ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ความยินยอมในการจัดการสินสมรสไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE 

ความยินยอมในการจัดการสินสมรสไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน

การกู้ยืมเงินไม่ใช่การจัดการเกี่ยวกับสินสมรสที่จะต้องให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งให้ความยินยอม(ฎีกา1862/2531)

คำยินยอมของสามีหรือภรรยาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมนั้นไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน เมื่อผู้ร้องรับว่าหนังสือยินยอมเป็นหนังสือของผู้ร้องที่ถูกต้องแท้จริงแล้วก็นำไปใช้จดทะเบียนจำนองที่ดินได้ไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3693/2532

การที่ศาลนัดสืบพยานโจทก์และผู้ร้องทราบนัดแล้วไม่ไปศาลตามนัดโดยศาลมิได้สั่งงดสืบพยาน ศาลจึงดำเนินกระบวนพิจารณาไป ถือไม่ได้ว่าเป็นการผิดระเบียบ เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องขอกันส่วนแล้วไม่คัดค้าน กรณีเป็นเรื่องพิพาทระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ ศาลไม่ต้องนัดสืบพยานจำเลย คำยินยอมของสามีหรือภรรยาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมนั้นไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน เมื่อผู้ร้องรับว่าหนังสือยินยอมเป็นหนังสือของผู้ร้องที่ถูกต้องแท้จริงแล้วก็นำไปใช้จดทะเบียนจำนองที่ดินได้ หาเป็นโมฆะไม่ การที่ผู้ร้องทำหนังสือระบุว่า ให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขหนี้จำนอง รวมทั้งกิจการอื่นที่กระทำไปโดยผู้ร้องขอร่วมรับผิดชอบในนิติกรรมนั้น เสมือนผู้ร้องได้กระทำเองทุกประการ ถือว่า ผู้ร้องยอมให้สัตยาบันหนี้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ก่อหนี้กับผู้ร้อง.

     คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ ๑ เพื่อนำออกขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้โจทก์

     ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นภรรยาจำเลยที่ ๓ โดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินที่ถูกยึดเป็นสินบริคณห์ ผู้ร้องมีสิทธิครึ่งหนึ่งขอให้แยกสินบริคณห์

 โจทก์ให้การว่า ผู้ร้องให้ความยินยอมให้จำเลยที่ ๓ จดจำนองที่ดินดังกล่าว หนี้จำนองจึงเป็นหนี้ร่วม ผู้ร้องหมดสิทธิที่จะให้แยกสินบริคณห์ ขอให้ยกคำร้อง

     ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

 ผู้ร้องอุทธรณ์
     ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

 ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ผู้ร้องฎีกาว่า เมื่อผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งเรื่องการวางเงินประกัน ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ ต่อมาศาลชั้นต้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งและดำเนินกระบวนพิจารณาฝ่ายเดียวลับหลังผู้ร้องและจำเลย และแม้ศาลจะตัดพยานผู้ร้อง จำเลยก็มีสิทธิสืบพยานจำเลย ศาลชั้นต้นตัดสิทธิมิให้สืบพยานจำเลย จึงเป็นการผิดระเบียบการดำเนินกระบวนพิจารณานั้น เห็นว่า คดีนี้ศาลนัดสืบพยานโจทก์ไว้แล้วและผู้ร้องก็ทราบนัด ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่๖ ตุลาคม ๒๕๓๐ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินตามคำร้องขอของโจทก์และผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นก็มิได้งดสืบพยานโจทก์ โจทก์และผู้ร้องจะต้องไปศาลตามนัด เมื่อผู้ร้องไม่ไปศาล ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไป จึงหาผิดระเบียบไม่ สำหรับจำเลยนั้น ศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาคำร้องขอกันส่วนทรัพย์ของผู้ร้องให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่คัดค้าน กรณีจึงเป็นเรื่องพิพาทกันระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ จำเลยหาเกี่ยวข้องด้วยไม่ ศาลชั้นต้นไม่นัดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว

