ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล แม้เจ้าหนี้ยังมิได้ฟ้องลูกหนี้

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

   สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลแม้เจ้าหนี้ยังมิได้ฟ้องลูกหนี้

    การฟ้องลูกหนี้ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลเจ้าหนี้ เป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบเนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้เพราะการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วหรือไม่ หรือเจ้าหนี้ที่ยังมิได้ฟ้องร้องเพื่อให้บังคับชำระหนี้ก็ตาม

   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2543 

    การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 เป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้เหล่านี้ย่อมเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามมาตรา 214 เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้ดังกล่าวและต้องเสียเปรียบเนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้เพราะการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วหรือไม่ หรือเจ้าหนี้ที่ยังมิได้ฟ้องร้องเพื่อให้บังคับชำระหนี้ก็ตาม

 ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 หมายถึง เจ้าหนี้ได้รู้ทั้งข้อที่ว่าลูกหนี้กระทำนิติกรรมที่จะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และข้อที่ว่าลูกหนี้รู้ว่านิติกรรมดังกล่าวทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ซึ่งการรู้ต้นเหตุในกรณีโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาลหมายถึงการรู้ของอธิบดีกรมป่าไม้ซึ่งเป็นผู้แทนผู้แสดงเจตนาความประสงค์ของโจทก์ ไม่อาจถือว่าการรู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลของพนักงานอัยการที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีแพ่งเดิมเป็นการรู้ของอธิบดีกรมป่าไม้

    โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลเป็นกรมในรัฐบาลสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการในสังกัดโจทก์ ขณะเกิดเหตุทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติที่ 9 จำเลยที่ 1 ทุจริตเบียดบังยักยอกเงินเพื่อปลูกสร้างสวนป่าทดแทนไปจากโจทก์เป็นเงิน 979,000 บาท โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชมีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 648/2535 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 979,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2525 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทราบคำพิพากษาแล้ว จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรชายของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2535 หลังจากจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องแล้ว จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 2 และทำบันทึกการหย่าโดย จำเลยที่ 1 ตกลงยกที่ดินโฉนดเลขที่ 18961 ตำบลอนุสาวรีย์ (หลุมไผ่) อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร ของจำเลยที่ 1 และที่ดินโฉนดเลขที่ 91475 ตำบลลาดยาว อำเภอบางเขน(บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 แต่ต่อมาวันที่ 26 สิงหาคม 2535 จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนยกที่ดินโฉนดเลขที่ 18961 ที่เคยยกให้จำเลยที่ 2 ในบันทึกการหย่าให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ และวันที่ 14 ธันวาคม 2535 จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 91475 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ที่เคยยกให้จำเลยที่ 2 ในบันทึกการหย่า ให้แก่จำเลยที่ 2  การทำนิติกรรมดังกล่าวของจำเลยที่ 1 เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ของโจทก์ได้กระทำไปโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบและจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีกที่โจทก์จะยึดมาชำระหนี้ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ผู้รับโอนรู้ข้อความจริงดังกล่าวอันทำให้โจทก์ต้องเสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 18961 และโฉนดเลขที่ 91475 พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2 ในการจดทะเบียนหย่าเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2535 และขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 18961 ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 และเพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 91475 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของจำเลยที่ 1 ตามเดิม และให้จำเลยทั้งสี่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนเป็นของจำเลยที่ 1 หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา

       จำเลยทั้งสี่ให้การทำนองเดียวกันว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากมูลหนี้ที่โจทก์กล่าวอ้างคดียังไม่ถึงที่สุด เพราะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 18961 ตำบลอนุสาวรีย์ (หลุมไผ่)อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร และมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 2 ในที่ดินโฉนดเลขที่ 91475 ตำบลลาดยาว อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง แต่ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว การโอนที่ดินตามทะเบียนไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับโอนที่ดินโดยสุจริตและไม่ได้รู้เห็นในมูลหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 การโอนที่ดินพิพาทไม่เป็นการฉ้อฉลโจทก์และคดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

       ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ในการจดทะเบียนหย่าเมื่อวันที่ 21สิงหาคม 2535 ให้เพิกถอนการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 18961 ตำบลอนุสาวรีย์ (หลุมไผ่) อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 และให้เพิกถอนการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 91475 ตำบลลาดยาว อำเภอบางเขน (บางซื่อ)กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ให้จำเลยทั้งสี่ ดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนโอนดังกล่าว หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย

       จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์

       ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

       จำเลยทั้งสี่ฎีกา

       ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เคยเป็นข้าราชการในสังกัดโจทก์ จำเลยที่ 2 เคยเป็นภริยาจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2535 ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช มีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 648/2535 ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 979,000 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 18961 ตำบลอนุสาวรีย์ (หลุมไผ่) อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร และมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 2 ในที่ดินโฉนดเลขที่ 91475 ตำบลลาดยาว อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง หลังฟ้องคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 648/2535 แล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนหย่ากันและทำบันทึกการหย่าโดยยกที่ดินโฉนดเลขที่ 18961 และที่ดินโฉนดเลขที่ 91475 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 กลับจดทะเบียนยกที่ดินโฉนดเลขที่ 18961 ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยเสน่หาและจดทะเบียนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 91475 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่มีค่าตอบแทน จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอย่างอื่นพอชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสี่ ประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ โดยจำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า หนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 648/2535 ที่ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย เป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่ยังไม่ถึงที่สุด จึงไม่เข้าเกณฑ์ที่โจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 

       ศาลฎีกาเห็นว่า การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้เหล่านี้ย่อมเป็นหลักประกันการชำระหนี้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 214 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น เจ้าหนี้ที่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลจึงหมายถึงเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้ดังกล่าวและต้องเสียเปรียบเนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้เพราะการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้ ทั้งนี้ไม่ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวจะเป็นเจ้าหนี้ในหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วหรือไม่ หรือแม้กระทั่งเจ้าหนี้ในหนี้ที่ยังมิได้มีการฟ้องร้องเพื่อให้บังคับชำระหนี้ก็ตาม การฟ้องของโจทก์จึงเข้าเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

       จำเลยทั้งสี่ฎีกาต่อไปว่า โจทก์แต่งตั้งพนักงานอัยการจังหวัดนครศรีธรรมราชให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 648/2535 ซึ่งพนักงานอัยการจังหวัดนครศรีธรรมราชในฐานะผู้แทนโจทก์ย่อมทราบเรื่องต่าง ๆ ในคดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 เคยยื่นอุทธรณ์พร้อมคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาตามเอกสารหมาย ล.9 และ ล.10 หลังจากโจทก์รับสำเนาอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาแล้ว โจทก์ได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการจังหวัดนครศรีธรรมราชดำเนินการคัดค้านคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ซึ่งก่อนจะยื่นคำร้องคัดค้านโจทก์ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ แล้ว โจทก์ทราบมูลเหตุให้เพิกถอนนิติกรรมตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2536 ซึ่งเป็นวันที่พนักงานอัยการจังหวัดนครศรีธรรมราชยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2537 จึงขาดอายุความ 

       ข้อนี้ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 บัญญัติว่า การเรียกร้องขอเพิกถอนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือพ้นสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้นตามบทบัญญัติดังกล่าว เห็นได้ว่า การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน ซึ่งต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนนี้ย่อมหมายถึงเงื่อนไขดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 237 คือทั้งข้อที่ว่า ลูกหนี้กระทำนิติกรรมที่จะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และข้อที่ว่าลูกหนี้รู้ว่านิติกรรมดังกล่าวทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบนั่นเอง อนึ่ง เนื่องจากโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาลซึ่งมีอธิบดีกรมป่าไม้เป็นผู้แทน การรู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนจึงย่อมหมายถึงการรู้ของอธิบดีกรมป่าไม้ซึ่งเป็นผู้แสดงเจตนาอันเป็นความประสงค์ของโจทก์  ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า ในคดีนี้ถือว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2536 ซึ่งเป็นวันที่พนักงานอัยการจังหวัดนครศรีธรรมราชยื่นคำคัดค้านคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่า พนักงานอัยการจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนโจทก์เฉพาะการดำเนินคดีในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 648/2535 จึงไม่อาจถือว่าการรู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลของพนักงานอัยการจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นการรู้ของอธิบดีกรมป่าไม้ซึ่งเป็นผู้แทนโจทก์ ส่วนการรู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนของนายผ่อง เล่งอี้ อธิบดีกรมป่าไม้ขณะนั้น ได้ความจากพยานโจทก์ปากร้อยตรีบุญลี่ จัทราภาณุกร ซึ่งรับราชการตำแหน่งผู้อำนวยการกองนิติการและนายผ่อง เล่งอี้ ว่านายผ่องได้รับรายงานข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 และขอให้ดำเนินการฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลจากร้อยตรีบุญลี่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2536 ตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งความข้อนี้ฝ่ายจำเลยทั้งสี่มิได้นำสืบคัดค้าน จึงรับฟังได้ว่านายผ่องอธิบดีกรมป่าไม้ขณะเกิดเหตุรู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2536 โจทก์มาฟ้องคดีนี้วันที่ 23 มีนาคม 2537 จึงไม่พ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน

       จำเลยทั้งสี่ฎีกาต่อไปว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 18961 และเลขที่ 91475 พร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างเป็นของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว โดยเป็นสินส่วนตัวก่อนสมรสในข้อนี้ศาลฎีกาเห็นว่า พยานหลักฐานทั้งของฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทั้งสี่ต้องกันว่าที่ดินทั้งสองแปลงได้มาระหว่างสมรส กล่าวคือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 18961 ตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.23 ได้มาโดยการซื้อจากนายจำรัส ทองมา และนางมลิวัลย์ ทองมา เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2522 และที่ดินโฉนดเลขที่ 91475 พร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.21 ได้มาโดยการซื้อจากบริษัทธนธารา จำกัด เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2522 ที่ดินทั้งสองแปลงจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อนึ่ง สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 18961 ที่ฝ่ายจำเลยทั้งสี่นำสืบว่าจำเลยที่ 2 ตกลงซื้อโดยการผ่อนชำระก่อนจะสมรสกับจำเลยที่ 1 นั้น ก็ได้ความจากพยานจำเลยทั้งสี่ปาก นายจำรัส ทองมา ซึ่งแบ่งขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ว่า พยานกับภริยาตกลงขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วประมาณ 7 ถึง 8 ปี จึงได้โอนกรรมสิทธิ์กันเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2522 จากคำเบิกความของพยานดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 ตกลงซื้อที่ดินเมื่อประมาณปี 2514 หรือปี 2515 หรือก่อนเวลาดังกล่าวเพียงเล็กน้อย เนื่องจากไม่ปรากฏว่าเมื่อผ่อนชำระราคาที่ดินแล้วมีการทอดเวลาการโอนที่ดินออกไป จึงฟังได้ว่า เงินที่ชำระเป็นราคาที่ดินทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดเป็นเงินที่ผ่อนชำระระหว่างสมรส ที่ดินโฉนดเลขที่ 18961 จึงมิใช่เป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 เมื่อที่ดินทั้งสองแปลงเป็นสินสมรสจึงเป็นส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละครึ่ง ฎีกาจำเลยทั้งสี่ข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน

       มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสี่ต่อไปว่า การโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 18961 และเลขที่ 91475 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสี่รู้ว่าเป็นทางให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้เสียเปรียบหรือไม่ ปัญหานี้จำเลยทั้งสี่ฎีกาข้อแรกว่า ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นการโอนให้โดยเสน่หา จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้รู้ข้อเท็จจริงหรือไม่ ไม่ถูกต้อง เพราะความจริงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประสงค์จะให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 โอนให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 อีกทีหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 สุจริตจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 สุจริตด้วยนั้น ในข้อนี้ศาลฎีกาเห็นว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนหย่ากันและทำบันทึกการหย่าโดยจำเลยที่ 1 ตกลงยกที่ดินโฉนดเลขที่ 18961 และที่ดินโฉนดเลขที่ 91475 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 ตามสำเนาทะเบียนหย่า เอกสารหมาย จ.22 หลังจากที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินที่ยักยอกไปโดยจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอย่างอื่นพอชำระหนี้โจทก์ เชื่อว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 สมยอมกันทำบันทึกการหย่าเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสที่จำเลยที่ 1 ยังมีสิทธิอยู่ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 18961 ทั้งแปลง ให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยความยินยอมและตามความประสงค์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการให้โดยเสน่หาและผูกพันจำเลยที่ 2 ด้วย ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 รู้ข้อเท็จจริงที่ทำให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบหรือไม่ สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 91475 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจำเลยที่ 1 ก็โอนขายแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่มีค่าตอบแทนถือว่าเป็นการให้โดยเสน่หาเช่นเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่และได้โอนทรัพย์ของตน ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จนไม่อาจชำระหนี้แก่โจทก์ได้เช่นนี้เป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ เมื่อกรณีเป็นการโอนให้โดยเสน่หา แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ได้ฎีกาของจำเลยทั้งสี่ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

