ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เหตุสมควรขอให้แยกสินสมรส สามีไม่นำเงินสินสมรสมาอุปการะเลี้ยงดูภริยา

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE 

เหตุสมควรขอให้แยกสินสมรส สามีไม่นำเงินสินสมรสมาอุปการะเลี้ยงดูภริยา

คู่สมรสย่อมมีอำนาจจัดการสินสมรสได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรส เมื่อสามีเป็นฝ่ายจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหาย

การจัดการสินสมรสคู่สมรสย่อมมีอำนาจจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นที่เสียหายและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรส เมื่อสามีเป็นฝ่ายจัดการสินสมรส แต่การที่สามีจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายโดยภริยามิได้รู้เห็นหรือให้สัตยาบันในหนี้ที่สามีก่อขึ้น และสามียังนำเงินที่เป็นสินสมรสไปใช้เพื่อประโยชน์ของสามีฝ่ายเดียวโดยภริยาและบุตรมิได้รับการช่วยเหลือเลี้ยงดูจากสามีแต่อย่างใด  เมื่อภริยาขอแบ่งสินสมรสที่คงเหลือกึ่งหนึ่ง สามีไม่ยินยอมและอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่สินสมรส พฤติการณ์ของสามีเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด และทำความเสียหายให้แก่สินสมรส รวมทั้งไม่นำเงินสินสมรสนั้นมาอุปการะเลี้ยงดูภริยาด้วย ภริยาจึงมีเหตุสมควรร้องขอให้แยกสินสมรสได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1484 (1) (2) (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3392/2548

จำเลยกับโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่ แต่เมื่อยังมิได้จดทะเบียนหย่ากัน จำเลยกับโจทก์จึงยังมีฐานะเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เงินชดเชย เงินค่าตอบแทนพิเศษเนื่องจากการลาออก เงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ และเงินโบนัส ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส

          การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง จำเลยหรือโจทก์ซึ่งเป็นสามีภริยาย่อมมีอำนาจจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นที่เสียหายและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสตามมาตรา 1476 วรรคสอง และมาตรา 1484 (1) (5)

          จำเลยเป็นฝ่ายจัดการสินสมรส แต่จำเลยมอบอำนาจให้สหกรณ์ออมทรัพย์รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ เงินชดเชย เงินโบนัส และเงินได้อื่น ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งเงินค่าหุ้นของจำเลยในสหกรณ์ออมทรัพย์ชำระหนี้จำนองโดยโจทก์มิได้รู้เห็นหรือให้สัตยาบันในหนี้จำนองส่วนนี้ และสหกรณ์ออมทรัพย์ได้รับเงินค่าหุ้นของจำเลย 186,000 บาท และรับเงินจากการไฟฟ้านครหลวง 300,000 บาท รวมเป็นเงิน 486,000 บาท นำมาชำระหนี้จำนองของจำเลยบางส่วนแล้ว จำเลยยังได้รับเงิน 564,825 บาท ไปจากการไฟฟ้านครหลวงอีกด้วย ซึ่งเงินจำนวนหลังนี้จำเลยได้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวโดยโจทก์และบุตรมิได้รับการช่วยเหลือเลี้ยงดูจากจำเลย คงเหลือเงินสินสมรสอยู่เพียง 1,221,340 บาท ถือได้ว่าเป็นการจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด และทำความเสียหายให้แก่สินสมรส รวมทั้งไม่นำเงินสินสมรสนั้นมาอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีเหตุสมควรร้องขอให้แยกสินสมรสได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1484 (1) (2) (5)

  โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2516 มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือนายนพรัตน์ รอดเลี้ยง อายุ 27 ปี และนายนัทธี รอดเลี้ยง อายุ 22 ปี ซึ่งเป็นคนทุพพลภาพ โจทก์เป็นแม่บ้าน ส่วนจำเลยเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจทำงานที่การไฟฟ้านครหลวง ปี 2526 จำเลยแยกไปอยู่กินฉันสามีภริยากับหญิงอื่นแต่ยังคงอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และบุตรทั้งสองบ้าง จนกระทั่งปี 2543 จำเลยไม่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และบุตร จำเลยได้ลาออกจากการไฟฟ้านครหลวงเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2544 เป็นการลาออกก่อนเกษียณอายุ จำเลยได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 1,020,000 บาท เงินชดเชยจำนวน 6 เท่าของเงินเดือนสุดท้ายเป็นเงิน 172,890 บาท เงินจากการลาออกตามโครงการร่วมใจจากการไฟฟ้านครหลวงจำนวน 864,450 บาท เงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง จำกัด จำนวน 184,000 บาท (ที่ถูก 186,000) รวมเป็นเงิน 2,241,340 บาท เงินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์ขอแบ่งเพื่อเก็บไว้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และบุตรซึ่งเป็นคนทุพพลภาพ จำเลยเพิกเฉยและไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์และบุตรซึ่งทุพพลภาพอีกต่อไป จำเลยมีพฤติการณ์ชอบเที่ยวและติดพันนักร้อง หากให้จำเลยจัดการสินสมรสทั้งหมดตามลำพังอาจทำความหายนะให้แก่สินสมรสได้ ขณะนี้มีสินสมรสเหลือเพียง 1,221,340 บาท โจทก์ขอแยกส่วนของโจทก์กึ่งหนึ่งออกมาจัดการเองเป็นเงิน 610,670 บาท ขอให้บังคับจำเลยแบ่งสินสมรสให้โจทก์จำนวน 610,670 บาท และให้โจทก์เป็นผู้จัดการสินสมรสดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวกับให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และบุตรเดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

