภทมิใช่สินสมรส แต่เป็นสินส่วนตัวของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอแบ่งเห็นว่า เงินตามฟ้องเป็นเงินค่าชดเชยและผลประโยชน์พึงได้ตามสิทธิที่จำเลยพึงได้ตามกฎหมาย ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างโดยเกิดสิทธิขึ้นจากผลของกฎหมาย หาใช่เพราะนายจ้างจ่ายให้จำเลยโดยเสน่หาดังที่จำเลยฎีกาไม่ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่สมรสของโจทก์ได้เงินดังกล่าวมาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) โจทก์มีสิทธิขอแบ่งจากจำเลยเมื่อหย่ากันตามที่โจทก์จำเลยตกลงหย่ากันไว้แล้วฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกข้อหนึ่งว่าศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้แบ่งเงินให้โจทก์เพียงจำนวนที่เหลืออยู่ 100,000 บาท โดยอ้างว่าจำเลยไม่ได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้นั้น เห็นว่าจำเลยอุทธรณ์ในข้อนี้ว่า เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าชดเชยต่าง ๆ มาแล้ว ต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายและอื่น ๆ คงมีอยู่เท่าที่เหลือฝากธนาคารไว้ 100,000 บาท เท่านั้น ถือได้ว่าจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยรับเงินค่าชดเชยและอื่น ๆตามฟ้องเมื่อชดใช้หนี้และใช้อย่างอื่นแล้วยังเหลืออยู่ 242,150.87บาท ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจำเลยอ้างว่าตัวเองเบิกความลอย ๆ ว่าได้ใช้จ่ายเงินค่ากินอยู่เดือนละประมาณ 2,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลไปหาแพทย์ที่คลินิกค่าเดินทางไปเยี่ยมญาติ และให้มารดาจำเลยบางส่วน คงเหลือเงินเพียง 100,000 บาทที่ฝากธนาคารไว้เท่านั้น แต่จำเลยเบิกความรับว่า ค่ารักษาพยาบาลจำนวน 100,000 บาท ทางบริษัททนายจ้างจ่ายทั้งหมด และสำนักงานแรงงานจังหวัดสระบุรี จ่ายให้อีก20,000 บาท ซึ่งค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวมีจำนวนสูงมาก พอให้จำเลยมีอาการหายดีแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องไปรักษาพยาบาลอีก ส่วนค่าใช้จ่ายอย่างอื่นจำเลยไม่มีพยานอื่นสนับสนุน โจทก์เบิกความว่าจำเลยเขียนจดหมาย หมาย จ.1 ถึงโจทก์ว่า จำเลยเก็บเงินที่เหลือไว้ได้ถึง 200,000 บาท และยังเก็บเงินไว้ให้บุตรอีกเดือนละ500 บาททุกเดือน พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักดีกว่า ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยมีเงินเหลือ 242,150.87 บาท จึงเป็นจำนวนที่เชื่อได้ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน แต่ที่ศาลชั้นต้นคิดรวมเงินค่าเลี้ยงชีพจากบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เดือนละ 2,365.95 บาทตั้งแต่เดือนกันยายน 2525 ที่จำเลยถูกปลดออกจากบริษัทดังกล่าวถึงเดือนมิถุนายน 2526 รวม 10 เดือน เป็นเงิน 23,659.50 บาท รวมเป็นสินสมรสด้วยนั้น ปรากฏว่าโจทก์มิได้มีคำขอบังคับเงินจำนวนดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เป็นสินสมรสและแบ่งให้โจทก์ด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง จึงเกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยแบ่งสินสมรสให้โจทก์เป็นเงิน109,245.68 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์"

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1533 เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน

มาตรา 1534 สินสมรสที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำหน่ายไปเพื่อประ โยชน์ตนฝ่ายเดียวก็ดี จำหน่ายไปโดยเจตนาทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเสียหาย ก็ดี จำหน่ายไปโดยมิได้รับความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีที่ กฎหมายบังคับว่าการจำหน่ายนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง ด้วยก็ดี จงใจทำลายให้สูญหายไปก็ดี ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่ เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตาม มาตรา 1533 และถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้รับส่วน แบ่งสินสมรสไม่ครบตามจำนวนที่ควรจะได้ ให้คู่สมรสฝ่ายที่ได้จำหน่าย หรือจงใจทำลายสินสมรสนั้นชดใช้จากสินสมรสส่วนของตนหรือสินส่วนตัว

 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 225 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้น คู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็น ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือคู่ความฝ่ายใด ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะ พฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ คู่ความ ที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้

มาตรา 243 ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจดั่งต่อไปนี้ด้วยคือ
(1) เมื่อคดีปรากฏเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ แห่งประมวล กฎหมายนี้ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง และศาลอุทธรณ์เห็นว่ามี เหตุอันสมควรก็ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่ง ศาลชั้นต้นนั้นเสีย แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้พิพากษา หรือมีคำสั่งใหม่ ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นอาจประกอบด้วยผู้พิพากษา อื่นนอกจากที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งมาแล้ว และคำพิพากษาหรือ คำสั่งใหม่นี้อาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีเป็นอย่างอื่น นอกจากคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ถูกยกได้
(2) เมื่อคดีปรากฏที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ แห่งประมวล กฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณา หรือมีเหตุที่ศาลได้ปฏิเสธไม่สืบ พยานตามที่ผู้อุทธรณ์ร้องขอและศาลอุทธรณ์เห็นว่ามีเหตุอันสมควร ก็ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นนั้น แล้ว กำหนดให้ศาลชั้นต้นซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาคณะเดิม หรือผู้ พิพากษาอื่น หรือศาลชั้นต้นอื่นใดตามที่ศาลอุทธรณ์จะเห็นสมควร พิจารณาคดีนั้นใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนและพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่
(3) ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์จำต้องถือตามข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น ถ้าปรากฏว่า
(ก) การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นผิดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์อาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น แล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้น หรือ
(ข) ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัย ข้อกฎหมายศาลอุทธรณ์อาจทำคำสั่งให้ยกคำพิพากษาหรือคำสั่ง ศาลชั้นต้นนั้นเสีย แล้วกำหนดให้ศาลชั้นต้นซึ่งประกอบด้วยผู้ พิพากษาคณะเดิม หรือผู้พิพากษาอื่น หรือศาลชั้นต้นอื่นใด ตามที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรพิจารณาคดีนั้นใหม่ทั้งหมดหรือ บางส่วน โดยดำเนินตามคำชี้ขาดของศาลอุทธรณ์แล้วมีคำพิพากษา หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปตามรูปความ ทั้งนี้ไม่ว่าจะปรากฏ จากการอุทธรณ์หรือไม่

ในคดีทั้งปวงที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษา หรือคำสั่งใหม่ตาม มาตรานี้ คู่ความชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่เช่นว่านี้ ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้

มาตรา 247 ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในชั้นอุทธรณ์แล้วนั้น ให้ยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้ อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์นั้น และภายใต้บังคับบทบัญญัติสี่มาตราต่อไปนี้กับกฎหมายอื่นว่าด้วยการฎีกา ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม 

โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยทั้งสองคนทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจโอนและจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริต ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโอนโดยวิธีการอย่างไร ที่ไหน และเมื่อไร เพราะเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ทั้งโจทก์ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่พิพาทให้แก่โจทก์คนเดียวกับมีคำขอบังคับให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำลงโดยมิชอบ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว

โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันแล้ว เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาแต่โดยที่โจทก์มีสิทธิในทรัพย์สินอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน และแจ้งเท็จว่าจำเลยที่ 1 เป็นม่าย เท่ากับกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480วรรคสอง.

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงหย่าและทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์สินกัน โดยยกที่พิพาทให้แก่โจทก์ด้วย ต่อมาจำเลยที่ 1 ไม่ยอมจดทะเบียนหย่าและไม่ยอมมอบทรัพย์สินตามข้อตกลงให้โจทก์ แล้วได้ลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ทราบดีว่าเป็นของโจทก์เป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่พิพาท แล้วโอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติ ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทน หากกระทำดังกล่าวไม่ได้ก็ให้ใช้ค่าที่ดิน

จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์ไม่ได้ฟ้องหย่าภายใน 1 ปี ข้อตกลงหย่าจึงไม่มีผลบังคับ ทั้งข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาทำไว้ระหว่างเป็นสามีภริยา จำเลยที่ 1ได้บอกล้างแล้ว สัญญาจึงสิ้นผล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ทั้งฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับให้ตามฟ้อง

จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เห็นว่าตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยทั้งสองคนทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจโอนและจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริตคำฟ้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องทางแพ่งไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโอน(ลักลอบโอน) โดยวิธีการอย่างไร ที่ไหนและเมื่อไร ดังที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ เพราะเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา โจทก์ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่พิพาทให้แก่โจทก์คนเดียว และคำฟ้องดังกล่าวมีคำขอบังคับให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำลงโดยมิชอบ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172

ปัญหาว่า ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ใช้บังคับได้หรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า เมื่อวันที่ 4กันยายน 2520 โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงหย่า ได้ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินพิพาทให้แก่โจทก์ตามรายละเอียดเอกสารหมาย จ.2 หลังจากทำเอกสารดังกล่าวแล้วจนกระทั่งถึง พ.ศ. 2524โจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนการหย่าและไม่ได้แบ่งทรัพย์สินตามข้อตกลง ปัญหานี้จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่าเมื่อไม่มีการหย่า ข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินไม่อาจบังคับได้เห็นว่าตามเอกสารหมาย จ.2 แม้จะเป็นเอกสารที่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการหย่าโดยตกลงกันเอง ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันแล้ว เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนการหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้ เมื่อยังไม่มีการหย่า ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาก็ใช้บังคับไม่ได้ จำเลยที่ 1 ไม่จำต้องบอกล้างอีก ทรัพย์คงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม และโจทก์ก็อ้างไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญา แม้โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว ทรัพย์ดังกล่าวก็เป็นสินสมรส โจทก์มีสิทธิอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยทั้งสองลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน และแจ้งเท็จว่าจำเลยที่ 1 เป็นม่าย เท่ากับกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง

ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่พิพาทโดยสุจริตหรือไม่ เห็นว่าจำเลยที่ 2 เป็นน้องเขยของจำเลยที่ 1 เดิมที่พิพาทจำเลยที่ 2เป็นผู้เช่าซื้อ แล้วโอนสิทธิให้แก่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อต่อในขณะที่จำเลยที่ 1 เป็นคู่สมรสกับโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 2 อีก แสดงว่าจำเลยทั้งสองเป็นญาติที่ติดต่อใกล้ชิดกันเป็นพิเศษ ความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอย่างไรจำเลยที่ 2 น่าจะทราบดีตลอดมาโจทก์ได้มีหนังสือถึงกรมที่ดิน แจ้งรายละเอียดว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว มีคดีอยู่ที่ศาลหลายคดีขออายัด แม้เจ้าพนักงานที่ดินไม่ยอมรับการอายัด แต่ก็ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบตามหนังสือดังกล่าวแล้วจำเลยทั้งสองก็ยืนยันให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนนิติกรรมให้ ยอมรับผิดชอบในความเสียหายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ทั้งจำเลยที่ 1 เบิกความว่าขณะที่จะโอนสิทธิการเช่าซื้อให้จำเลยที่ 2 ได้บอกจำเลยที่2 ว่า จำเลยที่ 1 มีเรื่องกับโจทก์แต่ยังไม่ได้หย่าขาดจากกัน หลักฐานการหย่าที่แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นใบหย่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับนางสนามซึ่งเป็นการปิดบังความจริงข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสโดยไม่สุจริต และไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมได้ แต่ไม่มีอำนาจขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทเป็นของโจทก์ ฎีกาจำเลยทั้งสองฟังขึ้นบางส่วน

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 48750 เลขที่ดิน 4086 แขวงสายไหม (ดอนเมือง) เขตบางเขนกรุงเทพมหานครที่จำเลยที่ 1 โอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความชั้นฎีกาแทนโจทก์ 2,000 บาท.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1480 การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับ ความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตาม มาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่ สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรม นั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือ ในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่า ตอบแทน

การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น หนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่ วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น

มาตรา 1514 การหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย หรือโดยคำพิพากษาของศาล

การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน

มาตรา 1515 เมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายนี้การหย่า โดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว

มาตรา 1531 การสมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายนั้น การหย่าโดย ความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีผลนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่าเป็นต้น ไป
 

การหย่าโดยคำพิพากษามีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็น เหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จด ทะเบียนการหย่านั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2531

ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยาตั้งแต่ พ.ศ. 2485มีบุตรด้วยกัน 7 คน ผู้ร้องซื้อบ้านพิพาทด้วยเงินของผู้ร้องขณะที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ยังคงอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ดังนี้ถือได้ว่าร่วมกันซื้อมา บ้านพิพาทจึงเป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้มาจากการทำมาหาได้ร่วมกันผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คดีนี้โจทก์บังคับคดีนำยึดบ้านเลขที่ 90/6 แขวงสวนหลวงเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ราคาประมาณ 40,000 บาท โดยอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 2

ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดมิใช่ของจำเลยที่ 2 เป็นของผู้ร้องแต่ผู้เดียว ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด

โจทก์ให้การว่าทรัพย์ที่ยึดมิใช่ของผู้ร้องแต่ผู้เดียวเป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 และผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกัน

ศาลชั้นต้นยกคำร้อง

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า '...ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเป็นเวลานานจนมีบุตรด้วยกัน 7 คน บุตรคนโตอายุ 40 ปี แสดงว่าบุคคลทั้งสองมีความสัมพันธ์และรับผิดชอบร่วมกันเป็นเวลานาน ข้อที่ผู้ร้องอ้างว่าย้ายออกจากบ้านเดิมที่เคยอยู่ร่วมกับจำเลยที่ 2 ไปอยู่บ้านพิพาทเพราะมีเรื่องไม่ชอบใจกับจำเลยที่ 2 ผู้ร้องก็ไม่ได้อ้างว่าได้เลิกร้างกับจำเลยที่ 2 โดยเด็ดขาด อาจเป็นแต่เพียงแยกกันอยู่ชั่วคราวก็ได้ ข้อที่อ้างว่าไม่ชอบใจจำเลยที่ 2ก็ไม่ปรากฏว่าเพราะเหตุอะไร ร้ายแรงขนาดไหน และไม่มีพยานสนับสนุนเป็นแต่เพียงข้ออ้างลอย ๆ การที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ย้ายเข้าและย้ายออกจากทะเบียนบ้านบ่อย ๆ ไม่ใช่หลักฐานที่แสดงว่ามีการเลิกร้างการเป็นสามีภริยาต่อกันเพราะปรากฏว่าในปี 2519 จำเลยที่ 2 ได้ย้ายทะเบียนเข้ามาอยู่ในบ้านพิพาทอยู่ร่วมกับผู้ร้อง พอถึงปี 2522 ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ก็ทะเลาะกันอีก คราวนี้ผู้ร้องย้ายออกไปอยู่จังหวัดสมุทรปราการ แต่ในปีเดียวกัน ผู้ร้องก็กลับมาคืนดีและอยู่ด้วยกันในบ้านพิพาทต่อไป ครั้นปี 2524 ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ทะเลาะกันอีก ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยที่ 2 ย้ายออกไปจากบ้านพิพาท แต่ก็ได้ความว่าจำเลยที่ 2 เพียงแต่ย้ายไปอยู่ในบ้านอีกหลังหนึ่งซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามถนนกันโดยผู้ร้องให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 2 ในการที่จำเลยที่ 2ไปซื้อบ้านหลังนั้น แสดงว่าการไม่ชอบใจกันระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นสามีภริยาซึ่งเกิดขึ้นนั้น ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ไม่ได้เลิกร้างต่อกันอย่างจริงจัง เพียงแต่แยกกันอยู่เมื่อไม่พอใจกันและกันเท่านั้น ในที่สุดก็คืนดีกัน ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าขณะที่ผู้ร้งอซื้อบ้านพิพาทผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ยังคงอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สำหรับปัญหาข้อที่สองว่า บ้านพิพาทเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างผู้ร้องและจำเลยที่ 2 หรือไม่ ผู้ร้องนำสืบว่า บ้านพิพาทเดิมเป็นของนางละออ ฟักภู่ ผู้ร้องเข้าไปอยู่ในบ้านพิพาทได้ไม่กี่เดือน ผู้ร้องก็ซื้อบ้านหลังนี้ไว้โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย แต่ปรากฏจากสำเนาหนังสือสัญญาซื้อขายหมาย จ.1 ว่า เมื่อคราวที่จำเลยที่ 2 ซื้อบ้านหลังเลขที่ 90 ในปี 2524 ผู้ร้องได้ลงนามให้ความยินยอมในฐานะสามี ทั้ง ๆ ที่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ไม่ใช่สามีภริยากันตามกฎหมาย แสดงว่าในการทำนิติกรรมสำคัญอย่างเช่นการซื้อขายบ้าน ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 จะต้องได้ร่วมรู้เห็นยินยอมกันทั้งผู้ร้องไม่ได้นำสืบให้ปรากฏว่าบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้องแต่ผู้เดียว คงอ้างเพียงว่าการซื้อบ้านพิพาทนี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยเท่านั้น ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจำเลยที่ 2 จะไม่ได้รับรู้ยินยอมในการซื้อบ้านดังกล่าวด้วย เชื่อได้ว่า ผู้ร้องซื้อบ้านพิพาทโดยจำเลยที่ 2 ยินยอม แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าได้ซื้อมาด้วยเงินของผู้ร้องเองก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันซื้อมาในระหว่างที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ยังคงอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาบ้านพิพาทจึงเป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้มาจากการทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยที่ 2 จึงมีกรรมสิทธิ์รวมในบ้านพิพาท ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ยกคำร้องชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาผู้ร้องฟังไม่ขึ้น'

พิพากษายืน.