ที่ผู้ร้องฎีกาว่า ผู้ร้องไม่ได้ให้คำยินยอมในการจำนองที่ดินต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน การจำนองที่ดินเป็นโมฆะนั้น เห็นว่าคำยินยอมของสามีหรือภรรยาให้อีกฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมได้ตามกฎหมายนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้ทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน เมื่อผู้ร้องรับว่าหนังสือยินยอมเอกสารหมาย จ.๑ ถึง จ.๗ เป็นหนังสือยินยอมของผู้ร้องที่ถูกต้องแท้จริงแล้ว หนังสือยินยอมดังกล่าวก็นำไปใช้จดทะเบียนจำนองที่ดินได้ หาเป็นโมฆะไม่ และหนังสือยินยอมเอกสารหมาย จ.๑ ผู้ร้องระบุว่าให้ความยินยอมให้จำเลยที่ ๓ ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขหนี้อันจำนองรวม ๓ โฉนดที่ ๒๐๕๔, ๒๐๕๕, ๒๐๕๖ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา วงเงิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาทกับธนาคารกรุงเทพ จำกัด ได้ กิจการใดที่จำเลยที่ ๓ ได้กระทำไปข้าพเจ้าขอร่วมรับผิดชอบในนิติกรรมนั้นด้วย เสมือนหนึ่งข้าพเจ้าได้กระทำเองทุกประการ ดังนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องได้รับรู้ถึงหนี้สินที่จำเลยที่ ๓ ได้ก่อให้เกิดขึ้น ถือได้ว่า ผู้ร้องยอมให้สัตยาบันหนี้ดังกล่าวซึ่งเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างจำเลยที่ ๓ กับผู้ร้อง จึงต้องผูกพันที่ดินทั้งหมดรวมทั้งส่วนของผู้ร้องด้วย

ที่ผู้ร้องฎีกาอีกข้อหนึ่งว่า ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องวางเงินประกันโดยไม่ได้ไต่สวนคำร้องเป็นการไม่ชอบนั้น เห็นว่า เงินประกันจำนวนดังกล่าว ผู้ร้องยังมิได้วางเป็นประกัน เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง เป็นเหตุให้คดีเสร็จไปจากการพิจารณาของศาลชั้นต้นแล้ว ความจำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องวางเงินประกันจึงไม่มีอีกต่อไป คำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินประกันถูกเพิกถอนไปในตัวศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้องในเรื่องนี้ ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ด้วยเหตุดังกล่าวมา ที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องขอกันส่วนของผู้ร้องชอบแล้ว ฎีกาผู้ร้องทุกข้อฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5531/2534

ผู้ร้องในฐานะภรรยาของจำเลยที่ 2 ลงชื่อให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมจำนองที่ดิน แม้หนังสือยินยอมจะไม่ได้ทำที่สำนักงานที่ดิน และต่อเจ้าพนักงานที่ดินก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1479 หนังสือยินยอมระบุว่า กิจการใดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำไปผู้ร้องร่วมรับผิดชอบในนิติกรรมนั้นด้วย เสมือนหนึ่งผู้ร้องได้กระทำเองทุกประการ แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับรู้ถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2ได้ก่อให้เกิดขึ้น และถือได้ว่าผู้ร้องให้สัตยาบันหนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 ต้องผูกพันที่ดินและทรัพย์สินอื่นรวมทั้งส่วนของผู้ร้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นสินสมรสและสินส่วนตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วน.

คดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้จำนวน18,804,098.41 บาท แก่โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นโจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยเพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้

ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ที่ดินแปดแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างเครื่องชั่ง ขนาด 40 ตัน เครื่องอัดลมรถยนต์ยี่ห้อพีซีแอลพร้อมปั๊ม เครื่องอัดจาระบี 3 เครื่อง เครื่องอัดมันเม็ดเครื่องตีป่น เครื่องระบายความร้อน หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศยี่ห้อเฟดเดอร์ขนาด 2 ตัน เครื่องสีข้าวโพด เครื่องวัดความชื้นสิทธิการเช่าโทรศัพท์ ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 จึงขอกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดครึ่งหนึ่ง

โจทก์คัดค้านว่า ที่ดินทั้งแปดแปลงจำเลยที่ 2 จำนองไว้กับโจทก์โดยผู้ร้องรู้เห็นยินยอม หนี้จำนองดังกล่าวทั้งหมดจึงเป็นหนี้ร่วมของผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ส่วนทรัพย์นอกนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิกันส่วน ขอให้ยกคำร้อง

ก่อนไต่สวนโจทก์แถลงไม่คัดค้านที่ผู้ร้องขอแบ่งเงินจากการขายเครื่องชั่ง เครื่องสีข้าวโพด เครื่องวัดความชื้น และสิทธิการเช่าโทรศัพท์ ครึ่งหนึ่ง

ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องแบ่งเงินที่ได้จากการขายเครื่องชั่ง เครื่องสีข้าวโพด เครื่องวัดความชื้นสิทธิการเช่าโทรศัพท์ เครื่องอัดจาระบี 3 เครื่อง เครื่องปรับอากาศยี่ห้อเฟดเดอร์ และเครื่องอัดลมรถยนต์พร้อมปั๊มครึ่งหนึ่ง คำขอของผู้ร้องนอกจากนี้ให้ยก