          จำเลยให้การว่า จำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2516 มีบุตรด้วยกัน 2 คน จำเลยหาเลี้ยงครอบครัวแต่ผู้เดียว โจทก์ไม่ให้ความเคารพและให้เกียรติจำเลยโดยจะหาเหตุทะเลาะกับจำเลยเสมอ เป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถทนอยู่กับโจทก์ได้ จึงได้แยกกันอยู่ตั้งแต่ปี 2526 แต่จำเลยยังอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองและช่วยเหลือโจทก์ตามสมควร จำเลยประกอบกิจการร้านอาหารโดยได้กู้ยืมเงินจากบุคคลอื่น จำนวน 2,000,000 บาท กู้ยืมจากสหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจไฟฟ้านครหลวง จำกัด จำนวน 900,000 บาทเศษ เงินที่ได้จากการลาออกจากการไฟฟ้านครหลวงไม่เป็นสินสมรส จำเลยทำสัญญายกเงินที่ได้จากการลาออกชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง จำกัด ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2544 จำเลยไม่ได้นำเงินที่ได้จากการลาออกไปลงทุนค้าขายกับหญิงอื่น ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แยกสินสมรสจำนวน 610,670 บาท ออกเป็นส่วนของโจทก์ คำขอของโจทก์นอกจากนี้ให้ยก ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท

          จำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          จำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2516 มีบุตรด้วยกัน 2 คน จำเลยทำงานที่การไฟฟ้านครหลวง ส่วนโจทก์เป็นแม่บ้าน ต่อมาปี 2526 โจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ ปี 2544 จำเลยลาออกจากการไฟฟ้านครหลวงและได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้านครหลวงจำนวน 1,020,000 บาท เงินชดเชย 6 เท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้ายเป็นเงิน 172,890 บาท เงินตอบแทนพิเศษเนื่องจากการลาออกจากโครงการร่วมใจจากการไฟฟ้านครหลวง 30 เท่าของเงินเดือนสุดท้ายเป็นเงิน 864,450 บาท เงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง จำกัด จำนวน 186,000 บาท เงินโบนัส 1 เดือนจำนวน 28,815 บาท รวมเป็นเงิน 2,272,155 บาท ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่าเงินพิพาทที่จำเลยได้รับเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยหรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยกับโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่ แต่เมื่อยังมิได้จดทะเบียนหย่ากัน จำเลยกับโจทก์ก็ยังคงมีฐานะเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 (1) เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เงินชดเชย เงินค่าตอบแทนพิเศษเนื่องจากการลาออก เงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์และเงินโบนัส รวมเป็นเงิน 2,272,155 บาท จึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรส ซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์จึงย่อมมีสิทธิในจำนวนเงินพิพาทดังกล่าวร่วมกับจำเลย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อมาว่า มีเหตุสมควรแยกสินสมรสดังกล่าวให้โจทก์มีอำนาจจัดการหรือไม่ เห็นว่า การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง จำเลยหรือโจทก์ย่อมมีอำนาจจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นที่เสียหายและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 วรรคสอง และมาตรา 1484 (1) (5) เมื่อได้ความว่าจำเลยเป็นฝ่ายจัดการสินสมรส แต่การที่จำเลยมอบอำนาจให้สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง จำกัด รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ เงินชดเชย เงินโบนัส และเงินได้อื่น ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งเงินค่าหุ้นของจำเลยในสหกรณ์ออมทรัพย์ชำระหนี้จำนองโดยโจทก์มิได้รู้เห็นหรือให้สัตยาบันในหนี้จำนองส่วนนี้ และสหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง จำกัด ได้รับเงินค่าหุ้นของจำเลยจำนวน 186,000 บาท และรับเงินจากการไฟฟ้านครหลวงจำนวน 300,000 บาท รวมเป็นเงิน 486,000 บาท นำมาชำระหนี้จำนองของจำเลยบางส่วนแล้ว ปรากฏว่าจำเลยยังได้รับเงินจำนวน 564,825 บาท ไปจากการไฟฟ้านครหลวงอีกแล้วด้วย ซึ่งเงินจำนวนหลังนี้จำเลยก็นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวโดยโจทก์และบุตรมิได้รับการช่วยเหลือเลี้ยงดูจากจำเลยแต่อย่างใด ขณะนี้คงเหลือเงินสินสมรสอยู่เพียง 1,221,340 บาท เมื่อโจทก์ขอแบ่งสินสมรสที่คงเหลือกึ่งหนึ่ง จำเลยไม่ยินยอมและอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่สินสมรส พฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด และทำความเสียหายให้แก่สินสมรส รวมทั้งไม่นำเงินสินสมรสนั้นมาอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีเหตุสมควรร้องขอให้แยกสินสมรสได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1484 (1) (2) (5) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิขอให้แยกสินสมรสส่วนที่เหลืออยู่ออกเป็นส่วนของโจทก์กึ่งหนึ่งจึงชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย”