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2531

สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่เป็นสินสมรสการฟ้องเรียกเงินตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสหญิงมีสามีจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามลำพังตน โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี เงินค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนการขายที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการขายอันเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ต้องนำมาเป็นฐานในการคิดคำนวณค่าชดเชยด้วย นายจ้างกำหนดว่าเงินโบนัสพิเศษจะจ่ายให้เมื่อสิ้นปี ย่อมแสดงว่าลูกจ้างต้องทำงานจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมจึงจะมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างก่อนถึงสิ้นเดือนธันวาคมลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสพิเศษ

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นนายจ้างได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมขอให้ชำระเงินค่าเสียหาย ค่าชดเชยที่ขาดจำนวน เงินสะสม เงินรางวัลการขาย เงินโบนัสและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยให้การว่า โจทก์เป็นหญิงมีสามี ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ จึงไม่ต้องรับผิดเงินต่าง ๆ ตามฟ้อง ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยที่ขาดจำนวน เงินโบนัส ค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมโจทก์และจำเลยทั้งสองอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า "จำเลยอุทธรณ์เป็นประการแรกตามอุทธรณ์ข้อ 2.1 เป็นใจความว่า หนังสือให้ความยินยอมของสามีตามเอกสารหมาย จ.9 ต้องมีในวันยื่นฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่มีหนังสือยินยอมจากสามีโจทก์ในวันฟ้องและมิได้อ้างว่าสามีโจทก์ให้ความยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีหรือไม่อย่างไร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า แม้โจทก์เป็นหญิงมีสามี ฟ้องความโดยไม่ได้รับยินยอมจากสามี แต่สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้าง ไม่เป็นสินสมรส การฟ้องเรียกเงินตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่เป็นการจัดการสินสมรส โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้ตามลำพังตนหาจำต้องได้รับความยินยอมของสามีโจทก์ก่อนดังจำเลยอุทธรณ์ไม่อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ส่วนอุทธรณ์ของจำเลยข้อ 2.2 เกี่ยวกับโบนัสพิเศษก็ดี ข้อ 2.3เกี่ยวกับเงินค่านายหน้าก็ดี เป็นอุทธรณ์ที่เกี่ยวพันกับอุทธรณ์ของโจทก์ จึงสมควรวินิจฉัยไปพร้อมกัน ดังต่อไปนี้ กล่าวคือสำหรับอุทธรณ์ของจำเลยข้อ 2.3 ที่อุทธรณ์ว่า เงินค่านายหน้ามิใช่ค่าจ้างจะนำมารวมเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยมิได้นั้น พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงได้ความเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางว่า เงินค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนการขายเป็นเงินที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์เพื่อตอบแทนการขายอันเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานเห็นว่า เงินค่านายหน้าจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ซึ่งต้องนำมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ด้วย อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ตามอุทธรณ์ข้อ 2.1 ว่า ที่ศาลแรงงานกลางคิดเงินค่านายหน้าของโจทก์เป็นค่าจ้างเฉลี่ยเดือนละ 9,171.25 บาท นำมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยนั้นไม่ถูกต้อง ที่ถูกจำนวนค่านายหน้าเดือนละ 13,175 บาทนั้นเป็นอุทธรณ์โต้เถียงจำนวนค่านายหน้าที่โจทก์ได้รับจากจำเลยแต่ละเดือน ซึ่งศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติแล้วว่าโจทก์ได้รับค่านายหน้าเฉลี่ยเดือนละ 9,171.25 บาท เช่นนี้อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ดังนั้นที่ศาลแรงงานกลางนำเงินค่านายหน้าเดือนละ 9,171.25 บาท มารวมเป็นค่าจ้างทั้งสิ้นเดือนละ 24,321.25บาท เป็นฐานคำนวณค่าชดเชยให้แก่โจทก์ด้วยนั้นจึงชอบแล้ว

สำหรับเรื่องเงินโบนัสนั้น โจทก์อุทธรณ์ตามอุทธรณ์ข้อ 2.2 ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสตามฟ้อง ส่วนจำเลยอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ข้อ 2.2 ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสพิเศษจำนวน 6,000 บาทนั้น พิเคราะห์แล้วสำหรับเงินโบนัสนั้น ตามเงื่อนไขการจ้างเอกสารหมาย จ.4 ข้อ 2.5 ได้กำหนดเรื่องเงินโบนัสประจำปีว่า "เงินโบนัสประจำปีพนักงานจะได้รับโบนัสอย่างน้อยเท่ากับเงินเดือนหนึ่งเดือนซึ่งจะจ่ายให้ในวันสิ้นปี สำหรับปีแรกของการทำงาน เงินโบนัสนี้จะจ่ายให้ตามอัตราส่วนของระยะเวลาในการทำงานในปีนั้น ทั้งนี้เว้นไว้แต่ว่าบริษัทจะได้พิจารณาเป็นอย่างอื่นในปีหนึ่งปีใด"แสดงว่าเฉพาะลูกจ้างที่ทำงานนับถึงวันสิ้นปีครบหนึ่งปีจะได้รับเงินโบนัส เท่ากับเงินเดือนหนึ่งเดือน ส่วนลูกจ้างที่ทำงานไม่ครบหนึ่งปีหรือไม่ได้อยู่ทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยจนถึงสิ้นปีจะไม่ได้รับเงินโบนัส เว้นแต่ลูกจ้างที่เข้าทำงานในปีแรกแม้ไม่ครบปีก็ได้รับเงินโบนัสตามส่วนตามอัตราส่วนของระยะเวลาทำงานในปีนั้นเมื่อโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยประมาณสิบห้าปี และได้ออกจากงานไปก่อนสิ้นปี 2530 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสตามฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น"

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยไม่จ่ายเงินโบนัสพิเศษให้แก่โจทก์นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1476 สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความ ยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(4) ให้กู้ยืมเงิน
(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(6) ประนีประนอมยอมความ
(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน หรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล

การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยา จัดการได้มิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5747/2531

จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์ทำให้จำเลยถูกบัตรสนเท่ห์ จึงทำร้ายโจทก์จนกระดูกซี่โครงร้าว แล้วออกจากบ้านไปอยู่กับภริยาเก่าโดยไม่กลับมาอยู่กับโจทก์อีกเลยแม้ปรากฏว่าจำเลยเคยช่วยออกค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าโทรศัพท์ในบ้านโจทก์โดยฝากบุตรไปให้ แต่เมื่อพบกันก็ไม่พูดกัน ดังนี้ ถือว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ เมื่อเป็นระยะเวลาเกินหนึ่งปี ก็เป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4) ที่ดินที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรสโดยมารดายกให้โดยเสน่หาและให้ถือกรรมสิทธิ์รวมกับพี่อีก 3 คน ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ เมื่อการยกให้มิได้แสดงไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว ที่ดินส่วนของโจทก์จึงตกเป็นสินสมรส แม้ต่อมาได้มีการแบ่งแยกโฉนดออกไปเป็นส่วนของโจทก์เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมไม่ทำให้ที่ดินส่วนของโจทก์หลังแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1471(3) ที่ได้ตรวจชำระใหม่

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำร้ายโจทก์และจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไปเกินกว่า 1 ปี ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนหย่ากับโจทก์และจ่ายค่าเลี้ยงชีพจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าไม่เคยทำร้ายและทิ้งร้างโจทก์ หากศาลพิพากษาให้หย่า ขอให้แบ่งสินสมรส คือ โฉนดเลขที่ 3064 พร้อมบ้านให้จำเลยครึ่งหนึ่ง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนหย่า แต่ไม่แบ่งที่ดินตามฟ้องแย้งให้ จำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 3064 โดยฟังว่าเป็นสินสมรสให้จำเลยครึ่งหนึ่งโจทก์และจำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอหย่าเพราะจำเลยมิได้จงใจทิ้งร้างโจทก์นั้น โจทก์นำสืบว่า เมื่อต้นเดือนเมษายน 2522 โจทก์จำเลยทะเลาะกันเรื่องมีผู้ส่งบัตรสนเท่ห์กล่าวหาจำเลยซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนรัฐบาลมีความประพฤติเสียหายในเรื่องชู้สาวเรื่องการเงิน และเรื่องกลั่นแกล้งผู้ใต้บังคับบัญชา โดยจำเลยหาว่าโจทก์ทำให้จำเลยถูกบัตรสนเท่ห์และเตะโจทก์จนกระดูกซี่โครงร้าว ในวันนั้นจำเลยก็ออกจากบ้านไปอยู่กับนางวิไลภริยาเก่าแล้วไม่กลับมาอยู่กับโจทก์อีกเลย จำเลยเองก็นำสืบว่า หลังจากเกษียณอายุราชการเมื่อพุทธศักราช 2522ซึ่งเป็นเวลาก่อนโจทก์ยื่นฟ้องเกินหนึ่งปีจำเลยไปอยู่ที่บ้านนางวิไลภริยาเก่ามิได้กลับมาอยู่กับโจทก์อีกเลย เมื่อจำเลยมาเยี่ยมมารดาซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านที่โจทก์อยู่ถ้าพบโจทก์ก็ไม่พูดกันพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวนี้แม้จะฟังว่าจำเลยเคยช่วยออกค่าไฟฟ้าค่าน้ำประปา และค่าโทรศัพท์ในบ้านที่โจทก์อยู่บ้างโดยฝากบุตรสาวไปให้โจทก์ดังที่จำเลยนำสืบก็ตาม กรณีก็ถือได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ผู้เป็นภริยาไปเกินหนึ่งปี เป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตามบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1516(4)โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่า เหตุผลต่าง ๆ ที่จำเลยอ้างอิงในฎีกาข้อนี้ไม่ใช่เหตุที่ศาลจะยกคำขอของโจทก์ข้อนี้ได้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นนี้ชอบแล้ว"

ฯลฯ

"ที่โจทก์ฎีกาและแก้ฎีกาของจำเลยว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 3064และบ้านเลขที่ 20 ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินแปลงนี้เป็นสินส่วนตัวของโจทก์หากจะฟังว่าเป็นสินสมรส ที่ดินและบ้านดังกล่าวก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายประพันธ์ ศิริธง ไปแล้วไม่เหลืออยู่ที่จะนำมาแบ่งให้จำเลยได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งเฉพาะที่ดินเท่านั้น มิได้ให้แบ่งบ้านเลขที่ 20 ด้วย โจทก์ขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 3064 และบ้านเลขที่ 20 ให้ นายประพันธ์เป็นเงิน128,000 บาท แต่ได้รับเงินไม่ถึง 128,000 บาท เพราะนายประพันธ์คิดดอกเบี้ยรวมเข้าไปด้วย บ้านเลขที่ 20 เป็นบ้านเก่าถ้าประมูลขายจะได้ราคาอย่างมากเพียง 30,000 บาท ราคาที่ดินอย่างเดียวประมาณ 50,000 บาท จำเลยจะได้รับส่วนแบ่งไม่เกิน25,000 บาท นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้ฎีกาขอแบ่งบ้านเลข 20 ด้วยกลับกล่าวในคำฟ้องฎีกาว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่3064 เป็นสินสมรส จำเลยเห็นพ้องด้วยเพราะชอบด้วยเหตุผลและความยุติธรรมจึงมีปัญหาวินิจฉัยว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 3064 เป็นสินสมรสหรือไม่ ปรากฏว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 3064 เดิมเป็นที่ดินแปลงใหญ่ มารดาโจทก์ยกให้โจทก์และพี่อีก 3 คน โดยเสน่หาเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2518 ซึ่งอยู่ในระยะเวลาระหว่างสมรสโดยมิได้แสดงไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวที่ดินโฉนดเลขที่ 3064ส่วนของโจทก์จึงตกเป็นสินสมรสของโจทก์และจำเลยแม้หลังจากบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ใช้บังคับแล้ว ได้มีการแบ่งแยกโฉนดออกไปที่ดินโฉนดเลขที่ 3064คงเหลือเนื้อที่ 3 งาน 3 ตารางวา เป็นส่วนของโจทก์ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม หาทำให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 3064 หลังจากแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1471(3) ไม่"

และฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 3064 มีราคา 100,000บาท และตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นไปแล้ว โจทก์จะต้องใช้เงินแก่จำเลยครึ่งหนึ่งเป็นเงิน 50,000 บาท เมื่อรวมกับสินสมรสอื่นอีกเป็นส่วนแบ่งของจำเลย รวม 51,800 บาท

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์ใช้เงินจำนวน 51,800 บาทให้แก่จำเลย

 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดย การให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5748/2531

ทรัพย์สินซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มาโดยการยกให้โดยเสน่หาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ และเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1กับโจทก์นั้น หากต่อมาเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว จำเลยที่ 1ได้นำเอาสินสมรสนั้นไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมของโจทก์ผู้เป็นสามี และโจทก์ก็มิได้ให้สัตยาบัน ในเรื่องอำนาจของโจทก์ที่จะขอเพิกถอนนิติกรรมขายฝากนั้น ไม่พิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 37 และมาตรา 137 วรรคสองซึ่งยกเลิกไปแล้ว แต่ต้องนำบทบัญญัติมาตรา 1480 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาปรับ โดยต้องพิจารณาว่าในขณะทำนิติกรรมขายฝากจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อซึ่งเป็นบุคคลภายนอกกระทำการโดยสุจริตหรือไม่

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำนิติกรรมขายฝากสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ และโจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมขายฝากที่เป็นโมฆียะแล้วขอให้พิพากษาเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากจำเลยให้การว่า ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายฝากเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 และการขายฝากได้กระทำโดยสุจริต