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน

ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ผู้ร้องฎีกาข้อแรกว่าแม้ผู้ร้องลงชื่อยินยอมให้จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาททั้งแปดแปลงแต่นิติกรรมจำนองก็ไม่สมบูรณ์ เพราะหนังสือยินยอมมิได้ทำที่สำนักงานที่ดินและต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1479 บัญญัติไว้เพียงว่า ผู้ร้องในฐานะภรรยาของจำเลยที่ 2 ต้องให้ความยินยอมโดยทำเป็นหนังสือเท่านั้น หาได้มีบทบัญญัติให้ทำหนังสือยินยอมที่สำนักงานที่ดิน และต่อเจ้าพนักงานที่ดินไม่ นิติกรรมจำนองที่จำเลยที่ 2 ทำกับโจทก์จึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และตามหนังสือยินยอมเอกสารหมาย จ.1 จ.2 จ.5 ถึง จ.9 ผู้ร้องระบุว่าให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 2052, 2053, 2054, 2055และ 2056 ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมเกี่ยวกับสัญญาเบิกเงินบัญชีเกินบัญชี ในวงเงิน 7,500,000 บาท กับโจทก์ได้ กิจการใดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำไปผู้ร้องขอร่วมรับผิดชอบในนิติกรรมนั้นด้วยเสมือนหนึ่งผู้ร้องได้กระทำเองทุกประการ ดังนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับรู้ ถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2 ได้ก่อให้เกิดขึ้นถือได้ว่าผู้ร้องให้สัตยาบันหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 จึงต้องผูกพันที่ดินและทรัพย์สินอื่นทั้งหมดรวมทั้งส่วนของผู้ร้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นสินสมรสและสินส่วนตัวของผู้ร้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1489 ดังนั้น ไม่ว่าที่ดินเครื่องอัดมันเม็ด เครื่องตีป่น เครื่องระบายความร้อนและหม้อแปลงไฟฟ้าจะเป็นทรัพย์ของจำเลยที่ 2 หรือทรัพย์ส่วนตัวของผู้ร้องก็ตาม ผู้ร้องก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ จะร้องขอกันส่วนไม่ได้  ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของผู้ร้องอีกต่อไปที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1  พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผลฎีกาผู้ร้องฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2536

จำเลยร่วมซึ่งเป็นสามีของ ย. ได้ลงชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน และทำบันทึกข้อตกลงสามฝ่ายยินยอมให้ ย. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ถือว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ ย. แลกเปลี่ยนที่ดินที่เป็นสินสมรสกับโจทก์ เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยตามข้อตกลงตรงตามความประสงค์ของ ย.แล้ว สัญญาหรือข้อตกลงจะแลกเปลี่ยนที่ดินระหว่างโจทก์กับ ย.จึงมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519ประกอบด้วย มาตรา 456 วรรคสอง จำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย.จึงต้องโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของย. ให้แก่โจทก์

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นบุตรนายสงัด นางยาใจ ขณะมีชีวิตนางยาใจด้วยความยินยอมของนายสงัดได้แบ่งทรัพย์สินให้โจทก์จำเลยเป็นส่วนสัดเท่า ๆ กัน โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินหลายแปลงโดยเฉพาะที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโฉนดเลขที่ 14971, 14987, 14988และ 53366 ตำบลบางกะปิ ต่อมาจำเลยประสงค์จะได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวของโจทก์และแจ้งให้นางยาใจทราบ โจทก์จำเลยและนางยาใจด้วยความยินยอมของนายสงัด จึงตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน โดยทำเป็นนิติกรรมยกให้ จำเลยและนางยาใจต้องโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของตนแก่โจทก์เป็นการตอบแทน คือที่ดินโฉนดเลขที่14964 ตำบลบางกะปิ พร้อมสิ่งปลูกสร้าง และโฉนดเลขที่ 10652ตำบลแหลมผักเบี้ย ของจำเลยกับที่ดินโฉนดเลขที่ 60255 ตำบลบางซื่อ โฉนดเลขที่ 14967, 14968, 14982, 14983 และ 53369ตำบลบางกะปิ ของนางยาใจ แต่โจทก์อยู่ต่างประเทศไม่อาจโอนและรับโอนทรัพย์ตามข้อตกลงได้จึงมอบอำนาจให้จำเลยจัดการแทนโจทก์ชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ทั้งสี่โฉนดให้จำเลยแล้ว ครั้นโจทก์กลับมาประเทศไทย ปรากฏว่าจำเลยและนางยาใจยังไม่ได้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างชำระหนี้ตอบแทนแก่โจทก์ ต่อมาจำเลยเห็นว่าตนเองและนายสงัดจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบจึงยุยงนายสงัดให้ขัดขวางการโอนโดยอายัดที่ดินไว้ และต่อมานางยาใจถึงแก่กรรม เป็นเหตุให้โจทก์รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่14967, 14968, 14982, 14983 และ 53369 ตำบลบางกะปิ พร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อชำระหนี้ตอบแทนไม่ได้ ขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของนางยาใจและในฐานะส่วนตัวโอนที่ดินให้แก่โจทก์มิฉะนั้นให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา

จำเลยให้การว่า จำเลยและนางยาใจไม่ได้ตกลงและทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินกับโจทก์ ที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง โจทก์ยกให้จำเลยโดยมีค่าภาระติดพันหนังสือยกให้ท้ายฟ้องไม่สมบูรณ์ ผู้ให้ไม่ได้พิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพยาน ไม่ได้ลงลายมือชื่อและไม่ได้จดทะเบียนขอให้ยกฟ้อง

ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกนายสงัด ผู้จัดการมรดกของนางยาใจ เข้ามาเป็นจำเลยร่วมศาลชั้นต้นอนุญาต

จำเลยร่วมให้การว่า นางยาใจและจำเลยไม่เคยตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกับโจทก์ ที่ดินโฉนดเลขที่ 14967, 14968, 14983, 14983และ 53369 ตำบลบางกะปิ พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยร่วมกับนางยาใจ จำเลยร่วมมีอำนาจจัดการร่วมกับนางยาใจที่ดินโฉนดเลขที่ 60255 ตำบลบางกะปิ ก็เป็นทรัพย์ในกองมรดกของนางยาใจต้องแบ่งกันระหว่างทายาท โจทก์ประพฤติตนไม่ดีจำเลยร่วมไม่ประสงค์จะยกทรัพย์สินให้จึงได้คัดค้านการขอรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 14964ตำบลบางกะปิ (ลาดพร้าวฝั่งเหนือ) อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานครพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และที่ดินโฉนดเลขที่ 10652 ตำบลแหลมผักเบี้ยอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี แก่โจทก์ และให้จำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของนางยาใจ รุทระกาญจน์ โอนที่ดินโฉนดเลขที่14967, 14968, 14982, 14983, 53369 ตำบลบางกะปิ(ลาดพร้าวฝั่งเหนือ) อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างและที่ดินโฉนดเลขที่ 60255 ตำบลบางซื่อ อำเภอดุสิต(บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร แก่โจทก์ มิฉะนั้นให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา

จำเลยและจำเลยร่วมอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ตามที่คู่ความนำสืบข้อเท็จจริงคงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์จำเลยเป็นบุตรนางยาใจและจำเลยร่วม นางยาใจถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2525ศาลสั่งตั้งจำเลยร่วมเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ได้โอนยกที่ดินโฉนดเลขที่ 14971, 14987, 14988 และ 53366 ตำบลบางกะปิ(ลาดพร้าวฝั่งเหนือ) อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนอนุบาลชาญวิทย์พิทยาที่โจทก์ได้มาจากนางยาใจให้แก่จำเลย โดยมอบอำนาจให้จำเลยไปโอนแทนตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.4, จ.5 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2524 ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยมีว่า จำเลยและนางยาใจตกลงจะยกที่ดินตามฟ้องของตนให้โจทก์โดยแลกเปลี่ยนกับที่ดินที่จำเลยได้รับจากโจทก์แล้วนั้นหรือไม่ เชื่อได้ว่านางยาใจได้ตกลงจะยกที่ดินของนางยาใจตามฟ้องให้แก่โจทก์ตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยน แต่พยานหลักฐานของโจทก์ที่เกี่ยวกับที่ดินของจำเลยนั้นคงมีแต่หนังสือของนางยาใจตามเอกสารหมาย จ.2 ที่ระบุถึงที่นาตำบลหนองผักเบี้ยเพียงอย่างเดียว ไม่มีหลักฐานอื่นใดประกอบจึงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ตกลงจะยกที่ดินของจำเลยตอบแทนแก่โจทก์ด้วยส่วนที่จำเลยร่วมอ้างว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 14967, 14968, 14982, 14983, 53369ตำบลบางกะปิ (ลาดพร้าวฝั่งเหนือ) อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานครพร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 198 เป็นสินสมรสระหว่างนางยาใจกับจำเลยร่วมนั้น เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยร่วมได้ลงชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามเอกสารหมาย จ.27, จ.28 และทำบันทึกข้อตกลงสามฝ่ายยินยอมให้นางยาใจโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ตามเอกสารหมาย จ.29 ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น กรณีต้องถือว่าจำเลยร่วมยินยอมให้นางยาใจแลกเปลี่ยนที่ดินที่เป็นสินสมรสกับโจทก์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจะเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัย และข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยตามข้อตกลงตรงตามความประสงค์ของนางยาใจแล้ว สัญญาหรือข้อตกลงจะแลกเปลี่ยนที่ดินระหว่างโจทก์กับนางยาใจจึงมีผลบังคับได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519 ประกอบด้วยมาตรา 456 วรรคสอง จำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของนางยาใจชอบจะต้องโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องของนางยาใจแก่โจทก์ ฎีกาโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้บังคับคดีสำหรับจำเลยร่วมไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862/2531