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

เงินเดือนสามีได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส

สามีซื้อที่ดินโดยกู้ยืมเงินจากธนาคาร197,000 บาท มาชำระราคาที่ดินและจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้แก่ธนาคารและได้นำเงินเดือนของสามีผ่อนชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ธนาคารอาคารจนครบถ้วน และไถ่ถอนจำนอง สามีซื้อรถยนต์และชำระราคารถยนต์คันเป็นเงินสด โดยกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ 400,000 บาท สามีผ่อนชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ทุกเดือน ต่อมาฟ้องหย่าภริยา มีปัญหาว่าที่ดินและรถยนต์เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยาหรือไม่ ตามข้อเท็จจริงมีการซื้อที่ดิน และซื้อรถยนต์ เป็นระยะเวลาในระหว่างสมรส ที่ดินและรถยนต์จึงเป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยา แม้เงินที่ใช้ในการผ่อนหนี้ค่าซื้อที่ดินเป็นเงินที่กู้มาจากธนาคารและเงินที่ใช้ซื้อรถยนต์เป็นเงินที่กู้จากสหกรณ์ออมทรัพย สามีจะเป็นผู้ผ่อนชำระหนี้ด้วยเงินเดือนของสามีทั้งสิ้นก็ตาม แต่เงินเดือนของสามีก็เป็นเงินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นเงินสินสมรสนั่นเอง จึงรับฟังได้ว่าที่ดินพิพาทและรถยนต์พิพาทเป็นสินสมรส เมื่อหย่าขาดจากกันจึงต้องแบ่งสินสมรสดังกล่าวให้แก่ภริยากึ่งหนึ่งตามกฎหมาย




ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

สามีนำเงินสินสมรสออกให้กู้โดยไม่ได้รับความยินยอม article
ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินส่วนของตน
ที่ดินและรถยนต์ภริยากู้ยืมเงินมาซื้อและผ่อนด้วยเงินเดือน
หย่ากันให้แบ่งสินสมรส-ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าแบ่งสินสมรสไม่ได้
กรณีเป็นที่สงสัยให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สิน
ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยลำพังเป็นสินสมรส
ข้อตกลงให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก
สัญญาค้ำประกันไม่ต้องได้รับความยินยอมคู่สมรส
การแบ่งทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์รวม ทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้
สินส่วนตัวและสินสมรส ของขวัญเนื่องในการสมรสจึงถือว่าเป็นสินสมรส
ข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าเรื่องยกทรัพย์สินให้ฝ่ายหญิง(ภรรยา)
กฎหมายคุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน (ม.1480)
ปลอมลายมือชื่อคู่สมรสในหนังสือให้ความยินยอมไปทำขายฝากที่ดิน
ตกลงให้สินส่วนตัวของฝ่ายหนึ่งตกเป็นสินสมรส
รางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว
สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้สินสมรส อายุความ
ความยินยอมในการจัดการสินสมรสไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน
การจัดการสินสมรสเรื่องกู้ยืมเงินและให้กู้ยืมเงิน-ความยินยอมจากคู่สมรส
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก | บันทึกท้ายทะเบียนหย่า
สัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่า-ตกลงให้ที่ดินแก่กันไม่ต้องจดทะเบียนบังคับได้
เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก ซึ่งรับซื้อฝากโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน
รับซื้อฝากที่ดินสินสมรสโดยไม่สุจริต- เพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ทั้งแปลง
หนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินเมื่อยังไม่มีการหย่าใช้บังคับไม่ได้
เพิกถอนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนดระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดิน
เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี
การขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว
การเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรส
ขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว แยกสินสมรส
ได้สิทธิทำประโยชน์ที่ดินก่อนจดทะเบียนสมรส
เจ้าหนี้ยึดสินสมรสได้ทั้งหมดยกคำร้องขอกันส่วน
หญิงมีสามีมีอำนาจฟ้องปราศจากความยินยอมหรือไม่