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันว่า โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อพุทธศักราช 2504เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2524 จำเลยที่ 1 ได้ทำนิติกรรมขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 4378 เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดร่วมกับบุตรสาวอีก 2 คนพร้อมกับบ้านเลขที่709/2 ให้จำเลยที่ 2 กำหนดไถ่ทรัพย์คืน 2 ปี เมื่อวันที่ 24พฤศจิกายน 2524 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่4379 ไม่รวมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 กำหนดไถ่ทรัพย์คืน 2 ปี และได้ขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่3064 พร้อมบ้านเลขที่ 20 ให้จำเลยที่ 2 กำหนดไถ่ทรัพย์คืน 2 ปี การทำนิติกรรมดังกล่าวทุกครั้งมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวหรือไม่ สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 4378 และเลขที่ 4379 นั้น ได้ความว่าโจทก์มีมาก่อนที่จะจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2518โจทก์ทำนิติกรรมยกที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 นางสาวแก้วตาและนางสาวปองฤทัย จำเลยที่ 1 นำสืบว่าโจทก์จำนองไว้กับนางผอบตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีเงินจะไถ่ถอนจำเลยที่ 1 จึงได้กู้ยืมเงินผู้มีชื่อมาไถ่ถอนและในที่สุดจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินอีกแปลงหนึ่งของตนเอาเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้มีชื่อนั้น โจทก์จึงทำนิติกรรมยกที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 กับบุตรทั้งสอง ศาลฎีกาเห็นว่าแม้จะฟังว่าความจริงเป็นดังที่จำเลยที่ 1 นำสืบ ทรัพย์สินดังกล่าวก็เป็นสินสมรสซึ่งเป็นสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5 เดิม มาตรา 1466 เพราะหนังสือยกให้มิได้แสดงว่าให้ไว้เป็นสินส่วนตัวตาม มาตรา 1464(3) หาได้เป็นสินส่วนตัวดังที่จำเลยที่ 1 ต่อสู้คดีไม่ ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 3064 นั้นได้ความว่าเดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 3064 เป็นของมารดาจำเลยที่ 1และมีเนื้อที่มากกว่าปัจจุบัน เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2518ก่อนบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ มารดาจำเลยที่ 1ได้ทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 3064 ให้บุตร 4 คน รวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2520 ได้มีการแบ่งแยกโฉนดออกไปที่ดินโฉนดเลขที่ 3064 จึงเหลือเนื้อที่ 3 งาน 3ตารางวา เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าเมื่อมารดาจำเลยที่ 1ทำนิติกรรมยกที่ดินดังกล่าวให้บุตร 4 คน รวมทั้งจำเลยที่ 1 นั้นหนังสือยกให้มิได้แสดงว่าให้ไว้เป็นสินส่วนตัว จึงเป็นสินสมรสแม้จะได้แบ่งแยกโฉนดหลังจากบทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ที่ดินโฉนดเลขที่ 3064 หลังจากแบ่งแยกแล้วก็ยังเป็นสินสมรสอยู่ หาได้กลับกลายเป็นสินส่วนตัวตามบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาตรา 1471(3) ดังที่จำเลยที่ 1 แก้ฎีกาไม่ เมื่อทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสินสมรสแล้วจึงต้องวินิจฉัยต่อไปถึงอำนาจของโจทก์ในการที่จะขอเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง ศาลฎีกาพิเคราะห์คำฟ้องของโจทก์แล้ว เห็นว่า พอถือได้ว่าโจทก์ขอให้พิพากษาเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวตามบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา1480 ด้วย หาได้ฟ้องให้เพิกถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 37 และมาตรา 137 วรรคสอง ซึ่งยกเลิกไปแล้วเพียงข้ออ้างเดียวตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำฟ้องและตามทางพิจารณาว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องทั้งหมดโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ผู้เป็นสามีและโจทก์มิได้ให้สัตยาบัน การขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวจึงต้องนำบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา1480 วรรคสองมาปรับ โดยต้องพิจารณาว่าในขณะทำนิติกรรมขายฝากนั้น จำเลยที่ 2 ผู้ซื้อซึ่งเป็นบุคคลภายนอกกระทำการโดยสุจริตหรือไม่ เห็นว่า จำเลยที่ 2 มีฐานะทางการเงินดี ก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 1 เคยกู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 หลายครั้งโดยวิธีเอาเช็คมาแลกเงินสด และคดีฟังได้ตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบอีกว่าเมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังอยู่กินด้วยกัน จำเลยที่ 2เคยเห็นโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไปไหนมาไหนด้วยกัน เพราะโจทก์และจำเลยที่ 2 เก็บรถยนต์ไว้ที่สถานีบริการน้ำมันแห่งเดียวกันโจทก์กับจำเลยที่ 1 แยกกันอยู่โดยโจทก์ไปอยู่กับภริยาเก่าก่อนจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยที่ 2ประมาณ 2 ปี เพราะโจทก์ก็ยอมรับในข้อนี้ดังเห็นได้จากคำเบิกความของโจทก์ที่ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2522 โจทก์ไม่เคยไปไหนมาไหนกับจำเลยที่ 1 และโจทก์ไม่เคยพบจำเลยที่ 2 เลยในด้านราคาที่ขายฝากจำเลยทั้งสองนำสืบว่าก่อนรับซื้อจำเลยที่ 2ได้ดูที่ดินแล้ว และเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรจึงรับซื้อไว้ในเรื่องราคานี้โจทก์เองก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องมีราคาที่แท้จริงเท่าใด จะเห็นได้จากคำเบิกความของโจทก์ที่ว่าที่ดินทั้งสามแปลงนี้มีราคาตารางวาละเท่าใดไม่ทราบ แม้ในขณะเบิกความวันที่ 29 กรกฎาคม 2526 จะมีราคาตารางวาละเท่าใดก็ไม่ทราบ ราคาที่จำเลยที่ 1 ขายฝากจะสูงหรือต่ำกว่าราคาที่แท้จริงหรือไม่ก็ไม่ทราบดังนั้นจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องในราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นในขณะนั้น ในโฉนดที่ดินทุกแปลงมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ไม่มีชื่อโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยเมื่อจะทำนิติกรรมขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง จำเลยที่ 1 บอกจำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 1 หย่ากับโจทก์แล้วซึ่งมีเหตุผลที่จำเลยที่ 2 จะเชื่อเช่นนั้น ข้อเท็จจริงเหล่านี้เมื่อนำมาประมวลเข้าด้วยกันแล้วไม่ส่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 2กระทำการโดยไม่สุจริต ดังนั้นข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีว่า จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องไว้จากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงได้รับความคุ้มครองจากบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา1480 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องมาโดยให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยแตกต่างกันนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยเฉพาะแต่ในผล"

พิพากษายืน

 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

 มาตรา 1480 การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับ ความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตาม มาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่ สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรม นั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือ ในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่า ตอบแทน

การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น หนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่ วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2532

ที่ดินที่จำเลยได้รับมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว แม้จำเลยกับผู้ร้องจะสมรสกันก่อนกฎหมายใหม่ใช้บังคับ ก็ยังต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่นี้มาใช้บังคับ เมื่อจำเลยฝ่ายเดียวได้ที่ดินดังกล่าวมาระหว่างสมรสโดยการยกให้โดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ส่วนที่ดินที่จำเลยได้มาในระหว่างสมรสก่อนหน้านี้ เมื่อไม่ปรากฏว่า บิดายกให้จำเลยแต่ผู้เดียวหรือให้ผู้ร้องด้วย จึงต้องเป็นไปตามบทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ตอนท้าย ที่ให้ถือว่าเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย. แม้ผู้ร้องกับจำเลยจะร่วมกันกระทำหนี้ละเมิด แต่ก็เป็นการเฉพาะตัวของผู้ร้องกับจำเลยไม่เกี่ยวกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัวหรือเกี่ยวข้องกับสินสมรส หรือเกิดจากการงานที่ทำด้วยกันในฐานะที่เป็นสามีภริยา จึงไม่เป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490 เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย จึงไม่อาจจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่เหนือสินสมรสตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ได้

กรณีสืบเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) เลขที่ 489 ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เลขที่ 958 และ 2050 รวม 3 แปลง โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาด เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องเป็นภริยาของจำเลย ที่ดินที่โจทก์นำยึด คือ ที่ดิน น.ส.3เลขที่ 464 และที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 958 และ 2050 นั้นเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องและจำเลย ผู้ร้องไม่ได้ร่วมกระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงขอกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องครึ่งหนึ่ง โจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องมิใช่ภริยาของจำเลย ที่ดินที่โจทก์นำยึดนั้นเป็นสินเดิม (สินส่วนตัว) ของจำเลยผู้ร้องมีส่วนร่วมกันกับจำเลยในการทำละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ยกคำร้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยและผู้ร้องเป็นสามีภริยากันโดยจดทะเบียนสมรสตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2517ที่ดินที่โจทก์นำยึดออกขายทอดตลาดทั้งสามแปลงเป็นสินสมรส ผู้ร้องมีส่วนร่วมกับจำเลยในการทำละเมิดต่อโจทก์ มีคำสั่งยกคำร้องผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้กันเงินที่ได้จากภารขายทอดตลาดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เลขที่ 958 และ 2050 ให้แก่ผู้ร้องครึ่งหนึ่ง นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์และผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่ผู้ร้องฎีกาเกี่ยวกับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 489 ว่านายรื่น ทองเอื้อ ขายให้จำเลยเป็นการได้ที่ดินมาโดยมีค่าตอบแทนไม่ใช่ได้มาโดยการให้โดยเสน่หา จึงเป็นสินสมรส และว่าผู้ร้องกับจำเลยจดทะเบียนสมรสกันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1471(3) บทกฎหมายดังกล่าวจึงไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับแก่จำเลยและผู้ร้องนั้นโจทก์เบิกความว่า นายรื่นพี่ชายจำเลยยกให้จำเลยโดยไม่มีค่าตอบแทนและตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งเป็นหนังสือยกที่ดินให้จำเลยก็มีข้อความว่า ให้โดยเสน่หาไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ ในฐานะเป็นน้อง เห็นว่าเจ้าพนักงานผู้บันทึกได้ปฏิบัติราชการไปตามหน้าที่ปฏิบัติไปตามคำบอกเล่าของคู่สัญญา ไม่ได้นึกคิดขึ้นเอง การบันทึกดังกล่าวจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อกว่าคำเบิกความลอย ๆ ของผู้ร้อง เชื่อว่าจำเลยได้รับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 489โดยไม่มีค่าตอบแทน แม้จำเลยกับผู้ร้องจะสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแต่หนังสือยกที่ดินให้ดังกล่าว ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2520 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว กรณีจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่นั้น เมื่อจำเลยฝ่ายเดียวได้ที่ดินดังกล่าวมาระหว่างสมรส โดยการยกให้โดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3)ชอบที่เจ้าหนี้จะยึดมาบังคับชำระหนี้ได้เต็มจำนวน ฎีกาของผู้ร้องจึงฟังไม่ขึ้น

สำหรับฎีกาของโจทก์ข้อแรกที่ว่า ไม่เห็นพ้องด้วยที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)เลขที่ 489 เป็นแปลงเดียวกับเลขที่ 464 นั้น เห็นว่า เมื่อศาลได้วินิจฉัยแล้วว่า น.ส.3 เลขที่ 489 เป็นสินส่วนตัว โจทก์ยึดมาชำระหนี้ได้เต็มจำนวนโดยไม่ต้องกันส่วนแบ่งให้ผู้ร้องแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยว่า เป็นที่ดินแปลงเดียวกับ น.ส.3เลขที่ 464 หรือไม่ เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีแล้ว

ที่โจทก์ฎีกาในข้อต่อมาว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 958 และ 2050 จำเลยได้รับมาจากบิดาโดยการให้โดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวนั้น ปรากฏตามเอกสาร จ.6,จ.7 ซึ่งเป็นบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์เพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศที่จำเลยยื่นคำร้องต่อทางราชการ ทางราชการได้ประกาศการรับรองการทำประโยชน์ เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2523 และ 5 มีนาคม 2523 ซึ่งแสดงว่าจำเลยยื่นคำร้องต่อทางราชการใน พ.ศ. 2523 ในหัวข้อเรื่องที่แจ้งต่อทางราชการว่าได้ที่ดินมาอย่างไร จำเลยแจ้งว่าได้รับการยกให้จากบิดาประมาณ 3 และ 5 ปี ตามลำดับ ซึ่งแสดงว่าจำเลยได้มาหลังจากการสมรสกับผู้ร้อง เมื่อ พ.ศ. 2517 แล้ว จึงเป็นการได้ที่ดินมาระหว่างสมรส เมื่อไม่ปรากฏตามเอกสารของฝ่ายใดว่า บิดายกให้จำเลยแต่ผู้เดียวหรือให้ผู้ร้องด้วย จึงต้องเป็นไปตามบทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ตอนท้าย ซึ่งให้ถือว่าเป็นสินสมรส ฉะนั้น ที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องและจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1)

สำหรับฎีกาข้อสุดท้ายของโจทก์ว่า ผู้ร้องมีส่วนร่วมในการละเมิดและเป็นหนี้ร่วมที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดด้วยนั้น เห็นว่า การร่วมกันกระทำละเมิดเป็นหนี้ร่วมธรรมดา โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วยย่อมจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่เหนือสินสมรสมิได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องได้ร่วมกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ทั้งการทำละเมิดของจำเลยก็เป็นการเฉพาะตัวของผู้กระทำโดยตรงไม่เกี่ยวข้องกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัว หรือเกี่ยวข้องกับสินสมรส หรือเกิดจากการงานที่ผู้ร้องกับจำเลยทำด้วยกันในฐานะที่เป็นสามีภริยากัน จึงไม่เป็นหนี้ร่วมตามนัยมาตรา 1490 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ร้องไม่ต้องผูกพันในมูลหนี้ดังกล่าวและมีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนได้ ฎีกาของโจทก์จึงฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดย การให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น

มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามี หรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
(1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบ ครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและ การศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ได้ให้สัตยาบัน

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ

มาตรา 287 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 288 และ มาตรา 289 บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการบังคับคดีแก่ ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึง บุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับ เหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2532

จำเลยเป็นภรรยาชอบด้วยกฎหมายของ ส. ในระหว่างสมรสเมื่อพ.ศ. 2508 มารดาจำเลยยกที่ดินซึ่งเป็นส่วนของตนตามโฉนดเลขที่11878 ให้แก่จำเลยโดยไม่ระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัว ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม มาตรา 1464 และมาตรา 1466 แม้ต่อมาบทบัญญัติบรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1471และมาตรา 1474 จะบัญญัติแตกต่างจากบทบัญญัติบรรพ 5 เดิมก็ไม่ทำให้ที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของจำเลย เพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิม ส. จึงมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1481.

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อ พ.ศ. 2508 ในระหว่างการสมรสของจำเลยกับนายสิน เรืองศรี มารดาจำเลยทำหนังสือยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนตามโฉนดเลขที่ 11878 ให้แก่จำเลยโดยไม่ระบุว่าให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัว ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสของจำเลยกับนายสิน ต่อมานายสิทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้ว จึงขอให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทกับแบ่งที่ดินพิพาทตามโฉนดดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสอง หากไม่ยอมแบ่ง ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

จำเลยให้การว่า มารดาจำเลยยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่ได้ระบุให้เป็นสินสมรส จึงตกเป็นสินส่วนตัวเองจำเลย ไม่ใช่มรดกของนายสินที่จะทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ และจำเลยไม่ได้เก็บรักษาโฉนดไว้ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 11878ตำบลบางข่า อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ให้โจทก์ทั้งสองเพื่อไปดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยเท่ากับส่วนของนายสินผู้ตาย คือจำนวน 272.5 ตารางวาตามฟ้อง และให้จำเลยแบ่งส่วนที่เป็นของโจทก์ทั้งสองให้แก่โจทก์ทั้งสอง ถ้าแบ่งกันเองไม่ได้ให้ประมูลระหว่างกันเองหรือขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายสิน เรืองศรี โดยจดทะเบียนสมรสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 ระหว่างสมรสนางต่วน บุญยัง มารดาของจำเลยยกที่ดินเฉพาะส่วนของตนตามโฉนดที่ดินเลขที่ 11878 ตามเอกสารหมาย จ.2ให้แก่จำเลยจำนวนเนื้อที่ 545 ตารางวาเศษ เมื่อวันที่ 9 กันยายน2508 โดยไม่ระบุว่ายกให้เป็นสินส่วนตัว ต่อมานายสินทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสอง มีปัญหาว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ และนายสินทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า ขณะที่มารดาจำเลยยกที่ดินให้แก่จำเลยนั้นเป็นเวลาที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม ยังใชับังคับอยู่ โดยมีมาตรา 1464 บัญญัติไว้ว่า "สินส่วนตัว ได้แก่

(1) ..........(2) ..........

(3) ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างเป็นสามีภรรยาโดยทางพินัยกรรมหรือยกให้โดยเสน่หา เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้นั้นแสดงไว้ให้เป็นสินส่วนตัว" และมาตรา 1466 บัญญัติว่า "สินสมรสได้แก่ทรัพย์สินทั้งหมดที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส นอกจากที่ได้ระบุไว้ว่าเป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวตามมาตรา 1463 หรือ 1464"ดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับนายสินตามบทกฎหมาดังกล่าว แม้ต่อมาวันที่ 16 ตุลาคม 2519 มีบทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ใช้บังคับและมีมาตรา 1471 บัญญัติไว้ว่า "สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ..........(2) ..........

(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส โดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา..." และมาตรา 1474 บัญญัติว่า "สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ..........(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส

(3) .........."แม้บทบัญญัติบรรพ 5 ใหม่จะแตกต่างจากบทบัญญัติบรรพ 5 เดิมก็ตามก็ไม่ทำให้ที่พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัของจำเลย เพราะกฎหมายใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิม นายสินจึงมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชยมาตรา 1481 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2532

ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีของจำเลยได้ร่วมรู้เห็นในการที่จำเลยยักยอกเงินของโจทก์แล้วนำไปซื้อที่ดิน (พร้อมสิ่งปลูกสร้าง) และเครื่องอิเล็กโทนที่โจทก์นำยึดไว้มาโดยตลอด จึงไม่อาจอ้างได้ว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอันชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องตามส่วนที่พึงได้รับตามกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม เมื่อโจทก์นำยึดทรัพย์ดังกล่าว แล้วผู้ร้องมาขอกันส่วนเงินอันได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วน.