จำเลยเป็นหญิงมีสามี สมัครใจทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าสัญญากู้ทำขึ้นเพราะถูกบังคับหรือสำคัญผิดก็ย่อมเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้สามีจำเลยไม่ได้ให้ความยินยอมในการกู้เงินก็ไม่ทำให้สัญญากู้ดังกล่าวเป็นสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการกู้เงินของจำเลยไม่ใช่การจัดการเกี่ยวกับสินสมรสที่จะต้องให้สามีจำเลยยินยอม.

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินไปจากโจทก์จำนวน 23,000 บาท ตกลงให้ดอกเบี้ยตามกฎหมาย นับตั้งแต่จำเลยกู้เงินไปจำเลยไม่เคยชำระดอกเบี้ย และเมื่อครบกำหนดชำระเงินต้น จำเลยก็ไม่ได้ชำระขอให้บังคับให้จำเลยใช้เงินจำนวน 23,862.50 บาท กับดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงิน 23,000 บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินตามฟ้องจำเลยเป็นหญิงมีสามีแต่ในสัญญากู้ไม่ปรากฏว่าสามีจำเลยให้ความยินยอม สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยใช้เงินจำนวน 23,862.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงิน 23,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 1,000 บาท

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า 'พิเคราะห์แล้วเห็นว่าเมื่อศาลชั้นต้นให้จำเลยลงลายมือชื่อและนามสกุลของจำเลยต่อหน้าศาล จำนวน 5 แผ่นเพื่อส่งไปให้กองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจทำการเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของจำเลยในหนังสือสัญญากู้ตามที่ท้ากัน จำเลยน่าจะเขียนในลักษณะการเขียนหวัดเช่นเดียวกับลายมือชื่อที่ปรากฏในหนังสือสัญญากู้ ไม่น่าจะเขียนแบบตัวบรรจงและประดิษฐ์ตัวอักษรการที่จำเลยเขียนชื่อและนามสกุลแบบตัวบรรจงและประดิษฐ์ตัวอักษรเช่นนี้จึงเป็นพิรุธ แสดงว่าจำเลยประสงค์จะให้แตกต่างไปจากลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในหนังสือสัญญากู้ส่วนโจทก์มีตัวโจทก์และนายวิวาดผู้เขียนและพยานในหนังสือสัญญากู้ดังกล่าวเป็นพยาน ต่างเบิกความว่าจำเลยได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้จึงรับฟังได้ว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ตามหนังสือสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในหนังสือสัญญาดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยเป็นหญิงมีสามีสามีจำเลยไม่ได้ให้ความยินยอมในการกู้เงินรายนี้ สัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย จ.1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่ต้องรับผิดนั้น เห็นว่าเมื่อจำเลยทำสัญญากู้โดยสมัครใจและไม่ปรากฏว่าจำเลยถูกบังคับหรือสำคัญผิดแต่อย่างใด สัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายการที่สามีจำเลยไม่ได้ให้ความยินยอมในการที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์นั้น เห็นว่าการกู้เงินของจำเลยไม่ใช่การจัดการเกี่ยวกับสินสมรสที่จำเลยจะต้องให้สามียินยอม จึงไม่ทำให้สัญญากู้ยืมดังกล่าวกลายเป็นสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลอุทธรณ์พิพากษามาชอบแล้ว ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น'

พิพากษายืนให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 600 บาท.                               