       โดยสรุปจากข้อวินิจฉัยดังกล่าวมาศาลฎีกาเห็นว่า การโอนที่ดินทั้งสองแปลงของจำเลยที่ 1 เป็นการฉ้อฉลโจทก์ แต่เฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 18961 ซึ่งจำเลยที่ 1 โอนให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นที่ดินที่เป็นสินสมรสส่วนของจำเลยที่ 2 ครึ่งหนึ่งนิติกรรมการโอนเฉพาะในส่วนนี้ย่อมไม่อยู่ในข่ายจะถูกเพิกถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาให้เพิกถอนการโอนที่ดินแปลงนี้ทั้งแปลง ศาลฎีกาไม่เห็นด้วย ฎีกาจำเลยทั้งสี่ฟังขึ้นบางส่วน"

       พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 18961ตำบลอนุสาวรีย์ (หลุมไผ่) อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ครึ่งหนึ่ง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4503/2560
 
      คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 และโจทก์ได้บังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 แต่ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ได้เนื่องจากทรัพย์สินที่ยึดมีภาระหนี้จำนองไม่มีเงินเหลือเพียงพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่สุจริตเป็นการฉ้อฉลทำให้โจทก์เสียเปรียบ ซึ่งเป็นการฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองอันเกิดจากการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ให้ที่ดินกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 เพื่อการใช้สิทธิในการบังคับคดีของโจทก์ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องและมีคำขอตอนท้าย ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้ตกเป็นของบุตรทั้งสี่ของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 4 ซึ่งไม่อาจกระทำได้เพราะโจทก์ได้เลือกใช้สิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 9 แล้ว จึงไม่อาจย้อนกลับมาบังคับคดีให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 4 ได้อีก แต่คำฟ้องและคำขอบังคับถือเป็นคนละส่วนกัน ไม่มีผลทำให้คำฟ้องและคำขอบังคับของโจทก์ในตอนแรกที่เป็นการใช้สิทธิโดยชอบต้องเสียไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง



ทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์

การได้ที่ดินของคนต่างด้าวโดยภรรยาคนไทยถือกรรมสิทธิ์แทน
การระวังแนวเขตรังวัดมีการชี้รุกล้ำที่ดินไม่เป็นเหตุเสียกรรมสิทธิ์
เพิกถอนนิติกรรมในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมใช้สิทธิติดตามเอาคืน
เรียกโฉนดที่ดินคืนจากเจ้าหนี้เงินกู้ยืม โฉนดที่ดินเป็นประกันเงินกู้
เจ้าของรวมทำพินัยกรรมจำหน่ายส่วนของตน ความยินยอมจากภริยา
ก่อสร้างสะพานลอยคนข้ามทำให้ได้รับความเดือดร้อนขอให้รื้อถอนสะพาน
สิทธิที่จะเรียกให้แบ่งที่ดินที่ตนเองเป็นเจ้าของรวม แม้มีข้อตกลงห้ามแบ่งแยก
กรรมสิทธิ์รวมแม้ซื้อโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่มีผลผูกพัน
หนังสือยินยอมคู่สมรสปลอม , ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
ทรัพย์สินระหว่างสามคนผัวเมีย-เจ้าของรวม-สมรสซ้อน
เงินในบัญชีร่วมกันทำมาหากินไม่ได้จดทะเบียนสมรส
เจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิด หรือคาดหมาย
ปลูกสร้างอาคารสูงปิดบังช่องแสงและทิศทางลม ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร ละเมิด
ความเสียหายเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมาย
เพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไป
ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์
สิทธิยื่นใบเบิกเงินและรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
สิทธิเหนือพื้นดินคืออะไร