มูลกรณีสืบเนื่องจากโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชดใช้เงิน 3,517,451.4บาท พร้อมดอกเบี้ยฐานกระทำละเมิดเกี่ยวกับการทำงานต่อโจทก์ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงินจำนวน 3,471,795 บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำบังคับ ศาลแรงงานกลางจึงออกหมายบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 43305 ตำบลบางโคล่ อำเภอยานนาวา กรุงเทพมหานคร พร้อมตึกแถว 4 ชั้น 1 คูหาเครื่องเล่นดนตรีอิเล็กโทน ยี่ห้อยามาฮ่า รุ่น FC-20 พร้อมเก้าอี้นั่ง 1 ชุด ในระหว่างประกาศขายทอดตลาด นายสมาน จิตมานะได้ยื่นคำร้องว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาจากการซื้อขายในระหว่างเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องผู้ร้องจึงมีส่วนเป็นเจ้าของด้วย ขอให้ศาลกันส่วนเงินที่ได้รับจากการขายทอดตลาดให้แก่ผู้ร้อง โจทก์คัดค้านและขอให้ยกฟ้องศาลแรงงานกลางให้ยกคำร้อง

ผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า ผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นในการที่จำเลยยักยอกเงินของโจทก์ แล้วนำไปซื้อที่ดิน(พร้อมสิ่งปลูกสร้าง) และเครื่องอิเล็กโทนที่โจทก์นำยึดไว้มาโดยตลอด ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างได้ว่า ทรัพย์ที่โจทก์นำยึดมาดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอันชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องตามส่วนที่ผู้ร้องอันพึงได้รับตามกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม ข้อเท็จจริงเป็นดังนี้ ศาลฎีกาเห็นว่า การที่ผู้ร้องมาขอกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ถูกยึดไว้ดังกล่าว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วน ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องชอบแล้วอุทธรณ์ของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 5 ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดีในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต

มาตรา 1356 ถ้าทรัพย์สินเป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน ท่านให้ใช้ บทบัญญัติในหมวดนี้บังคับ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2532

โจทก์จำเลยจดทะเบียนการหย่าและบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินยกให้แก่บุตรด้วยเจตนาให้มีผลผูกพันตามกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ เมื่อจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในบันทึกหลังทะเบียนการหย่า โจทก์ในฐานะคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยโอนทรัพย์สินนั้นให้แก่บุตรได้ส่วนบุตรจะยอมรับทรัพย์สินหรือไม่เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าโดยตกลงบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินและบุตรไว้ด้านหลังทะเบียนการหย่าว่าให้บุตรอยู่ในความดูแลและปกครองของโจทก์กับจำเลย ทรัพย์สินคือที่ดินพร้อมบ้านซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินดังกล่าวยกให้บุตรทั้งสองหลังจากจดทะเบียนการหย่าแล้ว จำเลยไม่ยอมโอนทรัพย์สินให้แก่บุตรทั้งสองโจทก์ขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหลายครั้งแต่จำเลยไม่ยอมจึงขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดดังกล่าวให้นายพิทพล โชติสรยุทธ์ และนางสาวณัฐนิช โชติสรยุทธ์บุตรทั้งสอง โดยจำเลยกับโจทก์ร่วมกันชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการโอน หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย

จำเลยให้การว่า การจดทะเบียนการหย่านั้น โจทก์จำเลยต่างร่วมรู้กันว่าไม่มีเจตนาจะหย่าขาดจากกัน เหตุที่มีการทำสัญญาหย่า เพราะโจทก์หลงเชื่อทางไสยศาสตร์ว่า ถ้าไม่หย่าภายในต้นปี 2525 โจทก์จะต้องมีอันตรายถึงชีวิต และโจทก์เป็นหนี้บุคคลอื่นจำนวนมากเกรงว่าเจ้าหนี้จะยึดทรัพย์สิน ทำให้ไม่มีที่อยู่อาศัยและสิ้นเนื้อประดาตัว จึงสมรู้กับจำเลยเพื่อลวงเจ้าหนี้โดยโอนทรัพย์สินให้แก่บุตรทั้งสองโดยระบุในบันทึกการหย่าว่า เพื่อเป็นสิริมงคลในการครองชีพ หลังจากนั้นโจทก์จำเลยยังอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา ฉะนั้น สัญญาหย่าจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 117 และมาตรา 118 วรรคแรกหากบุตรทั้งสองเป็นผู้รับให้บุตรจะต้องเรียกร้องจากจำเลยไม่ใช่โจทก์ โจทก์ไม่อาจบังคับจำเลยได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ยกฟ้องโจทก์

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้แก่นายพิทพล โชติสรยุทธ์ และนางสาวณัฐนิช โชติสรยุทธ์ ตามฟ้อง

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "มีปัญหาว่า การจดทะเบียนการหย่าและบันทึกตามเอกสารหลาย ล.1 เป็นโมฆะหรือไม่ โจทก์นำสืบว่าเหตุที่หย่าเนื่องจากโจทก์มีหน้าที่การงานต้องเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศ จำเลยหึงหวงโจทก์จึงเกิดทะเลาะด่ากันอย่างหยาบ ๆและบางครั้งได้ทำร้ายร่างกายต่อกัน ในที่สุดได้ตกลงหย่าขาดจากกันและตกลงยกทรัพย์ทั้งหมดให้แก่บุตรทั้งสองคน ได้จดทะเบียนการหย่าเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2525 เห็นว่า จำเลยเบิกความยอมรับว่าโจทก์เป็นหญิงที่สวย สมัยเรียนหนังสือเป็นดาวจุฬาสำเร็จบัณฑิตเป็นสมุห์บัญชีใหญ่ของบริษัทดูเม็กซ์ เงินเดือนประมาณ 50,000 บาทถึง 60,000 บาท มีหน้าที่ต้อนรับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ที่มาจากต่างประเทศ แต่จำเลยไม่พอใจที่โจทก์ต้อนรับแขกชั้นรอง ๆ ด้วย ได้เกิดการโต้เถียงกันหลายครั้ง ขณะที่อยู่บ้านใหม่ โจทก์นำเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชามาเลี้ยงอาหารที่บ้าน จำเลยเห็นว่า ไม่จำเป็น ให้ไปเลี้ยงที่ภัตตาคารหรือที่โรงแรม โจทก์ไม่เชื่อฟัง จำเลยกับโจทก์เคยทะเลาะกันอย่างรุนแรงถึงกับมีการทำร้ายร่างกาย และบางครั้งจำเลยตีและเตะบุตรสาวแบบหยอกล้อธรรมดา โจทก์ไม่พอใจได้ทะเลาะกันเป็นเรื่องใหญ่เป็นการนำสืบที่เจือสมข้อนำสืบของโจทก์เกี่ยวกับเรื่องหึงหวงจนเกิดทะเลาะกันบ่อย ๆ ทั้งปรากฏว่า เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2525โจทก์ไปแจ้งความว่า ได้ทะเลาะกับจำเลยอยู่เสมอจำเลยขู่ว่าจะทำร้ายร่างกาย ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมาย จ.1ข้อนำสืบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์จำเลยได้มีการทะเลาะและทำร้ายร่างกายกันเป็นประจำ ด้วยสาเหตุที่จำเลยหึงหวงโจทก์และความผิดเห็นไม่ตรงกัน ข้อนำสืบของจำเลยว่า โจทก์เชื่อหมอดูที่ทำนายว่าดวงชะตาของโจทก์จะถึงขาด จึงขอจดทะเบียนหย่าหลอก ๆเพื่อแก้เคล็ด แล้วจดทะเบียนสมรสกันใหม่ เห็นว่า เป็นข้ออ้างลอย ๆเพราะไม่ปรากฏหลักฐานหรือพฤติการณ์ใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์หลงเชื่อหมอดูอย่างงมงายจนยอมจดทะเบียนการหย่าซึ่งเป็นเรื่องที่ถือว่าเสื่อมเสียชื่อเสียง ตรงกันข้ามข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ทำงานมีตำแหน่งสูง เงินเดือนมาก มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศ และเดินทางไปต่างประเทศบ่อย ๆ ย่อมจะมีประสบการณ์และมีจิตสำนึกที่หนักแน่นเชื่อในสิ่งที่มีเหตุผลยิ่งกว่าคำทำนายของหมอดูที่เลื่อนลอยหากจะมีการแก้เคล็ดเกี่ยวกับดวงชะตาก็น่าจะกระทำไปในทางสร้างบุญเช่นบุคคลทั่วไป ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นต้นเหตุทำให้ดวงชะตาโจทก์ถึงฆาตที่จะต้องจดทะเบียนการหย่าหลอก ๆ เพื่อแก้เคล็ดและจำเลยเบิกความว่า หลังจากจดทะเบียนการหย่าแล้ว โจทก์เร่งเร้าให้โอนบ้านและที่ดินให้แก่บุตรจำเลยเสนอให้โอนขายทรัพย์แล้วแบ่งเงินกันระหว่างโจทก์กับจำเลยโจทก์ไม่ยอม จำเลยเสนอจะโอนบ้านและที่ดินให้แก่บุตร แต่ต้องจดทะเบียนให้จำเลยทรงสิทธิเก็บกิน โจทก์ไม่ยอมอีกอ้างว่า ไม่มีข้อตกลงในสัญญา จำเลยจึงอ้างว่า ในสัญญาหย่าก็ไม่ได้กำหนดระยะเวลาว่าจะโอนให้แก่บุตรเมื่อไร เห็นว่า เหตุที่จำเลยไม่ยอมโอนบ้านและที่ดินให้แก่บุตรตามสัญญา จำเลยอ้างว่าเป็นสินสมรสให้ขายแบ่งเงินกัน หรือต้องจดทะเบียนให้จำเลยให้แก่บุตรจำเลยก็ไม่มีบ้านพักที่อื่นอีก จึงจำเป็นต้องพักอาศัยร่วมบ้านเดียวกับโจทก์ เห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์มีเหตุผลและน้ำหนักดีกว่าพยานจำเลย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์จำเลยจดทะเบียนการหย่าและบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินยกให้แก่บุตรด้วยเจตนาให้มีผลผูกพันตามกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ เมื่อจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในบันทึกโจทก์ในฐานะคู่สัญญามีอำนาจฟ้องส่วนบุตรจะยอมรับทรัพย์สินหรือไม่เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบันทึกหลังทะเบียนการหย่าโดยโอนทรัพย์พิพาทให้แก่บุตรทั้งสองตามฟ้องที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ ตามฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยฎีกาโจทก์ฟ้องขึ้น"

พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1515 เมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายนี้การหย่า โดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว

มาตรา 1532 เมื่อหย่ากันแล้วให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยา

แต่ในระหว่างสามีภริยา
(ก) ถ้าเป็นการหย่ากันโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ให้จัดการแบ่ง ทรัพย์สินของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนการหย่า
(ข) ถ้าเป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาส่วนที่บังคับ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น มีผลย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่า

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2533

บิดาโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสของบิดาโจทก์กับผู้ตายเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ไปแล้ว ถือได้ว่าบิดาโจทก์กับผู้ตายได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่ายย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ส่วนบ้านนั้นบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมยกส่วนของตนครึ่งหนึ่งให้โจทก์แล้วเช่นกัน ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจึงตกเป็นของผู้ตายแต่ผู้เดียว ผู้ตายไปยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมให้บ้านพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์ แต่การให้บ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรม การให้ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนที่เป็นของผู้ตายยังคงเป็นของผู้ตายเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 โจทก์ไม่ได้เป็นทายาท ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดก ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์สินที่ดินพิพาทและครึ่งหนึ่งของบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้บุคคลอื่นได้ เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร แหวน เข็มขัดนาก และเครื่องประดับอื่น ๆ ตามฟ้องเป็นเครื่องประดับกายซึ่งรวมกันแล้วมีราคาไม่มาก เมื่อพิจารณาตามฐานะและรายได้ของบิดาโจทก์และผู้ตายแล้ว เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของผู้ตายแม้ผู้ตายได้มาโดยบิดาโจทก์เป็นผู้หามาให้หรือผู้ตายหาเองในระหว่างสมรสก็ตาม ก็เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย.

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายชวนและนางเชื้อ กฤษณวรรณ บิดาโจทก์มีภรรยาชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2474 รวม 3 คนคือ มารดาโจทก์ นางเกื้อ และนางละมัย หลังจากนางเชื้อและนางเกื้อตายแล้ว บิดาโจทก์ได้อยู่กินกับนางละมัยโดยมีสินสมรสร่วมกัน คือที่ดินโฉนดเลขที่ 1038 แขวงบางยี่เรือราคาประมาณ350,000 บาท กรรมสิทธิ์ครึ่งหนึ่งในบ้านเลขที่ 370 ตรอกโรงเจราคาประมาณ 30,000 บาท เงินฝากในธนาคารและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน 251,896.08 บาท เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชรและเครื่องประดับอื่น ๆ รวมราคาประมาณ 67,210 บาท ค่าเช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1038 ถึงวันฟ้อง 3,600 บาท โทรทัศน์ 1 เครื่องราคาประมาณ 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 704,706.08 บาท เมื่อบิดาโจทก์ถึงแก่กรรม นางละมัยได้ไปยื่นคำร้องขอทำนิติกรรมจดทะเบียนประเภทให้เฉพาะส่วนบ้านเลขที่ 370 ให้แก่โจทก์ ณที่ว่าการเขตธนบุรี แต่ยังมิได้จัดการโอนให้เรียบร้อย นางละมัยถึงแก่กรรมไปก่อน หลังจากนางละมัยถึงแก่กรรมแล้วจำเลยที่ 2ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางละมัยได้นำบัญชีเงินฝากและทรัพย์สินข้างต้นไปเก็บรักษาไว้ และสมคบกับจำเลยที่ 1 ไปทำการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 1038 พร้อมบ้านเฉพาะส่วนของนางละมัยด้วยเจตนาอำพรางและไม่สุจริตไม่ได้เสียค่าตอบแทนเพื่อฉ้อฉลโจทก์ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของบิดาโจทก์ จึงมีสิทธิเรียกเอาทรัพย์สินดังกล่าวจำนวนครึ่งหนึ่งมารวมเป็นกองมรดกของบิดาโจทก์ สำหรับบ้านเลขที่ 370 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่1038 แขวงบางยี่เรือ โดยให้จำเลยทั้งสองไปแก้ไขโอนใส่ชื่อโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมครึ่งหนึ่ง หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองแทนด้วย ให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านเลขที่ 370 (เฉพาะส่วน) ให้แก่โจทก์ ให้ส่งมอบทรัพย์สินและเงินสดกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 120,481.80 บาท พร้อมดอกผลของเงินดังกล่าวเป็นเงิน 5,466.24 บาท ค่าเช่าที่ดินกึ่งหนึ่งเป็นเงิน1,800 บาท ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 357,353.04 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะส่งมอบทรัพย์สินให้โจทก์เสร็จ

จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1เป็นทายาทโดยธรรมของนางละมัย ทรัพย์สินตามฟ้องเป็นสินส่วนตัวของนางละมัยจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางละมัยได้โอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 1038 พร้อมบ้านเลขที่ 370 ให้จำเลยที่ 2 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนในราคา 50,000 บาท โจทก์ไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินส่วนตัวของนางละมัย ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง

จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์จำเลยนำสืบตรงกันว่านายชวน กฤษณวรรณบิดาโจทก์มีภรรยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พ.ศ. 2478 รวม 3 คน คือ นางเชื้อมารดาโจทก์ นางเกื้อและนางละมัย นางเชื้อกับนางเกื้อถึงแก่กรรมก่อนนายชวน นายชวนมีบุตรกับนางเชื้อและนางเกื้อรวม 8 คน ไม่มีบุตรกับนางละมัย ระหว่างอยู่กินกันเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2493 นายชวน นางละมัยได้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 1038 ตำบลบางยี่เรือ (แขวงบางยี่เรือ)อำเภอบางกอกใหญ่ (เขตธนบุรี) กรุงเทพมหานคร จากนางบุญหลงภาสบุตร ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2521 นายชวนได้ให้ที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของตนแก่โจทก์ วันที่ 9 มิถุนายน 2521 นางละมัยได้ให้นายชนะ กฤษณวรรณ ถือกรรมสิทธิ์รวมในส่วนของตน และวันที่20 ธันวาคม 2521 เจ้าพนักงานที่ดินได้แยกโฉนดที่ดินให้ เป็นของโจทก์เนื้อที่ 48 ตารางวา เป็นของนายชนะเนื้อที่ 31 ตารางวา ส่วนนางละมัยถือโฉนดเดิมเหลือเนื้อที่ 61 ตารางวา นายชวนอยู่กับนางละมัยจนนายชวนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2525 นางละมัยถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2526 ก่อนนางละมัยถึงแก่กรรมคือวันที่6 เมษายน 2526 จำเลยที่ 2 และนางประยงค์ กลั่นสกุลมารดาจำเลยที่ 2 ได้สำรวจทรัพย์สินของนางละมัยประมาณ 20 รายการ และรับไปปรากฏตามเอกสารหมาย จ.1 โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายชวนส่วนจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนางละมัย นางละมัยเป็นพี่จำเลยที่ 1 และเป็นน้องนางประยงค์ คงมีปัญหาในชั้นฎีกาว่า

1. ที่ดินโฉนดเลขที่ 1038 ตำบลบางยี่เรือ (แขวงบางยี่เรือ)อำเภอบางกอกใหญ่ (เขตธนบุรี) กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 61 ตารางวาและครึ่งหนึ่งของบ้านเลขที่ 370 บนที่ดินดังกล่าวซึ่งเหลือจากการที่นายชวนยกให้โจทก์แล้วเป็นสินสมรสของนายชวนกับนางละมัยหรือไม่

2. การที่นางละมัยไปยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมให้บ้านดังกล่าวครึ่งหนึ่งในส่วนของตนแก่โจทก์ที่สำนักงานที่ดินเขตธนบุรีไว้แล้ว ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์เป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 หรือไม่

3. โจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทและครึ่งหนึ่งของบ้านพิพาทในส่วนที่เหลือจากที่นายชวนยกให้โจทก์แล้วได้หรือไม่

4. เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร เครื่องประดับอื่น ๆเงินฝากในธนาคารออมสิน สาขาตลาดพลู ตามฟ้อง และค่าเช่าที่ดินพิพาทเดือนละ 600 บาทเป็นสินสมรสของนายชวนกับนางละมัยหรือไม่

ปัญหาตามข้อ 1 เห็นว่า นายชวนได้ยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 1038 ตำบลบางยี่เรือ (แขวงบางยี่เรือ) อำเภอบางกอกใหญ่(เขตธนบุรี) กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสินสมรสของนายชวนกับนางละมัยเฉพาะส่วนของนายชวนให้แก่โจทก์ไปแล้ว ถือได้ว่านายชวนกับนางละมัยได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่าย ย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของนางละมัย ส่วนบ้านเลขที่ 370 นั้นนายชวนได้ทำพินัยกรรมยกส่วนของตนครึ่งหนึ่งให้โจทก์แล้วเช่นกัน ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจึงตกเป็นของนางละมัยแต่ผู้เดียว

ปัญหาตามข้อ 2 เห็นว่า การให้อสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ บ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อทางพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรม การให้ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายกรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนที่เป็นของนางละมัยยังคงเป็นของนางละมัย เมื่อนางละมัยถึงแก่กรรมทรัพย์สินของนางละมัยก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1278/2527 ระหว่าง ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด โจทก์นางเยาว์ แซ่เบ๊หรืออมร ธีระสวัสดิ์ ผู้ร้อง นายออ แซ่อึ้ง กับพวกจำเลย ส่วนคำพิพากษาฎีกาที่โจทก์อ้างมาในฎีกาของโจทก์นั้นข้อเท็จจริงต่างกับคดีนี้

ปัญหาตามข้อ 3 เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ได้วินิจฉัยแล้วฟังได้ว่าที่ดินพิพาทและครึ่งหนึ่งของบ้านพิพาทในส่วนที่เหลือจากที่นายชวนยกให้โจทก์แล้วเป็นมรดกของนางละมัย โจทก์ไม่ได้เป็นทายาท ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกดังกล่าวก็ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์สินในส่วนนี้ให้บุคคลอื่นได้

ปัญหาข้อ 4 เห็นว่า เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร และเครื่องประดับอื่น ๆ ตามฟ้อง คือสร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวนเข็มขัดนาก เป็นเครื่องประดับกายซึ่งรวมกันแล้วมีราคาไม่มากนักเมื่อพิจารณาตามฐานะและรายได้ของบิดาโจทก์และนางละมัยแล้วเครื่องประดับกายดังกล่าวเป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของนางละมัย แม้นางละมัยได้มาโดยบิดาโจทก์เป็นผู้หามาให้หรือนางละมัยหามาเองในระหว่างสมรสก็ตามก็เป็นสินส่วนตัวของนางละมัยส่วนเงินฝากในธนาคารออมสิน สาขาตลาดพลู ทั้งสองบัญชีมีชื่อนางละมัยเป็นเจ้าของ ทั้งก่อนนางละมัยถึงแก่กรรมฝ่ายจำเลยได้สำรวจทรัพย์สินของนางละมัยแล้วทำบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินของนางละมัยไว้ตามเอกสารหมาย จ.10 โจทก์ซึ่งรู้เห็นการทำบันทึกฉบับดังกล่าวและร่วมลงชื่อไว้ในฐานะพยานก็ไม่ได้คัดค้านหรือโต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดเป็นสินสมรสของนายชวนกับนางละมัยนอกจากนี้หลังจากนายชวนถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ไม่เคยเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์ดังกล่าวจากนางละมัยจนนางละมัยถึงแก่กรรมหลังนายชวน1 ปีเศษ จึงน่าเชื่อว่าทรัพย์สินตามเอกสารหมาย จ.10 ซึ่งมีเงินฝากในธนาคารออมสิน สาขาตลาดพลู รวมอยู่ด้วยเป็นสินส่วนตัวของนางละมัย สำหรับค่าเช่าที่ดินพิพาทนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของนางละมัย ดังนั้นเงินรายได้จากค่าเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นของนางละมัยไม่ได้เป็นมรดกของนายชวน ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหามาชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ทุกข้อฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 525 การให้ทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรณีเช่นนี้การให้ย่อมเป็นอันสมบูรณ์โดยมิพักต้องส่งมอบ

มาตรา 1300 ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จด ทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการ จดทะเบียนนั้นได้ แต่การโอนอันมีค่าตอบแทน ซึ่งผู้รับโอนกระทำการโดย สุจริตนั้นไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ท่านว่าจะเรียกให้เพิกถอนทะเบียนไม่ได้

มาตรา 1470 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสิน ส่วนตัว ย่อมเป็นสินสมรส

มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดย การให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น

มาตรา 1599 เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท

ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้หรือกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2533

จำเลยยื่นความจำนง ขอซื้อ ที่ดิน พิพาทจากกองทัพอากาศ และจำเลยยอมให้กองทัพอากาศหัก เงินเดือน ของจำเลยทุกเดือนเป็นการผ่อนชำระราคาที่ดิน เมื่อผ่อนชำระครบถ้วนแล้ว ผู้ขายได้ จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยในระหว่างสมรส ดังนี้ ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลย

โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสกับให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู

จำเลยให้การต่อสู้คดี

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง หากไม่สามารถแบ่งได้ ก็ให้นำออกขายโดยประมูลราคากันระหว่างโจทก์และจำเลยหรือขายทอดตลาด แล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์จำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันเมื่อ พ.ศ. 2503 ตามเอกสารหมาย จ.1แต่ได้อยู่กินเป็นสามีภรรยากันมาก่อนจดทะเบียนสมรส เมื่อ พ.ศ. 2501กองทัพอากาศได้จัดสรรที่ดินให้แก่นายทหารอากาศตั้งแต่ชั้นสัญญาบัตรขึ้นไปมีสิทธิขอซื้อ ตามเอกสารหมาย ล.3 จำเลยได้ยื่นความจำนงขอซื้อ เมื่อได้รับอนุมัติให้ซื้อแล้ว จำเลยได้ผ่อนส่งราคาที่ดินพิพาทเป็นรายเดือน โดยผู้ขายได้หักเงินเดือนจำเลยทุกเดือนจนกว่าจะชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วน ผู้ขายได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย เมื่อ พ.ศ. 2514 ตามเอกสารหมาย จ.2 จำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาท เมื่อ พ.ศ. 2505 จำเลยได้ฟ้องหย่าโจทก์ต่อศาลแพ่ง ศาลแพ่งได้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน ตามคดีหมายเลขแดงที่ 4234/2522 คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว มารดาจำเลยได้ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยจำเลยกับมารดาจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตามเอกสารหมาย ล.7 จำเลยได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่มารดาจำเลยแล้ว ตามเอกสารหมาย ล.8

ข้อที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของมารดาจำเลย โดยมารดาจำเลยเป็นผู้ซื้อ มารดาจำเลยได้มอบเงินสดให้แก่จำเลยนำไปซื้อจากกองทัพอากาศ จำเลยจึงเป็นตัวแทนของมารดาจำเลยในการซื้อที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงมิใช่สินสมรสนั้น ในข้อนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้ยื่นความจำนงขอซื้อที่ดินพิพาทจากกองทัพอากาศและจำเลยยอมให้กองทัพอากาศหักเงินเดือนของจำเลยทุกเดือนเป็นการผ่อนชำระราคาที่ดิน เมื่อผ่อนชำระครบถ้วนแล้ว ผู้ขายได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย เมื่อ พ.ศ. 2514 เป็นการโอนกันในระหว่างสมรสที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย ที่จำเลยเบิกความว่า ขณะจำเลยจะผ่อนราคาซื้อที่ดินพิพาท จำเลยไม่มีเงินเพราะจำเลยต้องผ่อนราคาซื้อรถยนต์อยู่1 คัน มารดาจำเลยจึงตกลงซื้อที่ดินพิพาทโดยใช้ชื่อจำเลยเป็นผู้ซื้อ มารดาจำเลยได้มอบเงินแก่จำเลย 20,000 บาท เพื่อให้จำเลยนำไปชำระราคารถยนต์ และให้จำเลยรับภาระผ่อนส่งราคาที่ดินพิพาทอันเป็นการผ่อนราคาที่ดินแทนจำเลยนั้น พิเคราะห์คำเบิกความของจำเลยดังกล่าวแล้ว เห็นว่าจำเลยเบิกความลอย ๆ โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาสนับสนุน คำเบิกความดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะฟังว่าที่ดินพิพาทมิใช่สินสมรส..."

พิพากษายืน.

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2533

การที่โจทก์ จำเลย ประสงค์จะหย่าขาดจากกันจึงไปทำบันทึกในรายงานประจำวัน ณ สถานีตำรวจมีข้อความว่าโจทก์และจำเลยจะทำการหย่าร้างจากการเป็นสามีภริยากันให้ถูกต้องตามกฎหมายในภายหลังส่วนเรื่องทรัพย์สินของสามีภริยาส่วนตัวจะไปทำความตกลงกันเองโดยโจทก์และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในบันทึกดังกล่าว และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 2 นาย ลงลายมือชื่อไว้ด้วย นั้น แม้ในบันทึกดังกล่าวจะไม่ได้ระบุว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งสองนายลงลายมือชื่อในฐานะพยาน แต่เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวก็กระทำในฐานะเป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติงานตามหน้าที่และรับรู้ข้อตกลงของโจทก์จำเลย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงนี้ เมื่อข้อความในบันทึกดังกล่าวระบุอย่างชัดแจ้งว่าโจทก์ จำเลยจะทำการหย่าร้างกันตามกฎหมาย โดยโจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อในบันทึก และมีพยานลงลายมือชื่ออีก 2 คนแล้วบันทึกดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงการหย่าโดยความยินยอมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1514 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนหย่าได้ ที่ดินและบ้านโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์มาหลังจากทำการสมรสกับจำเลยแล้วโดยโจทก์และจำเลยร่วมกันซื้อมา จึงเป็นสินสมรส ตู้เย็น โทรทัศน์สี และตู้ลำโพง อันเป็นของใช้ภายในบ้านเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรส ที่ดินซึ่งจำเลยซื้อมาในระหว่างสมรสและมีชื่อ โจทก์ จำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน โดยจำเลยนำเงินที่ได้จากการค้าขายและเงินเดือนไปซื้อ นั้น เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรส การที่จำเลยนำเงินที่เป็นสินสมรสไปซื้อที่ดิน ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสด้วย.

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยแต่งงานจดทะเบียนสมรส แล้วอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาและมีทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,693,900 บาท เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2527 เวลาประมาณ 15นาฬิกา จำเลยได้ทำร้ายร่างกายและพยายามฆ่าโจทก์ นอกจากนั้นจำเลยยังมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับหญิงรับใช้ในบ้าน การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง จนโจทก์ไม่อาจทนอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยอีกต่อไป ต่อมาเมื่อวันที่10 มิถุนายน 2527 โจทก์จำเลยตกลงหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาต่อหน้าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนง โดยทำบันทึกตกลงยินยอมหย่าเป็นหนังสือต่อหน้าพยานเกินกว่า 2 คน โดยจะไปจดทะเบียนหย่ากันตามกฎหมายต่อไป แต่จนบัดนี้จำเลยก็ยังไม่ยอมจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ และแบ่งสินสมรสกับโจทก์ตามที่ตกลง ขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยแบ่งสินสมรสแก่โจทก์กึ่งหนึ่งหากตกลงแบ่งกันเองไม่ได้ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดนำเงินแบ่งกันคนละกึ่งหนึ่ง หรือให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์แทนการแบ่งสินสมรสเป็นเงิน 846,950 บาท

จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์ไม่มีมูล จำเลยมิได้มีพฤติการณ์ดังที่โจทก์กล่าวอ้างแต่อย่างใด การไปตกลงหย่าต่อหน้าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนงไม่มีผลเป็นการหย่าโดยถูกต้อง เพราะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและพยานรับรองลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลบยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันหากจำเลยไม่ได้จดทะเบียนหย่าให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา ให้โจทก์จำเลยมีส่วนเท่ากันในสินสมรสตามเอกสารหมายจ.4 เฉพาะรายการที่ 2 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 ที่ 12 ที่ 13ที่ 14 ที่ 15 ที่ 16 และที่ 17 หากตกลงแบ่งกันเองไม่ได้ก็ให้นำออกขายทอดตลาดนำเงินแบ่งกันคนละครึ่ง และให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์จำนวน 471,550 บาทด้วย หรือให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์จำนวน 846,950บาท แทนการแบ่งสินสมรสทั้งหมด

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า โจทก์จำเลยมีส่วนคนละครึ่งในสินสมรสตามบัญชีทรัพย์เอกสารหมาย จ.4 อันดับที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 9ที่ 10 ที่ 14 หากตกลงแบ่งกันเองไม่ได้ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันคนละครึ่ง หรือหากไม่ขายทอดตลาดก็ให้จำเลยชำระเงิน 686,750 บาทให้โจทก์แทนการแบ่งสินสมรสดังกล่าว

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกัน ณ สำนักงานเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2523 และตกลงทำสัญญาก่อนสมรสไว้ตามเอกสารหมาย จ.1 โจทก์จำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาจนถึงวันที่ 10 มิถุนายน2527 โจทก์จำเลยได้ไปพบพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนงและแจ้งให้พนักงานสอบสวนทำบันทึกข้อตกลงไว้ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมาย จ.10 มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า บันทึกตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวเป็นการหย่าโดยความยินยอมตามกฎหมายหรือไม่ทรัพย์สินตามบัญชีเอกสารหมาย จ.4 อันดับที่ 1 ถึงที่ 6ที่ 9 ที่ 10 และที่ 14 เป็นสินสมรสหรือไม่ พิเคราะห์แล้ว ในปัญหาที่ว่า บันทึกตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมาย จ.10เป็นการหย่าโดยความยินยอมตามกฎหมายหรือไม่ ตามบันทึกดังกล่าวระบุว่า"นายสุรชัย และนางจุฑาทิตจะทำการหย่าร้างจากการเป็นสามีภริยากันให้ถูกต้องตามกฎหมายในภายหลัง...ส่วนเรื่องทรัพย์สินของสามีภริยาส่วนตัวจะไปทำความตกลงกันเอง..."เห็นว่า ข้อความในบันทึกดังกล่าวระบุอย่างชัดแจ้งว่าโจทก์จำเลยจะทำการหย่าร้างกันตามกฎหมาย และโจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อในบันทึกดังกล่าว กรณีถือได้ว่าโจทก์จำเลยได้ตกลงที่จะหย่ากันตามกฎหมายแล้ว นอกจากนี้บันทึกดังกล่าวมีร้อยตำรวจตรีวิทยา เหลืองสกุลพานิช พนักงานสอบสวนและจ่าสิบตำรวจ1 นาย ลงลายมือชื่อในบันทึกดังกล่าวไว้ แม้ในบันทึกดังกล่าวจะไม่ได้ระบุว่าเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองลงลายมือชื่อในฐานะพยาน แต่เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวก็กระทำในฐานะเป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติงานตามหน้าที่ และรับรู้ข้อตกลงดังกล่าวของโจทก์จำเลย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงการหย่าโดยความยินยอมแล้ว ดังนั้นบันทึกตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมายจ.10 เป็นการหย่าโดยความยินยอมของโจทก์จำเลย โดยทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1514 วรรคสองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

ในปัญหาที่ว่า ทรัพย์สินตามบัญชีเอกสารหมาย จ.4 อันดับที่ 1ถึงที่ 6 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 14 เป็นสินสมรสหรือไม่ ทรัพย์สินอันดับที่ 1 เป็นที่ดินโฉนดที่ 158554 พร้อมบ้าน โจทก์เบิกความว่าที่ดินและบ้านดังกล่าวโจทก์และจำเลยซื้อร่วมกันและช่วยกันชำระเงินชำระเงินดาวน์เป็นเงินประมาณ 100,000 บาท โดยผ่อนชำระเป็นงวด ๆต่อมาเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2523 จึงได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านดังกล่าวกันตามเอกสารหมาย จ.2 จ.3 และคงค้างชำระที่ดินและบ้านอีกประมาณ 500,000 บาท ซึ่งจดทะเบียนจำนองไว้ โจทก์จำเลยช่วยกันผ่อนชำระจนครบและไถ่ถอนประมาณเดือนมกราคม 2526 เห็นว่าที่ดินและบ้านดังกล่าวโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2523จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการสมรส ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าจำเลยซื้อไว้ก่อนจดทะเบียนสมรสตามสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย ล.1นั้น ตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวข้อ 2 ระบุว่า ผู้ซื้อยอมชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่ผู้ขายดังที่จะกล่าวต่อไป