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9105/2539

จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะการที่โจทก์ให้กู้ยืมเงินต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเสียก่อน การที่สามีโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมนิติกรรมดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าเงินที่โจทก์ให้กู้ยืมไปเป็นสินสมรสที่โจทก์กับสามีจะต้องจัดการร่วมกันตามกฎหมายจึงไม่มีประเด็นโต้เถียงว่าเงินดังกล่าวเป็นสินสมรสหรือไม่โจทก์ยอมให้จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามีก่อน จำเลยทั้งสองให้การไว้เพียงลอย ๆ ว่า ช. ทนายโจทก์ไม่มีอำนาจทวงถามจำเลยทั้งสอง แต่ไม่ได้อ้างเหตุว่าเพราะเหตุใด จึงไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธ ไม่มีประเด็นที่ต้อง วินิจฉัย

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกู้เงินโจทก์ไปจำนวน 1,000,000 บาท ตกลงดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีและกำหนดชำระเงินคืนภายใน 2 ปี โดยได้นำที่ดินโฉนดเลขที่ 3210มาจำนองเป็นประกัน และเฉพาะจำเลยที่ 2 ได้ยืมเงินโจทก์อีกจำนวน 2,000,000 บาท ตกลงดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี กำหนดชำระเงินคืนภายใน 2 ปี โดยนำที่ดินโฉนดเลขที่ 3052 และ3209 มาจำนองเป็นประกัน เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 1,279,109 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงิน 1,000,000 บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยที่ 2ชำระเงินจำนวน 2,558,219 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงิน 2,000,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จด้วย หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระให้ยึดที่ดินจำเลยทั้ง 3 แปลง ขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้ให้โจทก์จนครบ

จำเลยทั้งสองให้การทำนองเดียวกันว่า ได้ยืมเงินและนำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกันไว้แก่โจทก์ตามฟ้องจริง แต่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยทั้งสองชำระค่าดอกเบี้ยให้โจทก์ไปแล้วจำนวนเกือบ 500,000 บาท ดอกเบี้ยตามฟ้องซึ่งเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จึงตกเป็นโมฆะทั้งหมด โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามฟ้องแต่อย่างใด ทั้งนายชาญ เมธางกูร ไม่มีอำนาจทวงถามจำเลยทั้งสองและการให้กู้ยืมเงินของโจทก์ดังกล่าวนั้นสามีโจทก์ก็มิได้ให้ความยินยอมนิติกรรมจึงไม่สมบูรณ์ใช้บังคับไม่ได้ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน1,000,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2535 จนกว่าจะชำระเสร็จและให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 2,000,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่28 พฤศจิกายน 2535 จนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วนในหนี้ยอดใด ให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 3210 หรือโฉนดเลขที่ 3052 และ 3209 ตำบลศรีษะทอง อำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม ที่จำนองเป็นประกันหนี้ในยอดนั้นตามลำดับออกขายทอดตลาด นำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์

โจทก์และจำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน

โจทก์และจำเลยทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อต่อไปมีว่า โจทก์ให้จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินโดยสามีไม่ได้ให้ความยินยอม นิติกรรมดังกล่าวไม่สมบูรณ์และโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า กฎหมายมิได้บัญญัติว่าถ้าหญิงมีสามีทำนิติกรรมจะต้องได้รับความยินยอมจากสามีเสียก่อนทุกกรณี คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำนิติกรรมต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการจัดการสินสมรสตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1476 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จำเลยให้การไว้แต่เพียงว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องด้วยนิติกรรมการให้กู้ยืมเงินโจทก์จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเสียก่อน การที่สามีโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมนิติกรรมดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์บังคับไม่ได้ตามกฎหมาย แต่จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้ว่า เงินที่โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมไปเป็นสินสมรสที่โจทก์กับสามีจะต้องจัดการร่วมกันตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงไม่มีประเด็นโต้เถียงว่าเงินที่โจทก์ให้จำเลยทั้งสองกู้ยืมนั้นเป็นสินสมรสหรือไม่ โจทก์ย่อมให้จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามีก่อน ฎีกาข้อนี้ของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น

ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อสุดท้ายมีว่า นายชาญ เมธางกูร ทนายโจทก์มีอำนาจทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้หรือไม่ เห็นว่าในข้อนี้จำเลยทั้งสองให้การไว้แต่เพียงลอย ๆ ว่า นายชาญไม่มีอำนาจที่จะทวงถามจำเลยทั้งสอง แต่ไม่ได้อ้างเหตุว่าเพราะเหตุใดนายชาญจึงไม่มีอำนาจทวงถาม คำให้การดังกล่าวจึงไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธ ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้นเช่นกัน"

