ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




กรรมสิทธิ์รวมแม้ซื้อโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่มีผลผูกพัน

 กรรมสิทธิ์รวมแม้ซื้อโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่มีผลผูกพัน

แม้จะใส่ชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ต้องถือว่าเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1  แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์

   คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4561/2544

 คู่หย่ายกสินสมรสให้บุตรเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก แต่บุตรไม่ได้แสดงเจตนาต่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น กรรมสิทธิ์ในบ้านจึงยังเป็นของโจทก์กับจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง  การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้

    แม้จะใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 
 
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนสัญญาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ แต่ยังคงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่ 1   
 
    บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสินสมรสต่อท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ตกลงยกบ้านพิพาทให้แก่บุตรทั้งสามนั้นเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคหนึ่ง แต่บุตรทั้งสามไม่ได้แสดงเจตนาต่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์กับจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง นอกจากนี้โจทก์ยังอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส ซึ่งหากฟังได้ตามที่โจทก์อ้าง โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทคนละครึ่งหนึ่งเช่นเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
          ว. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ระหว่างปี 2514 ถึง 2516 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 เพราะการให้มิได้แสดงว่าให้ไว้เป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1464(3) และกรณีเป็นการยกให้ก่อนปี 2519 จึงไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 บังคับ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 เคยขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่ ท. เมื่อปี 2525 และมิได้ไถ่คืนภายในกำหนด ต่อมาจึงได้ซื้อคืนจาก ท. เมื่อปี 2526 แม้จะใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1474(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519
           ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนสัญญาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามมาตรา 1361 วรรคสอง แต่ยังคงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1361 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้
 
          โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและบ้านระหว่างจำเลยทั้งสอง ให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดินและบ้านกลับคืนให้จำเลยที่ 1 และให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินโฉนดเลขที่ 2122ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
 
         จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ
         จำเลยที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง
 
         ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
         โจทก์อุทธรณ์
 
         ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน
 
          โจทก์ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ตามที่คู่ความมิได้โต้แย้งว่า เดิมบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสินสมรสต่อท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ตกลงยกบ้านพิพาทให้แก่บุตรทั้งสามนั้น เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคหนึ่ง แต่บุตรทั้งสามไม่ได้แสดงเจตนาต่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์กับจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง นอกจากนี้โจทก์ยังอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส ซึ่งหากฟังได้ตามที่โจทก์อ้าง โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่งเช่นเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังขึ้น
 
          มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 หรือไม่ ปัญหานี้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยังมิได้วินิจฉัย แต่คู่ความได้สืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย สำหรับปัญหาว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่นั้น โจทก์มีตัวโจทก์และนางแหวน เจริญศรี มารดา จำเลยที่ 1 เป็นพยานเบิกความว่า โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ปี 2511 แต่เพิ่งจดทะเบียนสมรสเมื่อปี 2513 หลังจากโจทก์สมรสกับจำเลยที่ 1 ประมาณ 3 ถึง 4 ปีและมีบุตร 1 คนแล้ว นางแหวนจึงยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 หลังจากยกที่ดินพิพาทให้แล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันสร้างบ้านขึ้น 1 หลัง เป็นการสร้างไปเรื่อย ๆ จนปี 2516 ก็สามารถเข้าพักอาศัยได้และสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2518 เห็นว่า ตามสำเนาทะเบียนบ้านเอกสารหมาย จ.13 แผ่นที่ 9 บุตรสามคนของโจทก์และจำเลยที่ 1 เกิดในปี 2514 ปี 2516 และปี 2522 ตามลำดับ เมื่อพิเคราะห์คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองประกอบสำเนาทะเบียนบ้านแล้วน่าเชื่อว่านางแหวนยกที่ดินให้จำเลยที่ 1 ในระหว่างปี 2514 ถึงปี 2516 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดบุตรคนที่หนึ่งแล้ว แต่บุตรคนที่สองยังไม่เกิด และโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ลงมือสร้างบ้านก่อน และในปี 2516 จึงสามารถเข้าอยู่อาศัยได้ในปีดังกล่าวที่โจทก์ตอบทนายความจำเลยที่ 2 ถามค้านว่า จำเลยที่ 1 ได้รับยกให้ที่ดินจากมารดาจำเลยที่ 1 ในวันที่ 11 มีนาคม 2523 ตามเอกสารหมาย ล.1 นั้น น่าจะเป็นการเข้าใจผิดเพราะขัดกับคำเบิกความตอนต้นของโจทก์ และตามเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งเป็นสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 2368 นั้น ไม่มีรายการจดทะเบียนว่านางแหวนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ในวันที่ 11 มีนาคม 2523 แต่วันที่ 11 มีนาคม 2523 นั้นเป็นวันที่เจ้าพนักงานออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่มีชื่อของนางแหวนเข้ามาเกี่ยวข้องเลยแสดงว่านางแหวนน่าจะยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ก่อนวันดังกล่าว แต่เพิ่งมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 11 มีนาคม 2523 วันดังกล่าวจึงมิใช่ข้อยืนยันว่าเป็นวันที่นางแหวนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 นอกจากนี้ตามเอกสารหมาย จ.7 ซึ่งเป็นหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับนางทอง โพธิ์ยันต์ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2525 ได้ระบุว่าที่ดินพิพาทที่ขายฝากนี้ จำเลยที่ 1 ได้มาโดยการรับให้และถือครองมา 14 ปี จึงเป็นข้อยืนยันว่ามิใช่เพิ่งจะรับให้เมื่อปี 2523 ก่อนจดทะเบียนขายฝากเพียง 2 ปี แต่เป็นการรับให้ก่อนหน้านั้นมากว่า10 ปีแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของโจทก์และนางแหวน พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังได้ว่า นางแหวนได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ระหว่างปี 2514 ถึง 2516 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมมาตรา 1466เพราะการให้มิได้แสดงว่าให้ไว้เป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1464(3) และกรณีเป็นการยกให้ก่อนปี 2519 จึงไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 บังคับดังที่ศาลชั้นต้นพิพากษา นอกจากนี้ยังปรากฏจากคำเบิกความของโจทก์จำเลยที่ 1 และสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารหมาย ล.4 ว่า จำเลยที่ 1 เคยขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่นางทองเมื่อปี 2525 และมิได้ไถ่คืนภายในกำหนดต่อมาจึงได้ซื้อคืนจากนางทองเมื่อปี 2526 แม้จะใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส เป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1474(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 จึงไม่มีทางโต้แย้งเป็นอื่น นอกจากฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดิน และบ้านพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 หรือไม่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และโจทก์กับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนการหย่าโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต้องแบ่งสินสมรสคนละส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 แต่เมื่อยังมิได้แบ่งกันจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมได้ทำสัญญาขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ทราบเรื่องและไม่ได้ให้ความยินยอมด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน สัญญาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง แต่ยังคงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1361 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองตามเอกสารหมาย ล.5 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน"
 
  พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินโฉนดเลขที่ 2122ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ตามหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 ระหว่างจำเลยทั้งสอง เฉพาะส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หนึ่งในสองส่วนคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
 
 
 



ทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์

ความเสียหายเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมาย
เพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไป
ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์
สิทธิยื่นใบเบิกเงินและรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
สิทธิเหนือพื้นดินคืออะไร
การได้ที่ดินของคนต่างด้าวโดยภรรยาคนไทยถือกรรมสิทธิ์แทน
การระวังแนวเขตรังวัดมีการชี้รุกล้ำที่ดินไม่เป็นเหตุเสียกรรมสิทธิ์
เพิกถอนนิติกรรมในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมใช้สิทธิติดตามเอาคืน
เรียกโฉนดที่ดินคืนจากเจ้าหนี้เงินกู้ยืม โฉนดที่ดินเป็นประกันเงินกู้
เจ้าของรวมทำพินัยกรรมจำหน่ายส่วนของตน ความยินยอมจากภริยา
ก่อสร้างสะพานลอยคนข้ามทำให้ได้รับความเดือดร้อนขอให้รื้อถอนสะพาน
สิทธิที่จะเรียกให้แบ่งที่ดินที่ตนเองเป็นเจ้าของรวม แม้มีข้อตกลงห้ามแบ่งแยก
สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล แม้เจ้าหนี้ยังมิได้ฟ้องลูกหนี้
หนังสือยินยอมคู่สมรสปลอม , ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
ทรัพย์สินระหว่างสามคนผัวเมีย-เจ้าของรวม-สมรสซ้อน
เงินในบัญชีร่วมกันทำมาหากินไม่ได้จดทะเบียนสมรส
เจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิด หรือคาดหมาย
ปลูกสร้างอาคารสูงปิดบังช่องแสงและทิศทางลม ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร ละเมิด