(1) เมื่อผู้ขายมีคำบอกล่าวแจ้งให้ผู้ซื้อมารับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ซื้อขายกัน และผู้ซื้อได้ชำระเงินให้แก่ผู้ขายจำนวน 14,000บาท พร้อมทั้งผู้ซื้อได้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาปลูกสร้างอาคาร และชำระเงินค่าจ้างเหมาปลูกสร้างอาคารครบถ้วนถูกต้องแล้ว ผู้ขายจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ซื้อขายดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อ เห็นว่าสัญญาซื้อขายดังกล่าวยังไม่มีการชำระเงินค่าที่ดินในวันทำสัญญา คงมีแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการที่จะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและวิธีการชำระค่าที่ดินเท่านั้น และหลังจากทำสัญญาซื้อขายดังกล่าวแล้ว จำเลยก็ไม่มีหลักฐานการชำระค่าที่ดิน คงมีแต่ใบเสร็จรับเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่จำเลยจ่ายให้บริษัทผู้รับเหมาไปก่อนสมรสเพียง 2 งวด เป็นเงิน 40,000 บาท ตามเอกสารหมาย ล.2 ล.3 ทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์จำเลยไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรสตามเอกสารหมาย จ.1และจำเลยยังเบิกความตอบคำถามค้านว่า จำเลยปลูกบ้านดังกล่าวเพื่ออยู่กินกับโจทก์ และเพื่อให้มารดาและพี่สาวอยู่อาศัย จำเลยเริ่มผ่อนราคาบ้านดังกล่าวก่อนแต่งงานกับโจทก์และหลังแต่งงานก็ยังผ่อนอยู่คำเบิกความดังกล่าวของจำเลยจึงต้องกันกับคำเบิกความของโจทก์ และจำเลยก้เบิกความยอมรับอกีว่าจำเลยรู้จักโจทก์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521โดยทำงานร่วมกันที่บริษัทนารายณ์สากลประกันภัย จำกัด เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงดังกล่าวประกอบกันแล้ว ฟังได้ว่าโจทก์จำเลยร่วมกันซื้อที่ดินและบ้านดังกล่าว ดังนั้นทรัพย์สินอันดับที่ 1 จึงเป็นสินสมรสสำหรับทรัพย์สินอันดับที่ 2 ถึงที่ 6 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 14 โจทก์เบิกความยืนยันว่า ทรัพย์สินดังกล่าวได้มาในระหว่างสมรส เห็นว่าทรัพย์สินอันดับที่ 2 เป็นที่ดินโฉนดที่ 158568 ซื้อมาเมื่อวันที่13 กรกฎาคม 2526 โจทก์จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ปรากฏตามโฉนดเอกสารหมาย จ.5 ทรัพย์สินอันดับที่ 3 ที่ 4 เป็นรถยนต์ โจทก์ซื้อมาหลังจากโจทก์จำเลยแต่งงานกันแล้วตามเอกสารหมาย จ.6 จ.7ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ได้มาในระหว่างสมรส ส่วนทรัพย์สินอันดับที่ 5 ที่ 6 เป็นตู้เย็น อันดับที่ 9 ที่ 10 เป็นโทรทัศน์สีอันดับที่ 14 เป็นตู้ลำโพง 1 ตู้ ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของใช้ภายในบ้าน และจำเลยยอมรับว่าทรัพย์สินอันดับที่ 5 โจทก์ซื้อมา ส่วนทรัพย์สินอันดับที่ 9 ที่ 10 และที่ 14 จำเลยไม่นำสืบโต้แย้งว่าได้มาก่อนสมรส พยานหลักฐานโจทก์ก็มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานจำเลยฟังได้ว่าทรัพย์สินอันดับที่ 5 ที่ 6 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 14 ได้มาในระหว่างสมรสเช่นกัน ในปัญหาที่ว่าจำเลยใช้เงินซึ่งเป็นสินส่วนตัวซื้อทรัพย์สินดังกล่าวเว้นทรัพย์สินอันดับที่ 5 หรือไม่ จำเลยเบิกความว่าจำเลยซื้อที่ดินอันเป็นทรัพย์สินอันดับที่ 2 ด้วยตนเองโจทก์ไม่ได้ร่วมซื้อด้วยเห็นว่า จำเลยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนว่าเงินที่ซื้อที่ดินดังกล่าวเป็นสินส่วนตัว แต่ได้เบิกความตอบคำถามค้านว่า เงินส่วนที่จำเลยนำไปซื้อทรัพย์สินดังกล่าวนั้นหมายถึงเงินที่ได้จากการค้าขายพลอยและเงินที่ได้รับจากบริษัทประกันภัย จึงเห็นได้ชัดว่าเงินที่จำเลยอ้างมาดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรส เมื่อจำเลยนำเงินซึ่งเป็นสินสมรสไปซื้อทรัพย์สินมา ทรัพย์สินดังกล่าวจึงตกเป็นสินสมรสดังนั้นทรัพย์สินตามบัญชีเอกสารหมาย จ.4 อันดับที่ 2 ถึงที่ 6 ที่ 9ที่ 10 และที่ 14 เป็นสินสมรสส่วนทรัพย์สินอันดับที่ 5 ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยขายไปเพื่อนำเงินมาชำระหนี้นั้น จำเลยไม่ได้ให้การไว้ว่าจำเลยได้ขายไปแล้วในระหว่างสมรส ทั้งไม่ได้ถามค้านโจทก์ไว้จำเลยจึงเบิกความลอย ๆ ไม่น่าเชื่อ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยขายทรัพย์สินอันดับที่ 5 ไปเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน.

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1514 การหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย หรือโดยคำพิพากษาของศาล
 

การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2533

การที่ ผ. เป็นผู้ไปแจ้งการเกิดของโจทก์โดยระบุว่าตนเองเป็นบิดา ยินยอมรับโจทก์ว่าเป็นบุตรอยู่ในทะเบียนบ้าน และระหว่างสงครามก็พาโจทก์และภรรยาอพยพครอบครัวไปด้วยกัน พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์เป็นบุตรที่ ผ. รับรองแล้ว ทรัพย์มรดกของ ผ. เป็นสินส่วนตัวของโจทก์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกดังกล่าว จึงเป็นการจัดการสินส่วนตัวของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีอำนาจจัดการเองได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี ผู้ที่จะยกอายุความ 1 ปี ขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นเพียงน้องเจ้ามรดก ไม่มีสิทธิได้รับมรดกเพราะยังมีโจทก์ซึ่งเป็นบุตรและเป็นทายาทลำดับเหนือกว่าอยู่ จำเลยจะยกเอาอายุความมรดกมาต่อสู้โจทก์ผู้เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกหาได้ไม่ เหตุที่จำเลยฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกของ ผ.จากอ.ผู้จัดการมรดกเพราะเข้าใจโดยสุจริตว่าโจทก์ได้หายสาบสูญไปจำเลยจึงมีสิทธิที่จะเรียกเอาเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเลยต้องออกไปตามความจำเป็นในการจัดการทรัพย์มรดก โดยถือเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหลายอันควรแก่การรักษาทรัพย์สิน รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการทำศพ ผ.ด้วย ส่วนค่าใช้จ่ายและค่าผลประโยชน์ของจำเลยนั้น จำเลยหามีสิทธิทีจะนำมาหักไม่

โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้รับมรดกของนายผันแต่ผู้เดียวและบังคับให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน ถ้าไม่โอนภายในกำหนด ก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย ถ้าจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก ดังกล่าวได้ ก็ให้จำเลยใช้ราคาเป็นเงิน700,000 บาท แก่โจทก์

จำเลยให้การว่า โจทก์เป็นหญิงมีสามี ไม่ได้รับอนุญาตจากสามีจึงฟ้องคดีนี้ไม่ได้ โจทก์ไม่ใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายผันอ้นเอี่ยมเจ้ามรดก คดีของโจทก์ขาดอายุความ หากศาลฟังว่าโจทก์เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของนายผัน โจทก์ต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่จำเลยใช้จ่ายไปในการดำเนินคดีเรียกทรัพย์มรดกจากนางอุดร บัวก้านทอง ผู้จัดการมรดกของนายผัน กับค่าทำศพและค่าปรับปรุงที่ดินแก่จำเลย และจำเลยควรได้รับผลประโยชน์ตอบแทนรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดกของนายผัน อ้นเอี่ยม แต่ผู้เดียวคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายที่ดินและบ้านมรดกมีราคา 500,000 บาท จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านมรดกให้แก่นางลัดดา เนตรประภาไปโดยสมบูรณ์แล้ว คงบังคับให้จำเลยเพียงใช้ราคาทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์เท่านั้น พิพากษาให้จำเลยใช้เงิน 500,000 บาทแก่โจทก์ คำขอนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่จำเลยฎีกาในข้อแรกว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะแม้โจทก์จะเป็นบุตรนายผันกับนางเสงี่ยมซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ลำพังแต่นายผันไปแจ้งการเกิดของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.2 ยังไม่พอฟังว่านายผันได้รับรองโจทก์เป็นบุตรแล้วนั้น เห็นว่านอกจากนายผันเป็นผู้ไปแจ้งการเกิดของโจทก์โดยระบุว่าตนเองเป็นบิดา ตามสำเนาสูติบัตรเอกสารหมาย จ.2 และยินยอมรับโจทก์ว่าเป็นบุตรอยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 974 ของนายผันตามสำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารหมาย จ.3แล้ว นางสังเวียน จารุเสน พยานจำเลย ซึ่งเป็นพี่สาวจำเลยยังเบิกความว่านายผันมีบุตรคนเดียวคือโจทก์ ระหว่างสงครามนายผันได้พาโจทก์และภรรยาอพยพครอบครัวมาอาศัยอยู่ที่บ้านของบิดาพยาน ซึ่งเป็นบิดาของนายผันด้วย ที่อำเภอพระประแดงนอกจากนี้จำเลยก็เบิกความรับรองข้อความดังกล่าว และว่าเมื่อนายบุญลือมาขอให้จำเลยฟ้องนางอุดรเรียกทรัพย์มรดกรายนี้จำเลยได้ถามนายบุญลือว่าเหตุใดไม่ไปตามโจทก์ให้มาฟ้องเองดังนั้นจำเลยจึงทราบเป็นอย่างดีว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของนายผันแต่ผู้เดียว พฤติการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวมาแสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นบุตรที่นายผันได้รับรองแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตจากสามีให้ฟ้องคดีนี้ จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเห็นว่า ทรัพย์มรดกของนายผันเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 (3) การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกดังกล่าวจึงเป็นการจัดการสินส่วนตัวของโจทก์ซึ่งโจทก์มีอำนาจจัดการเองได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามีโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ที่จำเลยฎีกาข้อต่อมาว่า แม้โจทก์จำเลยจะเป็นทายาทต่างอันดับกัน ก็ยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีของโจทก์จึงขาดอายุความนั้น เห็นว่า ผู้ที่จะยกอายุความ 1 ปี ขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1755 เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นเพียงน้องนายผันไม่มีสิทธิได้รับมรดก เพราะยังมีโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนายผัน และเป็นทายาทลำดับเหนือกว่าอยู่ จำเลยจะยกเอาอายุความมรดกมาต่อสู้โจทก์ผู้เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกหาได้ไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน

ที่จำเลยฎีกาข้อสุดท้ายว่า จำเลยมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายที่จำเลยต้องเสียไปในการได้รับทรัพย์มรดกของนายผันออกจากเงินที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์นั้น เห็นว่า ตามสำเนาทะเบียนบ้านเอกสารหมาย จ.3 ซึ่งมีนายผันเจ้ามรดกเป็นหัวหน้าครอบครัวในช่องบุคคลที่ 3 อันเป็นรายการเกี่ยวกับตัวโจทก์ได้ถูกขีดฆ่าออก โดยระบุในช่องย้ายออกว่า ไม่ทราบที่อยู่ ส่วนปี พ.ศ.ที่ระบุข้อความดังกล่าวนั้นเลอะเลือน คงได้ความจากคำเบิกความของนายประจักษ์ ประคองทรัพย์ พยานโจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ว่า ลายมือชื่อนายทะเบียนที่รับรองข้อความเกี่ยวกับบุคคลที่ 3 ดังกล่าวนั้นเป็นลายมือชื่อนายบุญยง อ่อนอำไพ ซึ่งเกษียณอายุไปเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519และได้ความจากคำเบิกความของนางจันทนา ชัยยัง พยานโจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ว่า การที่นายทะเบียนจะขีดชื่อบุคคลใดออกจากทะเบียนบ้าน เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านเท่านั้นที่จะต้องมายื่นคำร้องต่อนายทะเบียน นอกจากนี้นายบุญลือ ครุฑชูชื่น พยานโจทก์ซึ่งอาศัยอยู่กับนายผันเนื่องจากเป็นน้องภรรยาคนหนึ่งของนายผันเบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2525 ว่า พยานอยู่ที่บ้านของนายผันมาประมาณ 11 ปี ตอนเข้ามาอยู่โจทก์มีสามีและออกจากบ้านดังกล่าวไปแล้ว โจทก์จะไปอยู่ที่ไหนนายผันไม่ทราบ ไม่เคยเห็นโจทก์เขียนจดหมายถึงนายผัน จากพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ได้ออกจากบ้านของนายผันก่อนที่นายผันจะถึงแก่กรรมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า10 ปี และนายผันผู้เป็นเจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งต่อนายบุญยงอ่อนอำไพ นายทะเบียนให้ขีดฆ่าชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านของนายผัน เนื่องจากไม่ทราบที่อยู่ดังที่ปรากฏในเอกสารหมาย จ.3ที่โจทก์นำสืบว่าได้ติดต่อไปมาหาสู่กับนายผันผู้เป็นบิดาอยู่จึงขัดต่อพยานหลักฐานดังกล่าว และโดยเหตุที่คดีได้ความจากคำเบิกความของนายบุญลือพยานโจทก์ต่อไปอีกว่า เมื่อพยานถูกนางอุดร บัวก้านทอง ผู้จัดการมรดกของนายผันฟ้องขับไล่ พยานจึงได้ไปขอให้จำเลยมาฟ้องนางอุดรเรียกทรัพย์มรดกของนายผันที่เป็นเช่นนี้น่าเชื่อว่าในขณะนั้นนายบุญลือก็เข้าใจว่าโจทก์หายสาบสูญจึงได้ไปขอร้องจำเลย พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวมาจึงเจือสมกับข้อนำสืบของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่เคยไปมาหาสู่บ้านนายผัน เหตุที่จำเลยฟ้องนางอุดรเรียกทรัพย์มรดกของนายผันก็เนื่องจากนายบุญลือมาขอร้อง โดยอ้างว่าโจทก์ออกจากบ้านหายไปกว่า 10 ปีแล้ว ศาลฎีกาเชื่อว่าเหตุที่จำเลยฟ้องนางอุดรดังกล่าวก็โดยจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าโจทก์ได้หายสาบสูญไป จำเลยซึ่งเป็นน้องต่างมารดาของนายผันจึงมีสิทธิได้รับมรดกของนายผันดังที่จำเลยนำสืบ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะเรียกเอาเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเลยต้องออกไปตามความจำเป็นในการจัดการทรัพย์มรดกของนายผันได้โดยถือเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหลายอันควรแก่การรักษาทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 416 และมาตรา 1376 อันได้แก่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่นางอุดรเป็นค่าธรรมเนียมศาล และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 7,000 บาท ค่าทนายความ 60,000 บาท และค่าธรรมเนียมในการโอนที่ดินพร้อมบ้านมรดกมาเป็นชื่อของจำเลย5,050 บาท สำหรับค่าทำศพนายผันที่จำเลยชดใช้ให้นางอุดรผู้จัดการมรดกจำนวน 20,000 บาท นั้น เห็นว่า เป็นค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 และมาตรา 1739(2) จำเลยจึงมีสิทธิเรียกคืนจากโจทก์ได้เช่นกันรวมเป็นเงินค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 92,050 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายที่จำเลยให้นายบุญลือและค่าผลประโยชน์ของจำเลยนั้น จำเลยหามีสิทธิที่จะนำมาหักไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยขายทรัพย์มรดกของนายผันได้เงินมา 500,000 บาท หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นในการจัดการทรัพย์มรดกดังกล่าวแล้ว จึงเหลือเงินที่จำเลยจะต้องคืนให้แก่โจทก์จำนวน 407,950 บาท ที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าจำเลยกระทำไปเพื่อให้ได้ทรัพย์มรดกอันเป็นประโยชน์แก่จำเลยเองจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายจากโจทก์ได้นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยใช้เงิน 407,950 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษา

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1473 สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ

มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1739 ให้ชำระหนี้ที่กองมรดกค้างชำระตามลำดับต่อไปนี้ และตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยบุริมสิทธิ โดยต้องไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่บรรดาเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิพิเศษ ตามประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นและบรรดาเจ้าหนี้ที่มีประกันโดยการ จำนำหรือการจำนอง
(1) ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันของกองมรดก
(2) ค่าใช้จ่ายในการทำศพเจ้ามรดก
(3) ค่าภาษีอากรซึ่งกองมรดกค้างชำระอยู่
(4) ค่าจ้างซึ่งเจ้ามรดกค้างชำระแก่เสมียน คนใช้และคนงาน
(5) ค่าเครื่องอุปโภคอันจำเป็นประจำวันซึ่งส่งให้แก่เจ้ามรดก
(6) หนี้สินสามัญของเจ้ามรดก
(7) บำเหน็จของผู้จัดการมรดก

มาตรา 1755 อายุความหนึ่งปีนั้น จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่โดยบุคคล ซึ่งเป็นทายาท หรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท หรือโดยผู้จัดการมรดก

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2533

จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างบ้านพิพาทบนที่ดินส่วนตัวของตน แม้สามีจะช่วยออกเงินในการปลูกสร้างด้วยถึงหนึ่งในสาม แต่ตามพฤติการณ์เป็นการช่วยเหลือกันฉันสามีภริยา หาใช่เป็นการร่วมลงทุนปลูกบ้านพิพาทด้วยไม่ ดังนี้บ้านพิพาทจึงเป็นส่วนควบของที่ดินและเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างบ้านพิพาทในระหว่างสมรสจึงไม่ทำให้บ้านพิพาทเป็นสินสมรสอันจะเป็นทรัพย์มรดกของสามีครึ่งหนึ่งด้วย.

