ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สิทธิที่จะเรียกให้แบ่งที่ดินที่ตนเองเป็นเจ้าของรวม แม้มีข้อตกลงห้ามแบ่งแยก

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

   สิทธิที่จะเรียกให้แบ่งที่ดินที่ตนเองเป็นเจ้าของรวม แม้มีข้อตกลงห้ามแบ่งแยก

    เจ้าของรวมในที่ดินย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินที่ตนเองเป็นเจ้าของรวมอยู่ได้ เว้นแต่จะมีนิติกรรมขัดอยู่ หรือถ้าวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ก็จะเรียกแบ่งไม่ได้  แม้มีข้อตกลงร่วมกันว่าห้ามโอนหรือแบ่งแยกระหว่างเจ้าของรวมด้วยกัน แต่จะใช้บังคับระหว่างเจ้าของรวมด้วยกันเกิน 10 ปี ไม่ได้ โจทก์เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งจึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้แบ่งที่ดินได้

   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12827/2556 

  โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินที่ตนเองเป็นเจ้าของรวมอยู่ได้ เว้นแต่จะมีนิติกรรมขัดอยู่ หรือถ้าวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ก็จะเรียกแบ่งไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีข้อตกลงร่วมกันระหว่างบิดาขณะยังมีชีวิตอยู่กับบุตรทุกคนรวมทั้งโจทก์ จำเลยทั้งสี่ และ ธ. ด้วยว่าห้ามโอนหรือแบ่งแยกที่พิพาท ซึ่งมีลักษณะเป็นนิติกรรมห้ามแบ่งแยกระหว่างเจ้าของรวมด้วยกัน แต่จะรับฟังถึงขนาดว่าวัตถุประสงค์ที่โจทก์ จำเลยทั้งสี่ และ ธ. เป็นเจ้าของรวมกันมีลักษณะเป็นการถาวรคงยังไม่ชัดแจ้งนัก ทั้งนิติกรรมที่ห้ามแบ่งทรัพย์สิน จะใช้บังคับระหว่างเจ้าของรวมด้วยกันเกิน 10 ปี ไม่ได้ ตามมาตรา 1363 วรรคสอง หาใช่ว่าไม่มีกำหนดระยะเวลาดังที่จำเลยทั้งสี่กล่าวอ้างมาในฎีกาไม่ เมื่อนิติกรรมห้ามโอนได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่ปี 2534 จนถึงวันที่โจทก์ฟ้องขอเรียกแบ่งทรัพย์สินเกินกว่า 10 ปี แล้ว และไม่ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องเรียกขอแบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควร ตามมาตรา 1363 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้แบ่งที่ดินพิพาทได้ตามมาตรา 1363 วรรคหนึ่ง

       โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยทั้งสี่จดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 10070 ออกเป็นสองในหกส่วนของพื้นที่ทั้งหมดแก่โจทก์ต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ตามแผนที่ โดยให้ศาลเป็นผู้แบ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าโจทก์และจำเลยทั้งสี่จะได้ส่วนใดของที่ดิน หากจำเลยทั้งสี่ไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงการเจตนาของจำเลยทั้งสี่ในการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทแก่โจทก์

จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ 1 ให้การขอให้ยกฟ้อง

      ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่แบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 10070 ตำบลป่าตัน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ แก่โจทก์ เนื้อที่ตามส่วนที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดิน โดยให้ตกลงแบ่งกันเองระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ก่อน หากตกลงกันไม่ได้ให้ประมูลกันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ ให้ฝ่ายที่เสนอราคาสูงเป็นผู้ได้กรรมสิทธิ์ไปทั้งหมด หากตกลงประมูลราคากันไม่ได้ ให้ขายทอดตลาดที่ดิน แล้วนำเงินมาแบ่งกันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ตามส่วนที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดิน ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นให้ยก

      ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสี่ฎีกา

       ศาลฎีกาวินิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังว่า โจทก์ จำเลยทั้งสี่ นายธงชัยและนายนวนา เป็นบุตรของนายกังสูนกับนางกิมบ้วย เดิมที่ดินที่พิพาทโฉนดเลขที่ 10070 ตำบลป่าตัน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อนายนวนา เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อนายนวนาถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดก ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสี่และนายธงชัย เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ต่อมานายธงชัยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์

       มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสี่ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทได้หรือไม่ เห็นว่า โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินที่ตนเองเป็นเจ้าของรวมอยู่ได้ เว้นแต่จะมีนิติกรรมขัดอยู่ หรือถ้าวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ก็จะเรียกแบ่งไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 และทางนำสืบของจำเลยที่ 1 ดังที่ศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า มีข้อตกลงร่วมกันระหว่างบิดาขณะยังมีชีวิตอยู่กับบุตรทุกคนรวมทั้งโจทก์ จำเลยทั้งสี่ และนายธงชัยด้วยว่าห้ามโอนหรือแบ่งแยกที่ดินพิพาทนั้น ซึ่งมีลักษณะเป็นนิติกรรมห้ามแบ่งแยกระหว่างเจ้าของรวมด้วยกัน แต่จะรับฟังถึงขนาดว่าวัตถุประสงค์ที่โจทก์ จำเลยทั้งสี่ และนายธงชัย เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวรคงยังไม่ชัดแจ้งนัก ทั้งนิติกรรมที่ห้ามแบ่งทรัพย์สินนั้น จะใช้บังคับระหว่างเจ้าของรวมด้วยกันเกิน 10 ปีไม่ได้ ตามมาตรา 1363 วรรคสอง หาใช่ว่าไม่มีกำหนดระยะเวลาดังที่จำเลยทั้งสี่กล่าวอ้างมาในฎีกาไม่ เมื่อนิติกรรมห้ามโอนได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่ปี 2534 จนถึงวันที่โจทก์ฟ้องขอเรียกแบ่งทรัพย์สินเกินกว่า 10 ปี แล้ว และไม่ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องเรียกขอแบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควร ตามมาตรา 1363 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้แบ่งที่ดินพิพาทได้ ตามมาตรา 1363 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสี่ทุกข้อฟังไม่ขึ้น
 
  พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
 



ทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์

การได้ที่ดินของคนต่างด้าวโดยภรรยาคนไทยถือกรรมสิทธิ์แทน
การระวังแนวเขตรังวัดมีการชี้รุกล้ำที่ดินไม่เป็นเหตุเสียกรรมสิทธิ์
เพิกถอนนิติกรรมในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมใช้สิทธิติดตามเอาคืน
เรียกโฉนดที่ดินคืนจากเจ้าหนี้เงินกู้ยืม โฉนดที่ดินเป็นประกันเงินกู้
เจ้าของรวมทำพินัยกรรมจำหน่ายส่วนของตน ความยินยอมจากภริยา
ก่อสร้างสะพานลอยคนข้ามทำให้ได้รับความเดือดร้อนขอให้รื้อถอนสะพาน
สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล แม้เจ้าหนี้ยังมิได้ฟ้องลูกหนี้
กรรมสิทธิ์รวมแม้ซื้อโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่มีผลผูกพัน
หนังสือยินยอมคู่สมรสปลอม , ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
ทรัพย์สินระหว่างสามคนผัวเมีย-เจ้าของรวม-สมรสซ้อน
เงินในบัญชีร่วมกันทำมาหากินไม่ได้จดทะเบียนสมรส
เจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิด หรือคาดหมาย
ปลูกสร้างอาคารสูงปิดบังช่องแสงและทิศทางลม ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร ละเมิด
ความเสียหายเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมาย
เพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไป
ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์
สิทธิยื่นใบเบิกเงินและรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
สิทธิเหนือพื้นดินคืออะไร