พิพากษายืน

 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2523

โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของ ท.ต่อจำเลย เป็นการยอมผูกพันตนต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของ ท.เพื่อชำระหนี้ในเมื่อท. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นการผูกพันตัวโจทก์ที่ 1 มิได้เกี่ยวกับสินสมรสและหาได้ก่อให้เกิดภารติดพันซึ่งสินสมรสไม่ จึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1476,1477 อันโจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นภริยาจะต้องให้ความยินยอมร่วมกันเป็นหนังสือตามมาตรา 1479 โจทก์ที่ 2 จึงฟ้องขอให้ศาลเพิกถอน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวตามมาตรา 1480 วรรคสอง ไม่ได้

โจทก์ฟ้องว่าขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกันที่โจทก์ที่ 1 ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของ ท. ไว้ต่อจำเลย โดยอ้างว่าทำนิติกรรมดังกล่าวไปโดยโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือและมิได้ให้สัตยาบัน ทั้งได้ขอเพิกถอนสัญญาค้ำประกันแล้ว จึงตกเป็นโมฆะ

จำเลยให้การว่า โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของ ท. โดยสมัครใจ โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกันได้

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลคือตัวโจทก์ที่ 1 เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับสินสมรสแต่อย่างใด จึงหาใช่การจัดการสินสมรส ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 2 โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกันดังกล่าว พิพากษายกฟ้อง

โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 ยอมเข้าค้ำประกันการชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของ ท. ไว้ต่อจำเลย เป็นการที่โจทก์ที่ 1 ยอมผูกพันตนต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของ ท. เพื่อชำระหนี้ในเมื่อ ท. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ อันเป็นการผูกพันตัวโจทก์ที่ 1 มิได้เกี่ยวกับสินสมรสหาได้ก่อให้เกิดภารติดพันซึ่งสินสมรสไม่ จึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1477 อันโจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นภริยาจะต้องให้ความยินยอมร่วมกันเป็นหนังสือตามมาตรา 1479แต่อย่างใด โจทก์ที่ 2 จึงฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาค้ำประกันดังกล่าวตามมาตรา 1480 วรรคสอง ไม่ได้

พิพากษายืน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2538

โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยที่1ลูกจ้างจำเลยที่2ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับส. สามีโจทก์จากจำเลยที่2ซึ่งไม่เข้ากรณีใดในอนุมาตรา1ถึงอนุมาตรา8ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476วรรคหนึ่งโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามีตามวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน ก-3851พิษณุโลก จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกหมายเลขทะเบียน 3บ-1485กรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้ในราชการของจำเลยที่ 2 ไปตามถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก โดยมุ่งหน้าไปทางอำเภอหล่มสักด้วยความเร็วเมื่อถึงระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 38-39 ซึ่งเป็นทางขึ้นเนินจำเลยที่ 1 ได้ห้ามล้อและหักหลบไปทางขวา เนื่องจากมีกิ่งไม้ขวางช่องเดินรถที่จำเลยที่ 1 ขับมา ทำให้รถยนต์บรรทุกเสียหายหลักลื่นเข้าไปในช่องเดินรถตรงข้าม และชนรถยนต์ของโจทก์ซึ่งแล่นสวนมาจนตกถนนทำให้รถยนต์ของโจทก์เสียหาย โจทก์ซื้อรถยนต์ดังกล่าวมาในราคา 502,500 บาท ติดเครื่องอุปกรณ์ 35,500 บาท และเครื่องปรับอากาศ 21,000 บาท แต่ขายซากรถยนต์ไปได้ราคา 100,000 บาทราคารถยนต์ขาดไป 402,500 บาท และโจทก์ต้องจ่ายค่ารถลากจูง2,500 บาท และเสียค่าใช้จ่ายในระหว่างไม่ได้ใช้รถยนต์ถึงวันฟ้องเป็นเวลา 308 วัน วันละ 50 บาท เก็บเงิน 15,400 บาท รวมค่าเสียหาย476,900 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดถึงวันฟ้อง 30,181.88 บาท รวมเป็นเงิน 507,081.88 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 507,081.88 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน 476,900 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์

จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 385,500 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จำเลยที่ 2 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ชนรถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหายมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยที่ 2 ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จำเลยที่ 1ขับรถยนต์บรรทุกโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใดปัญหาแรกที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่นั้น คดีนี้แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าขณะโจทก์ยื่นฟ้อง โจทก์เป็นหญิงมีสามีและไม่มีหนังสือให้ความยินยอมจากสามีก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 รับว่ารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ก-3851 พิษณุโลกตามฟ้องเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับนายสุรศักดิ์ รักษ์สุจิตรักษ์สามีโจทก์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ระบุให้คู่สมรสสามารถจัดการสินสมรส ที่จะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก็แต่ในกรณีเป็นการจัดการสินสมรสที่เกี่ยวกับทรัพย์สินตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง ระบุไว้ในอนุมาตรา 1 ถึงอนุมาตรา 8 เท่านั้น ซึ่งเมื่อได้พิจารณาจากคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้แล้วจะเห็นได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสของโจทก์จากจำเลยที่ 2 ไม่เข้ากรณีหนึ่งกรณีใดในอนุมาตรา 1ถึงอนุมาตรา 8 ดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าวข้างต้นแต่ประการใดและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวข้างต้นนี้เองในวรรคสองกลับได้ระบุไว้ชัดเจนว่า การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งสามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย อันเป็นการยืนยันให้กระทำได้อีกด้วย ฉะนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามี"

พิพากษายืน

 มาตรา 1476 สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความ ยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(4) ให้กู้ยืมเงิน
(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(6) ประนีประนอมยอมความ
(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน หรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล

การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยา จัดการได้มิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

มาตรา 1478 เมื่อฝ่ายใดต้องให้ความยินยอมหรือลงชื่อกับอีกฝ่ายหนึ่ง ในเรื่องจัดการทรัพย์สินแต่ไม่ให้ความยินยอมหรือไม่ยอมลงชื่อ โดยปราศจาก เหตุผล หรือไม่อยู่ในสภาพที่อาจให้ความยินยอมได้ อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอต่อ ศาลให้สั่งอนุญาตแทนได้

ข้อยกเว้น

มาตรา 1476/1 สามีและภริยาจะจัดการสินสมรสให้แตกต่างไปจากที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 1476 ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ก็ต่อเมื่อได้ทำสัญญาก่อน สมรสไว้ตามที่บัญญัติใน มาตรา 1465 และ มาตรา 1466 ในกรณีดังกล่าวนี้ การจัดการสินสมรสให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรส

ในกรณีที่สัญญาก่อนสมรสระบุการจัดการสินสมรสไว้แต่เพียงบางส่วนของ มาตรา 1476 การจัดการสินสมรสนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรสให้ เป็นไปตาม มาตรา 1476




ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

สามีนำเงินสินสมรสออกให้กู้โดยไม่ได้รับความยินยอม
ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินส่วนของตน
ที่ดินและรถยนต์ภริยากู้ยืมเงินมาซื้อและผ่อนด้วยเงินเดือน
หย่ากันให้แบ่งสินสมรส-ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าแบ่งสินสมรสไม่ได้
กรณีเป็นที่สงสัยให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สิน
ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยลำพังเป็นสินสมรส
ข้อตกลงให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก
สัญญาค้ำประกันไม่ต้องได้รับความยินยอมคู่สมรส
การแบ่งทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์รวม ทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้
สินส่วนตัวและสินสมรส ของขวัญเนื่องในการสมรสจึงถือว่าเป็นสินสมรส
ข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าเรื่องยกทรัพย์สินให้ฝ่ายหญิง(ภรรยา)
กฎหมายคุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน (ม.1480)
ปลอมลายมือชื่อคู่สมรสในหนังสือให้ความยินยอมไปทำขายฝากที่ดิน
ตกลงให้สินส่วนตัวของฝ่ายหนึ่งตกเป็นสินสมรส
รางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว
สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้สินสมรส อายุความ
การจัดการสินสมรสเรื่องกู้ยืมเงินและให้กู้ยืมเงิน-ความยินยอมจากคู่สมรส
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก | บันทึกท้ายทะเบียนหย่า
เหตุสมควรขอให้แยกสินสมรส สามีไม่นำเงินสินสมรสมาอุปการะเลี้ยงดูภริยา
สัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่า-ตกลงให้ที่ดินแก่กันไม่ต้องจดทะเบียนบังคับได้
เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก ซึ่งรับซื้อฝากโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน
รับซื้อฝากที่ดินสินสมรสโดยไม่สุจริต- เพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ทั้งแปลง
หนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินเมื่อยังไม่มีการหย่าใช้บังคับไม่ได้
เพิกถอนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนดระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดิน
เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี
การขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว
การเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรส
ขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว แยกสินสมรส
ได้สิทธิทำประโยชน์ที่ดินก่อนจดทะเบียนสมรส
เจ้าหนี้ยึดสินสมรสได้ทั้งหมดยกคำร้องขอกันส่วน
หญิงมีสามีมีอำนาจฟ้องปราศจากความยินยอมหรือไม่