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรของพันตำรวจเอกณัฐพงษ์วนภูมิ กับนางกิ่งแก้ว วนภูมิ ซึ่งหย่าขาดจากกันแล้ว ต่อมาพันตำรวจเอกณัฐพงษ์สมรสกับจำเลยที่ 1 และมีบ้านราคา 150,000 บาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างพันตำรวจเอกณัฐพงษ์กับจำเลยที่ 1 ต่อมาพันตำรวจเอกณัฐพงษ์ถึงแก่กรรม กรรมสิทธิ์ในบ้านครึ่งหนึ่งจึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของพันตำรวจเอกณัฐพงษ์ แต่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 จึงไม่สามารถจัดการทรัพย์มรดกได้ ขอให้พิพากษาว่าบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับจำเลยที่ 1ให้จำเลยที่ 1 แบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง หากแบ่งไม่ได้ให้จำเลยที่ 1ใช้ราคาเป็นเงิน 75,000 บาท หรือนำบ้านพิพาทออกขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วน และบังคับให้จำเลยที่ 2 ออกจากบ้านพิพาท

จำเลยทั้งสองให้การว่า บ้านพิพาทปลูกบนที่ดินสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ปลูกสร้างแทนบ้านหลังเดิมซึ่งจำเลยที่ 1 อนุญาตแล้ว พันตำรวจเอกณัฐพงษ์มิได้ร่วมลงทุนสร้างบ้านพิพาทแต่อย่างใด จึงมิใช่สินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับพันตำรวจเอกณัฐพงษ์ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า บ้านพิพาทเป็นสินสมรสจึงเป็นมรดกของพันตำรวจเอกณัฐพงษ์ครึ่งหนึ่ง พิพากษาให้จำเลยที่ 1 แบ่งปันบ้านพิพาทให้โจทก์ทั้งสองครึ่งหนึ่ง เพื่อนำไปจัดการมรดกต่อไปโดยให้จำเลยที่ 1 ใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 75,000 บาท หากไม่ยอมชดใช้ให้นำบ้านพิพาทขายทอดตลาดแล้วแบ่งเงินตามส่วนให้จำเลยที่ 2ออกจากบ้านพิพาท

จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างบ้านพิพาทแทนบ้านหลังเดิมบนที่ดินอันเป็นสินส่วนตัวของตนเอง แม้ว่าพันตำรวจเอกณัฐพงษ์ผู้เป็นสามีจะออกเงินช่วยเหลือในการสร้างบ้านพิพาทด้วย 1 ใน 3 ส่วน ก็เป็นเรื่องปกติวิสัยที่สามีภริยาย่อมจะต้องให้ความช่วยเหลือแก่กัน หาใช่เป็นกรณีร่วมกันสร้างบ้านพิพาทไม่บ้านพิพาทจึงเป็นส่วนควบของที่ดินและเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1แม้จะปลูกสร้างในระหว่างสมรสก็ถือไม่ได้ว่าเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทครึ่งหนึ่งจึงไม่เป็นทรัพย์มรดกของพันตำรวจเอกณัฐพงษ์

พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง.

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5696/2533

ทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องและจำเลยได้มาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส จำเลยได้นำทรัพย์พิพาทไปจำนองไว้กับธนาคาร เพื่อค้ำประกันหนี้เงินกู้ของ ส. บุตรของจำเลยและผู้ร้อง ซึ่งผู้ร้องให้ความยินยอม หนี้จำนองที่เกิดขึ้นในระหว่างสมรสจึงถือเป็นหนี้ร่วมกันที่จำเลยกับผู้ร้องต้องรับผิดร่วมกัน ส. ถูกธนาคารฟ้องเรียกหนี้เงินกู้ จำเลยกลัวว่าทรัพย์พิพาทจะถูกยึดจึงขอกู้เงินจากโจทก์เพื่อนำไปชำระหนี้แก่ธนาคารเพื่อไถ่ถอนจำนอง เมื่อหนี้จำนองเป็นหนี้ร่วมกันและเงินที่นำไปชำระหนี้จำนองก็เป็นส่วนหนึ่งของหนี้ตามฟ้อง ซึ่งผู้ร้องกับจำเลยจะต้องรับผิดร่วมกัน ผู้ร้องเป็นภริยาของจำเลยไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วน. 

คดีนี้สืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 250,000บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียม ต่อมาจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว โจทก์จึงได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.) เลขที่ 5908 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้

ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นภริยาจำเลยโดยได้จดทะเบียนสมรสกัน อยู่กินเป็นสามีภรรยากันที่บ้านเลขที่ 165 ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินแปลงที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดดังกล่าว ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยได้ครอบครองเป็นเจ้าของร่วมกันตลอดมา ผู้ร้องไม่เคยรู้เห็นหรือให้ความยินยอมในการที่จำเลยกู้เงินจากโจทก์ จึงขอกันส่วนเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีนี้เป็นของผู้ร้องกึ่งหนึ่ง

โจทก์คัดค้านว่า ทรัพย์ที่โจทก์นำยึดในคดีนี้เป็นสินส่วนตัวของจำเลยเพียงผู้เพียว จำเลยกู้เงินโจทก์เพื่อไปประกอบอาชีพร่วมกับผู้ร้อง นำรายได้มาอุปการะเลี้ยงดูครอบครัว รวมทั้งค่ารักษาพยาบาลในครอบครัวและการศึกษาของบุตร โดยความรู้เห็นและยินยอมของผู้ร้องผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วน

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน

ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องเป็นภริยาจำเลยโดยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2514 ตามเอกสารหมายร.1 ต่อมาวันที่ 11 กันยายน 2529 จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้น จำนวน 250,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2529 จนกว่าชำระเสร็จ หนี้ถึงกำหนดแล้ว แต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินตามเอกสารหมาย ร.2 พร้อมบ้าน 1 หลัง ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวเพื่อนำออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ มีปัญหาว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาของจำเลยจะร้องขอกันส่วนเอาเงินจากการขายทอดตลาดไว้เป็นส่วนของผู้ร้องครึ่งหนึ่งได้หรือไม่ เฉพาะทรัพย์พิพาทที่โจทก์นำยึดมีอยู่2 สิ่ง คือบ้านและที่ดิน ผู้ร้องและจำเลยเบิกความเกี่ยวกับทรัพย์พิพาทเป็นทำนองเดียวกันว่า เมื่อผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับจำเลยในปีพ.ศ. 2514 แล้ว ได้ร่วมกันซื้อที่ดินมา 1 แปลง ตามเอกสารหมาย ร.2ต่อมาระหว่างปี พ.ศ. 2515-2517 ได้ปลูกบ้านบนที่ดินแปลงดังกล่าว1 หลัง ใช้สำหรับอยู่อาศัยตลอดมา สรุปแล้วทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องและจำเลยได้มาในระหว่างสมรส ทรัพย์สินพิพาทจึงเป็นสินสมรสนอกจากนี้แล้วยังได้ความจากคำเบิกความของจำเลยต่อไปอีกว่า ต่อมาจำเลยได้นำทรัพย์พิพาทไปจำนองไว้กับธนาคารกรุงไทย จำกัดเพื่อค้ำประกันหนี้เงินกู้ของนางสุภิญญาบุตรของจำเลยและผู้ร้องเป็นจำนวนเงิน 40,000 บาท ขณะที่จำเลยนำทรัพย์พิพาทไปจำนองค้ำประกันนั้นผู้ร้องได้เบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่า ผู้ร้องได้ให้ความยินยอมด้วย หนี้จำนองที่เกิดขึ้นในระหว่างสมรสจึงถือว่าเป็นหนี้ร่วมกัน ซึ่งจำเลยและผู้ร้องจะต้องรับผิดร่วมกัน ได้ความจากคำเบิกความของจำเลยเกี่ยวกับเรื่องการค้ำประกันดังกล่าวว่า จำเลยต้องชำระหนี้แทนนางสุภิญญาโดยต้องไถ่ถอนจำนองเป็นเงิน 60,000 บาทสำหรับจำนวนเงิน 60,000 บาท ที่นำไปไถ่ถอนจำนองนั้น จำเลยอ้างว่าจำเลยยืมมาจากนายเพชรพ่อตาโจทก์ แต่โจทก์โต้เถียงว่า จำเลยยืมเงินจำนวนดังกล่าวไปจากโจทก์ไม่ใช่ยืมจากนายเพชร เฉพาะข้อเท็จจริงในส่วนนี้... มีเหตุผลเชื่อได้ว่า จำเลยได้กู้เงินจากโจทก์ไปชำระหนี้ให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด เพื่อไถ่ถอนจำนองทรัพย์พิพาทมาจริงเมื่อหนี้จำนองเป็นหนี้ร่วมกันตามที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้นและเงินที่นำไปชำระหนี้จำนองดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของหนี้ตามฟ้องด้วย ซึ่งผู้ร้องกับจำเลยจะต้องรับผิดร่วมกัน ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาจำเลยจึงไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วนเอาเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไว้เป็นส่วนของผู้ร้องครึ่งหนึ่ง..."

พิพากษายืน.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามี หรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
(1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบ ครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและ การศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ได้ให้สัตยาบัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2534

ผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยากัน ได้ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทมาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส ต่อมาจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและโจทก์นำเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดที่ดินพร้อมบ้านพิพาท โดยอ้างว่าเป็นสินสมรสของจำเลย ก่อนถูกยึดทรัพย์สินดังกล่าว ผู้ร้องกับจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน โดยตกลงแบ่งที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้เป็นของผู้ร้อง แต่ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินในการหย่านั้นเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการกระทำขึ้นโดยสมยอมไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอก ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทจึงคงเป็นทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมของผู้ร้องกับจำเลย ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขอให้ถอนการยึดตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 158.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1470 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัว ย่อมเป็นสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2534

ฎีกาของผู้ร้องทั้งสองโต้แย้งเพียงว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของผู้ร้องที่ 1 แต่ผู้เดียว ผู้ร้องที่ 2 มิได้โต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 2 ด้วย ข้อโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องที่ 2จึงยุติเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยที่ 1 เพราะในชั้นอุทธรณ์ผู้ร้องที่ 2 ก็มิได้โต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 2 ดังนั้น ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 1 แต่ผู้เดียว ทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยที่ 1เมื่อผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากันโดยยังไม่มีการแบ่งสินสมรส ทรัพย์พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกัน หาใช่ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ 1แต่ผู้เดียวไม่ ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ให้โจทก์ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์ จำเลยที่ 1ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญ 1 แปลง เนื้อที่ประมาณ 145 ไร่ บ้านไม้ 1 หลังซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าว กับโอ่งน้ำ 6 ใบ และเสาไม้แก่น10 ต้น ของจำเลยที่ 1 ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องว่า ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้นั้นเป็นของผู้ร้องทั้งสอง ไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ขอให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าว โจทก์ให้การว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องที่ 1 ทำมาหาได้ร่วมกันมาในระหว่างที่เป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่ทรัพย์ของผู้ร้องที่ 2 หนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้ร่วม ผู้ร้องที่ 1 จะต้องรับผิดด้วย ผู้ร้องที่ 1 จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่12 มิถุนายน 2528 เพื่อยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินไม่ให้โจทก์บังคับคดีขอให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปล่อยที่ดินพิพาท ยกคำร้องในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์อื่น ผู้ร้องทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้ร้องทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ฎีกาของผู้ร้องทั้งสองคงโต้แย้งเพียงว่าบ้าน โอ่งน้ำ และเสาไม้แก่นพิพาทเป็นของผู้ร้องที่ 1 แต่ผู้เดียวผู้ร้องที่ 2 มิได้โต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 2ด้วย ข้อโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องที่ 2 ตามคำร้องจึงยุติลงเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 เพราะในชั้นอุทธรณ์ผู้ร้องที่ 2 ก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 2 ดังนั้น ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 1 แต่ผู้เดียว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คดีคงมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องที่ 1 ว่า บ้าน โอ่งน้ำและเสาไม้แก่นพิพาทเป็นของผู้ร้องที่ 1 แต่ผู้เดียวหรือไม่ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2504... บ้านพิพาทปลูกขึ้นในระหว่าง พ.ศ.2517 ถึง พ.ศ. 2524 หลังจากที่ผู้ร้องที่ 1 ซื้อที่ดินแปลงที่ปลูกบ้านมาเมื่อ พ.ศ. 2517 แล้ว จึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรสกันได้มาระหว่างสมรส อันเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) เมื่อผู้ร้องที่ 1มิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงต้องฟังว่าบ้านพิพาทเป็นสินสมรส และเมื่อผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 บัญญัติให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน เมื่อยังไม่มีการแบ่งบ้านอันเป็นสินสมรสนั้นจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกัน หาใช่ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ 1 แต่ผู้เดียวไม่...ดังนั้น โอ่งน้ำ และเสาไม้แก่นพิพาทซึ่งอยู่ในบริเวณบ้านในขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึด ถือได้ว่าอยู่ในความครอบครองของเจ้าของบ้านดังกล่าว เมื่อผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของบ้านพิพาท โอ่งน้ำ และเสาไม้แก่นพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกันด้วย เมื่อผู้ร้องที่ 1 มิได้นำสืบว่าโอ่งน้ำและเสาไม้แก่นเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1 ได้มาหลังจากจดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 1 แล้ว ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าโอ่งน้ำและเสาไม้แก่นพิพาทเป็นของผู้ร้องที่ 1แต่ผู้เดียว"

พิพากษายกฎีกาของผู้ร้องที่ 2 และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ร้องที่ 1

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1356 ถ้าทรัพย์สินเป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน ท่านให้ใช้ บทบัญญัติในหมวดนี้บังคับ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1533 เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 288 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง มาตรา 55 ถ้าบุคคลใด กล่าวอ้างว่าจำเลย หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออก ขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อ ศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้น ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้กล่าวอ้างนั้นนำส่งสำเนาคำร้องขอแก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษา และจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงาน บังคับคดีโดยลำดับ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำร้องขอเช่นว่านี้ ให้งดการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่พิพาทนั้นไว้ในระหว่าง รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลดั่งที่บัญญัติไว้ต่อไปนี้

เมื่อได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลแล้ว ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสิน คดีนั้นเหมือนอย่างคดีธรรมดา เว้นแต่
(1) เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนวันกำหนดชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้า มาเพื่อประวิงให้ชักช้าศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้ผู้กล่าวอ้างวางเงิน ต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลจะกำหนดไว้ในคำสั่งตามจำนวนที่ ศาลเห็นสมควร เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาสำหรับความเสียหายที่อาจได้รับเนื่องจากเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดี อันเกิดแต่การยื่นคำร้องขอนั้น ถ้าผู้กล่าวอ้างไม่ ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบ ความ
(2) ถ้าทรัพย์สินที่พิพาทนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์และมีพยาน หลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีเหตุอันควรฟัง หรือถ้า ปรากฏว่าทรัพย์สินที่ยึดนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ที่เก็บไว้นานไม่ได้ ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาด หรือจำหน่ายทรัพย์สินเช่นว่านี้โดยไม่ชักช้า

คำสั่งของศาลตามวรรคสอง (1) และ (2) ให้เป็นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2534

พฤติการณ์ที่ผู้ตายพาโจทก์ไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆเหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปได้ปฏิบัติกัน และปฏิบัติต่อโจทก์อย่างโจทก์เป็นบุตรโดยให้โจทก์ใช้นามสกุลของผู้ตายและเป็นผู้อุปถัมภ์ค่าเล่าเรียน เครื่องแต่งตัว เครื่องเล่าเรียน ถือได้ว่าผู้ตายได้รับรองโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 แล้ว ผู้ตายกับ ฉ. สมรสกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ซึ่งตามพระราชบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4และมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477ดังนั้น การแบ่งสินสมรสของผู้ตายกับ ฉ. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายสินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนเป็นของผู้ตายสองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ฉ. แม้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2527 วินิจฉัยถึงสิทธิของ ฉ.ซึ่งฟ้องขอเพิกถอนการโอนที่ดินแปลงอื่นและเรียกที่ดินคืนจากจำเลยในคดีดังกล่าวว่า ฉ. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งแต่ไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงไม่ใช่คำพิพากษาที่แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่า ฉ. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) ที่จะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมายันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทไม่อาจจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของนาวาเอกหลวงพินิจกลไกผู้ตายที่ได้รับการรับรองจากผู้ตายแล้ว ผู้ตายมีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก 6 คน ที่ดินมีโฉนดหลายแปลงและสิ่งปลูกสร้าง เป็นสินสมรสระหว่างผู้ตายกับนางเฉลิม คิดเป็นเงิน 3,638,000 บาท ที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนของนางเฉลิม เสียหนึ่งในสาม คิดเป็นเงิน 1,212,666 บาทส่วนที่เหลือคิดเป็นเงิน 2,425,334 บาท จึงเป็นกองมรดกของผู้ตายซึ่งโจทก์มีสิทธิจะได้รับหนึ่งในหกส่วนคิดเป็นเงิน 404,223.33 บาทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันเป็นมรดกรายนี้ได้ให้บุคคลอื่นเช่าสามารถเก็บค่าเช่าได้เดือนละ 20,000 บาท จึงขอให้บังคับจำเลยแบ่งโอนโฉนดที่ดินในกองมรดกของนาวาเอกหลวงพินิจกลไกให้แก่โจทก์ หนึ่งในหกส่วน หากจำเลยไม่แบ่ง ให้โจทก์ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย หากแบ่งไม่ได้ก็ให้จำเลยใช้เงินจำนวน 404,223.33 บาท กับแบ่งรายได้จากค่าเช่าทรัพย์มรดกของนาวาเอกหลวงพินิจกลไกให้แก่โจทก์ หนึ่งในหกส่วนของค่าเช่าทุก ๆเดือน นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ใช่บุตร ของผู้ตาย ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นสินสมรสของนางเฉลิม และผู้ตาย ทรัพย์ที่ศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนการโอนนั้นตกเป็นกองมรดกของนาวาเอกหลวงพินิจกลไกและนางเฉลิม คนละกึ่งหนึ่ง สินสมรสของนายเฉลิม จึงมิใช่มีเพียงหนึ่งในสามส่วนตามฟ้อง ขณะผู้ตายถึงแก่กรรมมีทายาททั้งหมด 6 คน หากโจทก์มีสิทธิได้รับก็เพียงหนึ่งในเจ็ดส่วนคิดเป็นเงินเพียง 259,857 บาทเศษ ส่วนทรัพย์สินอันเป็นมรดกที่ให้ผู้อื่นเช่าคงมีรายได้ประมาณเดือนละ 10,000 บาท หักค่าใช้จ่ายแล้วมีรายได้ไม่ถึงเดือนละ20,000 บาทตามฟ้อง โจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม คดีขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของนาวาเอกหลวงพินิจกลไกแบ่งมรดกในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ปลูกในที่ดินตามฟ้องเฉพาะส่วนที่ตกเป็นกองมรดกของนาวาเอกหลวงพินิจกลไกให้แก่โจทก์หนึ่งในเจ็ดส่วน หากแบ่งไม่ได้ก็ให้ใช้เงินจำนวน 346,476 บาทพร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้แบ่งเงินค่าเช่าทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์เดือนละ 2,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะแบ่งมรดกเสร็จให้แก่โจทก์

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้นาวาเอกหลวงพินิจกลไกจะไม่ใช่ผู้แจ้งการเกิดของโจทก์ก็ตาม แต่ได้มีการแจ้งนามสกุลของโจทก์ว่าสุวรรณสโรช และมีนาวาเอกหลวงพินิจกลไกเป็นบิดาในแบบมอบตัวของโรงเรียนจำนงค์ วิทยาปรากฏว่านาวาเอกหลวงพินิจกลไกได้แจ้งว่าโจทก์เป็นบุตรและอยู่อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน และจะเป็นผู้อุปถัมภ์ค่าเล่าเรียน เครื่องแต่งตัว เครื่องเล่าเรียน ให้พอใช้สอยถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับของโรงเรียน และด้านหลังใบมอบตัวของโรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยาระบุว่านาวาเอกหลวงพินิจกลไกเป็นผู้ปกครองและเป็นบิดาของโจทก์ เห็นว่าพฤติการณ์ที่นาวาเอกหลวงพินิจกลไกพาโจทก์ไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆ เหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปปฏิบัติกัน และปฏิบัติต่อโจทก์อย่างโจทก์เป็นบุตรของตนเช่นนี้ถือได้ว่านาวาเอกหลวงพินิจกลไกได้รับรองโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 แล้ว

มีปัญหาตามฎีกาของจำเลยต่อไปว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกของนาวาเอกหลวงพินิจกลไกจำนวนเท่าไร เห็นว่า พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4 และ มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของนาวาเอกหลวงพินิจกลไกกับนางเฉลิม ซึ่งสมรสกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 หาใช่แบ่งให้คนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ ไม่ปรากฏว่านาวาเอกหลวงพินิจกลไกและนางเฉลิมมีสินเดิม จึงต้องฟังว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อนาวาเอกหลวงพินิจกลไกถึงแก่กรรม สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนเป็นของนาวาเอกหลวงพินิจกลไกสองส่วนอีกหนึ่งส่วนเป็นของนางเฉลิมที่จำเลยอ้างว่าตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2527 ได้พิพากษาให้นางเฉลิม มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินครึ่งหนึ่งแล้ว ที่ดินแปลงอื่นที่ได้มาตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2527 นางเฉลิม จึงมีกรรมสิทธิ์ครึ่งหนึ่งด้วย เพราะการได้มาของที่ดินดังกล่าวได้มาในลักษณะเดียวกันกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2527 เห็นว่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่566/2527 วินิจฉัยถึงสิทธิของคู่ความในคดีดังกล่าวโดยไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวไม่ใช่คำพิพากษาที่แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่านางเฉลิม มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) ที่จะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมายันแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ดังนั้นสองในสามส่วนของที่ดิน 19 แปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจึงเป็นมรดกของนาวาเอกหลวงพินิจกลไก โจทก์มีสิทธิได้รับหนึ่งในเจ็ดส่วนของทรัพย์มรดกดังกล่าว

จำเลย ฎีกาประการสุดท้ายว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมเป็นเวลาถึง 6 ปี จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 นั้น เห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของนาวาเอกหลวงพินิจกลไก จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหลายเท่านั้น จำเลยไม่อาจจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

พิพากษายืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2534

ตามภาพถ่ายโฉนดที่ดินระบุว่าผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ที่ ตั้งบ้านพิพาทในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ผู้ตาย แสดงว่าผู้ร้องไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทเป็นส่วนตัว กรณี ดังกล่าวยังไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องได้ที่ดินและบ้านพิพาทมาระหว่าง สมรสโดยการรับมรดกจากมารดาของตน ต่อมาผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดก ได้ขายที่ดินให้อ.เสร็จเด็ดขาดไปแล้วหลังจากนั้นอ. นำที่ดินไปแบ่งแยกขายให้แก่บุคคลภายนอก และโอนขายที่ดินที่เหลือ พร้อมบ้านพิพาทให้ผู้ร้อง เมื่อไม่ปรากฎว่าผู้ร้องนำเงินสินส่วนตัว ไปซื้อที่ดินและบ้านพิพาทคืนมาจึงฟังไม่ได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาท เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง แต่เป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาของจำเลยจึงมีสิทธินำ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมา ชำระหนี้แก่โจทก์ได้.

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้จำนวน 50,499 บาท88 สตางค์ พร้อมด้วยดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 50,000 บาท ต่อมาจำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว โจทก์ขอบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านสองชั้น จำนวน 1 หลัง เลขที่ 751 อ้างว่าเป็นของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา

ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ทรัพย์ที่ยึดเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องมิใช่ของจำเลย ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด

โจทก์ให้การว่า ทรัพย์ที่ยึดเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องขอให้ยกคำร้องของผู้ร้อง

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปล่อยบ้านพิพาท

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกคำร้องของผู้ร้อง

ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2531 ผู้แทนโจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านสองชั้นเลขที่ 751 จำนวน 1 หลัง ตีราคาไว้ 70,000 บาทบ้านพิพาทปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 14229 ตามภาพถ่ายโฉนดที่ดินเอกสารหมาย ร.5 และที่ดินแปลงดังกล่าวได้แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 4772 ตามภาพถ่ายโฉนดที่ดินเอกสารหมาย ร.4 บ้านพิพาทและที่ดินเดิมเป็นมรดกของมารดาผู้ร้อง ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของมารดารับโอนบ้านพิพาทและที่ดินดังกล่าวแล้วนำไปจำนองไว้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาพนมสารคาม เพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ต่อมาผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของมารดาโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทให้นายอุดม พุทธวิเศษสรรค์ นายอุดมนำไปจำนองแก่ธนาคารกสิกรไทย จำกัดสาขาบางคล้า นายอุดมได้แบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 4772 ออกเป็น9 แปลง นำออกขายบุคคลภายนอกเหลือที่ดิน 1 แปลง พร้อมบ้านพิพาทนายอุดมจึงโอนขายกลับให้ผู้ร้องเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530ปรากฏตามสารบัญจดทะเบียนเอกสารหมาย ร.5 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า บ้านพิพาทเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องหรือไม่ผู้ร้องมีตัวผู้ร้องเป็นพยานเบิกความว่า ผู้ร้องสมรสกับจำเลยเมื่อ พ.ศ. 2521 ครั้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2528 ผู้ร้องได้รับมรดกที่ดินและบ้านพิพาทจากมารดาผู้ร้อง โดยผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของมารดาตามคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 314/2527 ปรากฏตามภาพถ่ายคำสั่งศาลเอกสารหมาย ร.3 ต่อมาผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนขายที่ดินให้นายอุดมพุทธวิเศษสรรค์ โดยไม่ได้มีการซื้อขายกันจริง เมื่อที่ดินและบ้านพิพาทตามภาพถ่ายโฉนดที่ดินเอกสารหมาย ร.5 โอนกลับมาเป็นของผู้ร้องอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 ผู้ร้องก็ไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้นายอุดม นายอุดมพยานผู้ร้องอีกปากหนึ่งเบิกความว่า ผู้ร้องรับมรดกเป็นที่ดินและบ้านพิพาทตามภาพถ่ายโฉนดที่ดินเอกสารหมาย ร.4 ผู้ร้องโอนขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้พยานโดยไม่ได้ให้ค่าตอบแทน พยานได้แบ่งที่ดินออกเป็นแปลงย่อย9 แปลง พยานมอบอำนาจให้ผู้ร้องขายไป 8 แปลง เพื่อนำเงินไปใช้หนี้ธนาคารเหลือที่ดิน 1 แปลง และบ้านพิพาทพยานโอนกลับให้ผู้ร้องตามภาพถ่ายโฉนดที่ดินเอกสารหมาย ร.5 ข้อตกลงระหว่างพยานกับผู้ร้องรู้กันเพียง 2 คน ศาลฎีกาเห็นว่า ตามภาพถ่ายโฉนดที่ดินเอกสารหมายร.4 ระบุว่าผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ตั้งบ้านพิพาทในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของนางทองเติม แช่มประเสริฐ ผู้ตาย แสดงว่าผู้ร้องไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทเป็นส่วนตัว กรณีดังกล่าวยังไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องได้ที่ดินและบ้านพิพาทมาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกจากมารดาของตน ที่ผู้ร้องอ้างว่าได้ทำนิติกรรมอำพรางโอนขายที่ดินตามเอกสารหมาย ร.4 ให้นายอุดม โดยไม่มีการชำระราคาเพื่อให้นายอุดมนำที่ดินไปจำนองแก่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขาบางคล้าเพื่อนำเงินมาชำระหนี้จำนองที่ผู้ร้องเป็นหนี้ธนาคารกรุงไทย จำกัดเพราะธนาคารดังกล่าวเชื่อถือนายอุดมยิ่งกว่าผู้ร้อง ภายหลังนายอุดมได้โอนคืนแก่ผู้ร้องนั้น ผู้ร้องก็มิได้นำเจ้าหน้าที่ธนาคารดังกล่าวมาเบิกความรับรองในข้อนี้ทั้งยังปรากฏตามเอกสารหมาย ร.4ว่านางทองเติมเคยนำที่ดินแปลงนี้ไปจดทะเบียนจำนองธนาคารกสิกรไทยจำกัด ไว้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2518 ครั้งหนึ่งแล้ว จึงไม่เชื่อว่าธนาคารกสิกรไทย จำกัด จะไม่เชื่อถือที่ดินหลักประกันและปฏิเสธไม่รับจำนองที่ดินดังกล่าวอีก ข้ออ้างของผู้ร้องไม่สมเหตุผลไม่น่าเชื่อถือ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกได้ขายที่ดินให้นายอุดมเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว หลังจากนั้นนายอุดมนำที่ดินไปแบ่งแยกขายให้แก่บุคคลภายนอก และโอนขายที่ดินที่เหลือพร้อมบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้อง เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องนำเงินสินส่วนตัวไปซื้อที่ดินและบ้านพิพาทคืนมา จึงฟังไม่ได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 278 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งภาคนี้ว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีนับแต่วันที่ได้ส่งหมายบังคับคดีให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือถ้าหมายนั้นมิได้ส่งนับแต่วันออกหมายนั้นเป็นต้นไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจในฐานเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะรับชำระหนี้หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้นำมาวางและออกใบรับให้กับมีอำนาจที่จะยึดหรืออายัดและยึดถือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ และมีอำนาจที่จะเอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออกขายทอดตลาดทั้งมีอำนาจที่จะจำหน่ายทรัพย์สินหรือเงินรายได้จากการนั้นและดำเนินวิธีการบังคับทั่วๆ ไปตามที่ศาลได้กำหนดไว้ในหมายบังคับคดี รวมทั้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีได้โดยให้ถือเสมือนเป็นเจ้าพนักงานศาล (วรรคหนึ่ง แก้ไข*ฉบับที่ 25*พ.ศ. 2551)

ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้รับผิดในการรักษาไว้โดยปลอดภัย ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือเอกสารทั้งปวงที่ยึดมาหรือที่ได้ชำระ หรือส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานตามหมายบังคับคดี
 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบันทึกแล้วรักษาไว้ในที่ปลอดภัย ซึ่งวิธีการบังคับทั้งหลายที่ได้จัดทำไป และรายงานต่อศาลเป็นระยะ ๆ ไป
 ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมอบหมายให้บุคคลอื่นปฏิบัติการแทนก็ได้ ทั้งนี้ ตามคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
 ให้หักค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายนี้ เพื่อให้กรมบังคับคดีพิจารณาจ่ายเป็นค่าตอบแทนแก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายตามวรรคสี่ โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6388/2550  

บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้ว 

การบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส | แบ่งสินสมรส




ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

การขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว
การเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรส
ขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว แยกสินสมรส
ได้สิทธิทำประโยชน์ที่ดินก่อนจดทะเบียนสมรส
เจ้าหนี้ยึดสินสมรสได้ทั้งหมดยกคำร้องขอกันส่วน
หญิงมีสามีมีอำนาจฟ้องปราศจากความยินยอมหรือไม่
สามีนำเงินสินสมรสออกให้กู้โดยไม่ได้รับความยินยอม
ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินส่วนของตน
ที่ดินและรถยนต์ภริยากู้ยืมเงินมาซื้อและผ่อนด้วยเงินเดือน
หย่ากันให้แบ่งสินสมรส-ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าแบ่งสินสมรสไม่ได้
กรณีเป็นที่สงสัยให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สิน
ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยลำพังเป็นสินสมรส
ข้อตกลงให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก
สัญญาค้ำประกันไม่ต้องได้รับความยินยอมคู่สมรส
สินส่วนตัวและสินสมรส ของขวัญเนื่องในการสมรสจึงถือว่าเป็นสินสมรส
ข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าเรื่องยกทรัพย์สินให้ฝ่ายหญิง(ภรรยา)
กฎหมายคุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน (ม.1480)
ปลอมลายมือชื่อคู่สมรสในหนังสือให้ความยินยอมไปทำขายฝากที่ดิน
ตกลงให้สินส่วนตัวของฝ่ายหนึ่งตกเป็นสินสมรส
รางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว
สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้สินสมรส อายุความ
ความยินยอมในการจัดการสินสมรสไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน
การจัดการสินสมรสเรื่องกู้ยืมเงินและให้กู้ยืมเงิน-ความยินยอมจากคู่สมรส
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก | บันทึกท้ายทะเบียนหย่า
เหตุสมควรขอให้แยกสินสมรส สามีไม่นำเงินสินสมรสมาอุปการะเลี้ยงดูภริยา
สัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่า-ตกลงให้ที่ดินแก่กันไม่ต้องจดทะเบียนบังคับได้
เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก ซึ่งรับซื้อฝากโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน
รับซื้อฝากที่ดินสินสมรสโดยไม่สุจริต- เพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ทั้งแปลง
หนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินเมื่อยังไม่มีการหย่าใช้บังคับไม่ได้
เพิกถอนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนดระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดิน
เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี